Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มงคงสูตรคำฉันท์ - Coggle Diagram
มงคงสูตรคำฉันท์
จุดมุ่งหมาย
เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใด
ก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทําให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้นอกจากตัวเราเอง
ความเป็นมา
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือ กาพย์ฉบัง ๑๖และอินทวิเชียร ๑๖ ทรงนำคาถาบาลีจากพระไตรปิฎกตั้งแต่แรกมาแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทยได้ถูกต้องตรงตามบังคับฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากคาถาพระบาลีการจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อ เป็นไปตามที่ปรากฎในคาถาเดิมซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษฝาอย่างดียิ่ง
-
ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรงตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้เจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช ๒๔๕๓ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๕ พรรษา เสด็จดํารงราชสมบัติรวม ๑๕ ปี
เรื่องย่อ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการไว้ในมงคลสูตร ซึงเป็นพระสูตรสําคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฎในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายหมวดขุททกปาฐะ พระอานนท์เถระได้กล่าวถึงทีมาของมงคลสูตรว่า ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตุวันวรหิาร กรุงสาวัตถี มงคลสูตรนี้เกิดขค้นด้วยอำนาจคําถาม คือพระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่ามีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์ เรืองมงคล เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนษุย์ ทีมีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง ๑๒ ปีท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล ๓๘ ประการ ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้้งนึง
ถอดความ
มนุษย์และเทวดาจากหลายภพหลายประเทศได้คิดกัน มาเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่รู้ว่ามงคลคืออะไรสมใจสักที ด้วยเวลาที่ผ่านไปนานก็ยังไม่ได้รู้ตามที่ต้องการ ทําให้เกิดความโกลาหลวุ่นวายอย่างมาก ถกเถียงกันสนั่นไปถึงสวรรค์ชั้นพรหม
แปลบท
จิรสฺสํ จินตฺยนฺตาปิ เนว ชานิสุ มงฺคลํจกฺกวาฬสหสฺเสสุ
ทสสุ เยน ตตฺตกํ กาลํ โกลาหลํ ชาตํ ยาว พฺรหฺมนิเวสนา
-
แล้วยังบ่รู้มง - คละสมมโนมาลย์ ด้วยกาละล่วงนาน บ่มิได้ประสงค์สมได้เกิดซึ่งโกลา - หละยิ่งมโหดมก้องถึง
ณ ชั้นพรหม ธ สถิตสะเทือนไป
ใจความสำคัญ
คาถาบทที่ 1 ไม่ควรคบคนพาล เพราะเราจะพฤติชั่วไปด้วย
คาถาบทที่2 ควรปฏิบัติและอยู่ในที่ที่เหมาะที่ควรแห่งตนทำบุญไว้แต่ปางก่อน
คาถาบทที่3 รู้จักฟัง รู้จักพูด มีวินัย ใฝ่ความรู้
คาถาบทที่ 4 ดูแลบิดามารดาภรรยาเป็นอย่างดีทำงานด้วยความตั้งใจ
คาถาบทที่ 5 รู้จักให้ทาน ช่วยเหลือญาติพี่น้อง ทำแต่ความดี
คาถาบทที่ 6 ไม่ประพฤติชั่ว ทำงานด้วยความตั้งใจ ทำแต่ควมดี
คาถาบทที่ 7 ให้ความเคารพผู้ควรเคารพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
คาถาบทที่ 8 มีความอดทน ว่านอนสอนง่าย
คาถาบทที่ 9 พยายามกำจัดกิเลส เข้าใจในความจริงของชีวิต
คาถาบทที่ 10 มีจิตอันสงบ ปล่อยวาง
คาถาบทที่ 11 เทวดาและมนุษย์ปฏิบัติสิ่งที่เป็นมงคลเหล่านี้แล้วจะไม่พ่ายแพ้ให้แก่ข้าศึกทั้งปวง
คุณค่า
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
เนื้อความในมงคลสูตรคําฉันท์แม้จะมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี และคำศัพท์ในทางพระพุทธศาสนาอยู่เป็นอันมาก แต่ก็เป็นคําที่เข้าใจความหมายได้ไม่ยาก เช่น โสตถิ ภควันต์ อภิบูชนีย์ชนนอกจากนี่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัวยังทรงสามารถถ่ายทอด และเรียบเรียงเนื้อความเป็นภาษาไทยได้อย่างเรียบง่าย และทรงเลือกสรรถ้อยคําได้สอดคล้องกับลีลาจังหวะของบทประพันธ์ คุณค่าด้านสังคมมงคลสูตรคําฉันท์ เป็นวรรณคดีที่มีที่มาจากมงคลสูตร ซึ่งเป็นคําสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ทุกคนโดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนมงคลสูตร ๓๘ ประการทุกคนได้ยึดถือเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิต อย่างเหมาะสมย่อมส่งผลให้ สังคมเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย
คุณค่าด้านสังคม
มงคลสูตรคําฉันท์ เป็นวรรณคดีที่มีที่มาจากมงคลสูตร ซึ่งเป็นคําสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ทุกคน โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนมงคลสูตร ๓๘ ประการทุกคนได้ยึดถือเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตอย่างเหมาะสม
ย่อมส่งผลให้สังคมเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย