Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ศัพท์สังคีต - Coggle Diagram
ศัพท์สังคีต
กรอ
วิธีการบรรเลงดนตรีประเภทเครื่องตีดำเนินทำนอง ที่ทำให้เกิดเสียงต่อเนื่องกันเป็นเสียงยาวสม่ำเสมอ โดยใช้ 2 มือตีสลับกันถี่ๆ เหมือนรัวเสียงเดียว แต่ทั้งสองมือมิได้ตีอยู่ที่เดียวกัน มักจะตีเป็นคู่ 2 คู่ 3 คู่ 4 คู่ 5 คู่ 6 และคู่ 8
เก็บ
วิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีดำเนินทำนองทั่วไป ที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้นมากกว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา การบรรเลง “เก็บ” นี้ ส่วนมากใช้กับทำนองเพลงพื้นๆทั่วไป เช่น เพลงลมพัดชายเขา เพลงจระเข้หางยาว เรียกว่าทางเก็บ ส่วนเพลงบังคับทางส่วนมากเป็นทางกรอ เช่น เพลงเขมรไทรโยค เพลงโสมส่องแสง มักไม่ค่อยมีการเก็บ
ขยี้
เป็นการบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงแทรกแซงให้มีพยางค์ถี่ขึ้น ไปจาก “เก็บ” อีก 1 เท่า อีก 1 เท่า ถ้าจะเขียนเป็นโน้ตสากลในจังหวะ 2/4 ก็จะเป็นจังหวะละ 8 ตัว ห้องละ 16 ตัว
คร่อม
การบรรเลงทำนองหรือบรรเลงเครื่องประกอบจังหวะ หรือร้องดำเนินไปโดยไม่ตรง
กับจังหวะที่ถูกต้อง เสียงที่ควรจะตกลงตรงจังหวะกลายเป็นตกลงในระหว่างจังหวะ ซึ่งกระทำไปโดยไม่มีเจตนา และถือว่าเป็นการกระทำที่ผิด เรียกอย่างเต็มว่า “คร่อมจังหวะ”
เดี่ยว
เป็นวิธีการบรรเลงอย่างหนึ่งที่ใช้เครื่องดนตรีจำพวกดำเนินทำนอง การบรรเลงเครื่องดำเนินทำนองเพียงคนเดียวที่เรียกว่า “เดี่ยว” นี้ อาจมีเครื่องประกอบจังหวะ
-
ท่อน
คือ กำหนดส่วนใหญ่ส่วนหนึ่งๆ ซึ่งแบ่งออกจากเพลง โดยปกติเมื่อบรรเลงเพลงใดก็ตาม หากจบท่อนหนึ่งๆ แล้วมักจะกลับต้นบรรเลงซ้ำท่อนนั้นอีกครั้งหนึ่ง
-
เท่า
บางทีก็เรียกว่า “ลูกเท่า” เป็นทำนองเพลงพิเศษตอนหนึ่ง ซึ่งไม่มีความหมายในตัวอย่างใด หากแต่มีความประสงค์อยู่อย่างเดียวเพียงให้ทำนองนั้นยืนอยู่ ณ เสียงใดเสียงหนึ่ง แต่เพียงเสียงเดียว เท่า หรือ ลูกเท่า นี้จะต้องอยู่ในกำหนดบังคับของจังหวะ หน้าทับ โดยมี ความยาวเพียงครึ่งจังหวะหน้าทับเท่านั้น
-
ล้วง
การบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเพิ่มทำนองบรรเลงล้ำเข้ามาก่อนที่จะถึงหน้าที่บรรเลงตามปกติ วิธีการอย่างนี้มักจะมีในตอนที่บรรเลงลูกล้อลูกขัด หรือเวลาที่จะรับ จากร้อง คือก่อนที่จะถึงหน้าที่บรรเลงตามปกติของตน ก็หาทำนองอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรเลงขึ้นมาก่อนที่อีกฝ่ายหนึ่งจะจบ
ล่อน
ได้แก่ การปฏิบัติในวิธีที่เรียกว่า สะบัด ขยี้ รัว หรือกวาด ได้ชัดเจนทุกเสียง ไม่กล้อมแกล้มหรือกระทบเสียงอื่นที่ไม่ต้องการ เหมือนกับผลเงาะที่แกะเนื้อออกไม่มี ติดเมล็ดเลย เราก็เรียกว่า “ล่อน”
ลูกขัด
เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรี (หรือร้อง) ออกเป็น 2 พวกพวกหนึ่งเรียกว่าพวกหน้า (บรรเลงก่อน) อีกพวกหนึ่งเรียกว่าพวกหลัง (บรรเลงที่หลัง)ทั้งสองพวกนี้ผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ว พวกหลังจึงจะบรรเลงบ้าง
ลูกล้อ
เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรี(หรือร้อง) ออกเป็น 2 พวกพวกหนึ่งเรียกว่าพวกหน้า อีกพวกหนึ่งเรียกว่าพวกหลัง ทั้งสองพวกนี้ ผลัดกัน บรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ง พวกหลังก็จะบรรเลงบ้าง
ลูกหมด
เป็นชื่อเพลงประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นเพลงสั้นๆ มีจังหวะเร็ว เทียบเท่ากับจังหวะหน้าทับสองไม้ชั้นเดียวหรือครึ่งชั้น สำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงต่างๆ เพื่อแสดงว่า จบ
สวม
ได้แก่ การบรรเลงซึ่งอาจเป็นเครื่องดนตรีทั้งวงหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว ได้บรรเลงเหลื่อมล้ำเข้ามาในตอนท้ายท่อนจบของผู้อื่นที่จะต้องบรรเลงติดต่อ เพื่อความสนิทสนมกลมกลืนกัน
ส่ง
แยกออกได้เป็น 2 อย่าง ก. เป็นการบรรเลงนำทางให้คนร้องที่จะร้องต่อไปได้สะดวกและถูกต้อง เหมือนกับผู้ที่จะพ้นตำแหน่งแล้ว ก็ต้องส่งหน้าที่และแนะนำให้ผู้ที่ จะรับตำแหน่งต่อไปได้ทราบแนวทาง เพื่อประโยชน์และความเรียบร้อยของส่วนรวม การบรรเลงนำให้คนร้องนี้ เรียกเต็มๆว่า “ส่งหางเสียง” ข. การร้องที่มีดนตรีรับก็เรียกว่าส่งเหมือนกัน แต่ก็มักจะเรียกว่า “ร้องส่ง”
สะบัด
ได้แก่การบรรเลงที่แทรกเสียงเข้ามาในเวลาบรรเลงทำนอง “เก็บ” อีก 1 พยางค์ ซึ่งแล้วแต่ผู้บรรเลงจะเห็นสมควรว่าจะแทรกตรงไหน ทำนองตรงที่แทรกนั้นก็เรียกว่า “สะบัด” การแทรกเสียงที่จะให้เป็นสะบัด ต้องแทรกเสียงเพียงแห่งละพยางค์เดียว ถ้าแทรกเป็นพรืดไปก็กลายเป็น “ขยี้”