Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Tetanus - Coggle Diagram
Tetanus
การพยาบาล
- แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกที่เงียบสงบ ไม่มีแสงรบกวน ระมัดระวังอย่าให้มีเสียงดังเพื่อหลีกเลี่ยงการกระตุ้นให้ผู้ป่วยชักเกร็งมากขึ้น
- หมั่นดูแลความสุขสบายของผู้ป่วย และความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะปากฟัน เพราะผู้ป่วยอ้าปากไม่ค่อยได้ จะทำให้ปากสกปรก และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคมากขึ้น
- เมื่อผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาประเภท sedative ควรดูแลการให้ยา และสังเกตอาการข้างเคียงจากยาด้วย
- ดูแลการให้อาหารเหลวทางสายยาง และระวังการสำลักอาหาร เพราะผู้ป่วยมักจะรับประทานอาหารทางปากไม่ได้ แพทย์มักกำหนดให้อาหารเหลวทางสายยาง
- ขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชักเกร็ง ต้องระมัดระวังไม่ให้ผู้ป่วยตกเตียง ระวังการกัดลิ้นโดยใช้ mouth gag ใส่ไว้ สังเกตการหายใจขณะชัก ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ สังเกตอาการ ลักษณะ ระยะเวลาในการชัก
- หมั่นดูดเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง จัดท่านอนโดยหันหน้าตะแคงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลัก
- การทำแผล ควรแยกเครื่องมือเครื่องใช้เฉพาะ
- ดูแลการได้รับน้ำอย่างเพียงพอในแต่ละวัน
- ปลอบใจบิดามารดาให้คลายความวิตกกังวล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรค และการป้องกัน
ดังนี้
บาดทะยักเป็นโรคติดเชื้อที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคทางประสาทและกล้ามเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Clostidium tetani ซึ่งผลิต exotoxin ที่มีพิษต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้มีการหดเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา เริ่มแรกกล้ามเนื้อขากรรไกรจะเกร็ง ทำให้อ้าปากไม่ได้ โรคนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโรคขากรรไกรแข็ง (lockjaw) ผู้ป่วยจะมีคอแข็งหลังแข็ง ต่อไปจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วตัว ทำให้มีอาการชักได้ ถ้าเกิดในทารกแรกเกิดจะมีอัตราตายสูงมาก
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อ Clostidium tetani เป็น gram positive rod มีคุณสมบัติที่จะอยู่ในรูปแบบของสปอร์ (spore) เป็นเชื้อ anaerobic มีอยู่ทั่วไปตามพื้นดินหรือมูลสัตว์ spore มีความทนทานมาก อาจมีชีวิตอยู่ตามผงฝุ่นละอองได้นานเป็นเดือนๆ
ระยะฟักตัว
เริ่มตั้งแต่เมื่อมีบาดแผลจนเกิดมีอาการโรค คือ 3-14 วัน แต่ระยะฟักตัวสั้นที่สุดอาจเป็นได้คือ 1 วัน และระยะฟักตัวยาวนาน คือ หลายเดือนก่อน
การติดต่อ
เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่ถลอก ทางบาดแผลโดยเฉพาะแผลที่ลึก อากาศเข้าไม่ได้ดี เช่น บาดแผลในปาก หรือทางฟันที่ผุ หรือทางหูในพวกที่มีหูอักเสบอยู่ โดยการใช้เศษไม้ หรือต้นหญ้าที่มีเชื้อโรคนี้ติดอยู่แคะฟัน หรือแยงเข้าหู บาดแผลตะปูตำ แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ทางเข้าที่สำคัญ และเป็นปัญหาใหญ่ในทารกแรกเกิด คือ เข้าทางสายสะดือของเด็กเกิดใหม่ โดยการใช้กรรไกรที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือ ที่พบบ่อยในชนบท คือ การใช้ไม้ไผ่ หรือมีดทำครัวตัดสายสะดือ และการพอกสะดือด้วยยากลางบ้าน หรือโรยด้วยแป้งที่อาจปนเปื้อนเชื้อบาดทะยัก
อาการและอาการแสดง
อาการในทารกแรกเกิด อาการมักจะเริ่มเมื่อทารกอายุประมาณ 4-10 วัน โดยจะสังเกตเห็นว่าเด็กดูดนมลำบาก และไม่ค่อยดูดนม เด็กจะร้องกวนตลอดเวลา ต่อมาเด็กจะเริ่มมีขากรรไกรแข็งจนดูดนมไม่ได้เลย หน้าแบบยิ้มแสยะ (Risus sardonicus หรือ Sardonic grin) มือ แขน เกร็ง หลังแข็ง และแอ่น โดยจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีสิ่งกระตุ้น เช่น เสียงดัง หรือถูกต้องตัวเด็ก ต่อมาจะมีอาการชักกระตุก และเขียว อาการเกร็ง ชักกระตุกถี่ๆ จะทำให้เด็กหน้าเขียวมากขึ้น เพราะขาดออกซิเจน และทำให้เป็นอันตรายถึงตายได้
อาการในเด็กโต เมื่อเชื้อโรคเข้าทางบาดแผลแล้ว ระยะที่เชื้อบาดทะยักจะฟักตัวก่อนที่จะมีอาการ กินเวลาประมาณ 5-14 วัน บางรายกินเวลานาน จนบางครั้งบาดแผลที่เป็นทางเข้าของเชื้อโรคหายไปแล้ว อาการเริ่มแรกที่จะพบ คือ ขากรรไกร และคอแข็ง อาการเกร็งแข็งในส่วนต่างๆ ของร่างกาย คือ หลัง แขน ขา เด็กจะยืน และเดินหลังแข็ง แขนเหยียดเกร็งหน้าจะมีลักษณะเฉพาะคล้ายยิ้มแสยะ และต่อไปก็อาจจะมีการกระตุก หลังแอ่น และหน้าเขียว จะเป็นมากขึ้นเมื่อมีสิ่งกระตุ้น
หลังจากได้รับเชื้อ สปอร์ที่เข้าไปตามบาดแผลจะแตกตัวออกเป็น vegetative form ซึ่งจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และผลิต exotoxin ซึ่งจะกระจายอยู่ในกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดความผิดปกติในการควบคุมการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
การวินิจฉัย
เด็กโต จะได้ประวัติไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก หรือเคยได้แต่ไม่ครบ หรือมีบาดแผลที่เป็นเหตุให้เชื้อบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายได้ การแสดงทางคลินิก ประวัติ อาการและอาการแสดงที่ตรวจพบ
-
บาดทะยักในเด็กแรกเกิด จะได้ประวัติแม่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักระหว่างตั้งครรภ์ และการคลอดที่ไม่สะอาด รวมทั้งการดูแลสะดือที่ไม่ถูกต้อง
การรักษา
- การปฏิบัติก่อนที่จะนำไปพบแพทย์ ถ้าสังเกตว่าเด็กดูดนมไม่ได้เพราะขากรรไกรแข็งก็อย่าพยายามฝืน เพราะอาจจะทำให้สำลักนมเข้าทางเดินหายใจ ทำให้ปวดบวมได้ ควรหลีกเลี่ยงการจับต้องตัวโดยไม่จำเป็น และอย่าให้มีเสียงดังรบกวนจะทำให้ชักเกร็งมากขึ้น
- การรักษาเฉพาะให้ tetanus antitoxin (TAT) หรือให้ tetanus immune globulin (TIG) เพื่อให้ทำลาย tetanus toxin ที่ยังไม่ไปจับที่ระบบประสาท ให้ยาปฏิชีวนะ penicillin ขนาดสูงเพื่อทำลายเชื้อ C.tetani ที่บาดแผล
- ให้การรักษาตามอาการ ให้ยาระงับชัก ยาลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ งดอาหารและน้ำทางปากในขณะที่มีอาการเกร็งหรือชัก ให้อาหารทางหลอดเลือด
-