Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความเป็นมาและความสำคัญของศาสตร์พระราชา - Coggle Diagram
ความเป็นมาและความสำคัญของศาสตร์พระราชา
ความหมาย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงงานเพื่อพสกนิกรชาวไทย นับตั้งแต่พระองค์รองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยเป็นต้นมา จากการสืบค้นหาความหมายคำว่า“ศาสตร์พระราชา”
หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล กล่าวว่า ศาสตร์พระราชา คือ การลงไปศึกษา เรียนรู้จากชมชน ให้ชุมชน บอกว่าปัญหาคืออะไร ความต้องการของชาวบ้านคืออะไร พระเจ้าอยู่หัว ทรงทำให้เห็นโดยตลอด
กล่าวในรายการ ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2559 โดยรัฐบาลได้น้อมนำศาสตร์พระราชามาบริหารประเทศเพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยประชาชนทุกครร่วมมือกันสานต่อพระราชปณิธาน
ศาสตร์พระราชา หมายถึง องค์ความรู้สำคัญที่ทรงศึกษา สั่งสม พัฒนา เพื่อการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสงบสุข กล่าวโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม
มิติที่1 ศาสตร์แห้งการพัฒนา
มิติที่2 ศาสตร์แห่งความประพฤติ การครองตนในสังคมอย่างสงบสุข
มิติที่3 ศาสตร์แห่งการอยู่ร่วมกัน ปรองดองและสงบสุข
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน "ระบบวิชาความรู้ของพระมหากษัตริย์"
พระ - ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง
ราชา - พระเจ้าแผ่นดิน พระมหากษัตริย์
ศาสตร์ - ระบบวิชาความรู้
ความเป็นมา
แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1.การสอนหรือชี้แนะ
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของทุกปี การสร้างสถานศึกษา การมอบทุนการศึกษา การให้หลักการทำงาน การสร้างศูนย์เรียนรู้ คือ “ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” หนังสือพระราชนิพนธ์ หนังสือพระราชนิพนธ์แปลและบทเพลงพระราชนิพนธ์ รวมถึงการครองตนเป็นแบบอย่างเพื่อสร้างเสริมให้สังคมไทยมีความเป็นอยู่อย่างปกติสุขและสามารถพัฒนาในด้านต่างๆได้ดี
2.การแก้ปัญหา
โครงการต่างๆ กว่าสี่พันโครงการ ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาในด้าน น้ำ ดิน ป่า สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การประกอบอาชีพ พลังงาน การจราจร การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมใหม่ โดยนำองค์ความรู้ในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องมาประกอบพระบรมราชวินิจฉัย
3.การให้ความยั่งยืน
สร้างความยั่งยืนให้แก่พสกนิกร เพื่อให้สามารถดำรงชีพได้ดีในสภาวะปกติ และไม่ตกอยู่ในภาวะอันตรายร้ายแรง หากในอนาคตมีภัยจากภาวะที่ประเทศไทยไม่อาจควบคุมได้ พสกนิกรทั้งหลายจะได้ไม่มีความเดือดร้อน และสามารถดำรงชีพได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยได้พระราชทานหลักการสำคัญ ๒ อย่าง ได้แก่ “เกษตรทฤษฎีใหม่” ซึ่งผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง คือ เกษตรกร ผู้ได้รับประโยชน์โดยอ้อม คือ ผู้บริโภคทั่วๆ ไป และ “ปรัชญาของศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งใช้ได้กับพสกนิกรทุกสาขาอาชีพ
ความสำคัญ
รัฐกาลที่ ๙ ทรงให้ความสำคัญด้าน"การพัฒนาคน" ด้วยการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยทรงพัฒนาด้านการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนมาโดยตลอด เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
ศาสตร์พระราชา ได้รับการยกย่องในเวทีระดับโลกและสอดคล้องกับ "วาระของโลก" คือ เป้าหมาย "การพัฒนาที่ยั่งยืน" ขององค์การสหประชาชาติ(SDG2030)คือ 10 ปีข้างหน้านี้ได้แก่ "หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" โดยนายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าถวายรางวัล"ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนานุษย์"
1.แนวทางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา
1.3 พัฒนา - เป็นเรื่องของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนสร้างทีมพี่เลี้ยง การออกแบบหลักสูตรและเมนูการพัฒนาการศึกษาดูงาน และเปลี่ยนการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติชุมชน
การสร้างคนด้วยการศึกษาและการเรียนรู้
1.2 เข้าถึง - เป็นเรื่องการสื่อสารและการสร้างความมีส่วนร่วมโดยมุ่งสื่อสารความเข้าใจและความมั่นใจกับชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน
1.1 เข้าใจ - การสร้างให้เกิดความมั่นใจในข้อมูลพื้นฐานด้วยการศึกษาข้อมูลทุกมิติของชุมชน ค้นหารากฐานของปัญหาและรวบรวมความรู้โครงการพระราชดำริทั่วประเทศ
การสร้างคนด้วยการศึกษาและการเรียนรู้
1.การศึกษาในระบบโรงเรียน
2.การศึกษานอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัย
3.โครงการพระราชดำริต่างๆ
หลัก 3 ป.
ปริยัติ - ทรงสอนให้เรียนตามที่ทรงสอนและสามารถทำได้จริง
ปฏิเวธ - ผลจากการกระทำ แสดงให้เห็นผลเป็นประจักษ์เพื่อขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา ออกไปสู่ประชาชทั้งในส่วนปฏิบัติและปริยัติ
ปฏิบัติ - ทรงทำให้เห็นเป็นประจักษ์ในด้านการปฏิบัติไม่ว่าจะทรงงานปฏิบัติในด้านใด
23หลักการทรงงาน
1.ศึกษาอย่างเป็นระบบ
2.ระเบิดจากข้างใน
3.แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
4.ทำตามลำดับขั้น
5.ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ
6.องค์รวม
7.ไม่ติดตำรา
8.ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด
9.ทำให้ง่าย
10.การมีส่วนร่วม
11.ประโยชน์ส่วนรวม
12.บริการรวมที่จุดเดียว
13.ทรงใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
14.ใช้อธรรมปราบอธรรม
15.ปลูกป่าในใจคน
16.ขาดทุนคือกำไร
17.การพึ่งตนเอง
18.พออยู่พอกิน
19.เศรษฐกิจพอเพียง
20.ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน
21.ทำงานอย่างมีความสุข
22.ความเพียร
23.รู้ รัก สามัคคี
ประเภท
2.หัวใจของศาสตร์พระราชา
2.1 ศาสตร์แห่งการพัฒนา
2.2 ศาสตร์แห่งความประพฤติ
2.3 ศาสตร์แห่งการอยู่ร่วมกัน
3.ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3.1 ศาสตร์พระราชาว่าด้วยการจัดการน้ำ
อ่างเก็บน้ำ
ฝายชะลอ
อ่างเก็บน้ำ
เขื่อน
3.2 ศาสตร์พระราชาว่าด้วยสหกรณ์
ศาสตร์พระราชาว่าด้วยสหกรณ์ - มีความสำคัญมาก เพราะจะทำงานด้วยกัน เมื่อคนใดคนหนึ่งทำงานอยู่คนเดียวก็มีแรงหนึ่งคน ทำได้ไม่มากหากรวมกันหลายครอบครัวเป็นสหกรณ์เป็นหมู่บ้านสหกรณ์ จะมีกำลังมากกว่าเราช่วยกันให้
3.3 ศาสตร์พระราชาว่าด้วยการจัดการดิน
แกล้งดิน - พระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้เกษตรไทย
หญ้าแฝก
3.4 ศาสตร์พระราชาว่าด้วยการจัดการป่าและสิ่งแวะล้อม
ประโยชน์ที่1 คือ การปลูกไม้โตเร็วเพื่อพัฒนาหน้าดิน สามารถนำมาใช้เป็นเชื่อเพลิงได้
ประโยชน์ที่2 คือ ปลูกไม้ดั้งเดิมที่มีความแข็งแรงและทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
ประโยชน์ที่3 คือ ปลูกไม้เศรษฐกิจหรือไม้ผลเพื่อนำมาใช้ในอนาคต
ประโยชน์ที่4 คือ การอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่
3.5 ศาสตร์พระราชาว่าด้วยนวัตกรรม
พลังงานทดแทน ไบโอดีเซล
กังหันน้ำชัยพัฒนา
3.6 ศาสตร์พระราชาว่าด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่
1.ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น - ทำนาข้าว30% ที่อยู่อาศัย10% ขุดสระน้ำ30% ปลูกพืชผักสวนครัวและเลี้ยงสัตว์30%
2.ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง - ให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ
3.ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า - ติดต่อปะสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงินมาช่วยในการทำธุรกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิต
3.7 ศาสตร์พระราชาว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พอประมาณ มีเหตุผล ภูมิคุ้มกันที่ดี ความรู้(รอบรู้,รอบคอบ,ระมัดระวัง) คุณธรรม(ซื่อสัตย์สุจริต,ขยันอดทน,สติปัญญา,แบ่งปัน) นำไปสู่เศรษฐกิจ/สัมคม/สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม/สมดุล/พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
บันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง
ขั้นพื้นฐาน 1.พอกิน 2.พอใช้ 3.พออยู่ 4.พอร่มเย็น
ขั้นก้าวหน้า 5.ทำบุญ 6ให้ทาน 7.เก็บรักษา 8.ค้าขาย 9.เครือข่าย
บันได 3 ขั้น ของคำว่า "พอ"
ขั้นที่1 อยู่รอด(Survival) - ผลิตเพื่อตนเองและครอบครัวเป็นอันดับแรก พึ่งพาเงินให้น้อยที่สุด
ขั้นที่2 พอเพียง(Sufficiency) - รวมกลุ่มสมาชิกในชุมชนสร้างพลัง เกิดการผลิตมุ่งสู่เศรษฐกิจชุมชน
ขั้นที่3 ยั่งยืน(Sustainability) - ดำเนินธุรกิจชุชนขับเคลื่อนโดยพลังสร้างสรรค์ ชุมชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต