Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความแตกต่างของการกระทำความผิดตามกฎหมายแพ่งและอาญา - Coggle Diagram
ความแตกต่างของการกระทำความผิดตามกฎหมายแพ่งและอาญา
ความหมาย
1.กฎหมายแพ่ง กฎหมายเอกชนที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคล เกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายตั้งแต่เกิดจนตาย เช่นกฎหมายเกี่ยวกับ ทรัพย์ นิติกรรม สัญญาหนี้ ครอบครัว มรดก.
2.กฎหมายอาญา เป็นประชุมกฎหมายที่สัมพันธ์กับอาชญากรรม โดยห้ามความประพฤติที่รัฐมองว่าคุกคาม หรือเป็นภัยต่อทรัพย์สิน สุขภาพ ความปลอดภัยและศีลธรรมของประชาชน กฎหมายอาญาส่วนใหญ่ตั้งขึ้นเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งตราขึ้นโดยสภานิติบัญญัติ กฎหมายอาญามีบทลงโทษและการทำให้กลับคืนดีซึ่งประชาชนผู้ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว
วัตถุประสงค์
1.กฎหมายอาญามีความพิเศษจากผลลัพธ์ที่อาจรุนแรงหรือบทลงโทษที่ละเว้นการปฏิบัติตามหลักกฎหมายอาญา[1] อาชญากรรมทุกประเภทมีองค์ประกอบแห่งความผิดอาญา โทษทางอาญามีทั้งโทษประหารชีวิต ซึ่งบางเขตอำนาจศาลใช้บังคับสำหรับอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุด, การลงโทษทางกาย เช่น การเฆี่ยน แม้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกห้ามการลงโทษลักษณะนี้แล้ว, การกักขังในเรือนจำหรือคุกในสภาพต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการแยกขังเดี่ยว ส่วนระยะเวลานั้นอาจมีตั้งแต่ 1 วันไปจนถึงตลอดชีวิต, การคุมความประพฤติ เช่น การกักให้อยู่แต่ในบ้าน (house arrest) และผู้ต้องโทษอาจถูกบังคับให้ปฏิบัติตามแนวทางอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยตัวโดยมีการคุมประพฤติหรือการคุมประพฤติ, ปรับ, และริบทรัพย์เป็นเงินหรือทรัพย์สิน
2.กฎหมายแพ่ง รัฐจึงออกกฎหมายมารองรับการ กระทำนั้นๆ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ หรือกติกา ป้องกันมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ หรือได้เปรียบ
การตีความ
1.กฎหมายอาญา เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดความผิด และโทษ ฉะนั้นจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด กล่าวคือ ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติ ว่าการกระทำหรืองดเว้นกระทำการใดเป็นความผิด ก็ต้องตีความว่าเฉพาะการ กระทำหรือการงดเว้นกระทำที่ระบุไว้เท่านั้น ที่กฎหมายมุ่งหมายจะให้เป็นความผิด การกระทำหรืองดเว้นกระทำอื่นนอกจากนั้นหาเป็นความผิด
2.กฎหมายแพ่ง หลักการตีความกฎหมายแพ่ง โดยทั่วไปแล้วจะตีความตามตัวอักษร ในกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายนั้นชัดเจนแล้ว แต่ถ้ากฎหมายนั้นเคลือบคลุม ไม่ชัดเจนก็ต้องตีความตามความมุ่งหมายหรือตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยอาศัยหลักความเป็นธรรมที่สอดคล้องกับความรู้สึกของคนทั่วไป และถ้าเป็น บทบัญญัติอันเด็ดขาดหรือที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
บุคคลที่เกี่ยวข้อง
1.กฎหมายแพ่ง
การจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยนั้นมี ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน (Bürgerliches Gesetzbuch) และประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น (民法) เป็นแม่แบบหลัก กับทั้งมีประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส (Code civil des Français) และประมวลกฎหมายแพ่งสวิส (Zivilgesetzbuch) เป็นแม่แบบรอง ประกอบกับกฎหมายเดิมของสยามเอง กับทั้งกฎหมายของชาติอื่น ๆ และกฎหมายระหว่างประเทศอีกประปราย[2] โดยงานร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า เฉพาะการร่างบรรพแรกจากที่วางโครงการไว้ทั้งหมดหกบรรพนั้น ก็กินเวลานานถึงสิบห้าปี ใช้งบประมาณมหาศาล และมีการเปลี่ยนคณะกรรมการร่างถึงสี่ชุด ทุกชุดมีชาวฝรั่งเศสเป็นสมาชิก โดยเฉพาะชุดแรกเป็นชาวฝรั่งเศสทั้งหมด หลังจากนั้นจึงเริ่มทยอยร่างและประกาศใช้บรรพอื่น ๆ จนครบ ทั้งหมดกินเวลากว่าสามสิบปี ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาจนปัจจุบันตามสถานการณ์
2กฎหมายอาญา
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเป็นประธานในการตรวจพระราชกำหนดบทพระอัยการเก่าใหม่ ปรึกษาลักษณะการที่จะชำระและจัดระเบียบกฎหมายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ และทรงเป็นกำลังสำคัญในการตรวจชำระพระอัยการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายไทยฉบับแรก.
บทลงโทษ 1.กฎหมายอาญาโทษตามกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๘ ได้กำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดไว้ ๕ สถาน ตามลำดับความร้ายแรงของการกระทำความผิด คือ (๑) ประหารชีวิต (๒) จำคุก (๓) กักขัง (๔) ปรับ (๕) ริบทรัพย์สิน
กฎหมายแพ่ง
โทษทางแพ่ง เกิดจากมีการกระทำความผิดทางแพ่ง พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ มีการทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายทางใดทางหนึ่ง เช่น เสียหายทางร่างกาย ชื่อเสียง หรือสิทธิของบุคคลนั้น ผู้กระทำความผิดจึงจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย (ค่าสินไหมทดแทน) เป็นตัวเงิน
ตัวอย่างของการกระทำความผิด 1. กฎหมายอาญา
ความผิดฐานลักทรัพย์
ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ความผิดฐานชิงทรัพย์
ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
ความผิดฐานรีดเอาทรัพย์
ความผิดฐานปล้นทรัพย์
ความผิดฐานฉ้อโกง
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
ความผิดฐานยักยอก
ความผิดฐานรับของโจร
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานบุกรุก
ตัวอย่างของการกระทำความ กฎหมายแพ่งคดีแพ่ง คือ คดีที่ฟ้อง เพื่อเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สิน ที่ผิดสัญญาหรือโต้แย้งสิทธิกัน ตัวอย่างเช่น » คดีกู้ยืมเงิน ค้ำประกัน จำนำ จำนอง » คดีผิดสัญญาก่อสร้าง