Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความดันโลหิตสูง (hypertension) - Coggle Diagram
ความดันโลหิตสูง (hypertension)
ความหมาย
ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก(systolic blood pressure, SBP) ≥ 140 มม.ปรอทและ/หรือ ความดันโลหิตไดแอสโตลิก(diastolic blood pressure, DBP) ≥ 90 มม.ปรอท
ปัจจัยเสี่ยง
มีโรคเบาหวาน เพราะก่อให้เกิดการอักสบตีบแคบของหลอดเลือดต่าง ๆ รวมทั้งหลอดเลือดของไต น้ำหนักตัวเกิน พันธุกรรม ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) การรับประทานอาหารเค็มอย่างต่อเนื่อง
อาการและอาการแสดง
ปวดศีรษะ ปวดบริเวณท้ายทอย ตาพร่ามัว
เวียนศีรษะ มึนงง เหนื่อยง่าย ถ้ามีความดันโลหิตสูงมาก ๆ อาจจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น
นอนไม่หลับ ตามัว มือเท้าชา
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติ ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยง อาการและอาการแสดง ประวัติที่อาจบ่งชี้ถึงโรคความดันโลหิตสูง ประวัติการใช้ยาลดความดันโลหิตสูง ควรซักประวัติชนิดและจำนวนของยาลดความดันโลหิต
การตรวจร่างกาย ได้แก่ ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง พร้อมการคำนวณ ค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ตรวจวัดความดันโลหิต ระบบสมองและเส้นประสาทหรือความจำ ประเมินจอประสาทตา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ตรวจหา hemoglobin หรือ hematocrit ตรวจการทำงานของไต ระดับไขมันในเลือด (lipid profile) กรดยูริค ตรวจปัสสาวะและแอลบูมินในปัสสาวะ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและเอกซเรย์ทรวงอก
การรักษา
การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต
การลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
ควรพยายามควบคุมให้มีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 18.5-22.9 กก./ตร.ม.
มีเส้นรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับผู้หญิงไม่เกิน 80 ซม. (32 นิ้ว)
ควรแนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกมื้อ
ควรออกกำลังเฉลี่ยสัปดาห์ละ 75-90 นาที เช่น การปั่นจักรยาน การเต้นแอโรบิค
การเลือกใช้ยา
มีอยู่ 5 กลุ่มหลัก คือ
angiotensin converting enzyme inhibitors (ACEIs),
angiotensin receptor blockers (ARBs)
beta-blockers,
calcium-channel blockers (CCBs)
ยาขับปัสสาวะ
พยาธิสรีรภาพ
ความดันโลหิตของบุคคลจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจและแรงต้าน การไหลเวียนของหลอดเลือดส่วนปลายโดยความดันโลหิตคือปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที (cardiac output) และความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายการมีระดับความดันโลหิตสูงเกิดจากการ เพิ่มขึ้นของปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือทั้งสองปัจจัยหรือจากความล้มเหลวของกลไกการปรับชดเชยปัจจัย หลักที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความดันโลหิต
โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
การกระตุ้นประสาทซิมพาธิติกส่วนแอลฟาทำให้หลอดเลือดแดงหดตัวจึงมีความต้านทาน ของหลอดเลือดเพิ่มขึ้นการกระตุ้น ประสาทซิมพาธิติกจะมีผลต่อการทำงานของระบบเรนิน-แองจิ โอเทนซินทำให้ผลิตแองจิโอเทนซินทู (angiotensin II) ส่งผลให้หลอดเลือดแดงหดตัวซึ่งทำให้ความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้นและการกระตุ้นประสาทซิมพาธิติกส่วนเบตาทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มมากขึ้นแรงบีบตัวของหัวใจแรงขั้นจึงเพิ่มปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจและทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
การลดลงของสารเหลวในระบบไหลเวียนทำให้ปริมาตรเลือดที่ไหลผ่านไตน้อยลงซึ่งกระตุุ้นระบบ
เรนิน –แองจิโอเทนซินทำให้หลอดเลือดหดตัวจึงเกิดแรงต้านของหลอดเลือดทั่วร่างกายและแองจิโอเทนซินทู (angiotensin II) ในระบบไหลเวียนจะกระตุ้น ให้มีการหลั่งของฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (aldosterone hormone) จากต่อมหมวกไตส่วนนอกซึ่งมีผลในการดูดซึมกลับของน้ำ และโซเดียมที่ไต ปริมาณของเลือดจึงเพิ่มขึ้นและความดันโลหิตสูงขึ้น
ต่อมใต้สมองส่วนหลังมีการหลั่งฮอร์โมนแอนตี้ไดยูเรติกฮอร์โมน (antidiuretic hormone) เพื่อตอบสนองต่อการลดลงของสารเหลวในระบบไหลเวียนและฮอร์โมนดังกล่าวมีผลต่อกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดทำให้เลือดที่ไหลผ่านต้องถูกบีบให้ผ่านอย่างแรงจึงทำอันตรายต่อเยื่อบุภายในหลอดเลือดซึ้งจะทำให้มีการหลั่งสารที่มีผลต่อหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดมีการหดตัวมากยิ่งขึ้น
ทฤษฎีเชื่อมตามขวาง เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ collagen, Elastin มากขึ้น บริเวณหัวใจ หลอดเลือดทำให้เสียความยืดหยุ่น หลอดเลือดแข็งตัว ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ อายุ 73 ปี น้ำหนัก 65 กิโลกรัม สูง 155 เซนติเมตร BMI 29.90 kg/m2 อยู่ในเกณฑ์อ้วน รอบเอว 88 เซนติเมตร มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือด มา 20 ปี ได้รับยา Enalapril maleate 1 tab OD pc เช้า มีผลข้างเคียง ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ , มีผื่นขึ้นตามตัว ผู้สูงอายุมีตาพร่ามัว มีการออกกำลังกายแบบไม่มีแบบแผนครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง รับประทานอาหารเจ
ภาวะแทรกซ้อน
โรคหัวใจขาดเลือด : ความดันโลหิตสูงอาจทำให้เส้นเลือดหัวใจหนาและแข็งขึ้นซึ่งอาจทำให้หัวใจวาย
เส้นเลือดสมองโป่งพอง : ผนังเส้นเลือดอ่อนตัวลง และโป่งพองจนแตกได้
หัวใจล้มเหลว : พอมีความดันสูง หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อปั๊มเลือดไปทุกส่วนของร่างกาย กล้ามเนื้อที่หัวใจจึงหนาขึ้น
โรคไตเสื่อม : ทำให้ไตถูกทำลายและ ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่
ภาวะเมทาบอลิกซินโดรม