Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
(Cardiac dysrhythmias)
Ventricular fibrillation (VF)
สาเหตุ
Hypoxia
Hydrogen ion (acidosis)
Hypovolemia
Hypokalemia
Hyperkalemia
Hypothermia
Tension pneumothorax
Cardiac tamponade
Toxins
Pulmonary thrombosis
Coronary thrombosis
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันที คือ หมดสติ ไม่มีชีพจร รูม่านตาขยาย เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตออกมาได้ และเสียชีวิต
ความหมาย
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป`นจุดกำเนิดการเต้นของหัวใจตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เต้นรัวไม่เป็นจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ ลักษณะ ECG จะไม่มี P wave ไม่เห็นรูปร่างของ QRS complex ระบุไม่ได้ว่าส่วนไหนเป็น QRS complex ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขผู้ป่วย
จะหัวใจหยุดเต้นทันที
การพยาบาล
เตรียมเครื่งมือ อุปกรณ์และยาที่ใช้ในการช่วยฟื้นคืนชีพให้พร้อมและทำ CPR ทันที เนื่องจากการรักษา VF และ Pulseless VT สิ่งที่สำคัญคือ การช็อกไฟฟ้าหัวใจทันที และการกดหน้าอก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ปริมาณเลือดออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลง เนื่องจากความผิดปกติของ อัตรา และจังหวะการเต้นของหัวใจ
การพยาบาล
ติดตามค่าเกลือแร่ในเลือด เพื่อหาสาเหตุนำของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดตามผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยว่ามียาชนิดใดที่มีผลต่ออัตรา และจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือไม่ ถ้าพบให้รายงานแพทย์ทันที
ป้องกันภาวะ tissue hypoxia โดยให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
ติดตามและบันทึกอาการแสดงของภาวะอวัยวะและเนื้อเยื่อได้รับเลือดไปเลี้ยง
ติดตามและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของ สัญญาณชีพ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยเฉพาะ ST segment เพื่อประเมินภาวะ Myocardial tissue perfusion และปsองกันการเกิด Myocardial ischemia
ให้ยา antidysrhythmia ตามแผนการรักษา
ทำ CPR ร่วมกับทีมรักษาผู้ป่วย ในกรณีเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง (lethal dysrhythmias)
Ventricular tachycardia (VT)
ความหมาย
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกำเนิดการเต้นของหัวใจ ในอัตราที่เร็วมากแต่สม่ำเสมอ 150-250 ครั้ง/นาที ซึ่งจุดกำเนิดอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง ลักษณะ ECG ไม่พบ P wave ลักษณะ QRS complex มีรูปร่างผิดปกติกว้างมากกว่า 0.12 วินาที VT อาจเปลี่ยนเป็น VF ได้ในทันทีและทำให้เสียชีวิต
ประเภทของ VT
Sustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 30วินาที ซึ่งมีผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง
Monomorphic VT คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบเดียว
Nonsustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลาน้อยกว่า30วินาที
Polymorphic VT หรือ Torsade คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบเดียว
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณกว้าง (Myocardial infarction) โรคหัวใจรูห์มาติก (Rheumatic heart disease) ถูกไฟฟ้าดูด
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ พิษจากยาดิจิทัลลิส (Digitalis toxicity) และกล้ามเนื้อหัวใจถูกกระตุ้นจากการตรวจสวนหัวใจ
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันที ผู้ป่วยจะรู้สึกใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจหยุดเต้น
การพยาบาล
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลำชีพจรได้ร่วมกับมีอาการของการไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง ให้เตรียมผู้ป่วยในการทำ synchronized cardioversion
ร่วมกับแพทย์ในการดูแลให้ได้รับยาและแก้ไขสาเหตุหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลำชีพจรไม่ได้ (Pulseless VT) ให้เตรียมเครื่อง Defibrillator เพื่อให้แพทย์ทำการช็อกไฟฟ้าหัวใจ ในระหว่าง เตรียมเครื่องให้ทำการกดหน้าอกจนกว่าเครื่องจะพร้อมปล่อย
กระแสไฟฟ้า
คลำชีพจร ประเมินสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว เจ็บหน้าอก
ภาวะเขียว จำนวนปัสสาวะ เพื่อประเมินภาวะเลือดไปเลี้ยงสมอง และอวัยวะสำคัญลดลง
ทำ CPR ถ้าหัวใจหยุดเต้น
นำเครื่อง Defibrillator มาที่เตียงผู้ป่วยและรายงานแพทย์ทันที และเปิดหลอดเลือดดำ เพื่อให้ยาและสารน้ำ
.Atrial fibrillation (AF)
ประเภทของ AF
Permanent AF หมายถึง AF ที่เป็นนานติดต่อกันกว่า 1 ปีโดยไม่เคยรักษาหรือเคยรักษาแต่ไม่หาย
Persistent AF หมายถึง AF ที'ไม่หายได้เองภายใน 7 วัน หรือหายได้ด้วยการรักษาด้วยยา
Recurrent AF หมายถึง AF ที่เกิดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง
Paroxysmal AF หมายถึง AF ที'หายได้เองภายใน 7 วัน โดยไม่ต้องใช้ยา
Lone AF หมายถึง AF ที่เป็นในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี ที่ไม่มีความผิดปกติของหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุ
พบบ่อยในผูู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจรูห์มาติก ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ (open heart surgery), hyperthyrodism
ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว เกิดจากจุดปล่อยกระแสไฟฟ้า ใน atrium ส่งกระแสไฟฟ้าออกมาถี่และไม่สม่ำเสมอและไม่ประสานกัน
อาการและอาการแสดง
ใจสั่น อ่อนเพลีย เหนื่อยเวลาออกแรง คลำชีพจรที่ข้อมือได้เบา
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับยาควบคุมการเต้นของหัวใจ เช่น digoxin, beta-blocker, calcium channel blockers, amiodarone
ดูแลให้ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามแผนการรักษาในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ว่ามีลิ่มเลือดเกิดขึ้น
สังเกตอาการและอาการแสดงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน สมอง ปอด แขนและขา
เตรียมผู้ป่วยและอุปกรณ์ในการทำ Cardioversion เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ
ประเมินการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพและคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง
เตรียมผู้ป่วยในการจี้ด้วยคลื่นไฟฟsาความถี่สูง (Radiofrequency Ablation) ในผู้ป่วยที่เป็น AF และไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้
ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต
(Hypertensive crisis)
อาการและอาการแสดง
Unstable angina
Pulmonary edema
Myocardial infarction
Aortic dissection
Acute cardiovascular syndromes
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนปลายไม่เพียงพอ
วิตกกังวล
เสี่ยงต่อเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
พร่องความรู้
คำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้อง
กับความดันโลหิตสูง
Hypertensive urgency
ภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรงแต่ไม่มีอาการของอวัยวะเป้าหมายถูกทำลาย ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก
Hypertensive emergency
ภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่า 180/120 มม.ปรอท ร่วมกับมี
การทำลายของอวัยวะเป้าหมาย อาจมีอาการของ Acute MI, Stroke และ Kidney failure
Cardiovascular disease (CVD)
โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง
โรคของหลอดเลือดหวัใจโคโรนารี่ โรคหัวใจล้มเหลว
Hypertensive crisis
ภาวะความดันโลหิตสูงอย่างเฉียบพลันสูงกว่า 180/120 มม.ปรอท และทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะเป้าหมาย
Target organ damage (TOD)
ความผิดปกติที่เกิดแก่
อวัยวะในร่างกายจากความดันโลหิตสูง
Hypertension
ความดันโลหิตที่วัดจากสถานพยาบาลที่มีค่าความดันโลหิตซิสโตลิกตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอท และความดันโลหิตไดแอสโตลิกตั้งแต่ 90 มิลิเมตรปรอท
การพยาบาล
การรักษาด้วย short-acting intravenous antihypertensive agents
ในระยะเฉียบพลัน เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของระบบต่างๆ ได้แก่ neurologic, cardiac, and renal systems
ในระหว่างได้รับยา
ประเมินการไหลเวียนโลหิตมาเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนปลาย ได้แก่ ชีพจร capillary refill อุณหภูมิของผิวหนัง
ประเมินการไหลเวียนโลหิตมาเลี้ยงไต
ประเมินและบันทึกการตอบสนองต่อยาโดยติดตามความดันโลหิตอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการลดลงของความดันโลหิตอย่างรวดเร็ว
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรม
ให้ความรู้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการรักษาเพื่อควบคุมความดันโลหิต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจการทำงานของไตจากค่า Creatinine , Glomerular filtration rate (eGFR) , ค่าอัลบูมินในปัสสาวะ
ประเมินหาความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (12-lead ECG)
ตรวจ CBC ประเมินภาวะ microangiopathic hemolytic anemia (MAHA)
Chest X-ray
ในรายที่สงสัยความผิดปกติของสมอง ส่งตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง
การตรวจร่างกาย
วัดสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตเปรียบเทียบกันจากแขนซ้ายและขวา น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว รวมถึงตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจาก TOD
สาเหตุ
Exacerbation of chronic hypertension
การใช้ยาบางชนิดที่มีผลทำให้ความดันโลหิตสูง
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด
ยาคุมกำเนิด
Acute or chronic renal disease
การหยุดยาลดความดันโลหิตทันที
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
(Acute Heart Failure [AHF])
ความหมาย
การเกิดอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วจากการทำงานผิดปกติของหัวใจทั้งการบีบตัวหรือการคลายตัวของหัวใจ การเต้นของหัวใจผิดจังหวะหรือการเสียสมดุลของ preload และafterload
สาเหตุ
ความผิดปกตินอกระบบหัวใจและหลอดเลือด
ความผิดปกติทางหัวใจและหลอดเลือด
อาการและอาการแสดง
ภาวะนี้เป็นกลุ่มอาการที่มีอาการแสดงได้ 6 รูปแบบ
Pulmonary edema ภาวะที่มีอาการและอาการแสดงของปอดบวมน้ำร่วมด้วยอย่างชัดเจน
Cardiogenic shock ภาวะที่ร่างกายมี poor tissue perfusion
Hypertensive acute heart failure กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีปอดบวมน้ำ โดยมีความดันโลหิตสูงรุนแรงร่วมด้วย แต่การทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายยังอยู่ในเกณฑ์ดี
High output failure ภาวะหัวใจล้มเหลวโดยมีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีสูงกว่าปกติ
Acute decompensated heart failure กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แต่ไม่มีอาการรุนแรงมาก
Right heart failure ภาวะที่หัวใจด้านขวาทำงานล้มเหลว มีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีลดลง
อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยที่พบบ่อยๆ
หายใจเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ อ่อนเพลีย บวมตามแขนขา ความดันโลหิตปกติหรือ ต่ำ/สูง ท้องอืดโต แน่นท้อง ปnสสาวะออกน้อย/มาก หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เส้นเลือดดำที่คอโป่งพอง ฟังได้ยินเสียงปอด
ผิดปกติ(Lung crepitation) จากการที่มีเลือดคั่งในปอด (Pulmonary congestion)
การรักษา
การดึงน้ำและเกลือแร่ที่คั่งออกจากร่างกาย (Negative fluid balance)
การใช้ยา ได้แก่ ยาเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด ยาที่ใช้ในช็อค ยาบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด
การลดการทำงานของหัวใจ (Decrease cardiac workload)
การรักษาสาเหตุ ได้แก่ การขยายหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี, การเปลี่ยนลิ้นหัวใจในโคโรนารี่, การรักษาภาวะติดเชื้อ
การประเมินสภาพ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC, biochemical cardiac markers, ABG
การตรวจพิเศษ ได้แก่ CXR, echocardiogram, CT, coronary artery angiography (CAG)
การซักประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อประเมินอาการทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง
การพยาบาล
การลดการทำงานของหัวใจ และส่งเสริมการไหลเวียนเลือดไปยังเซลล์ให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ การคงไว้ซึ่งความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายและความผิดปกติทางด้านจิตใจ
ภาวะช็อก (Shock)
ความหมาย
เป็นภาวะที่เกิดความผิดปกติทางสรีรวิทยาส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกายลดต่ำลงกว่าความต้องการใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อและอวัยวะ
ระยะของช็อก
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะท้าย (Decompensated shock)
ภาวะช็อกที่ไม่สามารถชดเชยได้ (Irreversible shock)
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะแรก (Compensated shock)
ประเภทของช็อก
ภาวะช็อกจากหลอดเลือดมีการขยายตัว (Distributive shock)
3.1 ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock)
3.2 ภาวะช็อกจากการแพ้(Anaphylactic shock)
3.3 ภาวะช็อกจากการทำงานผิดปกติของต่อมหมวกไต (Hypoadrenal)
ภาวะช็อกจากการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจ (Obstructive shock)
ภาวะช็อกจากภาวะหัวใจล้มเหลว (Cardiogenic shock)
ภาวะช็อกจากความผิดปกติของระบบประสาท (Neurogenic shock)
ภาวะช็อกจากการขาดสารน้ำ (Hypovolemic shock)
อาการและอาการแสดง
ระบบหายใจ
หายใจเร็วลึก ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ระบบหายใจล้มเหลว
ระบบไตและการขับปัสสาวะ
ปัสสาวะออกน้อย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ชีพจรเบาเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดส่วนปลายหดตัว ผิวหนังเย็นซีด
ระบบทางเดินอาหาร
กระเพาะอาหารและลำไส้ขาดเลือด ตับอ่อนอักเสบ ดีซ่าน การย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ ตับวาย
ระบบประสาทส่วนกลาง
กระสับกระส่าย ซึม หมดสติ เซลล์สมองตาย
ระบบเลือดและภูมิคุ้มกัน
การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วร่างกาย เม็ดเลือดขาวทำงานบกพร่อง
ระบบต่อมไร้ท่อ
น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ ภาวะร่างกายเป็นกรด
การรักษา
การแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจนของเนื้อเยื่อและการลดการใช้ออกซิเจน
การรักษาที่เฉพาะเจาะจงตามสาเหตุของภาวะช็อก
การแก้ไขระบบไหลเวียนโลหิตให้ได้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีเพียงพอ
การแก้ไขความผิดปกติของภาวะกรดด่าง
การประเมินสภาพ
การตรวจร่างกาย
การซักประวัติ เพื่อหาสาเหตุของภาวะช็อกที่เกิดจากการเจ็บป่วย
การตรวจพิเศษ เช่น x-ray, CT, echocardiogram, ultrasound.
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ