Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Kawasaki disease - Coggle Diagram
Kawasaki disease
กรณีศึกษา
-
มาด้วยอาการชัดจากภาวะไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุก่อนมาโรงพยาบาล15นาทีมีอาการเกร็งชักกระตุกประมาน 1 นาที แล้วก็หายเอง ขณะที่ไข้ขึ้นสูง จะมีลักษณะผื่นขึ้นตามร่างกาย
-
-
-
-
-
ตรวจร่างกายพบ Conjunctiva injection , strawberry tongue , มีผื่นแบบ wp rash
ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
-
ทฤษฎีโรค
โรคคาวาซากิ หมายถึง
ภาวะที่มีการอักเสบเฉียบพลันของหลอดเลือดแดงขนาดกลางและขนาดเล็กทั่วร่างกายทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของ Mucous membrane ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะได้หลายระบบทั้งผิวรัง ต่อมน้ำเหลือง ผนังหลอดเลือด และหลอดเลือดโคโรนารี่โป่งพอง(Newburger,Takahashi & Burns,2016)
สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงไม่ทราบแน่ชัดแต่จากการศึกษาทางระบาดวิทยาและลักษณะของโรคสนับสนุนว่ารูปนี้เกิดจากการติดเชื้อเนื่องจากมีการแพร่ระบาดไปตามภูมิภาคและมีอาการไข้มีผื่นตาแดงต่อมน้ำเหลืองโตคล้ายกับการติดเชื้อแต่อาการหายเองได้ในที่สุดอีกทั้งยังไม่ค่อยพบในเด็กที่อายุน้อยกว่าสามเดือนซึ่งอาจเป็นเพราะแม่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคส่งผ่านทางน้ำนมมายังลูก(อรุรี เจตศรีสุภาพ,2560)
พยาธิสภาพ
เมื่อมีการติดเชื้อส่งผลให้ระบบสร้างภูมิคุ้มกันถูกรบกวนมีปฏิกิริยาการสร้างสารเชิงซ้อนทางภูมิคุ้มกัน(Ag-Ab complex) จับกับเบื่อบุผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดอักเสบเริ่มต้นด้วยการอักเสบของหลอดเลือดเล็กๆจากหลอดเลือดฝอยไปหลอดเลือดดำเล็กและหลอดเลือดแดงเล็กแล้วการอักเสบและลุกลามไปยังชั้นกล้ามเนื้อของผนังหลอดเลือดภายใน 12 ถึง 15 วันเป็นสาเหตุทำให้เกิดหลอดเลือดแดงโคโรนารี่โป่งพองผนังหลอดเลือดจะหนาเกิดรอยแผลเป็นมีหินปูนเกาะบริเวณหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับอันตราย และจากการตีบและโป่งพองของหลอดเลือดอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง(พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา,2555)
อาการและอาการแสดง
อาการของโรคคาวาซากิแบ่งได้เป็นสามระยะได้แก่ (พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา,2555)
1 ระยะเฉียบพลัน(acute phase) ระยะเวลา1-2สัปดาห์แรก ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการแสดงของระบบหายใจหรือทางเดินอาหารโดยเริ่มจากการมีใครสูงเฉียบพลัน(remittent fever) อุณหภูมิมักอยู่ในช่วง 39 ถึง 40 องศาเซลเซียสไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะหรือยาลดไข้และพบอาการดังต่อไปนี้หงุดหงิดไม่สบายตัว(irritability) ตาแดงไม่มีคิดตาปากแห้งแดงแตกผื่นขึ้นตามตัวเยื่อบุช่องปากบวมแดงมีตุ่มแดงที่ลิ้นคล้ายผิวสตอเบอร์รี่(strawberry tongue) มือเท้าบวมแดงต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
2 ระยะกึ่งเฉียบพลัน(subacute phase) ระยะเวลา2-4 สัปดาห์หลังมีไข้ระยะนี้ใครจะเริ่มลดลงผู้ป่วยยังมีอาการหงุดหงิดไม่สบายตัวเบื่ออาหารตาแดงปลายนิ้วมือนิ้วเท้าลอก(desquamation) เกร็ดเลือดเพิ่มขึ้น(thrombocytosis) และพบว่ามีหลอดเลือดแดงโคโรนารี่โป่งพอง(coronary aneurysm) ซึ่งพบความเสี่ยงของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันมากที่สุดในระยะนี้
3 ระยะพักฝื้น(convalescent phase) เริ่มเมื่อมีอาการแสดงต่างๆหายไปมากินเวลาภายใน3เดือน ค่าการอักเสบ ESR,CRP จะกลับเข้าสู่ ภาวะปกติประมาณ6-8 สัปดาห์หลังมีไข้ในระยะนี้อาจพบร่องลึกตามแนวขวางที่เล็บ (Beau’s line) ภายใน1-2เดือนหลังมีไข้
การวินิจฉัยโรค
ปัจจุบันยังไม่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ชี้เฉพาะของโลกต้องอาศัยกลุ่มอาการของโรคร่วมในการวินิจฉัย(Saguil,Fargo & Grogan,2015)
1 จะมีอาการและอาการแสดงได้แก่ไข้สูงนานกว่า5วันต่อกันร่วมกับอาการและอาการแสดงต่อไปนี้4ข้อจาก5ข้อ คือ ตาแดงทั้งสองข้างมือเท้าบวมแดงริมฝีปากแดงพบผื่นแดงบริเวณลำตัวและต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโตมากกว่า 1.5 เซนติเมตร
2 จากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญพวกค่า ESR มากกว่า40 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ค่าCRP สูงขึ้นมากกว่า 3 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรพบเกร็ดเลือดเพิ่มมากกว่า 450,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตรค่าอันบูมินน้อยกว่า3 กรัมต่อเดซิลิตร
3.ลักษณะของหัวใจจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงที่สำคัญพบขนาดของหลอดเลือดโคโรนารี่มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือการมีลักษณะขรุขระที่เห็นได้ชัด
การรักษา
หลักการสำคัญของการรักษาคือทำให้ค่ารถและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหัวใจและหลอดเลือด(พรเทพ เลิศทรัพย์เจริญ,2557)
1 การรักษาภาวะขาดน้ำเนื่องจากเด็กจะรับประทานอาหารได้น้อยและมีอาการขาดน้ำจึงควรให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำให้พอเพียง
2 อิมมูโนโกลบูลิร (Intravenous immuno globulin IVIG) ขนาดสูงตามคำแนะนำของ American Academy of peddiatrics และ American Heart Association แนะนำให้ขนาด 2 กรัมต่อกิโลกรัมเพียงครั้งเดียวช่วยลดอุบัติการณ์ การเกิดหลอดเลือดโคโรนารี่โป่งพอง โดยให้ภายใน 10 วันนับจากเริ่มมีอาการไข้จะลดลงพร้อมกับอาการต่างๆดีขึ้นหลังได้รับ IVIGถ้าให้ IVIG แล้วใครไม่ลดลงภายใน 48-72 ชั่วโมง สามารถให้ซ้ำได้
3 แอสไพริน (Aspirin)เพื่อลดการอักเสบและขัดขวางการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือดโดยให้ในขนาด 80 ถึง 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวันแบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมงจนกว่าใครจะลดเป็นปกตินะถึง 48 ถึง 72 ชั่วโมงหรือให้จนครบสองสัปดาห์นับจากเริ่มมีไข้แล้วจึงลดขนาดยาลงเหลือ3ถึง 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวันละครั้งนานประมาณ 6-8 สัปดาห์