Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาการมีส่วนร่วม อย่างสันติวิธี - Coggle Diagram
การพัฒนาการมีส่วนร่วม
อย่างสันติวิธี
สันติวิธี
3) การใช้อนุญาโตตุลาการ (Arbitration)
เป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
ด้วยวิธีการตัดสินโทษ
ผู้ทำหน้าที่ในการตัดสิน เรียกว่า “อนุญาโตตุลาการ”
1) การเจรจาไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง (Mediation)
หมายถึง กระบวนการที่คู่กรณีซึ่งอาจจะเป็นรัฐ
บุคคล หรือกลุ่มบุคคลใช้ในการแก้ไขปัญหา
โดยสมัครใจมาพูดคุย อภิปรายถึงความแตกต่างกัน
ในเรื่องต่างๆ และเป็นกระบวนการที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายต่างตกลงพร้อมใจกันให้มีคนกลางเป็นผู้ไกล่เกลี่ย
2) การเจรจาต่อรอง (Negotiation)
หมายถึง กระบวนการของบุคคลที่
ต้องการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี
เพื่อให้เกิดการประนีประนอม
พยายามหาข้อตกลงที่ยอมรับได้
ของคู่สนทนาทั้ง 2 ฝ่าย โดยมีการ
เสนอข้อแลกเปลี่ยน
4) กระบวนการนิติบัญญัติ (Legislation)
ทางแก้ไขเพื่อระงับความขัดแย้งนี้
อาจจะต้องแก้ไขที่ตัวกฎหมาย โดยการใช้
กระบวนการนิติบัญญัติ เช่น การร่างกฎหมายป่าชุมชน
หรือสิทธิชุมชนขึ้นมาเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหา เป็นต้น
5) การเจรจาไกล่เกลี่ยข้ามวัฒนธรรม
(Cross Cultural Mediation)
การเจรจาไกล่เกลี่ยข้ามวัฒนธรรม เป็นการเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อให้คู่กรณีที่ต่างวัฒนธรรมกันได้รับผลประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่ายโดยมีบุคคลที่สามทำหน้าที่เป็นคนกลาง (Mediator) ในการไกล่เกลี่ย
6) การสานเสวนา (Dialogue)การสานเสวนา
นอกจากจะเป็นกระบวนการ การทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย และสร้างสัมพันธภาพที่ดี
ของคู่ขัดแย้งทุกฝ่ายแล้ว การสานเสวนายังเป็นวิธี
การจัดการความขัดแย้งหนึ่งที่สามารถช่วยเยียวยาบาดแผล
ในจิตใจของผู้เข้าร่วมการสานเสวนาด้วย
7) การไต่สวน (Inquiry) แนวทางนี้เป็นวิธีที่มุ่งเน้นการจัดการข้อพิพาททั้งในระหว่างประเทศ
โดยหาข้อเท็จจริงอันแน่ชัดด้วยการสืบสวนที่ปราศจากความลำเอียงและด้วยความบริสุทธิ์ใจ
8) ไม่ให้ความร่วมมือ (Non-Cooperation)
การไม่ให้ความร่วมมือ เป็นเจตนาที่จะหยุดยั้งหรือ
เพิกถอนความร่วมมือในรูปแบบที่เคยให้แก่บุคคล
กิจกรรม สถาบันหรือระบอบการปกครอง
เพื่อแสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้วอำนาจในการปกครอง
ล้วนมีที่มาจากการยอมรับและสนับสนุนของประชาชน
และเมื่อใดที่ประชาชนพร้อมใจกันเพิกถอนความยินยอมนั้น บุคคล กิจกรรม สถาบัน กระทั่งระบอบปกครอง
ก็ไม่อาจดำเนินต่อไปได้
9) อารยะขัดขืน (Civil Disobedience)
การจำกัดอำนาจรัฐโดยพลเมืองด้วยวิธีการอย่างอารยะ คือ เป็นไปโดยเปิดเผย ไม่ใช้ความรุนแรง
และยอมรับผลตามกฎหมายที่จะเกิดขึ้น
กับตัวผู้ใช้สันติวิธีแนวนี้ เพื่อให้สังคมการเมือง
เป็นธรรม มีการเคารพสิทธิเสรีภาพของคนมากขึ้น
และเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น
การบริหารความขัดแย้ง
การบริหารความขัดแย้ง คือ
กระบวนการแก้ไขข้อพิพาท
ที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ เพื่อลดผลลัพธ์
เชิงลบที่อาจเกิดขึ้นและสร้างโอกาสสำหรับผลลัพธ์เชิงบวกมาแทนที่
ประเมินสถานการณ์ หลังจากฟังข้อกังวลใจ
ของทั้งสองฝ่ายแล้ว ก็ควรประเมินและตรวจสอบ
ความเป็นไปโดยไม่ใช้อคติ หากยังมีข้อมูลไม่เพียงพอก็สามารถถามเจาะลึกเพื่อให้ได้สาเหตุที่แท้จริง
อย่าลืมว่าการรับฟังเหตุผลเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ในขั้นตอนนี้
กำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน การหลีกเลี่ยงคงไม่ใช่วิธีที่ควรทำ หากเป็นการประรีประนอมหรือ
ต้องการให้ความร่วมมือ ก็สามารถใช้เวลาระดมความคิด
ฟังเหตุผล สื่อสารกันอย่างจริงใจ เพราะการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงได้จะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่อไป
ตั้งใจฟังและเปิดโอกาสให้ทุกคนได้พูด
หลังจากที่คู่ขัดแย้งได้เจอกันในพื้นที่ที่ปลอดภัย
เราควรเปิดโอกาสให้ทั้งสองได้แสดงความคิดเห็น
ในมุมของตัวเองเพื่อให้ได้ข้อมูล
เกี่ยวกับปัญหารอบด้านมากที่สุด
การเผชิญหน้ากันควรมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน
ไม่ใช่ปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแสดงความคิดเห็นหรือแสดงท่าทีจะเอาชนะอยู่ฝ่ายเดียว
ตกลงในทางแก้ปัญหาและกำหนดความรับผิดชอบ
ในการแก้ไขปัญหา เป็นการกระทำต่อเนื่อง
จากการเลือกรูปแบบการบริหารความขัดแย้ง
เพราะทั้งสองฝ่ายต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบ
ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นเหมือนกัน ทั้งสองฝ่ายต้องมีการแก้ไข
หรือการเสียสละบางอย่าง แม้กระทั่งหากเป็นการแข่งขัน
ก็ต้องเตรียมสาเหตุมาสนับสนุนความคิดเห็นตัวเองให้ดี
เพื่อที่ว่าการแก้ไขปัญหาจะสำเร็จตามรูปแบบที่เลือกนั่นเอง
หาพื้นที่ส่วนหรือปลอดภัยในการเจรจา
สิ่งนี้จะช่วยให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เราต้องสร้างสภาพแวดล้อม
ให้คู่ขัดแย้งรู้สึกผ่อนคลาย
เพื่อให้ได้รับการสื่อสารที่ตรงไปตรงมา
ประเมินผลและวางแผนป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นอีก
ในอนาคต เมื่อความขัดแย้งจบลง ไม่ได้หมายความว่าปัญหาจะหมดสิ้นตาม เพราะบางครั้งยังมีปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ซุกซ่อนอยู่ภายในจิตใจคู่ขัดแย้ง ทางที่ดีควรประเมินผลและวางกลยุทธ์เพื่อทำให้มั่นใจว่าในอนาคตหากเกิดปัญหาขึ้นอีกจะต้องทำอย่างไร รวมไปถึงการบทเรียนที่ได้
จากความขัดแย้งครั้งนี้ก็ควรเรียนรู้ด้วย
หาสาเหตุของความขัดแย้งให้ได้ก่อน เพื่อระบุเส้นทางความขัดแย้งว่าเริ่มมาจากไหน ซึ่งอาจต้องผ่านการหารือจากคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย การได้รับข้อมูลความขัดแย้งให้มากที่สุดเป็นเรื่องดี แต่ก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นมีอคติผสมอยู่มากน้อยเพียงใด เพื่อการค้นหาสาเหตุที่เป็นกลางที่สุด