Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มารดาหลังคลอด - Coggle Diagram
มารดาหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงด้านสรีระวิทยาของมารดาหลังคลอด
ระบบปัสสาวะ
ส่วนนำของทารกจะไปกดทับบริเวณกระเพาะปัสสาวะในระหว่างการคลอด ทำให้ผนังใต้เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะเกิดบวม มีเลือดคั่งและเลือดออก ความจุของกระเพาะปัสสาวะจะมีมากขึ้น มีความยืดหยุ่นลดน้อยลง ทำให้เกิดการโป่งของกระเพาะปัสสาวะ เมื่อถ่ายปัสสาวะก็จะถ่ายออกได้ไม่หมด นอกจากนั้น ใน 1-2 วันแรกหลังคลอด ยังอาจพบโปรตีนในปัสสาวะด้วย ซึ่งภาวะนี้จะเกิดร่วมกับการขยายตัวของหลอดไตและกรวยไต จึงทำให้ทางเดินปัสสาวะมีการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ในเวลา 8-12 สัปดาห์ กรวยไตและหลอดไตที่ขยายตัวก็จะกลับคืนสู่สภาพปกติ
ระบบไหลเวียนของเลือดและหัวใจ
มดลูกจะมีการหดรัดตัวทันทีหลังคลอด เพื่อไล่เลือดในชั้นกล้ามเนื้อของมดลูกเข้าสู่ระบบไหลเวียน ในร่างกายจึงมีปริมาณเลือดไหลเวียนเพิ่มมากขึ้นกะทันหัน แต่มารดาที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวหัวใจหรือหลอดเลือดก็จะไม่เกิดอันตรายขึ้น เพราะระหว่างการคลอดที่มีการเสียเลือดจะช่วยรักษาสมดุลเอาไว้ได้ จะพบว่ามีเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติถึง 20% ปริมาณเลือดมากกว่าปกติ 32% น้ำเหลืองมีปริมาณมากกว่าปกติ 40% เมื่อครรภ์ครบกำหนด และภายใน 1 สัปดาห์หลังการคลอดจำนวนเหล่านี้ก็จะลดลงเข้าสู่สภาพปกติเหมือนตอนก่อนคลอด
การเปลี่ยนแปลงของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
ในระหว่างเจ็บครรภ์น้ำหนักของมารดาจะลดลงจากการเสียน้ำทางเหงื่อและการหายใจร่วมกับน้ำหนักของเด็กและรกไปประมาณ 5.5 กิโลกรัม และในสัปดาห์แรกของเหลวจะถูกขับออกมาอีกประมาณ 2 ลิตร ทำให้น้ำหนักของมารดาลดลงไปอีกประมาณ 4 กิโลกรัม และของเหลวจะถูกขับออกมาอีกประมาณ 1.5 ลิตรในอีก 5 สัปดาห์ต่อมา
การเปลี่ยนแปลงของเต้านม
ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจากรกจะหมดไปภายหลังการคลอด ทำให้ต่อมปิทูอิตารี่ส่วนหน้าเกิดการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคติน ส่งผลให้มีน้ำนมเกิดขึ้น น้ำนมจะมีในประมาณวันที่ 3-4 ในครรภ์แรก แต่จะมีในประมาณวันที่ 2 หากเป็นครรภ์หลังๆ โดยมารดาจะรู้ว่านมแข็ง คัดเต้านม เจ็บร้อนบริเวณเต้านม และอาจจะบวมไปถึงบริเวณรักแร้ในบางราย ในครั้งแรกที่เกิดนมคัดนี้ เกิดจากหลอดเลือดและท่อน้ำเหลืองมีการคั่ง เมื่อยังไม่มีการหลั่งก็จะเก็บน้ำนมไว้ แต่ประสาทที่ปลายหัวนมและเซลล์รอบๆ ต่อมน้ำนมจะหดตัวจากการดูดกระตุ้นของเด็ก ทำให้มีน้ำนมไหลออกมา การดูดของทารกและความดันภายในเต้านมจะมีผลต่อจำนวนและคุณภาพของน้ำนม เต้านมเป็นอวัยวะที่ยังคงมีการเจริญเติบโตต่อไปอีกแม้ภายหลังจากคลอดแล้ว น้ำนมที่มีใหม่ๆ หลังจากคลอด 2-3 วันแรก เรียกว่า น้ำนมเหลือง(Colostum) จะมีลักษณะเป็นสีเหลืองใสๆ ซึ่งมีส่วนประกอบในน้ำนมตามปกติ แต่จะมีโปรตีนและเกลือแร่อยู่ในปริมาณที่มากกว่า และยังมีสารภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันลำไส้อักเสบด้วย น้ำนมเหลืองจะหมดไปประมาณวันที่ 5-7 หลังคลอด และมีน้ำนมตามปกติที่มีสารอาหารเหมาะกับการเลี้ยงดูทารกมากกว่านมจากแหล่งอื่นๆ
การตกไข่และการมีประจำเดือน
ระยะหนึ่งหลังจากการคลอดจะไม่มีการตกไข่และไม่มีประจำเดือน และในรายของมารดาที่ให้นมบุตรก็จะมีช้ากว่ารายที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมของตัวเอง ใน 40 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ รังไข่จะหยุดทำงานจึงทำให้ไม่มีประจำเดือน และเป็นผลจากการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจากรกด้วย หลังคลอดใน 4-6 สัปดาห์ หากไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองประจำเดือนก็จะกลับมา
การเปลี่ยนแปลงทั่วไป
อุณหภูมิของร่างกายอาจสูงขึ้นได้ภายหลังการคลอด 24 ชั่วโมงแรก แต่จะไม่เกินไปกว่า 100 องศาฟาเรนไฮ สำหรับในรายที่มีการติดเชื้อก็อาจมีอุณหภูมิของร่างกายสูงเกินและนานกว่านี้ก็ได้
ชีพจร
ชีพจรควรอยู่ระหว่าง 68-80 ครั้ง/นาที และต้องสังเกตว่ามีการตกเลือดหรือไม่หากชีพจรเต้นเร็วโดยไม่มีอาการไข้
ทางเดินอาหาร
มารดาจะกระหายน้ำและดื่มน้ำได้เป็นจำนวนมากภายหลังจากการคลอด เพราะระหว่างการคลอดและหลังคลอดร่างกายได้เสียน้ำไปมากทางเหงื่อ น้ำคาวปลา ปัสสาวะ และยังรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ เมื่อรับประทานอาหารได้น้อยจึงทำให้ไม่ถ่ายอุจจาระในระยะ 2-3 วันแรก และกากอาหารจะแห้งกว่าปกติจากการเสียน้ำมาก ฝีเย็บและกล้ามเนื้อหน้าท้องก็ยังไม่เป็นปกติ และมีอาการปวดแผลร่วมด้วย และการนอนถ่ายก็เป็นสาเหตุของการกลั้นอุจจาระไว้ไม่ยอมถ่ายด้วย
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
จิตใจและอารมณ์ในระยะคลอดและหลังคลอดเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของชีวิต สภาพอารมณ์จะแตกต่างออกไปตามสถานการณ์ต่างๆ เช่น ดีใจ เสียใจ หงุดหงิด กังวลต่างๆ มากมาย หรือนอนไม่หลับ
มดลูก
มดลูกจะโตและอยู่สูงจากระดับสะดือทันทีที่คลอดแล้ว โดยมีความกว้างประมาณ 12 ซม. ยาว 15 ซม. หนา 8-10 ซม. มีน้ำหนักประมาณ 2 ปอนด์ และมดลูกจะลดขนาดลงเพื่อกลับคืนสู่สภาพปกติประมาณวันละ ½ นิ้ว เรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า “มดลูกเข้าอู่” และระดับของมดลูกจะอยู่กึ่งกลางระหว่างหัวเหน่ากับสะดือหรือประมาณ 3 นิ้วเหนือหัวเหน่าภายหลังจากคลอดในวันที่ 7 และระดับยอดมดลูกจะอยู่เหนือหัวเหน่าหลังจากคลอดประมาณวันที่ 10-12 โดยมีน้ำหนักประมาณ 8-9 ออนซ์ และภายใน 6-8 สัปดาห์ก็จะมีขนาดปกติ คือมีขนาด 3x2x1 นิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 2-3 ออนซ์ในขณะตั้งครรภ์การที่มดลูกขยายใหญ่ และหลังคลอดก็มีการลดตัวอย่างรวดเร็ว หรือการที่มดลูกถูกยึดด้วยเอ็นต่างๆ อย่างหลวมๆ ถูกผลักไปข้างหน้า เช่น มดลูกจะถูกดันสูงขึ้นไปบริเวณชายโครงเมื่อมีปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะ หรือบริเวณภายในผนังมดลูกที่รกเกาะซึ่งเป็นส่วนที่บางกว่าส่วนอื่นจะหนาตัวขึ้นเมื่อมดลูกมีการหดรัดตัวดี หลังการคลอดใน 24 ชั่วโมงแรกบริเวณที่รกเกาะจะเป็นแผลใหญ่และมีเลือดซึมออกมา แต่หลอดเลือดในบริเวณนั้นจะตีบลงและมีก้อนเลือดเล็กๆ มาปิดในระยะต่อมา ซึ่งอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้มากที่สุดในระยะ 10-14 วันแรกของการคลอด จึงต้องเฝ้าระวังและดูแลรักษาเป็นพิเศษในระยะสำคัญนี้
เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก
เยื่อบุโพรงมดลูก
เป็นส่วนที่อยู่ติดกับเนื้อมดลูก ซึ่งภายในเยื่อบุโพรงมดลูกจะมีต่อมของเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ และภายใน 3 สัปดาห์ก็จะมีการเจริญจนเต็มโพรง แต่จะกินเวลานานถึง 6 สัปดาห์ในส่วนที่เป็นรอยเกาะของรก ในส่วนที่รกเกาะหากไม่มีการเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูกก็จะทำให้กลายเป็นแผลเป็น ซึ่งการตั้งครรภ์ในครั้งต่อไปจะมีอันตรายได้
ช่องคลอดและปากช่องคลอด
เป็นอวัยวะที่ผนังมีการหย่อนมากกว่าเดิม ไม่สามารถกลับสู่สภาพปกติเหมือนตอนก่อนคลอดได้ โดยผนังช่องคลอดจะปรากฏเป็นรอยย่นให้เห็น และจะสมบูรณ์เหมือนเดิมในสัปดาห์ที่ 6-10 ส่วนลักษณะของเยื่อพรหมจารีจะขาดกะรุ่งกะริ่งเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ ซึ่งทำให้รู้ได้ว่าเคยผ่านการคลอดบุตรมาแล้ว ในรายที่แผลสมานกันได้รวดเร็วจะเป็นการฉีดขาดจากการตัดฝีเย็บ ปกติแล้วภายใน 5-7 วันแผลนี้จะหายเข้าสู่สภาพเดิมได้ หากเกิดอาการบวมและอักเสบก็อาจเกิดจากไม่ได้เย็บแผลหรือเย็บไม่ถูกวิธี จนอาจทำให้มีการติดเชื้อเข้าไปภายในมดลูก ปีกมดลูก และช่องท้อง ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่ารักษาหาย
การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะไม่สุขสบาย
การมีไข้ในมารดาหลังคลอด
Reactionary fever
เกิดจากการสูญเสียน้ำ/เลือดระหว่างการคลอด โดยมีไข้ไม่เกิน 38 องศา
เหนื่อย อ่อนเพลียระหว่างการคลอด ที่นอนรอคลอดเป็นระยะเวลานาน
การพยาบาล
ให้สารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
เช็ดตัวลดไข้เพื่อความสุขสบาย
ดูแลให้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้
อาการปวดมดลูก
มดลูกหดรัดตัวหลังคลอด
ปวดมากขึ้นขณะลูกดูดนม
การพยาบาล
อธิบายว่าเป็นเรื่องปกติช่วยป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
ดูแลให้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้
เจ็บแผลฝีเย็บ
มารดาปวดแผลฝีเย็บ ควรเฝ้าระวังก้อนเลือดคั่ง บริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอด
การพยาบาล
อธิบายให้ทราบว่าอาการแผลฝีเย็บจะเกิดหลังคลอด ประมาณ7วันจะหายเจ็บและแผลจะหายสนิทภายใน 3 สัปดาห์
ใช้ผ้าอนามัยเย็นประคบที่แผลฝีเย็บทันทีหลังคลอดเพื่อช่วยลดบรรเทาปวดและช่วยลดอาการบวม
ประเมินแผลฝีเย็บตามหลักการ REEDAP
ดูแลให้ยาพาราเซตามอลเพื่ออาการปวด
ริดสีดวงทวาร
การบรรเทาอาการปวดริดสีดวงทวาร
แช่ก้นด้วยน้ำอุ่น 2-3 ครั้ง/วัน
นอนตะแคง
หลีกเลี่ยงการนั่งนานๆ
การพยาบาล
รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง
หลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระการนั่งนานๆ
ให้ดื่มน้ำมากๆป้องกันอาการท้องผูก
อาการท้องผูก
การพยาบาล
การกระตุ้นให้เคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็ว เนื่องการลุกจากเตียงเร็วหลัง
คลอดจะช่วยส่งเสริมสุขภาพ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
การลุกจากเตียง ควรเริ่มเมื่อมารดาได้พักผ่อนเต็มที่แล้ว
ไข้จากน้ำนม
มักเป็นทั้งเต้าและเป็นทั้ง2ข้าง เกิดจากการสร้างน้ำนมแม่ได้มากแต่ไม่สามารถระบายออก จึงเกิดอาการคัด บวม แข็ง
มารดาที่มีเต้านมคัดตึงอาจมีไข้ต่ำๆเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
การป้องกัน
1.ไม่ควรทิ้งระยะให้นมบุตรนานเกินไป
2.ให้ลูกดูดนมบ่อยๆดูดถูกวิธี
การพยาบาล
การบีบน้ำนมและเก็บน้ำนม
ประคบเต้านมด้วยผ้าชุบน้ำร้อน
การบีบน้ำนมด้วยมือ
การบีบนมด้วยเครื่องปั๊มนม
ปัสสาวะลำบาก
ความไวต่อแรงกดลดลง
หลังคลอด กระเพาะปัสสาวะไม่ถูกกด
การพยาบาล
กระตุ้นความอยากปัสสาวะ โดยการเอาน้ำราดบริเวณ Symphysis pubis
ถ้าปัสสาวะไม่ออกใน 6-8ชั่วโมง หลังคลอดให้ทำ intermittent cath
รับประทานน้ำให้มากขึ้น ถ้ายังแสบขัดและกะปริบกะปรอยต้องรายงานแพทย์
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคมและบทบาทวิทยาการเป็นมารดาหลังคลอด
ระยะเทคกิ้ง-อิน (the taking-in phase) เป็นระยะพึ่งพา
มารดาหลังคลอดยังคง เข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล มารดาจะสนใจแต่ความต้องการของตนเองมากกว่าการคำนึงถึงความต้องการของบุตร โดยมารดาจะมีความต้องการพักผ่อน การรับประทานอาหารหลังคลอดเพื่อชดเชยพลังงานที่สูญเสียไปจากการคลอด ต้องการที่จะได้รับความช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากมารดาไม่สุขสบายด้านร่างกาย รวมทั้งมีความตึงเครียด ด้านจิตใจในการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ในการเป็นมารดา
ระยะเทคกิ้ง-โฮลด์ (taking-hold phase) เป็นระยะกึ่งพึ่งพา
มารดาเริ่มพึ่งพาตนเองได้ สามารถควบคุมสมดุลของระบบต่างๆ ในร่างกายได้ เริ่มมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีกำลังเพียงพอ มารดาจึงสนใจการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของร่างกาย กระตือรือร้นที่จะดูแลตนเอง และตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆที่เป็นบทบาทหน้าที่ของมารดาได้ เริ่มสนใจเรียนรู้และฝึกทักษะในการดูแลบุตร รวมทั้งการให้นมบุตร อย่างไรก็ตามระยะนี้มารดายังต้องการการพักผ่อนและการตอบสนองต่อร่างกายของตนเอง ถ้ามารดาไม่ได้รับการตอบสนองดังกล่าวการพักผ่อนและการตอบสนองต่อร่างกายของตนเอง ถ้ามารดาไม่ได้รับการตอบสนองดังกล่าวการพักผ่อนและการตอบสนองต่อร่างกายของตนเอง ถ้ามารดาไม่ได้รับการตอบสนองดังกล่าว อาจส่งผลให้มารดาไม่มีความอดทน รู้สึกประสบความล้มเหลว และขาดความเชื่อมั่นในการแสดงออกถึงบทบาทหน้าที่ในการเป็นมารดา ถ้ามารดาได้รับการช่วยเหลือตอบสนอง ตามความต้องการจะสามารถผ่านระยะนี้ไปได้และการกระทำบทบาทหน้าที่ของการเป็นภรรยาในการปฏิบัติภารกิจภายในครอบครัว และสังคมอย่างเหมาะสม
ระยะเลตติ้ง-โก (letting-go phase) ระยะ 2 สัปดาห์หลังคลอด
เป็นระยะพึ่งพาตนเอง ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่การเป็นมารดา สามารถที่จะดูแลตนเองและบุตรได้มากขึ้น เป็นระยะที่มารดารู้สึกเศร้าลึกๆ ต่อการสูญเสียสิ่งที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายคือบุตร และเริ่มยอมรับว่าบุตรเป็นบุคคลหนึ่งที่แยกออกจากตน มีบุคลิกลักษณะแนวทางในการดำเนินชีวิตเฉพาะของตนเอง มารดามีการปรับตัวในหลายด้าน ได้แก่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ระบบครอบครัวที่ต้องมีสมาชิกเพิ่มขึ้น ปรับตัวในการสร้างสัมพันธภาพของครอบครัว และปรึกษา ในการทำกิจกรรมร่วมกันทั้งการดูแลบุตร การทำงานบ้าน และกิจกรรมทางสังคม รวมถึงการคงสัมพันธภาพพื้นฐานของครอบครัว ดังนั้นการดูแลมารดาด้านจิตสังคมในระยะพึ่งพาตนเอง ควรดูแลมารดาด้วยการแสดงความรัก ความห่วงใย ความเห็นอกเห็นใจ การเอาใจใส่ การให้กำลังใจ ชื่นชม และสนับสนุนให้มารดาสามารถปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดาในการเลี้ยงดูบุตรและการกระทำบทบาทหน้าที่ของการเป็นภรรยาในการปฏิบัติภารกิจภายในครอบครัว และสังคมอย่างเหมาะสม
การส่งเสริมสัมพันธภาพมารดา ทารก และบิดาภายหลังคลอด
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดากับทารก
2.การประสานสายตา
3.การใช้เสียง
1.การสัมผัส
การรับกลิ่น
การให้ความอบอุ่น
การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นจังหวะ
ตามเสียงพูด
จังหวะทางชีวภาพ
การยิ้ม
สร้างทฤษฎีความรักใคร่ผูกพัน
Bonding หมายถึง สัมพันธภาพหรือความผูกพันรักใคร่ในหญิงระยะตั้งครรภ์
Attachmennt หมายถึง สัมพันธภาพหรือความผูกพันรักใคร่ที่มีต่อกันระหว่างบุคคลสองคน
การส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารก
ให้มารดาโอบกอดทารก
จัดให้มารดาได้อยู่กับบุตรโดยเร็ว
จัดให้บิดา มารดา ทารกได้มีโอกาสได้อยู่ร่วมกันตามลำพัง
กระตุ้นให้มารดามีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับบุตร