Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพ โรคติดเชิ้อ โรคติดเชื้อในชุมชน…
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพ โรคติดเชิ้อ โรคติดเชื้อในชุมชน โรคอุบัติใหม่ และระบบภูมิคุ้มกัน
วัณโรค (Tuberculosis)
อาการของวัณโรค
ระยะแฝง (Latent TB) ในระยะแฝง เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วจะไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น เนื่องจากเชื้อไม่ได้รับการกระตุ้น ทว่าเชื้อแบคทีเรียก็ยังคงอยู่ในร่างกาย และสามารถก่อให้เกิดอาการจนเข้าสู่ระยะแสดงอาการได้ ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีการตรวจพบเจอเชื้อในช่วงระยะแฝง แพทย์อาจให้เข้ารับการรักษาและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ รวมถึงลดความเสี่ยงที่อาการจะเข้าสู่ระยะแสดงอาการ
ระยะแสดงอาการ (Active TB) เป็นระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่าง ๆ โดยอาการในระยะนี้จะปรากฎให้เห็นได้ชัดเจน เช่น มีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจหรือไอ อ่อนเพลีย มีไข้ หนาวสั่น มีอาการเหงื่อออกในเวลากลางคืน น้ำหนักลด และความอยากอาหารลดลง
ไอแล้วเสมหะมีเลือดปนออกมา
มีอาการเจ็บหน้าอก ขณะหายใจหรือไอ
มีไข้ หรือมีเหงื่อออกในเวลากลางคืน
สาเหตุ
ติดเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis)
เคยมีการติดต่อและสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากโรคร้ายแรง
จากปัญหาทางด้านโภชนาการ ติดยาเสพติด หรือพิษสุราเรื้อรัง
การรักษาวัณโรค
ยารักษาวัณโรค
ไอโซไนอะซิด (Isoniazid)
ริฟามพิน (Rifampin)
เอทแทมบูท (Ethambutol)
ไพราซีนาไมด์ (Pyrazinamide)
ปัจจัยเสี่ยง
มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากมีโรคบางอย่างหรือเข้ารับการรักษาบางประเภท เช่น เป็นเอดส์ หรือ กำลังทำเคมีบําบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
เดินทางหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคสูง
กำลังใช้สารบางอย่าง เช่น สูบบุหรี่ ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
ไม่มีบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ผู้ป่วยได้เข้าใช้บริการ
อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค
บาดทะยัก (Tetanus)
อาการ
อาการชักเกร็งหรือกล้ามเนื้อขากรรไกรหดเกร็ง ซึ่งอาจทำให้เจ็บปวดและอ้าปากลำบาก
กล้ามเนื้อที่ลำคอหดเกร็งจนเกิดอาการเจ็บปวด กลืนและหายใจลำบาก
มีอาการหดเกร็งที่กล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ตามมา เช่น ช่องท้อง หลัง และหน้าอก
ร่างกายกระตุกและเจ็บเป็นเวลานานหลายนาที ซึ่งมักเกิดจากสิ่งกระตุ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เสียงดัง ลมพัด การถูกสัมผัสร่างกาย หรือการเผชิญกับแสง
ความดันโลหิตสูง
การรักษาโรคบาดทะยัก
ให้ยา Tetanus Immunoglobulin และยาปฏิชีวนะ
นำเอาเนื้อเยื่อแผลที่ตายแล้วหรือสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากบาดแผล
ให้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยและชักกระตุกของกล้ามเนื้อ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อและยาระงับประสาท
ผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหากมีอาการหายใจลำบาก
ส่วนบางรายที่รับประทานอาหารไม่ได้จะต้องใช้หลอดให้อาหารเชื่อมต่อไปยังท้องหรือการหยดสารอาหารเข้าเส้นเลือด
ภาวะแทรกซ้อน
จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
สมองเสียหายจากการขาดออกซิเจน
กระดูกสันหลังและกระดูกส่วนอื่น ๆ หักจากกล้ามเนื้อที่เกร็งมากผิดปกติ
เกิดการติดเชื้อที่ปอดจนเกิดปอดบวม
ไม่สามารถหายใจได้ เนื่องจากการชักเกร็งของเส้นเสียงและกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจ
การติดเชื้ออื่น ๆ แทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการพักฟื้นหรือรักษาตัวจากโรคบาดทะยักในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ชื่อ Clostridium tetani
เชื้อมีคุณสมบัติในการสร้างสปอร์ (Spore) ที่ทนทานต่อความร้อน เชื้อเจริญเติบโตได้ดีในภาวะที่ไม่มีออกซิเจน
เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล
COVID-19
ระบาดวิทยา
ชื้อไวรัสโคโรน่า (CoVs) พบได้ทั่วโลก โดยในเขตอบอุ่น (temperate climates) มักพบเชื้อโคโรนาไวรัสในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ
การติดเชื้อโคโรนาไวรัสอาจทำให้เกิดอาการในระบบ
ทางเดินหายใจส่วนบน
การติดเชื้อพบได้ในทุกลุ่มอายุ แต่พบมากในเด็ก อาจพบมีการติดเชื้อซ้ำได้
เนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันจะลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังการติดเชื้อ สำหรับการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
ลักษณะโรค
การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Coronaviruses) อาจทำให้เกิดอาการ
ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอ โดยในทารกที่มีอาการรุนแรง
การติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome;SAR CoV)
การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Coronaviruses)
ระยะฟักตัวของโรค
โดยเฉลี่ยประมาณ 2 วัน (อาจมีระยะฟักตัวนานถึง 3 – 4 วัน) สำหรับโรคซาร์สอาจใช้ระยะฟักตัว 4 – 7 วัน (อาจนานถึง 10 – 14 วัน)
วิธีการแพร่โรค
แพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส (Contact) กับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือ แพร่กระจายเชื้อจากฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย (Droplet) จากผู้ป่วยที่มีเชื้อโดยการ ไอ หรือจาม
การป้องกัน
ออกกำลังกายสน่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่
ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย
แนะนำให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย ปิดปากปิดจมูกเวลา ไอ หรือจาม
ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย ก่อนรับประทาน อาหาร และหลังขับถ่าย
ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด หรือที่ชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค
ตับอักเสบ (Hepatitis)
อาการ
ปัสสาวะสีเข้ม
ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
รู้สึกเหนื่อย เมื่อยล้าตลอดเวลา
น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
ภาวะดีซ่าน หรือมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
ตับอักเสบเรื้อรัง
ภาวะดีซ่าน
ขา เท้า และข้อเท้าบวม
อาเจียนหรืออุจจาระเป็นเลือด
ตับอักเสบจากเชื้อไวรัส
ตับอักเสบ เอ เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในประเทศที่มีระบบสาธารณะสุขไม่ดี เกิดจากการรับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ (Hepatitis A Virus: HAV) ผ่านทางการรับประทานอาหารหรือการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสซึ่งออกมาจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ โดยประเทศกำลังพัฒนาจะมีการแพร่กระจายเชื้อมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว
ตับอักเสบ บี สามารถติดต่อผ่านทางเลือดหรือของเหลวในร่างกาย จากแม่สู่ลูก จากการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B Virus: HBV) พบได้มากในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้ว
ตับอักเสบ ซี เกิดจากการได้รับของเหลวจากร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี (Hepatitis C Virus: HCV) โดยตรง ทั้งจากการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ หรือติดต่อผ่านทางเลือดจากแม่สู่ลูก ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี ประมาณ 70-85% อาจป่วยเรื้อรังและเผชิญปัญหาสุขภาพระยะยาว หรืออาจป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้
ตับอักเสบ ดี เป็นชนิดที่รุนแรงและพบได้น้อย เกิดจากการรับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดดี (Hepatitis D Virus: HDV) จากเลือดของผู้ที่ติดเชื้อโดยตรง และเกิดขึ้นกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เท่านั้น เพราะไวรัสตับอักเสบชนิดดีไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้หากไม่มีไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย
ตับอักเสบ อี เป็นการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดอี (Hepatitis E Virus: HEV) จากการบริโภคน้ำดื่มหรืออาหารที่มีอุจจาระที่ติดเชื้อปนเปื้อนอยู่ พบได้ในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง อเมริกากลาง และแอฟริกา โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหาด้านสาธารณสุข ระบบจัดการน้ำไม่ดี น้ำดื่มปนเปื้อน หรือการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการปรุงสุกเพื่อฆ่าเชื้อก่อน
การวินิจฉัย
การตรวจเลือด
การตรวจอัลตราซาวด์
การตรวจชิ้นเนื้อ
การรักษาตับอักเสบ
ตับอักเสบ เอ เป็นการป่วยระยะสั้น ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีเฉพาะ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงอาจต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ผู้ป่วยที่ท้องเสียหรืออาเจียน ควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและขาดสารอาหาร
ตับอักเสบ บี หากเป็นชนิดเฉียบพลันอาจมีการรักษาเฉพาะ แต่ชนิดเรื้อรังอาจต้องได้รับยาต้านเชื้อไวรัสหรือยาอื่น ๆ แพทย์ต้องประเมินการรักษาเป็นประจำ และประเมินการตอบสนองของไวรัส ซึ่งอาจต้องใช้เวลารักษาต่อเนื่องนานหลายเดือนหรือเป็นปี
ตับอักเสบ ซี อาจต้องได้รับยาต้านไวรัส ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังอาจต้องรักษาด้วยการผสมยาต้านไวรัสหลายชนิด และอาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนตับสำหรับผู้ที่ตับอักเสบติดเชื้อเรื้อรังหรือเป็นโรคตับแข็ง
ตับอักเสบ ดี ในปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสตับอักเสบ ดี
ตับอักเสบ อี ยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ อี เนื่องจากเป็นการติดเชื้อที่ค่อนข้างเฉียบพลันและหายเองได้ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ อี ที่กำลังตั้งครรภ์ จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
มาลาเรีย (Malaria)
อาการ
มีไข้สูง หนาวสั่น
เหงื่อออกมาก
ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
คลื่นไส้ อาเจียน
อาการหมดสติไม่รับรู้ต่อการกระตุ้นต่าง ๆ หรือโคม่า
อุจจาระเป็นเลือด ภาวะโลหิตจาง
สาเหตุ
พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม (Plasmodium Falciparum)
พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ (P.Vivax)
พลาสโมเดียม มาลาริอี่ (P.Malariae)
พลาสโมเดียม โอวาเล่ (P.Ovale)
พลาสโมเดียม โนว์ไซ (P. Knowlesi)
การรักษามาลาเรีย
ยาต้านมาลาเรีย
ยาคลอโรควิน (Chloroquine)
ยาดอกซีไซคลิน (Doxycycline)
ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine)
การใช้ร่วมกันระหว่างยา Proguanil และ Atovaquone
การใช้ร่วมกันระหว่างยา Artemether และ Lumefantrine
การป้องกันมาลาเรีย
การใช้ยาป้องกันมาลาเรียจะแตกต่างกันออกไปแต่ละประเทศ และยาที่ใช้สำหรับแต่ละประเทศจะเรียงลำดับตามตัวอักษรและเปรียบเทียบคุณสมบัติของยาไว้อย่างชัดเจน ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกสำหรับการเลือกใช้ยาอย่างเหมาะสม
ยาต้านมาลาเรียไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100% เลือกใช้ยาเมื่อได้ประโยชน์จากยามากกว่าผลข้างเคียงจากการใช้ยา และต้องอาศัยวิธีการป้องกันของตนเองร่วมด้วย เช่น ใช้ยาทาไล่ยุง ใส่เสื้อแขนยาวหรือกางเกงขายาว และนอนในมุ้ง
การใช้ยาต้านมาลาเรีย ต้องพิจารณาถึงปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นที่กำลังใช้อยู่ รวมไปถึงการตรวจสอบข้อควรระวังการใช้ยา เช่น การแพ้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
เมื่อได้ยาต้านมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพกับตนเองแล้ว ต้องใช้ยาก่อนการเดินทาง ซึ่งหากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ในประเทศไทยโดยทั่วไปแพทย์มักไม่แนะนำให้รับประทานยาป้องกันมาลาเรีย เนื่องจากความชุกชุมของมาลาเรียยังไม่มาก แต่ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์สำหรับผู้ที่พบว่ามีไข้ภายใน 1 สัปดาห์-2 เดือน หลังออกจากป่าหรือพื้นที่เสี่ยง
Melioidosis
อาการ
มื่อได้รับเชื้อแล้วผู้ป่วยจะแสดงอาการราว 2-4 สัปดาห์ภายหลังสัมผัสเชื้อแบคทีเรีย
บางรายอาจเป็นโรคโดยไม่แสดงอาการอาการ
อาการของการติดเชื้อในปอด
ไอแบบมีเสมหะ หรือไม่มีเสมหะ เรียกว่า ไอแห้งๆ
เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
มีไข้สูง ปวดศีรษะ และ ปวดกล้ามเนื้อ
น้ำหนักตัวลด
สาเหตุ
มนุษย์และสัตว์ที่สัมผัสกับดินหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย B. pseudomallei
การรักษา
การรักษาในขั้นแรกของโรคเมลิออยโดสิสคือการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำเป็นเวลาอย่างน้อย 10-14 วัน การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอาจกินเวลานานกว่า 8 สัปดาห์
ceftazidime (Fortaz, Tazicef), ให้ทุกๆ 6-8 ชม
meropenem (Merrem), ให้ทุกๆ 8 ชม.
การป้องกัน
เมื่อทำงานในน้ำหรือดิน ควรสวมรองเท้าบูทกันน้ำและถุงมือ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและอยู่ในน้ำ หากมีแผลเปิด เป็นโรคเบาหวานหรือโรคไตเรื้อรัง
การแปรรูปเนื้อสัตว์ควรสวมถุงมือและหมั่นฆ่าเชื้อมีด
บุคลากรทางการแพทย์ควรสวมหน้ากากอนามัย ถุงมือ และเสื้อกาว์น
ระวังการสัมผัสเชื้อโดยการสูดดมระหว่างสภาพอากาศที่แย่
การแปรรูปเนื้อสัตว์ควรสวมถุงมือและหมั่นฆ่าเชื้อมีด