Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,…
รัชกาลที่ 6
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
การศึกษา
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังดำรงพระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชทานนาม โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2448 ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของเชียงใหม่ และพระราชทานนาม โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 ซึ่งก่อตั้งโดยคณะมิชชันนารีอเมริกา ซึ่งไม่เป็นเพียงแต่การนำรูปแบบการศึกษาตะวันตกมายังหัวเมืองเหนือเท่านั้น แต่ยังแฝงนัยการเมืองระหว่างประเทศเอาไว้ด้วยเห็นได้จากการเสด็จประพาสมณฑลพายัพทั้งสองครั้งระหว่าง พ.ศ. 2448-2450 พระองค์ได้ทรงสนพระทัยในกิจการโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น โดยพระองค์ทรงบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์ "เที่ยวเมืองพระร่วง" และ "ลิลิตพายัพ" ทั้งนี้
เป้าหมายของการจัดการศึกษายังแฝงประโยชน์ทางการเมืองที่จะให้ชาวท้องถิ่นกลมเกลียวกับไทยอีกด้วย
สาธารณสุข
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ วชิรพยาบาล เพื่อรักษาพยาบาลประชาชนที่เจ็บไข้ได้ป่วย
ทรงเปิดสถานเสาวภา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2465 เพื่อผลิตวัคซีนและเซรุ่ม เป็นประโยชน์ทั้งแก่ประชาชนชาวไทยและประเทศใกล้เคียงอีกด้วย
ทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457
การเศรษฐกิจ
การร่วมลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรม
รัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ 6ได้ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการลงทุนจัดตั้งบริษัททำปูนซีเมนต์ของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ในปี 2456 ทำให้ประเทศไทยลดการสั่งเข้าปูนซีเมนต์จากต่างประเทศให้น้อยลงได้
การส่งเสริมด้านการเกษตร
ในด้านการส่งเสริมการเกษตรนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ดำเนินการหลายประการ เช่น จัดตั้งกรมทดน้ำเพื่อจัดหาน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก ส่งเสริมให้มีการขุดลอกคูคลอง
การจัดตั้งสภาเผยแพร่พาณิชย์และกระทรวงพาณิชย์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีนโยบายแก้ไขปัญหา เศรษฐกิจด้วยการจัดตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ขึ้นในกระทรวงพระคลังมหา
การตั้งสถาบันการเงิน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริจัดตั้งสถาบันการ เงินขึ้นมา เพื่อฝึกฝนให้ประชาชนของชาติเห็นถึงความสำคัญของการออมทรัพย์ จึงได้มีกิจการ “ธนาคารออมสิน”
คมนาคม
ทรงปรับปรุงและขยายงานกิจการรถไฟ ให้รวมกรมรถไฟซึ่งเคยแยกเป็น ๒ กรมเข้าเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า กรมรถไฟหลวง เริ่มเปิดกิจการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ ทรงเปิดเดินรถด่วนระหว่างประเทศ สายใต้ติดต่อกับรถไฟมลายู (มาเลเซีย)
ทรงจัดตั้งกรมอากาศยาน ได้เริ่มการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศระหว่างกรุงเทพฯ ไปยังนครราชสีมาเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2463
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม 6 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมทางรถไฟทั้งปวงในพระราชอาณาจักรโดยโยงเข้ามาสู่ศูนย์กลางที่สถานีหัวลำโพง
วรรณกรรม
พระองค์ทรงอุตสาหะพระราชนิพนธ์หนังสือต่าง ๆ แล้ว ยังโปรดให้ตั้ง วรรณคดีสโมสร เพื่อส่งเสริมการประพันธ์ด้านภาษาไทย นอกจากนี้ยังได้ทรงออกหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ หลายฉบับด้วยกัน เช่น ทวีปัญญา เมื่อครั้งตั้ง ทวีปัญญาสโมสร ในสมัยก่อนขึ้นครองราชย์ และสมัยที่เสวยราชสมบัติแล้วหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียงคือ ดุสิตสมิต ในการพระราชนิพนธ์หนังสือต่าง ๆ พระองค์ทรงใช้ทั้งพระนามจริงและพระนามแฝงในโอกาสต่างๆ ดังนี้
นามแฝง
พระขรรค์เพชร ศรีอยุธยา
นายกท.ป.ส.(ทวีปัญญาสโมสร)
Sri Ayudhya
อัศวพาหุ
รามจิตติ
สุครีพ
พันแหลม
จุลสมิต
มหาสมิต
คอแดง
คอยุโรป
น.พ.ส.
นายจิรพงศ์ กูลเกื้อ เลขที่ 1 ห้อง 5/8