Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์ จำลอง, เลขที่ 6 นางวรรณภา สังข์ทอง รหัสนิสิต…
วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์ จำลอง
ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติการการเล่น ที่สะท้อนความ เป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆที่อยู่ใน สถานการณ์นั้น
วัตถุประสงค์
มุ่งช่วยให้ผู้เรียนรู้สภาพความเป็นจริง เกิด ความเข้าใจในสถานการณ์ หรือเรื่องที่มี ตัวแปรจำนวนมากที่มีความสัมพันธ์กัน อย่างซับซ้อน
องค์ประกอบสำคัญของวิธีสอน
1.มีสถานการณ์ ข้อมูล บทบาทและกติกาที่ สะท้อนความเป็นจริง
2.ผู้เล่นมีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆใน สถานการณ์นั้น
3.ผู้เล่นมีการใช้ข้อมูลที่ให้ในการตัดสินใจ
4.การตัดสินใจส่งผลต่อผู้เล่นในลักษณะ เดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
5.มีการอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์ วิธีการเล่น พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่น เพื่อการเรียนรู้
ขั้นตอนสำคัญของการสอน
1.ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จำลอง
2.ผู้สอนนำเสนอสถานการณ์จำลองบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น
3.ผู้เรียนเลือกบทบาทที่จะเล่น หรือผู้สอน กำหนดบทบาทให้ผู้เรียน
4.ผู้เรียนเล่นตามกติกาที่กำหนด
5.ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ สถานการณ์ ข้อมูล และกติกาของ สถานการณ์ วิธีการเล่น พฤติกรรม และผล การเล่น
6.ผู้สอนและผู้เรียนสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ จากการเล่น
ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
ข้อดี
1.ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่มีความ สัมพันธ์ซับซ้อนได้อย่างเข้าใจ
2.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูงมาก
3.ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกทักษะกระบวนการ ต่างๆจำนวนมาก
ข้อจำกัด
1.ต้องใช้ค่าจ่ายสูง
2.ใช้เวลามาก
3.ต้องใช้เวลาในการเตรียมการมาก
4.ต้องพึ่งสถานการณ์จำลอง
5.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เล่นและ แสดงออกอย่างหลากหลาย
เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆในการใช้วิธี สอนโดยใช้สถานการณ์จำลองให้มี ประสิทธิภาพ
การเตรียมการ
ผู้สอนเตรียม สถานการณ์จำลองที่จะใช้สอนโดยอาจ สร้างขึ้นเองหรือเลือกสถานการณ์จำลองที่มี ผู้สร้างไว้แล้ว ผูสอนจะต้องศึกษาและ ทำความเข้าใจในสถาการณ์จำลองนั้น และ ควรลงเล่นด้วยตนเอง ต่อจากนั้นจึงเตรียม วัสดุ อุปกรณ์และจัดสถานที่ให้เอื้ออำนวย ต่อการเล่น
การนำเสนอสถานการณ์จำลอง บทบาท และกติกา
ผู้สอนควนนำเสนอ อย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน โดยเริ่มด้วย การบอกเหตุผลและวัตถุประสงค์กว้างๆแล้ว จึงให้รายละเอียดที่จำเป็น
การเลือกบทบาท
ผู้เรียนทุกคนควร ได้รับบทบาทในการเล่น
การเล่นในสถานการณ์จำลอง
ผู้สอน ควรติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกต พฤติกรรมการเล่นของผู้เรียน
การอภิปราย
ควรมุ่งประเด็นไปที่การ เรียนรู้ความเป็นจริง เมื่อได้รู้ความเป็นจริง แล้ว การอภิปรายอาจขยายต่อไปว่า เราควร ให้สถานการณ์นั้นคงอยู่หรือ เปลี่ยนแปลง อย่างไร
เลขที่ 6 นางวรรณภา สังข์ทอง รหัสนิสิต 64920732