Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร (Introduction on Taxation) -…
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร (Introduction on Taxation)
วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร
เพื่อหารายได้มาใช้จ่ายในกิจการของรัฐ กิจการของรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ส่วนรวม เช่น กิจการสาธารณูปโภค
เพื่อควบคุมและส่งเสริมพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐบาลสามารถใช้ภาษีอากรเป็น
เครื่องมือในการควบคุมการบริโภค การผลิตหรือวิธีการดําเนินธุรกิจ
เพื่อการกระจายรายได้และทรัพย์สินให้เป็นธรรม ภาษีอากรมีบทบาทสําคัญที่ใช้เป็น
เครื่องมือในการกระจายรายได้และทรัพย์สินให้เป็นธรรม เช่น ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก
เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการใช้
มาตรการทางภาษีอากรมาช่วยส่งเสริมทางด้านการจ้างแรงงานและการรักษาระดับราคาสินค้า
เพื่อสนองนโยบายบางประการของรัฐบาล ในปัจจุบันได้มีโครงการของรัฐบาลออกมา
ต่างๆมากมาย เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น การจัดสวัสดิการทางสังคม
ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
หลักความมีประสิทธิภาพ → การจัดเก็บภาษีอากรที่มีประสิทธิภาพต้องก่อให้เกิดการประหยัดรายจ่ายมากที่สุดทั้งทางด้านผู้จัดเก็บและผู้เสียภาษี
หลักความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ → ในการจัดเก็บภาษีรัฐบาลต้องกําหนดระบบภาษีอากรที่มีโครงสร้างความเป็นกลางทางเศรษฐกิจมากที่สุด
หลักความสะดวก → ภาษีทุกชนิดควรสะดวกและง่ายในการปฏิบัติกับผู้เก็บภาษีและผู้เสียภาษี
ทั้งทางด้านวิธีการ กําหนดเวลาและสถานที่ที่จะชําระภาษี
หลักอํานวยรายได้ → ภาษีอากรที่เก็บได้ควรจัดเก็บให้มากเพียงพอกับรายจ่ายของรัฐบาลที่เกิดขึ้น
หลักความแน่นอน ชัดเจน → ภาษีอากรต้องมีความแน่นอน ชัดเจนในกฎหมาย ระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจความหมายได้โดยง่าย
หลักความยืดหยุ่น → ภาษีอากรที่ดีในบางสถานการณ์ต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ยืดหยุ่น ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในช่วงนั้นๆ
หลักความเป็นธรรม → หลักความเป็นธรรมนับเป็นหัวใจสําคัญของระบบภาษีอากร หากการ
จัดเก็บภาษีอากรไม่มีความเป็นธรรม การสมัครใจในการเสียภาษีก็คงเกิดขึ้นได้ยาก
โครงสร้างของภาษีอากร
ผ้มีหน้าที่เสียภาษี หรือผู้อยู่ในข่ายต้องเสียภาษี โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์กับประเทศ
คือ 1.ความสัมพันธ์เกี่ยวกับถิ่นที่อยู่หรือหลักถิ่นที่อยู่
2.ความสัมพันธ์เกี่ยวกับแหล่งเงินได้หรือหลักแหล่งเงินได้
3.ความสัมพันธ์เกี่ยวกับสัญชาติหรือหลักสัญชาติ
ฐานภาษี คือ สิ่งที่เป็นมูลเหตุให้บุคคลต้องเสียภาษี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฐานภาษี
อัตราภาษีคือ อัตราที่เรียกเก็บจากฐานภาษี เพื่อนําไปคํานวณจํานวนภาษีอากรที่จะต้องจ่าย
แก่รัฐบาล
การประเมินการจัดเก็บภาษี การประเมินการจัดเก็บภาษีเป็นการกําหนดว่าภาษีจัดเก็บมีวิธีการเสียภาษีอย่างไร
การขจัดข้อโต้แย้งทางภาษีอากร เมื่อเกิดปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับภาษีอากรขึ้นระหว่างผู้เสียภาษีอากรและผู้จัดเก็บภาษีอากร
การขจัดข้อโต้แย้งทางภาษีอากร เมื่อเกิดปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับภาษีอากรขึ้นระหว่างผู้เสียภาษีอากรและผู้จัดเก็บภาษีอากร
การจําแนกประเภทภาษี
การแบ่งประเภทของภาษี
ตามฐานภาษี
(2) ฐานการบริโภค( Consumption Base) ภาษีที่เรียกเก็บจากฐานบริโภค ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต
(3) ฐานทรัพย์สิน(Wealth Base) ภาษีที่เรียกเก็บจากฐานทรัพย์สิน เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบํารุงท้องที่
(1) ฐานรายได้ (Income Base) ภาษีที่เรียกเก็บจากฐานรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(4) ฐานอื่นๆ จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์เฉพาะในการเก็บภาษีของรัฐบาล
การแบ่งประเภทของภาษี ตามมูลค่าหรือสภาพของสินค้า
(1) ภาษีตามมูลค่าหรือราคา เป็นภาษีที่จัดเก็บตามมูลค่าหรือราคาของฐานภาษีโดยทั่วไปจะเก็บเป็นอัตราร้ อยละของมูลค่าหรือราคาสินค้า
(2) ภาษีตามสภาพหรือปริมาณ เป็นภาษีที่จัดเก็บตามปริมาณของสิ่งที่ใช้เป็นฐานภาษีอัตราที่เรียกเก็บจึงเป็นอัตราต่อปริมาณของฐานภาษี
การแบ่งประเภทของภาษีอากรตามหลักการผลักภาระภาษี
(2) ภาษีทางอ้อม(Indirect Tax) คือ ภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่จําเป็นต้องแบกรับภาระภาษีไว้เอง ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ง่าย
(1) ภาษีทางตรง(Direct Tax) คือ ภาษีที่ผู้เสียภาษีต้องแบกรับภาระภาษีไว้เอง
ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระภาษีให้ผู้อื่นได้หรือได้แต่เพียงส่วนน้อย
การแบ่งประเภทภาษีตามระดับหน่วยงานที่จัดเก็บ
หน่วยงานที่จัดเก็บภาษีประกอบด้วย 2 หน่วยงานหลัก ได้แก่ กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้ ยังมีกระทรวงอื่นๆที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีจากเงินได้ที่เกิดขึ้นจากการประกอบ ธุรกรรมหรือได้รับผลประโยชน์จากการประกอบการ
ความหมายของภาษีอากร
ภาษีอากร คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร โดยมิได้มีสิ่งตอบแทน
โดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร แต่นําไปใช้เพื่อประโยชน์โดยส่วนรวม