Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ, เลขที่ 6 นางวรรณภา สังข์ทอง รหัสนิสิต…
วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ
กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้ เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ กำหนด โดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทใน สถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความ เป็นจริง
วัตถุประสงค์
มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา
องค์ประกอบสำคัญของวิธีสอน
1.มีสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ
2.มีการแสดงบทบาทสมมติ
3.มีการอภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
ขั้นตอนสำคัญของการสอน
1.ผู้สอน/ผู้เรียน นำเสนอสถานการณ์ สมมติและบทบาทสมมติ
2.ผู้สอน/ผู้เรียนเลือกผู้แสดงบทบาท
3.ผู้สอนเตรียมสังเกตการณ์
4.ผู้เรียนแสดงบทบาทและสังเกต พฤติกรรมที่แสดงออก
5.ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับ ความรู้ความคิดและพฤติกรรมที่ แสดงออกของผู้แสดง
6.ผู้สอนและผู้เรียนสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ จากการแสดงและการชมการแสดง
ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้ บทบาทสมมติ
ข้อดี
1.ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้อื่น
2.ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ และเกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติและพฤติกรรมของตน
3.ช่วยพัฒนาทักษะในการเผชิญ สถานการณ์ ตัดสินใจและแก้ปัญหา
4.ช่วยให้การเรียนการสอน มีความใกล้กับสภาพความเป็นจริง
5.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ เรียนมาก ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน
ข้อจำกัด
1.ใช้เวลามากพอสมควร
2.ต้องอาศัยการเตรียมการและการจัดการอย่างรัดกุม
3.ต้องอาศัยความไวในการรับรู้ของผู้สอน
4.ต้องอาศัยความสามารถของครูในการ แก้ปัญหา
เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆในการใช้วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติให้มี ประสิทธิภาพ
1.
การเตรียมการ
ผู้สอนกำหนด วัตถุประสงค์เฉพาะให้ชัดเจน และสร้าง สถานการณ์และบทบาทสมมติที่จะช่วย สนองวัตถุประสงค์นั้น
การเริ่มบทเรียน
ผู้สอนสามารถ กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้หลายวิธี เช่น โยงประสบการณืใกล้ตัวผู้เรียน เล่า เรื่องราวหรือสถานการณ์สมมติ หรือชี้แจง ให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์ จากการเข้าร่วมแสดง
การเลือกผู้แสดง
ควรเลือกให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของ การแสดง
การเตรียมผู้สังเกตการณ์หรือผู้ชม
ผู้สอนควรเตรียมผู้ชม และทำความเข้าใจ กับผู้ชมว่า การแสดงบทบาทสมมตินี้ จัด ขึ้นมิใช่มุ่งที่ความสนุกเพลิดเพลินเท่านั้นแต่มุ่งให้เกิดการเรียนรู้เป็นสำคัญ
การแสดง
ก่อนการแสดงอาจมีการจัดฉาก การแสดงให้ดูสมจริง เมื่อทุก ฝ่ายพร้อมแล้ว ผู้สอนให้เริ่มแสดง และ สังเกตการแสดงอย่างใกล้ชิด
การวิเคราะห์อภิปรายผลการแสดง
เทคนิคที่จำเป็นสำหรับการอภิปรายที่ สำคัญคือการสัมภาษณ์ความรู้สึกและ ความคิดของผู้แสดงและจดบันทึกต่อจากนั้นจึงสัมภาษณ์ผู้ชมหรือผู้สังเกตการณ์ถึง ข้อมูลที่สังเกตได้ และทุกฝ่ายร่วมกัน อภิปราย แสดงความคิดเห็นและสรุป ประเด็นการเรียนรู้
เลขที่ 6 นางวรรณภา สังข์ทอง รหัสนิสิต 64920732