Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล,…
บทที่ 5
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
5.1 ลักษณะของเครื่องมือที่มีคุณภาพ
มีความตรง (Validity) คือเครื่องมือนั้นสามารถวัคในสิ่งที่ต้องการวัดหรือวัดได้ตามจุคประสงค์ของการวัด การตัดสินว่าเครื่องมือมีความตรง ต้องอาศัยเกณฑ์สำหรับการพิจารณา ซึ่งความตรงของเครื่องมือสามารถจำแนกได้ดังนี้
1.1 ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validitg) เป็นการตรวจสอบว่าเครื่องมือวัดซึ่งประกอบด้วยข้อคำถามวัดได้ตรงกับเนื้อหาที่ต้องการวัด ความตรงชนิดนี้มักตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาตรวจสอบโดยการพิจารณาจากนิยามตัวบ่งชี้ และตารางโครงสร้างข้อคำถามกับข้อคำถามว่ามีความครอบคลุมเนื้อเรื่องทั้งหมด
1.2 ความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion-related Validity) เป็นการตรวจสอบความตรงของเครื่องมือวัดโดยนำเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวงสอบ จึงเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจากเครื่องมือวัดกับสิ่งที่ได้จากเกณฑ์
1.3 ความตรงเชิงโครงสร้าง (Constructed Validity) เป็นความตรงที่แสดงให้เห็นว่าเครื่องมือวัดได้ครอบคลุมขอบเขตความหมายหรือครบตามทฤษฎี
มีความเที่ยง (Reliability) คือ ผลที่ได้จากเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลชุดเดียวกันกับคนกลุ่มเดียวกันในเวลาต่างกันต้องมีความคงที่ การประมาณค่าความเที่ยงมีวิธีการประมาณค่า 3 วิธี คือ
2.1 สัมประสิทธิ์ของความคงที่ (Coefficient of Stability) เป็นการหาค่าความเที่ยง โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบ 2 ชุด ที่ได้จากผู้สอบกลุ่มเดียวกัน
2.2 สัมประสิทธิ์ของความสมมูล (Coefficient of Equivalent) เป็นการหาค่าความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสองชุดที่ได้จากการสอบจากเครื่องมือวัดที่เทียบเคียงกัน
2.3 สัมประสิทธิ์ของความสอดคล้องภายใน (Coeficient of intemalconsistency) เป็นการหาค่าความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนน 2 ส่วนหรือหลายส่วนในฉบับเดียวกัน เป็นการสอบโดยใช้เครื่องมือฉบับเดียวและสอบเพียงครั้งเดียว
มีความเป็นปรนัย หมายถึง เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สร้างขึ้นมานั้นจะมีความชัดเจน 3 ประการ คือ มีความชัดเจนในความหมายของข้อคำถาม เพื่อผู้ตอบอ่านแล้วเข้าใจตรงกันว่าคำถามนั้นถามอะไร มีวิธีการตรวจให้คะแนนที่ชัดเจนตรวจสามารถให้คะแนนได้ตรงกัน มีการแปลความหมายคะแนนได้ชัดเจนจะเป็นผู้แปลความหมายคะแนน ต้องแปลได้ตรงกัน
จำแนกได้ หมายถึง เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลสามารถจำแนกความแตกต่างของสิ่งที่ถูกวัดว่ามีคุณลักษณะมากหรือน้อยกว่ากันอย่างไร ความมีอำนาจจำแนกของแบบทดสอบที่วัดความรู้คือความสามารถของแบบทดสอบในการแยกผู้ที่มีความสามารถสูงออกจากผู้ที่มีความสามารถต่ำ
มีความยุติธรรม หมายถึง เครื่องมือวัดนั้นต้องไม่เอื้อหรือลำเอียงให้สู้ที่ไม่มีความรู้หรือไม่มีคุณลักษณะที่ต้องการวัดตอบถูก โคยเฉพาะถ้าเครื่องมือวัดเป็นแบบทดสอบต้องไม่เอื้อให้เกิดการเดาได้ และต้องมีข้อสอบจำนวนมากพอที่จะเป็นตัวแทนที่ดีของเนื้อหาและพฤติกรรมต่าง ๆ
ความสามารถในการนำไปใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีคุณภาพนั้น ต้องสามารถนำไปใช้ในสถานที่ต้องการนำไปใช้ได้ดี คือ
6.1 สะดวกและง่ายต่อการนำไปใช้ หมายถึง เครื่องมือวัดนั้นง่ายและสะดวกต่อการคำเนินการสอบ และมีวิธีการตรวจให้คะแนนที่ง่ายและสะดวกในกรณีที่เป็นแบบทดสอบ
6.2 ใช้เวลาในการทำพอเหมาะไม่สั้นหรือยาวเกินไป เหมาะสมกับผู้ตอบ เนื่องจากใช้วลานาน จะทำให้เบื่อหน่าย ขาดการจูงใจในการตอบ ถ้ามีเวลาน้อยไปและเนื้อหามากทำให้ผู้ตอบวิตกกังวล เร่งรีบ
5.2 การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ
แบบทดสอบที่เป็นแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล มีการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบค้านความตรง การตรวจสอบคุณภาพค้านความเที่ยง และการตรวจสอบคุณภาพรายข้อ คือค่าความยากและอำนาจจำแนก ตามรายละเอียดต่อไปนี้
2.การวิเคราะห์ค่าความยากของข้อสอบ ความยากของข้อสอบมีความหมายโดยทั่วไปหมายถึงสัดส่วนจำนวนผู้ที่ตอบข้อสอบข้อนั้นถูกต่อจำนวนผู้สอบทั้งหมด
3.การวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบคือความสามารถของข้อสอบที่จะจำแนกผู้สอบได้ตามระดับความสามารถคือจำแนกเป็นคนเก่งและคนอ่อน ดังนั้นข้อสอบที่มีคุณภาพ จึงเป็นข้อสอบที่คนในกลุ่มเก่งทำถูกเป็นส่วนมาก และคนในกลุ่มอ่อนทำถูกน้อย
1.การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบด้านความตรง เป็นคุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้อง จึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุด การตรวจสอบความตรงของเครื่องมือ แบ่งได้ 3ประเภท
การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบด้านความเที่ยง ความเที่ยงคือคุณภาพของเครื่องมือที่แสดงให้เห็นถึงความคงเส้นคงวาที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือชุดเดียวกัน ในเวลาที่แตกต่างกัน
5.3 การตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามและแบบวัดทางจิตวิทยา
1.การตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม จะมีการตรวจสอบคุณภาพค้านความตรงด้วยความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วจึงนำเครื่องมือไปทคลองใช้และวิเคราะห์คุณภาพรายข้อเฉพาะอาจจำแนกในส่วนประเด็นเนื้อหาที่มีลักษณะเชื่นความคิดเห็น ความและหาความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับ ดังนี้
1.1 การตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามด้านความตรง แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัยที่ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพด้านวิธีการตรวจสอบความตรงที่เหมาะสม คือ การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา
1.2 การวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ในกรณีที่มีแบบสอบถามวัดความคิดเห็นหรือความพึงพอใจ ที่มีการให้คะแนนคุณลักษณะหลายค่าตามมาตรวัด
1.3 การตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามด้านความเที่ยง การหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามที่มีการวัดในส่วนที่เป็นความคิดเห็น (ความพึงพอใจ) ที่มีมาตรวัดแบบมาตรประมาณค่าหลายระดับ สามารถหาค่าความเที่ยงตามวิธีของแอลฟา ครอนบัค (Cronbach's Alpha)
การตรวจสอบคุณภาพแบบวัดทางจิตวิทยา การตรวจสอบคุณภาพแบบวัดทางจิตวิทยา เช่น แบบวัดเจตคติ แบบวัดการวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกบุคลิกภาพ มีการตรวจสอบคุณภาพค้านความตรงรายข้อ และตรวจสอบคุณภาพด้วนความเที่ยง ดังนี้
2.1 การตรวจสอบคุณภาพแบบวัดทางจิตวิทยาด้านความตรง การตรวจสอบคุณภาพด้นความตรงของแบบวัดเจตคติมักใช้ในการตรวจสอบเชิงเนื้อหา โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาว่ามีความครบถ้วนในประเด็นหรือด้านต่าง ๆ ตรงกับจุดมุ่งหมายที่ต้องการวัดและนิยามที่กำหนดให้ ซึ่งมีรูปแบบการวิเคราะห์ความสอดคล้องจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
2.2 การวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกโดยใช้สถิติทดสอบทีเครื่องมือวัดเจตคติและแบบวัดทางจิตวิทยา สามารถตรวจสอบค่าอำนาจจำแนกโดยใช้การหาความสัมพันธ์ดังวิธีการที่แสดงไว้ในแบบสอบถามแล้วนอกจากนี้ยังสามารถวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกโดยใช้สถิติทดสอบที่ (-test) ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มผู้ตอบออกเป็นกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำรายข้อว่าคำถามใด จำแนกได้หรือไม่ได้
2.3 การตรวจสอบคุณภาพแบบวัดทางจิตวิทยาด้านความเที่ยง การตรวจสอบความเที่ยงของแบบวัดเจตคติและแบบวัดทางจิตวิทยาอื่น ๆสามารถหาค่าความเที่ยงได้โดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ในกรณี ที่มาตรวัดนั้นเป็นแบบมาตรประมาณค่ามากกว่าสองระดับ ซึ่งได้แสดงวิธีการตรวจสอบคุณภาพไว้ในการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามแล้ว
5.4 การตรวจสอบคุณภาพแบบสัมภาษณ์และแบบสังเกต
การตรวจสอบคุณภาพแบบสัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างเนื้อหาชัดเจนจะมีความใกล้เคียงแบบสอบถามบางประเภท โดยเฉพาะแบบสอบถามปลายเปิด การตรวจสอบคุณภาพของแบบสัมภาษณ์ โดยทั่วไปจะตรวจสอบคุณภาพค้านความตรงและความเที่ยง
การตรวจสอบคุณภาพแบบสัมภาษณ์ด้านความตรง เป็นการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โคยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาตรวจสอบข้อคำถามในการสัมภาษณ์ให้ครอบคลุมเนื้อหา ตามกรอบโครงสร้างเนื้อหาที่กำหนดไว้และตรงตามนิยามศัพท์และประเด็นที่ต้องการวัดตามที่กำหนดไว้
การตรวจสอบคุณภาพแบบสัมภาษณ์ด้านความเที่ยง สามารถตรวจสอบด้วยการใช้ผู้สัมภาษณ์หลายคน สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลคนเดียวกัน แล้วตรวจสอบความสอดคล้องของคำตอบที่ได้จากผู้สัมภาษณ์หลายคน เป็นการหาความเที่ยงระหว่างผู้สัมภาษณ์ด้วยกัน
การตรวจสอบคุณภาพแบบสังเกต แบบสังเกตนั้นเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินทั้งพฤติกรรม ผลงาน การปฏิบัติโดยการบันทึกหรือประเมินตามประเด็นที่กำหนดไว้ในกรอบโครงสร้างเนื้อหา การตรวจสอบคุณภาพของแบบสังเกต จึงพิจารณาจากแนวทางการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบ โดยตรวจสอบคุณภาพด้านความตรง และความเที่ยง
การตรวจสอบคุณภาพแบบสังเกตด้านความตรง นิยมตรวจสอบด้วยความตรงเชิงเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นแบบสังเกตที่เป็นแบบบันทึกข้อมูล หรือแบบสังเกตที่ใช้สังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ โดยอาศัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ในการตรวจสอบ
การตรวจสอบคุณภาพแบบสังเกดด้านความเที่ยง แบบสังเกตพฤติกรรมเป็นเครื่องมือที่ต้องอาศัยความชำนาญของผู้สังเกตหรือผู้ประเมิน หากต้องการให้ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมีความคลาดเคลื่อนน้อยมากกว่า 1 คน การหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือลักษณะนี้ จึงเป็นการหาค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินหรือผู้สังเกต ซึ่งมีวิธีการหาค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน มีดังนี้
2.1 Interrater Reliability เป็นการหาความเที่ยง โดยการดูความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินหรือผู้สังเกต 2 คน ทำการสังเกตหรือประเมินในกลุ่มเป้าหมายคนเดียวกัน เวลาเดียวกัน
2.2 การหาค่าความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สามารถใช้หาค่าความเที่ยงระหว่างผู้สังเกต 1 คน ที่มีการประเมินผลงาน 2 ครั้ง แล้วนำผลการประเมิน มาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ หรือให้ผู้ประเมิน 2 คน สังเกตการปฏิบัติงาน โดยใช้แบบสังเกตฉบับเดียวกัน แล้วนำผลการประเมินของผู้สังเกต 2คน มาหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของผู้ประเมิน
5.5การวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) สมมุติว่าผู้วิจัยสร้างข้อสอบ/ข้อคำถามเพื่อใช้วัคคุณลักษณะหนึ่ง จำนวน10 ข้อ เมื่อนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องแล้ว ต้องการหาค่าดัชนีความสอดคล้องโดยใช้โปรแกรม SPSS ผู้วิจัยต้องออกแบบคู่มือลงรหัส
การหาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงและอำนาจจำแนกการหาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง โดยใช้โปรแกรม SPSS ทำได้ 2 แบบ คือ
2.1 การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคใช้กับเครื่องมือวิจัยแบบมาตรประมาณค่า โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการนำเครื่องมือไปทคลองใช้แล้วนำมาสร้างเป็นแฟ้มข้อมูล สมมุติว่าข้อคำถามเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ (ตัวแปรชื่อ ITEMI -ITEM12) นำไปทดลองใช้กับกลมตัวอย่างจำนวน 91 คน การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ดำเนินการ
2.2 การหาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของแบบทดสอบด้วยวิธีแบ่งครึ่ง การหาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของแบบทดสอบด้วยวิธีแบ่งครึ่งผู้วิจัยต้องตรวจให้คะแนนข้อสอบก่อน แล้วจึงเลือกคำสั่งวิเคราะห์เช่นเดียวกับการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เพียงแต่เลือก Model Sprit - half
นางสาวกาญจนา แป้นจันทร์ 611120422
โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป