Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดสัมมนาแบบ Symposium, นายทวัลยวัฒน์ อินตา 6201210873 secA, อ้างอิง,…
การจัดสัมมนาแบบ Symposium
ความหมาย
การอภิปรายแบบซิมโพเซียม เป็นการสัมนาในบรรยากาศอภิปรายแบบเป็นทางการวิทยากรเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อเหล่านั้น
มีวิทยากรได้หลายคนและแต่ละคนจะพูดในหัวข้อของตนไม่ก้าวก่ายหัวข้อที่ผู้อื่นพูดพูดตรงประเด็นชัดเจน ทำความเข้าใจแก่ผู้ฟังมากที่สุด
มีผู้ดำเนินการอภิปรายเป็นผู้คอยเชื่อมโยงและประสานเรื่องให้ผู้ฟังเข้าใจดีขึ้น
วิธีการดำเนินงาน
รับลงทะเบียนสัมมนาสมาชิก แจกเอกสารที่เตรียมไว้ได้ล่วงหน้า ซึ่งประกอบด้วยกำหนดการของแต่ละวัน และเอกสารประกอบคำบรรยายที่วิทยากรส่งมาให้ล่วงหน้า หรือเอกสารที่ฝ่ายจัดสัมมนาเตรียมไวให้
พิธีเปิดอย่างเป็นทางการ
การประชุมใหญ่เพื่อชี้แจงข้อควรปฏิบัติในการสัมมนาแต่ละครั้ง
รวบรวมปัญหาที่จะนำมาเป็นหัวข้อในการสัมมนากลุ่มย่อย สำหรับปัญหานี้ฝ่ายจัดสัมมนาอาจเตรียมไว้ล่วงหน้าได้
การเสริมความรู้และประสบการณ์ อาจจัดได้ในรูปใดรูปหนึ่งหรือผสมผสานกัน เช่น จัดให้มีการปาฐกถา จัดให้มีการบรรยาย จัดให้มีการอภิปราย จัดให้มีการศึกษานอกสถานที่ประกอบ
การแบ่งกลุ่มสัมมนา เพื่อหาข้อยุติในการแก้ปัญหา ให้แบ่งกลุ่มย่อยตามความรู้ความสามารถและประสบการณ์ตลอดจนความสนใจ
รายงานผลการสัมมนากลุ่มย่อยต่อที่ประชุมใหญ่ เพื่อให้สมาชิกส่วนอื่นแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม และช่วยปรับปรุงแนวทางแก้ปัญหาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
สรุปผลประเมินผลการสัมมนา ซึ่งอาจจะทำทุกวันในระหว่างที่มีการสัมมนาหรือจะทำรวมครั้งเดียวก็ได้ แต่อย่างน้อยในตอนก่อนเปิดการสัมมนา ควรจะมีผลการประเมินผลการสัมมนาบ้างในบางเรื่อง เพื่อสัมมนาสมาชิกจะได้รับทราบผลร่วมกัน
ข้อดี
ผู้บรรยายหรือวิทยากรมีโอกาสได้เสนอเอกสารและข้อเท็จจริงใหม่ๆและสามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลในแง่มุมต่างๆ
ผู้ฟังมีโอกาสได้ฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้บรรยายหลายๆท่านทำให้ได้รับความรู้กว้างขวางขึ้น
วิธีนี้สามารถใช้กับการฝึกอบรมที่มีจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวนมากๆได้
การบรรยายใช้เวลาสั้นๆทำให้ได้เนื้อหาตรงตามหัวข้อวิชา
สามารถลดความขัดแย้งระหว่างผู้บรรยายหรือวิทยากรด้วยกันเองได้อย่างมาก
ข้อจำกัด
ผู้เชี่ยวชาญหรือวิทยากรแต่ละคนอาจบรรยายคนละทรรศนะซึ่งทำให้ผลของการสัมมนาไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ผู้เชิญวิทยากรควรชี้เเจงเพื่อทำความเข้าใจกับวิทยากรให้เข้าใจชัดแจ้ง
ผู้ฟังอาจเกิดความเบื่อหน่ายในการรับฟังคำอธิบายได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นน้อย
วิทยากรมีเวลาจำกัดการบรรยายไม่ชัดเจนพอ
นายทวัลยวัฒน์ อินตา 6201210873 secA
อ้างอิง
สุภัทร แก้วพัตร. (2560). เอกสารประกอบการสอนสัมมนาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. สืบค้น 21 มกราคม 2565,จาก
http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/1863r40dG4gg920VK000.pdf?fbclid=IwAR0v6ugEERJtcwAApvyGtKZaFDRLTFMW82XtQ5PFvzHtkT6dGFL-XM7qcGo