Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 6 แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า - Coggle Diagram
หน่วยที่ 6 แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า
บทที่ 1 แรงไฟฟ้า
แนวคิดสำคัญ
แรงไฟฟ้าเป็นแรงระหว่างประจุไฟฟ้า เกิดขึ้นจากการถูวัตถุบางชนิด โดยแรงไฟฟ้าเป็นแรงไม่สัมผัส ซึ่งมีทั้งแรงดึงดูดและแรงผลัก
ตรวจสอบความรู้เดิม
นักเรียนสังเกตเห็นอะไรในรูปบ้าง
เช่น อาคารสูง ภายในอาคารมีแสงไฟสว่าง เห็นฟ้าผ่า แม่น้ำ และเรือในแม่น้ำ
นักเรียนคิดว่าสิ่งที่นักเรียนเห็นในรูปเกี่ยวข้องกับแรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าหรือไม่ อย่างไร
พลังงานไฟฟ้าทำให้หลอดไฟฟ้าในตึกสว่าง สายฟ้าที่ผ่าลงมามีพลังงานไฟฟ้า
เรื่องที่ 1 แรงไฟฟ้า
ตรวจสอบความรู้
จากที่นักเรียนเคยเรียนเรื่องแม่เหล็กมาแล้ว เมื่อนำแท่งแม่เหล็กเข้าใกล้ลวดเสียบกระดาษจะเกิดอะไรขึ้นกับลวดเสียบกระดาษ เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
ลวดเสียบกระดาษจะถูกดึงดูดให้เคลื่อนที่เข้าหาแท่งแม่เหล็ก เพราะลวดเสียบกระดาษเป็นสารแม่เหล็ก
นักเรียนคิดว่ามีแรงกระทำระหว่างแม่เหล็กและลวดเสียบกระดาษหรือไม่ รู้ได้อย่างไร
มีแรงกระทำ รู้ได้จากลวดเสียบกระดาษเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่จากอยู่นิ่งเป็นเคลื่อนที่เข้าหาแท่งแม่เหล็ก
แรงที่กระทำระหว่างแม่เหล็กกับลวดเสียบกระดาษคือแรงอะไร
แรงแม่เหล็ก
ฝึกทักษะการอ่าน
แม่เหล็กมีแรงกระทำต่อวัตถุใดบ้าง
แม่เหล็กมีแรงกระทำต่อวัตถุที่เป็นสารแม่เหล็ก และแม่เหล็กด้วยกัน
แรงแม่เหล็กเป็นแรงสัมผัสหรือไม่ รู้ได้อย่างไร
แรงแม่เหล็กเป็นแรงไม่สัมผัส รู้่ได้จากเมื่อนำแม่เหล็กเข้าใกล้สารแม่เหล็ก แม่เหล็กสามารถดึงดูดแม่เหล็กได้ โดยไม่จำเป็นต้องแตะหรือสัมผัสกัน
นอกจากแรงแม่เหล็กแล้ว ยังมีแรงใดที่เป็นแรงไม่สัมผัส
แรงไฟฟ้า
เหตุการณ์ใดบ้างที่เกิดจากแรงไฟฟ้าที่เราอาจพบในชีวิตประจำวัน
ในวันที่ความชื้นน้อย เมื่อหวีผม หวีจะดึงดูดเส้นผมขึ้นมา หรือเมื่อสวมเสื้อผ้าบางชนิด เสื้อผ้าจะแนบติดตัวเรา
สรุป
แรงแม่เหล็กเป็นแรงไม่สัมผัส ซึ่งเป็นแรงที่กระทำต่อวัตถุโดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับวัตถุนั้น นอกจากนี้แรงไฟฟ้าก็เป็นแรงไม่สัมผัสด้วย ซึ่งเราอาจพบแรงไฟฟ้าในเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การหวีผม แล้วมีเส้นผมติดขึ้นมากับหวี
รู้หรือยัง
1.การที่หวีดึงดูดเส้นผมให้ไปติดกับหวีและการที่เสื้อผ้าแนบติดกับลำตัว เป็นเพราะเหตุใด
เพราะเกิดแรงไฟฟ้า
2.แรงไฟฟ้าคล้ายกับแรงชนิดใด เพราะเหตุใด
แรงไฟฟ้าเป็นแรงไม่สัมผัสคล้ายกับแรงแม่เหล็ก เพราะเป็นแรงที่กระทำต่อวัตถุโดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับวัตถุนั้น
กิจกรรมที่ 1.1 แรงไฟฟ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร
คำถามหลังทำกิจกรรม
เมื่อนำวัตถุทุกชนิดที่ยังไม่ถูด้วยกระดาษเยื่อเข้าใกล้วงล้อกระดาษ วงล้อกระดาษมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
วงล้อกระดาษไม่มีการเปลี่ยนแปลง
เมื่อนักเรียนนำกระดาษเยื่อถูวัตถุทุกชนิด แล้วนำวัตถุนั้นมาเข้าใกล้วงล้อกระดาษ วงล้อกระดาษมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
วัตถุบางชนิด ได้แก่ ไม้บรรทัดพลาสติก ปากกาเมจิก แท่งแก้วคน ท่อพีวีซีและลูกโป่งเมื่อถูด้วยกระดาษเยื่อแล้วนำมาเข้าใกล้วงล้อกระดาษ จะทำให้วงล้อกระดาษเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่จากอยู่นิ่งเป็นเคลื่อนที่เข้าหาวัตถุนั้น ส่วนไม้บรรทัดเหล็ก และดินสอไม้เมื่อถูด้วยกระดาษเยื่อ แล้วนำมาเข้าใกล้วงล้อกระดาษ จะไม่ทำให้วงล้อกระดาษเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่
นักเรียนจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้วัตถุบางชนิดสามารถทำให้วงล้อกระดาษเคลื่อนที่เข้าหาได้
ใช้กระดาษเยื่อถูวัตถุบางชนิด แล้วนำมาเข้าใกล้วงล้อกระดาษ
เมื่อถูวัตถุบางชนิดด้วยกระดาษเยื่อ จากนั้นนำวัตถุบางชนิดนั้นมาเข้าใกล้วงล้อกระดาษ ทำให้วงล้อกระดาษเคลื่อนที่เข้าหาวัตถุนั้นได้ นักเรียนคิดว่ามีแรงกระทำต่อวงล้อกระดาษหรือไม่ รู้ได้อย่างไร
มีแรงกระทำ รู้ได้จากวงล้อกระดาษมีการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่จากอยู่นิ่งเป็นเคลื่อนที่เข้าหาวัตถุบางชนิดนั้น
แรงที่เกิดจากการถูวัตถุบางชนิดด้วยกระดาษเยื่อคือแรงอะไร
แรงไฟฟ้า
แรงไฟฟ้าเป็นแรงสัมผัส หรือแรงไม่สัมผัส รู้ได้อย่างไร
แรงไฟฟ้าเป็นแรงไม่สัมผัส รู้ได้จากเมื่อถูวัตถุบางชนิดด้วยกระดาษเยื่อแล้วนำมาเข้าใกล้วัตถุอื่น สามารถทำให้วัตถุนั้นเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ได้โดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับวัตถุนั้น
อภิปรายในสถานการณ์ต่างๆ ว่าเกิดแรงไฟฟ้าได้อย่างไร
นำแท่งพลาสติกหรือหลอดดูดพลาสติกจุ่มลงในเม็ดโฟม พบว่าเม็ดโฟมติดแท่งพลาสติกหรือหลอดดูดพลาสติกขึ้นมา
เกิดแรงไฟฟ้าจากการถูแท่งพลาสติกหรือหลอดดูดพลาสติกด้วยกระดาษเยื่อ
ลูกโป่งดึงดูดให้กระป๋องอะลูมิเนียมเคลื่อนที่ได้ หรือหวีพลาสติกที่ดึงดูดเส้นผมให้ขึ้นไปติด
เกิดแรงไฟฟ้าจากการถูลูกโป่งด้วยกระดาษเยื่อหรือถูหวีพลาสติกด้วยกระดาษเยื่อ
เมื่อสวมเสื้อผ้าบางชนิดแล้วเคลื่อนไหวร่างกาย พบว่าเสื้อผ้าติดแนบลำตัว
เกิดแรงไฟฟ้าจากเสื้อผ้าที่สวมใส่ถูกับลำตัว
ฉันรู้อะไร
1.ทำอย่างไรให้วัตถุดึงดูดวงล้อกระดาษให้เคลื่อนที่ได้
ถูวัตถุด้วยกระดาษเยื่อ แล้วนำมาเข้าใกล้วงล้อกระดาษ
2.วัตถุทุกชนิดที่ถูด้วยกระดาษเยื่อ สามารถดึงดูดวงล้อกระดาษให้เคลื่อนที่ได้หรือไม่ อย่างไร
วัตถุบางชนิดที่ถูด้วยกระดาษเยื่อ ได้แก่ ไม้บรรทัดพลาสติก ปากกาเมจิก แท่งแก้วคน ท่อพีวีซี และลูกโป่งสามารถดึงดูดวงล้อกระดาษให้เคลื่อนที่ได้ แต่ไม้บรรทัดเหล็กและดินสอไม้ไม่สามารถดึงดูดวงล้อกระดาษให้เคลื่อนที่ได้
3.เมื่อนำวัตถุบางชนิดถูด้วยกระดาษเยื่อ แล้วนำเข้าใกล้วงล้อกระดาษ มีแรงกระทำต่อวงล้อกระดาษหรือไม่ รู้ได้อย่างไร
มีแรงกระทำต่อวงล้อกระดาษ รู้ได้จากวงล้อกระดาษเปลี่ยนจากอยู่นิ่งเป็นเคลื่อนที่เข้ามาใกล้วัตถุบางชนิดนั้น
4.จากกิจกรรมนี้ ค้นพบอะไรบ้างเกี่ยวกับการเกิดแรงไฟฟ้า
เมื่อถูไม้บรรทัดพลาสติก ปากกาเมจิก แท่งแก้วคน ลูกโป่ง และท่อพีวีซี ด้วยกระดาษเยื่อแล้วนำมาเข้าใกล้วงล้อกระดาษ จะมีแรงไฟฟ้ากระทำต่อวงล้อกระดาษ ทำให้วงล้อกระดาษเคลื่อนที่ได้ แต่เมื่อถูไม้บรรทัดเหล็กและดินสอไม้ด้วยกระดาษเยื่อ แล้วนำมาเข้าใกล้วงล้อกระดาษจะไม่เกิดแรงไฟฟ้า วงล้อกระดาษจึงไม่เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่
5.จากสิ่งที่ค้นพบ สรุปได้ว่าอย่างไร
เมื่อถูวัตถุบางชนิดแล้วนำมาเข้าใกล้วัตถุอื่นจะสามารถดึงดูดวัตถุนั้นได้ เนื่องจากเกิดแรงไฟฟ้า แรงไฟฟ้าเป็นแรงไม่สัมผัส
กิจกรรมที่ 1.2 ผลของแรงไฟฟ้าเป็นอย่างไร
ทบทวนความรู้
จากกิจกรรมที่ผ่านมา เมื่อถูวัตถุบางชนิดด้วยกระดาษเยื่อแล้วนำเข้าใกล้วัตถุอื่น จะเกิดอะไรขึ้น
วัตถุบางชนิดนั้นจะดึงดูดวัตถุอื่นได้
วัตถุที่ผ่านการถูแล้วสามารถดึงดูดวัตถุอื่นได้ ทำมาจากวัสดุอะไรบ้าง
พลาสติก ยาง แก้ว
จะเกิดอะไรขึ้นถ้านำวัตถุ 2 ชนิด ที่สามารถดึงดูดวัตถุเบาๆ ได้มาเข้าใกล้กัน
เมื่อถูวัตถุทั้ง 2 ชิ้น ด้วยกระดาษเยื่อ แล้วนำมาเข้าใกล้กัน อาจเกิดแรงดึงดูดหรือแรงผลักก็ได้
คำถามหลังทำกิจกรรม
เมื่อถูวัตถุชนิดเดียวกันด้วยกระดาษเยื่อทั้ง 2 ชิ้น แล้วนำมาเข้าใกล้กัน วัตถุจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ให้ยกตัวอย่างวัตถุดังกล่าว
วัตถุทั้ง 2 ชิ้น จะเคลื่อนที่ออกห่างจากกันหรือผลักกัน เช่น ลูกโป่งกับลูกโป่ง ปากกาเมจิกกับปากกาเมจิก
นักเรียนคิดว่ามีแรงกระทำต่อวัตถุทั้งสองหรือไม่ รู้ได้อย่างไร
มีแรงกระทำต่อวัตถุ รู้ได้จากวัตถุที่อยู่นิ่งเปลี่ยนเป็นเคลื่อนที่
แรงที่กระทำต่อวัตถุดังกล่าวเป็นแรงอะไร และแรงนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
เป็นแรงไฟฟ้าซึ่งเกิดจากการถูกันของวัตถุกับกระดาษเยื่อ
เมื่อนำวัตถุชนิดเดียวกัน 2 ชิ้นที่ถูด้วยกระดาษเยื่อ แล้วนำมาเข้าใกล้กัน แรงไฟฟ้าที่กระทำต่อวัตถุเป็นแรงแบบใด
แรงผลัก
เมื่อถูวัตถุต่างชนิดกัน 2 ชิ้น ด้วยกระดาษเยื่อ แล้วนำมาเข้าใกล้กัน วัตถุจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ให้ยกตัวอย่างวัตถุดังกล่าว
วัตถุบางคู่จะเคลื่อนที่เข้าหากัน หรือดึงดูดกัน เช่น แท่งแก้วคนกับท่อพีวีซี แต่วัตถุบางคู่จะเคลื่อนที่ออกจากกัน หรือผลักกัน เช่น ลูกโป่งกับปากกาเมจิก
เพราะเหตุใดเมื่อถูกวัตถุชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกัน 2 ชิ้น ด้วยกระดาษเยื่อ แล้วนำมาเข้าใกล้กัน จึงเกิดแรงดึงดูดหรือแรงผลักได้
มีแรงกระทำระหว่างกัน
คำถามจากใบความรู้ เรื่องแรงไฟฟ้าระหว่างประจุไฟฟ้า
ประจุไฟฟ้าทีกี่แบบ อะไรบ้าง
ประจุไฟฟ้ามี 2 แบบ คือ ประจุไฟฟ้าบวก และประจุไฟฟ้าลบ
วัตถุที่อยู่ในสภาพปกติจะมีจำนวนประจุไฟฟ้าบวกและลบเป็นอย่างไร
จำนวนประจุไฟฟ้าบวกและประจุไฟฟ้าลบจะเท่ากันหรือเป็นกลางทางไฟฟ้า
ทำอย่างไรจึงจะทำให้วัตถุมีจำนวนประจุไฟฟ้าบวกและประจุไฟฟ้าลบไม่เท่ากัน เพราะเหตุใด
ทำได้โดยขัดถูก หรือเสียดสีกับวัตถุอื่น เพราะจะทำให้เกิดการถ่ายโอนประจุไฟฟ้าระหว่างวัตถุที่ถูกัน
ในการถ่ายโอนประจุไฟฟ้า ประจุไฟฟ้าใดเคลื่อนที่ได้
ประจุไฟฟ้าลบเคลื่อนที่ได้
วัตถุที่มีประจุไฟฟ้าบวกมากกว่าประจุไฟฟ้าลบ จะถือว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้ารวมเป็นอะไร
เป็นวัตถุที่มีประจุไฟฟ้ารวมเป็นบวก
วัตถุที่มีประจุไฟฟ้าบวกน้อยกว่าประจุไฟฟ้าลบ จะถือว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้ารวมเป็นอะไร
เป็นวัตถุที่มีประจุไฟฟ้ารวมเป็นลบ
ถ้าถูผ้าขนหนูกับแก้วพลาสติก แล้วประจุไฟฟ้าลบถ่ายโอนจากผ้าขนหนูไปยังแก้วพลาสติก วัตถุแต่ละอย่างจะมีประจุไฟฟ้ารวมเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด
ผ้าขนหนูจะมีประจะไฟฟ้ารวมเป็นบวก เพราะผ้าขนหนูถ่ายโอนประจุไฟฟ้าลบให้แก่แก้วพลาสติก ส่วนแก้วพลาสติกมีประจุไฟฟ้ารวมเป็นลบ เพราะได้รับประจุไฟฟ้าลบจากผ้าขนหนู
ประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันเมื่อเข้าใกล้กันจะเกิดอะไรขึ้น
เกิดการผลักกัน
ประจุไฟฟ้าต่างชนิดเมื่อเข้าใกล้กันจะเกิดอะไรขึ้น
เกิดการดึงดูดกัน
เมื่อถูไม้บรรทัดพลาสติกด้วยผ้า แล้วนำมาเข้าใกล้เศษกระดาษแล้วเศษกระดาษจะถูกดึงดูดติดกับไม้บรรทัดได้ เพราะเหตุใด
เมื่อถูไม้บรรทัดพลาสติก จะทำให้เกิดการถ่านโอนประจุไฟฟ้าทำให้ไม้บรรทัดพลาสติกมีประจุไฟฟ้ารวมเป็นบวกหรือลบ เมื่อนำมาเข้าใกล้เศษกระดาษซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า จะดึงดูดประจุไฟฟ้าชนิดตรงกันข้ามในเศษกระดาษให้มาอยู่ใกล้ และผลักประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันในเศษกระดาษให้มาอยู่ใกล้ และผลักประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันในเศษกระดาษให้อยู่ไกล จึงทำให้เศษกระดาษถูกดึงดูดไปติดกับไม้บรรทัดพลาสติกได้
เพราะเหตุใดเมื่อถูวัตถุต่างชนิดกัน 2 ชิ้น ด้วยกระดาษเยื่อ แล้วนำวัตถุทั้งสองมาเข้าใกล้กัน วัตถุทั้งสองจึงอาจจะดึงดูดกัน หรือผลักกันก็ได้
เพราะเมื่อถูวัตถุต่างชนิดกัน 2 ชิ้นด้วยกระดาษเยื่อ จะเกิดการถ่ายโอนประจุไฟฟ้าระหว่างวัตถุกับกระดาษเยื่อ แต่เนื่องจากวัตถุทั้งสองนั้นเป็นวัตถุต่างชนิดกัน ดังนั้นวัตถุทั้งสองอาจมีประจุไฟฟ้ารวมชนิดตรงกันข้ามหรือมีประจุไฟฟ้ารวมชนิดเดียวกันก็ได้ ในกรณีที่มีประจุไฟฟ้าชนิดตรงกันข้าม เมื่อนำวัตถุทั้งสองเข้าใกล้กัน ก็จะเกิดการดึงดูดซึ่งกันและกัน แต่ถ้าวัตถุทั้งสองมีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกัน เมื่อนำวัตถุทั้งสองเข้าใกล้กัน ก็จะผลักซึ่งกันและกัน
คำถามจากการทดลองถูหลอดนีออน
เมื่อนำหลอดนีออนแตะที่ถาดอะลูมิเนียมที่วางบนแผ่นพลาสติกใสที่ไม่ได้ถูกับกระดาษเยื่อและถูกับกระดาษเยื่อ หลอดนีออนมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
หลอดนีออนมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน โดยเมื่อแตะหลอดนีออนกับถาดอะลูมิเนียมที่แตะลงบนแผ่นพลาสติกใสที่ยังไม่ได้ถูด้วยกระดาษเยื่อ หลอดนีออนไม่สว่าง แต่เมื่อแตะหลอดนีออนกับถาดอะลูมิเนียมที่แตะลงบนแผ่นพลาสติกใสที่ถูด้วยกระดาษเยื่อแล้ว หลอดนีออนสว่าง
การสว่างวาบของหลอดนีออนเกี่ยวข้องกับแรงไฟฟ้าหรือไม่ อย่างไร
เกี่ยวข้อง การที่หลอดนีออนสว่างได้ แสดงว่ามีไฟฟ้าเกิดขึ้นเนื่องจากการขัดถูของวัตถุ และพลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานแสง จึงสังเกตเห็นหลอดนีออนสว่างวาบได้
สรุป
แรงไฟฟ้ามี 2 แบบ คือแรงผลักและแรงดึงดูด โดยเมื่อถูวัตถุชนิดเดียวกันด้วยกระดาษเยื่อ จะทำให้วัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกัน เมื่อนำวัตถุทั้งสองมาเข้าใกล้กัน จึงทำให้เกิดแรงผลักกัน แต่เมื่อถูวัตถุต่างชนิดกันด้วยกระดาษเยื่อ อาจจะทำให้วัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าชนิดตรงกันข้าม หรือประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันก็ได้ เมื่อนำวัตถุทั้งสองมาเข้าใกล้กัน จึงอาจทำให้เกิดแรงดึงดูดหรือแรงผลัก
ฉันรู้อะไร
1.เมื่อถูวัตถุชนิดเดียวกัน 2 ชิ้น ด้วยกระดาษเยื่อ แล้วนำมาเข้าใกล้กัน ผลที่เกิดขึ้นจากแรงไฟฟ้าที่กระทำต่อกันของวัตถุทุกคู่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด
ผลที่เกิดขึ้นเหมือนกัน โดยวัตถุทุกคู่จะผลักกัน เพราะวัตถุทั้งสองมีประจุไฟฟ้ารวมชนิดเดียวกัน
2.เมื่อถูวัตถุต่างชนิดกัน 2 ชิ้น ด้วยกระดาษเยื่อ แล้วนำมาเข้าใกล้กัน ผลที่เกิดขึ้นจากแรงไฟฟ้าที่กระทำต่อกันของวัตถุทุกคู่เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด
ผลที่เกิดขึ้นอาจเหมือนหรือแตกต่างกัน โดยวัตถุบางคู่ เช่น ท่อพีวีซีกับแท่งแก้วคนจะดึงดูดกัน เพราะวัตถุทั้งสองมีประจุไฟฟ้าต่างชนิดกัน แต่วัตถุบางคู่ เช่น ลูกโป่งกับปากกาเมจิกจะผลักกัน เพราะวัตถุทั้งสองมีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกัน
3.จากกิจกรรมนี้ ค้นพบอะไรบ้างเกี่ยวกับผลของแรงไฟฟ้า
เมื่อถูวัตถุชนิดเดียวกันด้วยกระดาษเยื่อแล้วนำมาเข้าใกล้กัน เช่น ลูกโป่งกับลูกโป่ง หรือท่อพีวีซีกับท่อพีวีซี วัตถุทั้งสองจะผลักกันเสมอ เพราะวัตถุทั้งสองมีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกัน แต่เมื่อถูวัตถุต่างชนิดกันด้วยกระดาษเยื่อแล้วนำมาเข้าใกล้กัน เช่น ลูกโป่งและท่อพีวีซี วัตถุทั้งสองจะผลักกัน เพราะวัตถุทั้งสองมีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกัน แต่แท่งแก้วคนกับท่อพีวีซีจะดึงดูดกัน เพราะวัตถุทั้งสองมีประจุไฟฟ้าต่างชนิดกัน
4.จากสิ่งที่ค้นพบ สรุปได้ว่าอย่างไร
แรงไฟฟ้ามีทั้งแรงดึงดูด และแรงผลัก โดยถ้าประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันเข้าใกล้กันจะเกิดแรงดึงดูด แต่ถ้าประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันเข้ากันใกล้จะเกิดแรงผลัก
กิจกรรมท้ายบทที่ 1
ต้องทำอย่างไรกับลูกโป่ง ลูกโป่งจึงทำให้กระป๋องกลิ้งได้
ใช้ผ้าหรือกระดาษเยื่อถูกับลูโป่ง แล้วนำลูกโป่งไปเข้าใกล้กระป๋อง
รู้หรือไม่ว่า แรงไฟฟ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร
แรงไฟฟ้าเกิดจากการขัดถูกันของวัตถุบางชนิด แล้วนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าเข้าใกล้วัตถุอื่น ทำให้มีแรงกระทำซึ่งกันและกัน