Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม :<3: - Coggle Diagram
การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม
:<3:
การเรียนรวมคือ :star:
รูปแบบของการศึกษาที่สามารถตอบสนองต่อการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคนในโรงเรียนปกติซึ่งโรงเรียนจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการต่างๆ หรืออาจจะต้องออกแบบขึ้นเป็นพิเศษตามความต้องการจำเป็นพิเศษของนักเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนทุกคนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้อย่างแท้จริง :red_flag:
การเรียนรวมมีที่มาอย่างไร :star:
มาจากการศึกษาพิเศษที่มีลักษณะเป็นการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อความแตกต่างของเด็กที่มีความบกพร่องและนักเรียนที่มีความยากลำบากในการเรียนรู้ เป็นวิธีการจัดการศึกษารูปแบบหนึ่งที่ควรจัดบริการเพิ่มเติมให้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยจัดการศึกษาในลักษณะที่แบ่งแยกออกไปต่างหากจากระบบการศึกษาปกติทั่วไป เช่น โรงเรียนการศึกษาพิเศษ ศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษ โรงพยาบาลที่ดูแลเด็กฯลฯ :red_flag:
การเรียนรวมกับการเรียนร่วมแตกต่างกันอย่างไร :star:
การเรียนรวม หมายถึง การศึกษาสำหรับคนทุกคน โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มรับการศึกษาและจัดบริการพิเศษตามความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล :red_flag:
การเรียนร่วม หมายถึง การนำนักเรียนพิการ หรือมีความพกพร่อง เข้าไปในระบบการศึกษาปกติ มีการร่วมกิจกรรม และใช้เวลาว่างช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน ระหว่างนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องกับนักเรียนทั่วไป :red_flag:
การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม ทำได้อย่างไร :star:
บูรณาการแบบสอดแทรก
โดยยึดวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นหลัก แล้วนำเนื้อหาในวิชาอื่นมาสอดแทรกตามความเหมาะสม :red_flag:
บูรณาการแบบคู่ขนาน
ให้ครูผู้สอนประจำวิชาสองวิชาขึ้นไปร่วมกันกำหนดหัวข้อเรื่องเดียวกัน แต่ต่างคนต่างจัดเนื้อหาและกิจกรรมในวิชาที่ตนสอนให้อยู่ในกรอบของเนื้อเรื่องที่ตกลงกันไว้ :red_flag:
บูรณาการแบบยึดหัวเรื่องเป็นหลัก
การกำหนดหัวเรื่องที่จะสอนขึ้นมา แล้วนำความรู้จากวิชาอื่นๆ มาเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้น :red_flag:
รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม :star:
รูปแบบการร่วมทีม
ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับครูที่สอนชั้นปกติ ครูการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ครูปกติเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับวิธีสอน การมอบหมายงานหรือการบ้าน การปรับวิธีสอบ การจัดการด้านพฤติกรรม มีการวางแผนร่วมกันสม่ำเสมอ :red_flag:
รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน
ทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมมือกัน ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติในห้องเรียนปกติ ร่วมมือกันรับผิดชอบในการวางแผนการสอน การวัดผลประเมินผล การดูแลเกี่ยวกับระเบียบวินัยและพฤติกรรมของเด็กผู้เรียนจะได้รับบริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนที่จำเป็น ตลอดจนการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน เพื่อให้การเรียนรวมดำเนินไปด้วยดีอาจจำแนกออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้ 5 รูปแบบ คือ :red_flag:
ศูนย์การสอน
ครูจะแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นตอน ๆ แต่ละตอนจะจัดวางเนื้อหาได้ตามแหล่งต่างๆ ภายในห้องเรียน ให้นักเรียนตามเวลาที่กำหนด และหมุนเวียนกันจนครบทุกศูนย์จึงจะได้เนื้อหาวิชาครบถ้วนตามที่ครูกำหนด :red_flag:
การสอนทางเลือก
จะต้องมีครูอย่างน้อย 2 คน ใน 1 ห้องเรียน ครูคนแรกจะสอนเนื้อหาวิชาแก่เด็กทั้งชั้น
จากนั้นจึงแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม ครูคนหนึ่งจะสอนกลุ่มเด็กที่เก่งกว่าเพื่อให้ได้เนื้อหาและกิจกรรมเชิงลึก
อีกคนหนึ่งสอนกลุ่มเด็กที่อ่อนกว่า เพื่อให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมตามที่ตนมีความสามารถ
การสอนพร้อม ๆ กัน
เป็นการแบ่งเด็กในหนึ่งห้องเรียนออกเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน หลังจากบรรยายเสร็จ ครูอาจมอบงานให้นักเรียนทำไปพร้อม ๆ กัน และให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน :red_flag:
คนหนึ่งสอนคนหนึ่งช่วย
เป็นการสอนที่ครู 2 คน ร่วมกันสอนชั้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน ครูคนที่เชี่ยวชาญในเนื้อหากว่าเป็นผู้สอน ส่วนครูอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ น้อยกว่าเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือนักเรียน :red_flag:
การสอนเป็นทีม
เป็นการสอนทั้งห้องเรียนแต่ไม่จำเป็นต้องสอนในเวลาเดียวกันหากมีครูสอนมากกว่า 1 คน ในเวลาเดียวกัน ครูอาจเดินไปรอบ ๆ ห้องและช่วยกันสอนนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาในการเรียนเนื้อหาวิชา :red_flag:
รูปแบบครูที่ปรึกษา
ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้สอนทักษะแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษจนกระทั่งเด็กเกิดทักษะ รูปแบบนี้เหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็ก :red_flag: