Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3.รูปแบบการจัดสัมมนาแบบ Role play, Seminar-header - Coggle Diagram
3.รูปแบบการจัดสัมมนาแบบ Role play
วิธีการดำเนินงาน
ประธานและเลขานุการต้องทราบและเข้าใจปัญหาอย่างชัดเจน โดยประธานและเลขานุการเป็นผู้ทำหน้าที่ประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
ประธานจะเลือกผู้ที่จะแสดงในแต่ละบทบาทที่ได้รับการสมมุติขึ้น ซึ่งควรใช้วิธีการจับสลากและการเลือกตัวบุคคลไม่ควรบอกให้สมาชิกทราบล่วงหน้า ซึ่งในการแสดงบทบาทสมมุตินี้ควรให้สมาชิกมีเวลาเตรียมตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ประธานควรเปิดโอกาสให้สมาชิกแสดงบทบาทของตนอย่างเต็มที่
ประธานจะดำเนินการอภิปรายหลังจากที่การแสดงจบ โดยการอภิปรายควรเน้นผลที่ได้รับจากการแสดงในแต่ละบทบาท
ความหมาย
การให้สมาชิกซึ่งอาจแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้แสดงบทบาทในสถานการณ์จริงวิธีการนี้จะช่วยให้สมาชิกรับรู้และสามารถปฏิบัติจริงได้เป็นอย่างดีเช่น วิธีการติดต่อธุรกิจทางโทรศัพท์วิธีการเข้ารับการสัมภาษณ์ทำงาน เป็นต้น
ข้อดี
1.การใช้บทบาทสมมติช่วยกระตุ้นให้สมาชิกผู้เข้ารับการอบรมเกิดความสนใจเรื่องที่อบรม
2.ส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แสดงออกด้วยการปฏิบัติจริง ทำให้ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ เพิ่มขึ้น
3.เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทดลองแสดงบทบาทตามแนวคิด และสามารถแสดงบทบาทซ้ำ ได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและหาข้อสรุปได้
4.เป็นเทคนิคที่สามารถใช้ได้ทั้งในกรณีที่มีการวางแผนล่วงหน้า และไม่ได้ว่างแผนล่วงหน้า
5.ส่งเสริมความคิดริเริ่มของผู้เข้ารับการอบรม
ข้อจำกัด
1.การใช้เทคนิคนี้ผู้ให้การอบรมอาจมีความยุ่งยากเกี่ยวกับการเตรียมการล่วงหน้า
2.การแสดงบทบาทสมมติต้องใช้เวลามาก ซึ่งมีผลต่อระยะเวลาการฝึกอบรม
3.การหาอาสาสมัคร เพื่อแสดงบทบาทเป็นอุปสรรค เพราะบางคนไม่กล้าแสดงออก
4.ผู้ให้การฝึกอบรมต้องเป็นผู้มีความสามารถในการเชื่อมโยงความคิดของสมาชิกที่เข้าอบรมไปสู่ ข้อสรุปได้
อ้างอิง
ณิรดา เวชญาลักษณ.(ม.ป.ป).
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสันา
.สืบค้น 22 มกราคม 2565, จาก
http://elearning.psru.ac.th/courses/185/Lesson1.pdf
สุระพงษ์ โด่งดัง.(ม.ป.ป).
เทคนิคการฝึกอบรม
.สืบค้น 22 มกราคม 2565, จาก
https://trainingaem.wordpress.com//