Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
204-320 การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี, นายธนศักดิ์ เจริญพรพิสุทธิ์ …
204-320 การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี
บทที่ 1 บทนำ
1.1 จุดกำเนิดของศาสตร์ด้านการจัดการเทคโนโลยี
Management of Technology หรือ MOT เป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นในกลางทศวรรษ 1980 ในช่วงนั้นความตกต่ำของอุตสาหกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดความสนใจอย่างกว้างขวางจากภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐบาล จากการวิเคราะห์ร่วมกันของทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า สาเหตุของการตกต่ำไม่ได้เป็นเพราะภาคอุตสาหกรรมไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ได้แต่มาจากความล้อมเหลวในการจัดการเทคโนโลยีทั้งที่เกิดใหม่และที่มีอยู่แล้ว ปัญหาหลักคือภาคอุตสาหกรรมขาดความสามารถในการจัดการเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในเวลาที่เหมาะสม
1.2 คำจำกัดความของเทคโนโลยี
คำจำกัดความของเทคโนโลยี
เทคโนโลยีเป็นส่วนผสมของปัจจัยการผลิดที่หลากหลายคำจำกัดความตั้งเดิมในเชิงเศรษฐศาสตร์
เทคโนโลยี ประกอบด้วย การออกแบบกระบวนการผลิต ผังโรงงาน สิทธิบัตร ความรู้ด้านการจัดการ เทคนิคการตลาด ซ่องทางการกระจายสินค้า และการดำเนินงานทางธุรกิจอื่นๆ ตั้งแต่การคิดค้นไอเดียใหม่ จนถึงการผลิดการขาย
เทคโนโลยี คือ ทุกอย่างที่เกี่ยงข้องการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรที่ป้อนเข้าให้เป็นสินค้าหรือบริการ
1.3 ประเภทของเทคโนโลยี
เทคโนโลยีแรกเกิด (Emerging Technology) เป็นเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่ยังไม่มีการใช้ในวงจำกัดในปัจจุบันแต่คาดว่าจะถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างเต็มที่ในอนาคตอันใกล้เทคโนโลยีเหล่านี้มีโอกาสสร้างความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในสังคมโดยมักทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ๆขึ้นโดยมากเทคโนโลยีเหล่านี้มักเกิดจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีใหม่ (New Technology) หมายถึงเทคโนโลยีที่เพิ่งนำมาใช้ในองค์กรและส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อการดำเนินงาน
เทคโนโลยีขั้นสูง (High Technology) เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงหรือซับซ้อนที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วกว่าอุตสาหกรรมอื่นเทคโนโลยีขั้นสูงจะมีความรู้ทางทฤษฎีเป็นองค์ประกอบที่ชัดเจนส่วนประสบการณ์ทางปฏิบัติจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญน้อยกว่า
เทคโนโลยีขั้นต่ำ (Low Technology) เป็นเทคโนโลยีที่ได้แพร่หลายไปสู่สังคมส่วนใหญ่แล้วเทคโนโลยีมีความอยู่ตัวและมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
เทคโนโลยีขั้นกลาง (MediumTechnology) เป็นเทคโนโลยีที่อยู่ระหว่างขั้นต่ำและขั้นสูงโดยมากมักเป็นเทคโนโลยีที่อิ่มตัวแล้วและง่ายต่อการถ่ายโอนเทคโนโลยีมากกว่าประเภทอื่น
1.4 เทคโนโลยภายในองค์การ
ผลิตภัณฑ์ที่ ผลิตโดยบริษัทใดก็ตาม ล้วนเกิดมาจากเทคโนโลยีทั้งสิ้นเทคโนโลยีนั้นอาจสร้างขึ้นจากภายในบริษัทเองหรือเกิดจากการนำเทคโนโลยีของบริษัทอื่นมาใช้เพื่อพิจารณาจากมุมมองภายในองค์กร เราอาจแบ่งเทคโนโลยีได้เป็น 3 ระดับได้แก่
เทคโนโลยีโดดเด่น (distinctive technology)
เทคโนโลยีพื้นฐาน (basic technology)
เทคโนโลยีภายนอก (external techonlogy)
1.5 เทคโนโลยีกล่องดำ
เมื่อพิจารณาในแง่ของการ ถ่ายโอนเทคโนโลยีและพัฒนาเทคโนโลยีจะมีคำศัพท์หนึ่งซึ่งมีความหมายมากคือเทคโนโลยีกล่องดำกล่องดำเปรียบเสมือนสิ่งที่เราไม่รู้ว่าข้างในมีอะไรเทคโนโลยีกล่องดำจึงหมายถึงเทคโนโลยีที่มีการประยุกต์ใช้ในลักษณะที่ผู้ใช้รู้เพียงวิธีใช้งานเท่านั้นแต่ไม่รู้ ลึก ถึงกลไกเบื้องต้นผู้ใช้จึงไม่สามารถทำการปรับปรุงหรือพัฒนาเทคโนโลยีนั้นได้ตัวอย่างเช่นซอฟต์แวร์ที่วางขายในเชิงพาณิชย์โดยมากซอฟต์แวร์เหล่านี้มักไม่มีการเผยแพร่โปรแกรมที่มาหรือ source Code ดังนั้น Software เหล่านี้จึงถือเป็นเทคโนโลยีกล่องดำสำหรับผู้ใช้ในทำนองเดียวกันแม้ผู้พัฒนาซอฟแวร์จะเผยแพร่ source Code แต่หากผู้ใช้ไม่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมก็จัดเป็นเทคโนโลยีกล่องดำเช่นเดียวกัน ถ้าองค์กรพัฒนาเทคโนโลยีโดยใช้พื้นฐานจากเทคโนโลยีกล่องดำแต่เพียงอย่างเดียวก็มีความเสี่ยงสูงที่ผลการพัฒนานั้นจะอยู่เพียงช่วงสั้นๆนอกจากนี้องค์กรยังต้องพึ่งพาเจ้าของเทคโนโลยีกล่องดำอยู่ตลอดเวลาด้วยในทางตรงกันข้ามถ้าองค์กรใช้เทคโนโลยีกล่องดำเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยเท่านั้นเทคโนโลยีดังกล่าวก็จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีของเราได้เป็นอย่างดี
1.6 เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เป็นศัพท์ที่ใช้อธิบายระดับความเหมาะสมระหว่างเทคโนโลยีและทรัพยากรที่ใช้ เทคโนโลยีที่เหมาะสมเป็นหลักการที่ถูกกล่าวถึงครั้งแรกโดย E. Schumacherในปี ค.ศ. 1973 ผู้แต่งท่านนี้ได้เขียนหนังสือชื่อ Small is Beautiful ซึ่งกล่าวถึงความล้มเหลวของประเทศกำลังพัฒนาในการนำเทคโนโลยีมาใช้ความล้มเหลวนี้เกิดจากการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในขณะที่เทคโนโลยีขั้นกลางอาจมีประสิทธิผลกว่า
เทคโนโลยีที่เหมาะสมเป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบหรือถูกเลือกขึ้นเพื่อให้เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในประเทศกำลังพัฒนานั้นโครงสร้างพื้นฐานมะมีไม่เพียงพอ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจเพราะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรมนุษย์ได้เต็มประสิทธิภาพและนำไปสู่ประสิทธิภาพการผลิตที่สูงกว่าด้วย
หลักการของเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลยุทธ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีหลักการนี้สามารถใช้ได้ทั้งในระดับประเทศจนถึงระดับย่อยในสังคมตัวอย่างเช่นเมื่อพิจารณาในระดับองค์กรองค์กรไม่ควรใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหากขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถแต่ควรเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่มากกว่าดังนั้นเทคโนโลยีที่เลือกใช้อาจเป็นระดับใดก็ได้(สูง กลาง หรือต่ำ)
1.7 เทคโนโลยีล้ำยุค
1.8 เทคโนโลยีที่ผานการพิสูนจ์แล้ว
1.9 โครงสร้างพื้นฐาน
1.10 ความหมายของการจัดการเทคโนโลยี
1.11 สรุป
ในการแบ่งกลุ่มประเทศต่างๆในโลกนั้นเรามักพิจารณาจากระดับการพัฒนาทางเทคโนโลยีประเทศที่พัฒนาแล้วหมายถึงประเทศที่ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศชาติซึ่งนำไปสู่ความกินดีอยู่ดีของประชาชนส่วนประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาเป็นประเทศที่ยังขาดแคลนความรู้ทางเทคโนโลยีที่จำเป็นเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศชาติและความอยู่ดีกินดีให้แก่ประชาชนในที่นี้จะเห็นได้ว่าอันที่จริงแล้วเทคโนโลยีไม่ได้เป็นสิ่งที่สร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศชาติแต่การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่างหากเป็นสิ่งที่สร้างความร่ำรวยให้กับชาติต่างๆดังนั้นการจัดการเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่เราจำ ต้องเรียนรู้
ในระดับองค์กรนั้น ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากองค์กรต่างๆจึงต้องปรับตัวและพัฒนาขีดความสามารถเพื่อให้ ตามทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ไม่ว่าองค์กรจะอยู่ในฐานะของผู้นำหรือผู้ตามทางเทคโนโลยีก็ตามความรู้ด้าน MOT เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อให้องค์กรอยู่รอดและเติบโตได้อย่างยั่งยืน
บทที่ 2 วงจรชีวิตของเทคโนโลยี
1 เส้นโค้งวงจรชีวิตของเทคโนโลยี
เทคโนโลยีก็เหมือนทุกสรรพสิ่งในโลก ที่มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเราสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโดยใช้เส้นโค้งรูปตัว S ดังรูปที่ 1.1 ในที่นี้แกน x เป็นเวลา แกน Y เป็นพารามิเตอร์ที่เกี่ยวกับสมรรถนะของเทคโนโลยีเช่นความเร็วของโมเด็มปริมาณไอเสียที่ปล่อยออกจากรถยนต์เป็นต้น วงจรชีวิตของเทคโนโลยีสามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน
2 วงจรชีวิตของเทคโนโลยีและการเจริญเติบโตของตลาด
เมื่อเทคโนโลยีถูกนำมาวางตลาดหรือสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ก็จะก่อให้เกิดรายได้ขึ้นในรูปที่ 2 แสดงให้เห็นรูปแบบการเจริญเติบโตของตลาดในช่วงเวลาต่างๆของเทคโนโลยีในที่นี้แกน x เป็นเวลาและแกน Y เป็นตัวชี้วัดทางการตลาดเช่นยอดขายจากรูปจะเห็นว่าสามารถแบ่งได้เป็นหลายช่วงได้แก่ ช่วงการพัฒนาเทคโนโลยี ช่วงการวางตลาด ช่วงการเติบโต ช่วงการอิ่มตัว ช่วงการทดแทน และ ช่วงการเสื่อม
3 บทบาทของเทคโนโลยีย่อยต่อวงจรชีวิตของเทคโนโลยี
เทคโนโลยีหนึ่ง ๆ อาจประกอบด้วยเทคโนโลยีหลายอย่างอยู่ด้วยกันตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจัดเป็นเทคโนโลยีที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีย่อยหลายอย่างเช่น หน่วยความจำ ซอฟต์แวร์ ไมโครโปรเซสเซอร์ เหล่านี้ต่างก็มีวงจรชีวิตเป็นของตนเองการพัฒนาของเทคโนโลยีย่อยแต่ละอย่างจะช่วยต่อวงจรชีวิตโดยรวมของคอมพิวเตอร์ให้ยืนยาวขึ้น
4 การผลักดันนวัตกรรมในองค์กร
นวัตกรรมอาจเกิดขึ้นได้จากการค้นพบทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์(science push) หรือเกิดขึ้นจากความต้องการของตลาดก็ได้(market pull) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มักทำให้เกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ขึ้น กับอุตสาหกรรมและนำไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายในอดีตเราจะเห็นว่าการค้นพบใหม่ทางเทคโนโลยีเกิดจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์แทบทั้งสิ้น
ส่วนนวัตกรรมที่เกิดจากความต้องการของตลาดเกิดขึ้นได้ในกรณี ที่เทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเทคโนโลยีส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการดึงโดยท้องตลาดมักมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปหรือเป็นการปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วการที่องค์กรจะกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมได้เร็วขึ้นควรรวมหลักการทั้งสองเข้าด้วยกัน
5 วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์จะมีความคล้ายคลึงกับวงจรชีวิตของเทคโนโลยีช่วงแรกเป็นช่วงของการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่วงที่สองเป็นช่วงการวางตลาดผลิตภัณฑ์ ตามด้วยช่วงเติบโต ช่วงอิ่มตัว และ ช่วงเสื่อม
6 ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการ
การที่เทคโนโลยีจะอยู่ในท้องตลาดได้นาน ๆ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการควรเกิดขึ้นในลักษณะที่สนับสนุนกัน เมื่ออัตราการเกิด นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ก้าวหน้าไปถึงจุดสูงสุด และเริ่มเสื่อมลงก็จะเกิด Design ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติเหนือรายอื่น ๆ และกลายเป็นดีไซน์โดดเด่นหรือดีไซน์ที่คลองตลาด (dominant Design) ดีไซน์นี้จะกลายเป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมไปในที่สุดหลังจากนั้นจะเกิดนวัตกรรมกระบวนการขึ้นเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของกระบวนการจะช่วยยืดอายุให้กับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์และช่วยรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขันจนกว่าจะมีผลิตภัณฑ์ทดแทนเกิดขึ้น
7 การเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี
การสร้างความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีนั้นมีข้อดีอยู่หลายประการได้แก่
ผู้นำรายแรกมีโอกาสครอบครองตลาดได้มากในระยะแรกเนื่องจากเข้าสู่ตลาดก่อนรายอื่น
ผู้นำรายแรกสามารถสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับก่อนรายอื่นผู้นำทางเทคโนโลยีที่เป็นผู้วางตลาดผลิตภัณฑ์ก่อนจะเป็นที่รู้จักและมีชื่อติดหูสาธารณชนจึงทำให้เกิดความน่าเชื่อถือขึ้นโดยอัตโนมัติ
ผู้นำทางเทคโนโลยีมีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าทางธุรกิจไม่ว่าจะเป็นลูกค้าผู้ขายชิ้นส่วนความสัมพันธ์นี้นำไปสู่ความไว้วางใจและความเชื่อถือในตราสินค้าทำให้เป็นเรื่องยากที่ผู้ตามจะเลียนแบบได้
ผู้นำรายแรกเป็นผู้ กำหนดมาตรฐาน การเป็นผู้วางตลาดเจ้าแรก จะช่วยให้ผู้นำมีโอกาสกำหนดมาตรฐานต่างๆในการแข่งขันทางธุรกิจเช่นมาตรฐานด้านราคาการให้บริการการรับประกันสินค้ามาตรฐานในการต่อรองกับช่องทางการจัดจำหน่ายมาตรฐานการออกแบบเป็นต้น
สรุป
วงจรชีวิตของเทคโนโลยีเป็นการอธิบายความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีตามเวลาหรืออธิบายความเปลี่ยนแปลงของยอดขายตามเวลาที่ผ่านไปในแต่ละช่วงชีวิตจะมีรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีที่แตกต่างกันควรทราบว่าเทคโนโลยีของตนอยู่ในช่วงใดและจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเพื่อจะได้วางแผน กลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม
บทที่ 3 กระบวนการ
สร้างสรรค์นวัตกรรม
3.1 การประดิษฐ์และนวัตกรรม
3.2 ประเภทของนวัตกรรม
3.3 กระบวนการสร้างนวัตกรรม
3.4 ความเป็นผู้ประกอบการ
3.5 ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
สรุป กระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม
เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนในการเปลี่ยนแปลงไอเดียและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นการประยุกต์ใช้ในทางกายภาพซึ่งมีผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจตลอดจนความเป็นอยู่ของประชาชนในปัจจุบันมีผู้อธิบายกระบวนการ พัฒนานวัตกรรมไว้หลายรูปแบบ แต่สิ่งที่ควรตระหนักคือ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมนั้นควรคำนึงถึงปัจจัยใน สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
การประดิษฐ์ invention เป็นการสร้างเทคโนโลยีใหม่ซึ่งนิยมใช้กับการสร้างสรรค์สิ่งของที่จับต้องได้เช่นรถยนต์เครื่องจักรไอน้ำวัสดุ ชนิดใหม่เป็นต้น การประดิษฐ์เป็นผลจากจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์
นวัตกรรม innovation เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเช่นกันแต่จะครอบคลุมและการสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่ได้เป็นวัตถุด้วยเช่นกลยุทธ์กระบวนการเทคนิควิธีการภาษาเป็นต้น นอกจากนี้นวัตกรรมจะต้องถูกนำไปประยุกต์ใช้ในวงกว้างและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมแม้ว่านวัตกรรมและการประดิษฐ์จะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดแต่ก็มีความหมายไม่เหมือนกันเราอาจมองการประดิษฐ์ได้ว่าเป็นเหตุการณ์แต่นวัตกรรมอาจมองได้ว่าเป็นกระบวนการนั่นคือการประดิษฐ์มักทำให้เกิดกระบวนการทางนวัตกรรมติดตามมานวัตกรรมจึงเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมโยงระหว่าง Idea กับการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์นั่นเอง การจัดการเทคโนโลยีเป็นศาสตร์ที่ส่งเสริมให้เกิดการประดิษฐ์และการจัดการนวัตกรรมขึ้นเพื่อประโยชน์แก่สังคม
ผู้ประกอบการเป็นผู้ที่มีความสามารถในการขายไอเดียหรือวางไอเดียสู่ท้องตลาดโดยมักมีคุณสมบัติเฉพาะตัวคือมีวิสัยทัศน์มีความกล้าทำสิ่งใหม่ๆมีความมุ่งมั่นมีความคิดเป็นอิสระมีความทะเยอทะยานที่จะประสบความสำเร็จนอกจากนี้จะต้องมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์คือต้องมีความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจผู้อื่นให้เห็นความสำคัญของไอเดียของตนได้เพื่อจะได้มีผู้ร่วมลงทุนและมีลูกค้าซื้อสินค้านอกจากนี้ต้องมีความสามารถในการจูงใจลูกน้องเพื่อกระตุ้นให้ผู้อื่นเกิดความกระตือรือร้นที่จะร่วมบุกเบิกกิจการไปด้วยกันความสามารถเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรียนรู้และฝึกฝนกันได้เราจะเห็นว่าผู้ประกอบ การไม่จำเป็นต้องเป็นนักประดิษฐ์แต่มีความสามารถที่จะนำสิ่งประดิษฐ์ออกวางตลาดได้ ตัวอย่างของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จเช่น Steve Jobs บริษัท Apple บิวเกต บริษัท Microsoft ตันภาสกรนทีโออิชิเป็นต้น
กระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นกระบวนการเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อเผยแพร่ไปสู่ชุมชนหรือใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยปกติแล้วทฤษฎีหรือองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพียงลำพังจะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จะต้องได้มีความคิดสร้างสรรค์ร่วมด้วยจึงจะสามารถประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการได้กระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมประกอบด้วยกิจกรรมหลายอย่างกระทำต่อเนื่องหรืออาจทับซ้อนกันจนได้เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย
สามารถแบ่งนวัตกรรมได้หลายรูปแบบถ้าแบ่งตามปริมาณความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจแบ่งนวัตกรรมได้ 2 แบบ
นวัตกรรมแบบก้าวกระโดด (radical หรือ revolutionary innovation) จะมีระดับการเปลี่ยนแปลงสูงมาก เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
การประดิษฐ์ invention เป็นการสร้างเทคโนโลยีใหม่ซึ่งนิยมใช้กับการสร้างสรรค์สิ่งของที่จับต้องได้เช่นรถยนต์เครื่องจักรไอน้ำวัสดุ ชนิดใหม่เป็นต้น การประดิษฐ์เป็นผลจากจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์
นวัตกรรม innovation เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเช่นกันแต่จะครอบคลุมและการสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่ได้เป็นวัตถุด้วยเช่นกลยุทธ์กระบวนการเทคนิควิธีการภาษาเป็นต้น นอกจากนี้นวัตกรรมจะต้องถูกนำไปประยุกต์ใช้ในวงกว้างและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมแม้ว่านวัตกรรมและการประดิษฐ์จะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดแต่ก็มีความหมายไม่เหมือนกันเราอาจมองการประดิษฐ์ได้ว่าเป็นเหตุการณ์แต่นวัตกรรมอาจมองได้ว่าเป็นกระบวนการนั่นคือการประดิษฐ์มักทำให้เกิดกระบวนการทางนวัตกรรมติดตามมานวัตกรรมจึงเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมโยงระหว่าง Idea กับการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์นั่นเอง การจัดการเทคโนโลยีเป็นศาสตร์ที่ส่งเสริมให้เกิดการประดิษฐ์และการจัดการนวัตกรรมขึ้นเพื่อประโยชน์แก่สังคม
นายธนศักดิ์ เจริญพรพิสุทธิ์
6205110012