Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การอ่านและบันทึกการอ่าน :spiral_note_pad: - Coggle Diagram
การอ่านและบันทึกการอ่าน
:spiral_note_pad:
หมายถึง การแปลความหมายของตัวอักษรที่อ่านออกมาที่ผู้เขียนเขียนเป็นความรู้ ความคิด และเกิดความเข้าใจเรื่องราวที่อ่านได้ตรงกับเรื่องราว
วัตถุประสงค์ของการอ่าน
การอ่านเอาเรื่อง
คือ อ่านเพื่อให้ได้ความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาอาจจะอ่านเอาเรื่องโดยละเอียด
การอ่านเอารส
คือ อ่านแล้วได้รับความรู้สึกกระทบอย่างใดอย่างหนึ่ง
การอ่านแปลความหรือการแปล
คือ การอ่านเรื่องจากภาษาใดภาษาหนึ่ง แล้วแปลถ่ายทอดความเป็นอีกภาษาหนึ่ง
การอ่านถอดความ
คือ การอ่านร้อยกรองหรือกวีนิพนธ์ความหมายให้กระจ่างแล้วเรียบเรียงถ่ายทอด อธิบายด้วยสำนวนภาษาร้อยแก้ว
การอ่านสรุปความ
คือ การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญของเรื่อง ให้ได้ความสำคัญที่สั้นกระชับ
การอ่านตีความ
คือ การอ่านที่ต้องใช้ความขบคิดวินิจฉัย เพื่อค้นหาความหมายที่แท้จริง
การอ่านขยายความ
คือ ขยายความได้ครอบคลุมเนื้อหามากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
วิธีการอ่านหนังสือประเภทต่าง ๆ
การอ่านตำราวิชาการ
๑.๑ อ่านคร่าว ๆ
๑.๒ อ่านเพื่อจับใจความสำคัญ
๑.๓ นำรายละเอียดต่าง ๆ มาประกอบความเข้าใจเนื้อเรื่องให้ดียิ่งขึ้น
๑.๔ ทบทวนรายละเอียดว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่ โดยการลองตั้งคำถาม
การอ่านสารคดีและหนังสือบางสาขาที่ควรเน้นการอ่านเป็นพิเศษ
การอ่านหนังสือบันเทิงคดี เป็นการอ่านเพื่อความบันเทิง เพลิดเพลินสบายใจ
การอ่านวรรณคดี เป็นบทประพันธ์ที่ผู้เขียนมีวิธีเขียนอย่างมีศิลปะก่อให้เกิดความประทับใจ มีคติ มีแง่คิดต่างๆ
การอ่านหนังสือพิมพ์ เป็นการอ่านข่าว บทความ เหตุการณ์ เรื่องราวต่าง ๆ มีวิธีการอ่าน
การอ่านวารสาร เป็นการอ่านบทความ ที่มุ่งเสนอสาระ ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นของผู้เขียน
การอ่านบทร้อยกรอง ซึ่งเป็นการเขียนที่มีลักษณะสัมผัส เสียง วรรณยุกต์
ประโยชน์ของการอ่าน
๑. เป็นการสนองตอบความต้องการของมนุษย์
๒. ทำให้เกิดความรู้ ทักษะต่าง ๆ ตลอดจนความก้าวหน้าของชีวิต
๓. ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
๔. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
๕. ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ ความเคลื่อนไหว
ต่าง ๆ ของโลก
๖. เป็นการส่งเสริมบุคลิกภาพของมนุษย์
๗. ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาสังคม
การเมือง เศรษฐกิจ และปัญหาส่วนตัวได้
การบันทึกการอ่าน
บันทึกจากการอ่าน
บันทึกจากการฟัง
บันทึกจากการสังเกต
วิธีการบันทึกเพื่อการทำรายงาน
การบันทึกเนื้อความ
การบอกขอบเขตหรือแนวคิดของเรื่องที่อ่าน
การสรุปความ เป็นการสรุปย่อสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน
การถอดความ เป็นการเขียนขึ้นมาใหม่ให้ได้ใจความตรงตามต้นฉบับเรื่องที่อ่าน
การคัดลอกความ เป็นการคัดลอกข้อความที่สำคัญบางตอนจากข้อเขียนที่อ่าน
การบันทึกแหล่งที่มา เป็นการระบุว่าเรื่องราวที่บันทึกนั้นได้มาจากที่ใด
การกำหนดหัวเรื่อง เป็นการกำหนดหัวข้อเรื่อง ว่าเรื่องที่อ่านนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องใด
การจัดเรียงบันทึก ถ้าผู้อ่านบันทึกอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ การจัดเรียงบันทึกจะทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยการจัดเรียงตามลำดับตัวอักษร
การเขียนบันทึกจากการอ่าน
๑. บันทึกย่อเฉพาะใจความสำคัญ
๒. ถ้าเป็นคำพูดที่สละสลวย เป็นข้อความสำคัญที่เขียนไว้ดีมาก ถ้าถอดเป็นคำพูดของผู้บันทึกเอง อาจทำได้ไม่ดีเท่าของเดิม ก็สามารถลอกคำพูดนั้นมาได้ โดยให้อยู่ภายใต้เรื่องหมาย อัญประกาศ (“........”)
๓. อ่านแล้วถอดเป็นสำนวนของผู้บันทึกเอง
๔. บันทึกโดยมีข้อวิพากษ์วิจารณ์
๕. ข้อความที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ต้องจดให้ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด และบันทึกวัน เดือน ปีที่อ่าน
คุณสมบัติที่ดีของนักอ่าน
มีความตั้งใจ หรือมีสมาธิที่ดีในการอ่าน
มีความอดทน สามารถอ่านหนังสือได้เป็นระยะเวลานาน
มีพื้นฐานความรู้พอสมควร
อ่านหนังสือได้เร็ว และเข้าใจความหมายได้ทันที
มีนิสัยชอบจดบันทึกเรื่องราว
มีความจำที่ดี หรือค่อนข้างดี
หมั่นทบทวน
มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดบ้างพอสมควร
ชอบสนทนากับผู้ที่มีความรู้
มีวิจารณญาณในการอ่าน รู้จักใคร่ครวญ