Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
1.Diabetes 2.Hypertension 3.Dyslipidemia, นางสาวสุพรรณี จันโท…
1.Diabetes
2.Hypertension
3.Dyslipidemia
พยาธิสภาพ
2.Hypertension
กลไกการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที (cardiac output) ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อปริมาตรเลือดส่งออก จากหัวใจต่อนาที ได้แก่ ปริมาตรเลือดที่เพิ่มขึ้นและการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจที่เพิ่มขึ้น
3.Dyslipidemia
ไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย ระดับไข มันในเลือดมีความสำคัญต่อการเกิดหลอดเลือดตีบตันโดยเฉพาะ หลอดเลือดที่ไปเลี่ยงหัวใจ ดังนั้นผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจึงมีโอกาสเป็นโรดหัวใจขาดเลือดสมองขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตได้
1.Diabetes
ความผิดปกติของตับอ่อนที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือฮอร์โมนอินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือด
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ-สกุล: นางมลิ อานพินิจ อายุ 63 ปี
ที่อยู่ : 155 หมู่8 ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
วันที่นักศึกษารับไว้ในความดูแล :24 มกราคม 2565
การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น : Diabeties with Hypertension with Dyslipdemia
อาการสำคัญ : ป่วยมีโรคประจeตัวคือโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง มีอาการชาปลายมือปลายเท้า
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน : 14 ปีก่อน ผู้ป่วยตรวจคัดกรองโรคและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรค
ความดันโลหิตสูง ปัจจุบันรับประทานยาตามแพทย์สั่งและพบแพทย์ตามนัดที่โรงพยาบาลมัญจาคีรี
3ปีก่อน ผู้ป่วยตรวจคัดกรองโรคและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง ปัจจุบันรับประทานยาตามแพทย์สั่งและพบแพทย์ตามนัดที่โรงพยาบาลมัญจาคีรี
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : 41ปีก่อนผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดท าหมันที่โรงพยาบาลขอนแก่น
5ปีก่อน ผู้ป่วยเคยได้รับการผ่าตัดดามกระดูกแขนข้างขวาเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ ผ่าตัดที่โรงพยาบาลขอนแก่น
อาการและอาการแสดง
ขณะสัมภาษณ์ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี สีหน้าร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดคุยถามตอบรู้เรื่อง ไม่มีอาการพูดสับสน ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันและการทำกิจกรรมในงานอาชีพได้ ผู้ป่วยมีต้อเนื้อที่ตาข้างซ้าย ผู้ป่วยเคยได้รับการผ่าตัดทำหมันและผ่าตัดดามกระดูก ผู้ป่วยรับประทานอาหารเป็นอาหารพื้นบ้าน รับประทานครบ3มื้อ รับประทานอาหารได้อร่อย ชอบรับประทานของหวาน ดื่มน้ำวันละประมาณ2ขวด ขวดละประมาณ600ml ผู้ป่วยปัสสาวะในตอนกลางวัน 5-6ครั้ง ปัสสาวะในตอนกลางคืน 3-4 ครั้ง ปัสสาวะสีเหลืองฟาง ปัสสาวะไม่แสบขัด มีการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่บ้างเป็นบางครั้ง ผู้ป่วยอุจจาระทุกวัน ในตอนเช้า อุจจาระสีเหลืองปกติ ไม่มีมูกเลือด ไม่มีอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง ผู้ป่วยเข้านอนเวลา21.00น ตื่นนอน 05.00 น นอนได้หลับๆตื่นๆเนื่องจากต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำกลางดึก ผู้ป่วยรับรู้และเข้าใจกับโรคที่เป็นอยู่ ไม่มีอาการวิตกกังวล ไม่มีความเครียด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับโรคเบาหวาน
ข้อมูลสนับสนุน
S: -ผู้ป่วยรับประทานผลไม้ ของหวานเยอะกว่าที่แพทย์แนะนำ
O : -
วัตถุประสงค์ของการพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการรับประทานอาหาร
การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรคเบาหวาน
กิจกรรมทางการพยาบาล
2.แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยการกระดกส้นเท้าปลายเท้า การยกและกางแขนออก การแกว่งแขน ถ้ามีแรงมากขึ้นให้เดินออกกำลังกาย วันละประมาณ 30-50นาที สัปดาห์ละ 3- 5วันและในแต่ละวันอาจแบ่งออกเป็น 2-3ครั้ง
3.แนะนำให้มีการสังเกตอาการของ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ ซึม อ่อนเพลีย ผิวแห้ง กระหายน้ำ อาเจียน ปวดท้อง ปวดเมื่อยตาม ร่างกาย ชีพจรเต้นเร็วหากมีอาการ ดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์
1.แนะนำเกี่ยวกับอาหารควรเลือกอาหารที่มีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันในสัดส่วนที่พอเหมาะ รับประทานอาหารให้ตรง เวลาและงดดื่มน้ำหวาน ขนมหวาน
4.แนะนำให้รับประทานยาให้ครบรับประทานให้ตรงเวลาและไปพบ แพทย์ตามนัดเพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง
เกณฑ์การประเมิน
-ผู้ป่วยงดของหวาน ควบคุมปริมาณ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโซเดียม
-ผู้ป่วยมีการออกกำลังกาย วันละประมาณ 30-50นาที สัปดาห์ละ 3-5วัน
2.เสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าเนื่องจากการรับความรู้สึกของเส้นประสาทส่วนปลายลดลงและขาดความรู้ในการดูแลเท้า
วัตถุประสงค์ของการพยาบาล
-เพื่อป้องกันการเกิด แผลที่เท้า
-เพื่อให้ผู้ป่วยและ ญาติมีความรู้ในการ ดูแลเท้าได้ถูกต้อง
เกณฑ์การประเมิน
-ผู้ป่วยไม่มีแผลที่เท้า และจากการสอบถามผู้ป่วยและญาติบอก การดูแลเท้าได้ถูกต้อง
ข้อมูลสนับสนุน
S: -ผู้ป่วยบอกว่ามีอาการ ชาที่ปลายมือและปลาย
O :-
กิจกรรมทางการพยาบาล
ตรวจเท้า และสาธิตการทำความ สะอาดผิวหนังตามซอกอับต่างๆ
ให้ความรู้ผู้ป่วยในเรื่องการตรวจ และการดูแลเท้าด้วยตนเอง โดยให้ ตรวจเท้าทุกวัน ทำความสะอาดเท้าเช็ดให้แห้งและทาโลชั่นทุกครั้ง โดย เลี่ยงตามง่ามนิ้วเท้า ตัดเล็บตรงๆ เสมอปลายนิ้วควรสวมถุงเท้าพวกผ้า ฝ้าย เลือกรองเท้าหัวบาน หุ้มส้น ใส่สบายและสวมรองเท้าทุกครั้งเวลาออกนอกบ้าน บริหารเท้าทุกวัน ห้ามนั่ง ไขว่ห้าง ห้ามเอากระเป๋าน้ำร้อนมาวาง บนเท้าหรือขา ห้ามแช่เท้าในน้ำโดยเด็ดขาดและไม่ควรเดินเท้าเปล่าเมื่ออยู่ในบ้าน เมื่อตรวจพบว่ามีบาดแผลขนาดใหญ่หรือลึกหรือมีลักษณะการอักเสบ เช่น บวม แดง ร้อนเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์
นางสาวสุพรรณี จันโท รหัสนักศึกษา 63113301109