Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาค และสรีรวิทยาในระยะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาค
และสรีรวิทยาในระยะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ( Reproductive system changes)
การเปลี่ยนแปลงของช่องคลอดและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
สาเหตุเกิดจากมีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะมากขึ้น( chadwick sign)
การเปลี่ยนแปลงจะทำให้ช่องคลอดนุ่ม และหนาตัวมากขึ้น กล้ามเนื้อเรียบขยายตัวมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
เกิดจากเลือไปเลี้ยงมากข้น ( chadwick sign )
มีการสร้างมูกหลังการปฏิสนธิ ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก เรัยกว่า mucus plug
การเปลี่ยนแปลงของมดลูก ( Uterus )
มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เพื่อปรับเปลี่ยนตามสิ่งที่อยู่ในมดลูก
เช่น ทารก รก น้ำคร่ำ
1.Piskacek"s sign ; การที่ตัวอ่อนฝังตัวในมดลูก
2.Ladin's sign ; การนุ่มตัวลงของมดลูกบริเวณด้านหน้าตามแนวรอยต่อปากมดลูก
Fernwald's ; การนุ่มตัวบริเวณยอดมดลูก ตรงที่รกเกาะ
4.Hegar's sign ; การนุ่มตัวของมดลูกส่วน Isthmus
5.Mcdonal's sign ; มดลูกเกิดความยืดหยุ่น
การเปลี่ยนแปลงของรังไข่ ( Ovaries )
รังไข่ไม่ตกไข่
เกิดจากการเพิ่มของฮอร์โมน estrogen - progesterone จากรก
การเปลี่ยนแปลงท่อนำไข่ Follopian tubes
.เกิดการขยายตัวใหญ่และยาวขึ้น
การปรับขนาดของสัดส่วนกับมดลูกที่ขยายตัวเพิ่ขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของเต้านม ( Breasts )
มีอาการเจ็บบริเวณหัวนมใน 6 wk. และอาจมีน้ำนมใสใน16 wk. หลังจากการตั้งครรภ์
เกิดจากการที่มีฮอร์โมน estrogen - progesterone
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal system changes)
ปากและช่องปาก
ตั้งครรภ์ประมาณ 2-8 เดือน
ฮอร์โมน Estrogen เพิ่มขึ้น
มีเลือดคั่งมาก ทำให้เกิดเหงือกบวม (gingivitis) ง่าย เลือดออกได้ง่ายเวลาแปรงฟัน
ต่อมน้ำลายจะผลิตน้ำลายออกมาปริมาณมาก
(Ptyalism or Salivation)
หลอดอาหาร กระเพราะอาหารและลำไส้
ระยะ 2 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
การเพิ่มของระดับฮอร์โมน HCG และ HCS
มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
การเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิซิมของคาร์โบไฮเดรต
เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia)
กระเพราะอาหารถูกเบียด
อาการเรอเปรี้ยว แสบร้อนในอกและลำคอ (heart burn)
กรดไหลย้อนมาที่หลอดอาหารส่วนล่าง
ฮอร์โมน Progesterone
ทำให้กระเพราะอาหารและลำไส้เคลื่อนไหวช้าลง
เกิดอาการท้องผูก ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ง่าย
ฮอร์โมน Estrogen เพิ่มขึ้น
ภาวะกรดในกระเพราะอาหาร (Hydrochloric acid ) และการตอบสนองของภาวะ Histamine ลดลง
โอกาสเกิดแผลในกระเพราะอาหารได้น้อยลง
ความดันในหลอดเลือดดำในร่างกายส่วนล่างเพิ่มสูงขึ้นจากการกดของมดลูกของหลอดเลือดดำ
การไหลเวียนเลือดกลับไม่ดี จึงคั่งอยู่บริเวณทหวารหนัก ลำไส้เคลื่อนไหวช้าลง น้ำถูกดูกกลับมากขึ้น
ท้องผูก
อุจจาระแข็งครูดหรือกดหลอดเลือดดำที่หวารหนัก
ริดสีดวงทวารหนัก (Hemorrhoids)
ตับ
ไตรมาสที่ 3
ตับจะถูกเบียดให้สูงขึ้นและอยู่ด้านหลังของมดลูก
ตับทำงานเพิ่มขึ้น
ระดับ Cholesterol, Lipoprotein, Triglyceride สูงขึ้น
อาจมีอาการเหมือนคนเป็นโรคตับ
Palmar erythema และ Spider nevi
อาการเหล่านี้จะหายไปเองอย่างรวดเร็วหลังคลอด
ถุงน้ำดี
รูปร่างจะโปร่งพองขึ้น ความตึงตัวลดลง
ฮอร์โมน Progesterone
น้ำดีไหลช้า
เกิดการสะสมของผลึก Cholesterol
เสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal changes)
relaxin, progesterone
ข้อต่อการะดูกกระเบนเหน็บกับก้นกกและเชิงกราน คลายคัวและเคลื่อนไหวได้
กระดูกสันหลังบริเวณเอวที่ต่อกับก้นกกแอ่นไปด้านหน้า
จุดศูนย์ถ่วงเปลี่ยนไปข้างหน้า
หลังส่วนล่างแอ่น เพื่อรักษาจุดศูนย์ถ่วงของร่างกาย
ไหล่งุ้ม, ท่ายืนและเดินเปลี่ยน, ปวดกล้ามเนื้อ, กระดูกที่หลัง
การเปลี่ยนแปลงทางการเผาผลาญ (Metabolism changes)
ไขมัน
สตรีตั้งครรภ์ที่แพ้ท้องและคลื่นไส้ ทำให้ร่างกายนำไขมันออกมาเป็นพลังงานทดแทน
Low-density lipoprotein cholesterol (LDL-C) สูงขึ้นเรื่อยๆ สูงสุดที่ครรภ์อายุ 36 สัปดาห์
High-density lipoprotein cholesterol (HDL-C) เพิ่มสูงสุดขณะครรภ์อายุ 25 สัปดาห์ และคงที่ต่อจนคลอด
การเพิ่มของ cholesterol เป็นผลจากฮอร์โมน estrogen ที่มีผลต่อตับ
โปรตีน
โปรตีนถูกสังเคราะห์เพิ่มขึ้นเพื่อสนองความต้องการของเนื้อเยื่อต่างๆในส่วนของทารก รก และมดลูกที่เจริญขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งไตรมาสที่ 3เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการโปรตีนมากที่สุด
คาร์โบไฮเดรต
ระยะแรก รกจะสร้างฮอร์โมน estrogen และ progesterone ไปมีผลให้ beta cell ของตับอ่อน หลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น
มีการสะสมglycogen และไขมันในเนื้อเยื่อเพิ่มมากขึ้น โดยสร้างพลังงานจากการเผาผลาญกลูโคสเป็นหลัก
ระยะหลังการตั้งครรภ์ จะสร้างฮอร์โมน Human placental lactogen (HPL), Prolactin, Cortisone, Glucagon ทำให้ประสิทธิภาพของอินซูลินในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ลดลงทั้งๆที่ระดับอินซูลินเพิ่มขึ้น
น้ำ
การตั้งครรภ์จะมีการสะสมของน้ำเพิ่มขึ้น ในครรภ์ครบกำหนดจะมีน้ำสะสมถึง 6.5 ลิตร ซึ่งเป็นส่วนของทารก รก และน้ำคร่ำ 3.5 ลิตร และอีก 3 ลิตร เป็นปริมาณน้ำในมดลูก เต้านม
ทำให้ osmolality ของเลือดลดลง ทำให้ระยะท้ายๆของการตั้งครรภ์ จะมีอาการบวมที่ข้อเท้าและขา
แร่ธาตุ
ขณะตั้งครรภ์ร่างกายต้องการธาตุเหล็กเพิ่มมากขึ้น
ต้องการมากในไตรมาสที่3 จำเป็นต้องใช้ธาตุเหล็กในรูปแบบยาบำรุงเลือดตั้งแต่ ไตรมาสที่2 จนระยะหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงของหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular changes)
ขนาดของหัวใจใหญ่ขึ้นเล็กน้อย 12%
ถูกมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นดันให้หัวใจยกตัวสูงขึ้นและเยื้องไปด้านซ้ายมากขึ้น
ตรวจพบเสียงหัวใจของคุณแม่ผิดปกติไป เช่นมีเสียงรั่วของลิ้นหัวใจ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
Cardiac output เพิ่มขึ้น 1-1.5 ลิตร/นาที
ปริมาณสารน้ำในร่างกายเพิ่มขึ้น รวมทั้งหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกและรกขยายตัว
ท่านอนหงายจะทำให้มดลูกกดทับลงบนหลอดเลือดดำ inferior vena cava จนทำให้ปริมาณเลือดไปเลี้ยงร่างกาย (cardiac output) ลดลงไป 30%
เพราะเลือดจากขาไม่สามารถไหลกลับสู่หัวใจได้
ภาวะช็อกที่เรียกว่า
supine hypotensive syndrome
ปริมาณเลือดออกจากหัวใจมากขึ้น ไหลเร็วและแรงขึ้น
ขณะเดียวกันการที่มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นจนไปกดทับเส้นเลือดใหญ่ที่พาเลือดไหลกลับหัวใจ ทำให้เลือดไหลเวียนเข้าหัวใจหรือขึ้นไปเลี้ยงสมองได้ช้าลงเช่นกัน
มีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลมได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากท่านั่งเป็นท่ายืน
ความดันโลหิตในเส้นเลือดดำช่วงขาจะเพิ่มขึ้น
เนื่องจากถูกกดด้วยมดลูกและส่วนนำของทารกในครรภ์ทำให้เลือดไหลกลับได้ไม่ดี
ทำให้ขาบวม มีเส้นเลือดขอดที่ขาและอวัยวะเพศภายนอก หรือเป็นริดสีดวงทวารได้
Red blood cell ลดลง
ค่า Hemoglobin และ Hematocrit ลดลง
เกิดภาวะโลหิตจาง
หน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นลมง่าย อ่อนเพลีย ง่วงบ่อย
ปริมาตรเลือดเพิ่มขึ้นถึง 50%
ปริมาณมากขึ้นแต่เจือจางลง
ทำให้เกิด”ภาวะซีดจากการตั้งครรภ์” ได้
White blood cell เพิ่มขึ้น
ติดเชื้อ
การแข็งตัวของเลือด เพิ่มขึ้น
estrogen และ progesterone เพิ่มขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินหายใจ ( Respiratory system changes)
ความต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15 หรือ 30 มล./นาที
หลอดเลือดฝอยบริเวณทางเดินหายใจขยาย
หายใจเร็วขึ้น
estrogen
มีน้ำและเลือดคั่ง
คัดจมูก, เลือดกำเดาไหลง่าย
มดลูกขยาย
กระบังลมเคลื่อนสูงขึ้น
ทรวงอกขยายออกด้านข้าง, ความจุปอดเพิ่มขึ้น
progesterone
hypothalamus เปลี่ยนการตั้งค่า PaCO2 เหลือ 32 มม.ปรอท, Tidal volume เพิ่มเป็น 700 มล., Minute volume เพิ่มขึ้น 2-3 ลิตร
หายใจเร็ว, แรงขึ้น, เหนื่อยหอบ
อายุครรภ์ที่เพิ่มขั้น (24 สัปดาห์ขึ้นไป)
การหายใจโดยใช้หน้าอก
หายใจลำบากช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ แต่จะช่วงก่อนคลอดจะดีขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของระบบผิวหนัง (Integumentary system changes)
หลอดเลือดขยาย, เลือดมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น
ผิวหนังอุ่น ชุ่มชื้น
ฮอร์โมน, มดลูกขยาย, การสะสมของเม็ดสี
ผิวหนังที่โหนกแก้ม จมูก เหนือริมฝีปาก และหน้าผากคล้ำขึ้น
Chloasma หรือ หน้ากากของสตรีตั้งครรภ์
linear nigra เส้นตรงสีน้ำตาลหรือดำกลางหน้าท้อง ยาวตั้งแต่หัวหน่าวถึงลิ้นปี่
หน้าท้อง เต้านม สะโพก ต้นขาแตกลาย
รอยแตกสีชมพูหรือแดง
หลอดเลือดใต้ผิวหนังขาด, มีเลือดขัง
รอยแตกสีขาวเงิน (เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบถาวร)
เลือดถูกดูดซึมหลังคลอด
Diastasis recti (กล้ามเนื้อ rectus เกิดการแยก)
รอยแยกของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
ผม, ขน, เล็บเจริญเร็วขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ (Renal system changes)
ไต
การเพิ่มขึ้นของของเสียที่เกิดจากการเมตาบอลิสมของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ไตขนาดใหญ่ขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น
การทำงานเพิ่มขึ้น
ไหลเวียนเลือดในไต
ไตรมาสที่ 2 เลือดไหลผ่านไตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 25-30
ไตรมาสที่ 3 ลดลงมาปกติ
อัตราการกรองของโกลเมอรูลัส
(Glomerular filtration rate : GFR) เพิ่มขึ้นประมาณ 50 %
ช่วงท้ายของไตรมาสที่ 2 เพิ่มสูงมาก
ฮอร์โมน Aldosterone เพิ่มสูงขึ้น
การดูดกลับของโซเดียมที่ไตเพิ่มขึ้น
การดูดกลับของไตทำได้ไม่สมบูรณ์
พบน้ำตาล โปรตีน คริเอตินิน และยูริคในปัสสาวะ
กรวยไตและท่อไต
กลูโคสที่อยู่ในท่อไต(Renal tubules)
ถูกกรองออกมาเพิ่มขึ้น แต่ดูดซึมกลับไปใช้ในปริมาณคงเดิม
พบกลูโคสปนออกมาในขณะตั้งครรภ์ได้
ฮอร์โมน Progesterone
มีการยืดขยายตั้งแต่ประมาณสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์
ท่อไตถูกกด
เกิดการคั่งข้างของปัสสาวะในกรวยไต (Hydronephrosis)
และท่อไต (Hydroureter)
กรวยไตข้างขวาเกิดภาวะนี้ได้มากกว่าข้างซ้าย
ท่อไตข้างขวาถูกกดเบียดจากมดลูกที่ขยายตัวพันช่องเชิงกรานและเอียงไปทางขวา
กระเพราะปัสสาวะ
หนาและมีความจุเพิ่มมากขึ้นประมาณ 15,00 มิลลิลิตร
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเรียบกระเพราะปัสสาวะลดลง
ปัสสาวะค้างในกระเพราะปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
ปัสสาวะบ่อย
มดลูกไปเบียดกระเพราะปัสสาวะ
ในระยะแรกของการตั้งครรภ์
ส่วนนำของทารกไปกดกระเพราะปัสสาวะ
เลือดและน้ำเหลืองคั่งบริเวณกระเพราะปัสสาวะมากขึ้น
กระเพราะปัสสาวะยืดออก บวม และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ในระยะใกล้คลอด
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่อมไร้ท่อ ( Endocrine system changes)
รก (Placenta)
Human chorionic gonadotropin (HCG)
กระตุ้นการเจริญเติบโตของ corpus luteum ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน estrogen และ progesterone จนกว่า รกจะสามารถผลิตฮอร์โมนทั้งสองชนิดได้
ถูกสร้างในวันที่ 8-10 หลังการปฏิสนธิและมีอยู่ประมาณ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
นำมาใช้ในการตรวจสอบการตั้งครรภ์
Progesterone
ระยะแรกของการตั้งครรภ์ฮอร์โมนนี้ถูกผลิตจาก corpus lutetium จนถึงอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนตลอดการตั้งครรภ์
กระตุ้นการเจริญเติบโตของเยื่อบุโพรงมดลุกเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน
กระตุ้นการเจริญเติบโตของต่อมและท่อน้ำนม ทำให้เต้านมคัดตึง
มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สตรีตั้งครรภ์รู้สึกเพลีย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
Estrogen
ถูกสร้างตั้งแต่สัปดาห์ที่ 6-12 และเพิ่มขึ้นจนครรภ์ครบกำหนด และหลังคลอดทารกแล้วจะลดต่ำลง
ควบคุมการเจริญเติบโตและการทำหน้าที่ของมดลูก
เพิ่มขนาดของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกและเพิ่มปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกและรก
ใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ของการเจริญเติบโตและภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์
เพิ่มการคั่งของน้ำและโซเดียม
ทำให้ปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีเลือดมาเลี้ยงมดลูกและรกอย่างเพียงพอ
เพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื้อ กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเอ็น ยืดขยายตัวมากขึ้น
ทำให้หลังแอ่น ปวดหลัง และเจ็บบริเวณกระดูกหัวหน่าวและก้นกบ
ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกมีขนาดใหญ่ขึ้น
กระตุ้นการเจริญเติบโตของท่อน้ำนม ต่อมน้ำนม หัวนม และเต้านมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
กระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกซึ่งถูกยับยั้งโดยฮอร์โมน progesterone
กระตุ้นการสร้างสารคัดหลั่งในช่องคลอด
เป็นตัวกระตุ้นสาร prostaglandin ในไตรมาสที่ 3
ทำให้มดลูกไวต่อการกระตุ้นด้วย oxytocin และเกิดการหดรัดตัวของมดลูก
มีผลด้านอารมณ์ ทำให้อารมณ์แปรปรวนง่ายและมีอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้น
รังไข่
สร้างฮอร์โมน progesterone ในสัปดาห์ที่ 10-12 ของการตั้งครรภ์
corpus lutetium ของรังไข่สร้างฮอร์โมน relaxin
ทำให้กล้ามเนื้อ กระดูกอ่อนของกระดูกหัวหน่าวและข้อต่อต่างๆคลายตัวและนุ่มขึ้น
ต่อมพาราธัยรอยด์ (parathyroid gland)
ระหว่างตั้งครรภ์จะมีระดับของ parathyroid hormone เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
นำไปใช้ในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะระยะหลังของการตั้งครรภ์
ต่อมพิทูอิทารี (Pituitary gland)
Prolactin hormone
เมื่อตั้งครรภ์ครบกำหนดจะพบว่าระดับฮอร์โมน prolactin สูงกว่าก่อนการตั้งครรภ์ 10 เท่า
เป็นฮอร์โมนที่เตรียมการสร้างน้ำนมของเต้านม
Growth Hormome
ในขณะตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนนี้ลดลง
มีผลต่อการเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน
Oxytocin
ทำให้มดลูกหดรัดตัว
ช่วยให้เกิดการเจ็บครรภ์ เร่งคลอด
ฮอร์โมนนี้จะมีระดับสูงสุดในขณะเบ่งคลอด
ต่อมธัยรอยด์ (Thyroid gland)
ขณะตั้งครรภ์จะมีขนาดโตขึ้นจนคลำได้
มีการสร้างฮอร์โมน thyroxin เพิ่มขึ้น โดยระดับฮอร์โมน T4 จะเพิ่มขึ้น แต่ T3 ลดลง
ทนอากาศร้อนได้น้อย
เหงื่อออกมาก
ส่งผลต่อการเผาผลาญอาหาร
ชีพจรเต้นเร็ว
อารมณ์แปรปรวน
อ่อนเพลีย
ตับอ่อน (Pancreas
แม่จะมีการสังเคราะห์ glycogen ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการผลิต insulin เพิ่มขึ้น
ความสามารถในการใช้ลดลง
ทำให้สตรีตั้งครรภ์มีอาการคล้ายเบาหวานได้
ต่อมหมวกไต (Adrenal gland)
จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อยในขณะตั้งครรภ์
ผลิต Corticosteroid hormone เพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์
Hormone cortisone ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล ทำให้ทารกได้รับน้ำตาลกลูโคสอย่างเพียงพอ
aldosterone จะช่วยป้องกันการสูญเสียโซเดียมและน้ำจากอิทธิพลของฮอร์โมน progesterone ด้วยการดูดโซเดียมและน้ำกลับ