Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง - Coggle Diagram
การวางแผนดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
เข้าใจ คือ การทำอะไรต้องเข้าใจปัญหา เข้าใจหนทางแก้ไข เข้าใจกระบวนการจัดการ และปรับความเข้าใจระหว่างผู้ให้กับผู้รับ
เข้าถึง คือ เข้าถึงการกระทำ ได้แก่ การสื่อสารและการมีส่วนร่วม โดยมุ่งสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือ
พัฒนา คือ การพัฒนาที่ดำเนินไปอย่างยั่งยืน ไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง
ขั้นตอนการทรงงานตามศาสตร์พระราชา
การศึกษาข้อมูล
การหาข้อมูลในพื้นที่
การศึกษาข้อมูลและการจัดทำโครงการ
การดำเนินงานตามโครงการ
การติดตามผลงาน
ความสำคัญของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1. ระดับบุคคล
ทำให้มีสติในการดำรงชีวิต
ทำให้เกิดการตระหนักถึงความสุขและความพอใจในการใช้ชีวิตอย่างพอดี
ทำให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวอย่างพอมีพอกิน
ทำให้มีเหตุผลในการคิด การพูด และการกระทำ โดยใช้สติและมีคุณธรรม
ทำให้มีการช่วยเหลือ แบ่งปัน ไม่เบียดเบียนกัน
ทำให้มีการใช้จ่ายเงินและทรัพยากรอย่างประหยัด
2. ระดับชุมชน
ทำให้เกิดความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้
ทำให้สามัคคี ช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยกัน
ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ทำให้มีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
ทำให้มีการร่วมกันนำเทคโนโลยีมาพัฒนาชุมชนอย่างเหมาะสม
3. ระดับประเทศ
ทำให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง
ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข
ทำให้ทรัพยากรถูกนำมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ทำให้มีการวางแผนพัฒนาอย่างรอบคอบ
ทำให้สามารถลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจและนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณ
หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็นและเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
ความมีเหตุผล
หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล คิดถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างถ้วนถี่ คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต