Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ดวงอาทิตย์ - Coggle Diagram
ดวงอาทิตย์
โครงสร้างภายในดวงอาทิตย์
-
เขตการพาความร้อน
-
บริเวณนี้ไม่มีความหนาแน่นมากพอที่จะถ่ายโอนพลังงานในรูปของการแผ่รังสี จึงมีการถ่ายโอนพลังงานในรูปของการพาความร้อนไปสู่ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์
แก่น
อุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านเคลวิน มีความดันสูงมากทำให้เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ที่เปลี่ยนไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียมและปลดปล่อยพลังงานออกมาอย่างต่อเนื่องจนหมดอายุขัยของดวงอาทิตย์
-
-
ปรากฎการณ์บน
ดวงอาทิตย์
พายุสุริยะ
ประจุไฟฟ้าที่พุ่งออกมานี้จะรบกวนระบบการสื่อสาร ส่งผลทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมเป็นอัมพาต เช่น ทำให้เครื่องบินไม่สามารถติดต่อกับหอบังคับการได้ โทรศัพท์มือถือใช้งานไม่ได้ รวมไปถึงดาวเทียมเสียหาย
การทำนายความรุนแรงของพายุสุริยะ สามารถทำได้โดยตรวจสอบจุดมืดดวงอาทิตย์ เนื่องจากจุดมืดเกิดจากความแปรปรวนของสนามแม่เหล็ก เมื่อมีจุดมืดมากขึ้นก็จะส่งผลให้อนุภาคกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น.
เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดจากการที่ผิวดวงอาทิตย์ระเบิดขึ้นมาที่เรียกว่า "การระเบิดลุกจ้า" ซึ่งทำให้อนุภาคประจุไฟฟ้าพุ่งออกมาจำนวนมหาศาล
ผลกระทบต่อโลก
นอกจากนี้พลาสมาที่เดินทางมา จะส่งผลกระทบต่อสนามแม่เหล็กของโลก ทำให้ส่งผลต่อโทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์ และระบบนำทางของเครื่องบินหรือเรือเดินสมุทร นอกจากนี้ยังทำให้ท่อส่งน้ำมันผุกร่อนได้เร็วกว่าปกติมาก
โดยรวมเมื่อพายุสุริยะจะปลดปล่อยพลาสมาออกมา และเดินทางมายังโลกเพียงบางส่วน เมื่ออนุภาคเดินทางเข้าสู่ชั้นไอโอโนสเฟียร์ และชั้นบรรยากาศเหนือขั้วโลก มันจะทำปฏิกิริยากับก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศและปล่อยพลังงานออกมาในปริมาณมาก การทำปฏิกิริยาดังกล่าวจะทำให้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มีโอกาสได้เห็น ออโรรา
ขณะที่สนามแม่เหล็กโลกถูกแรงของพลาสมาทั้งดึงและดันอยู่ จะทำให้ประจุไฟฟ้าปริมาณมากเกิดขึ้นในอวกาศ อาจทำให้ดาวเทียมเกิดประจุไฟฟ้าบริเวณรอบนอก กระแสฟ้าที่เกิดขึ้นนี้อาจถูกปล่อยเข้าไปภายในดาวเทียมและอาจทำให้เกิดความผิดปกติหรือเสียหายได้
ลมสุริยะ
ประกอบด้วยอิเล็กตรอนและโปรตอน ซึ่งมีพลังงานเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10-100 eV กระแสอนุภาคเหล่านี้มีอุณหภูมิและความเร็วที่แตกต่างกันออกไปตามช่วงเวลา กระแสอนุภาคจะหลุดออกพ้นจากแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ได้เนื่องจากมีพลังงานจลน์และอุณหภูมิโคโรนาที่สูงมาก
ลมสุริยะทำให้เกิดเฮลิโอสเฟียร์ คือฟองอากาศขนาดใหญ่ในมวลสารระหว่างดาวที่ครอบคลุมระบบสุริยะเอาไว้ ลมสุริยะยังทำให้เกิดปรากฏการณ์อื่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ พายุแม่เหล็กโลก (geomagnetic storm) ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ไฟฟ้าบนโลกใช้การไม่ได้บางครั้งบางคราว, ออโรรา (หรือปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้) และหางพลาสมาของดาวหางที่จะชี้ออกไปจากดวงอาทิตย์เสมอ
คือ กระแสของอนุภาคประจุไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาจากชั้นบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์สู่อวกาศ จึงมีชื่อในทฤษฎีว่า สุริยะ
ผลกระทบต่อสภาพอวกาศ
ลมสุริยะทำให้รูปร่างของสนามแม่เหล็กของโลกเปลี่ยนไป และการกระแปรปรวน (fluctuation) ของความเร็ว ความหนาแน่น ทิศทาง ของลมสุริยะยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อมของอวกาศอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ระดับขั้นของการแผ่รังสีของไอออนและการแทรกสอดของคลื่นวิทยุจะถูกทำให้เปลี่ยนค่าจากระดับร้อยๆ ไปเป็นระดับพันๆ ได้ นอกจากนี้ รูปร่างและตำแหน่งของ magnetopause และ bow shock ก็จะถูกเปลี่ยนแปลง ณ ระดับรัศมีโลกที่ต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งปรากฏการณ์เปล่านี้รวมแล้วเรียกว่าสภาพอวกาศ (Space weather)
จุดมืดบนดวงอาทิตย์
จุดมืดยังเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์อีกมาก เช่น บ่วงโคโรนา (Coronal loop) และ การเชื่อมกันของสนามแม่เหล็ก (Magnetic reconnection) นอกจากนี้การระเบิดใหญ่บนดวงอาทิตย์ (Solar flare) และ การพ่นมวลโคโรนา (Coronal Mass Ejection) ก็ยังเกิดขึ้นในบริเวณสนามแม่เหล็กรอบๆ จุดมืดอีกด้วย
วัฏจักรจุดมืด 11 ปีของดวงอาทิตย์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรอื่นๆ ของดวงอาทิตย์ไม่ว่าจะเป็น จำนวนจุดมืด จำนวน ขนาด และพลังงานของโพรมิแนนซ์ รวมไปถึงจำนวนกิจกรรมของดวงอาทิตย์ การลุกจ้า (flares) และ การปลดปล่อยก้อนมวลจากโคโรนา (coronal mass ejections)
คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งบนชั้นโฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ และมีสนามแม่เหล็กที่มีปั่นป่วนสูงมาก ซึ่งได้ทำให้เกิดการขัดขวางกระบวนการพาความร้อนบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ เกิดเป็นพื้นที่ที่มีความเข้มของแสงต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ
ภาพรวมของดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์เดี๋ยวซึ่งเป็นศูนย์กลางระบบสุริยซึ่งมีสเปกตรัมชนิด G2V ดวงอาทิตย์เป็นก้อนพลาสม่าขนาดใหญ่และไม่มีส่วนที่เป็นของแข็งทำให้อัตราเร็วในการหมุนรอบตัวเองแต่ละบริเวณมีค่าไม่เท่ากัน
ภาพการหมุนบริเวณเส้นศูนย์สูตรน้อยกว่าที่ขั้ว อัตราเร็วในการหมุนบริเวณเส้นศูนย์สูตรจึงเร็วกว่าที่ขั้วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปในทิศทางเดียวกันกับการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ เมื่อสังเกตจากโลกจึงทำให้เห็นว่าดวงอาทิตย์นั้นหมุนรอบตัวเองช้ากว่าความเป็นจริง
:
ปัจจุบันดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี ซึ่งมีอายุประมาณครึ่งหนึ่งของช่วงชีวิต ดวงอาทิตย์จะมีอายุต่อไปได้อีกประมาณ 5,000 ล้านปีหลังจากนั้นจะกลายสภาพเป็นดาวยักษ์แดง ดวงอาทิตย์เมื่ออยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิตจะทำให้ผิวดวงอาทิตย์หลุดออกมาและกลายเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ ส่วนแก่นของดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นธาตุคาร์บอนจะยุบตัวลงกลายเป็นดาวแคระขาว
-