Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Bacterial Disease Gram Positive Bacteria - Coggle Diagram
Bacterial Disease
Gram Positive Bacteria
Mycobacterium
ประกอบด้วย
Mycobacterium leprae
ก่อโรค
โรคเรื้อน (Leprosy หรือ Hansen's disease, HD)
อาการ และอาการแสดง
อาการทางผิวหนัง เส้นประสาทส่วนปลาย เยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบน
อาการทางประสาท
เส้นประสาทรับความรู้สึกจะถูกทำลาย เช่น อาการชา สูญเสียการรับความรู้สึก
เส้นประสาทควบคุมกล้ามเนื้อถูกทำลาย เช่น กล้ามเนื้อลีบ และเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อตามมือ เท้า ใบหน้า
เส้นประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหลอดเลือด และต่อมเหงื่อถูกทำลาย เช่น เหงื่อไม่ออก ผิวหนังแห้งขนร่วง หลอดเลือดตีบ
Mycobacterium tuberculosis
ก่อโรค
วัณโรค (Tuberculosis)
อาการ และอาการแสดง
เชื้อกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหลังจากเกิดภาวะ Bacteremia
การติดต่อ : การไอ และจากเสมหะ
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เจ็บหน้าอก ไอ มีไข้ตอนบ่าย เหงื่อออกตอนกลางคืน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
สร้างภูมิต้านทาน : ฉีดวัคซีน BCG
สาเหตุ
เกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะที่ปอด
เกิดจากการหายใจสูดดมเอาละอองของเชื้อเข้าไป
กลุ่มเสี่ยง >> ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น มีการระบายอากาศไม่ดี ผู้ที่ติดสุรา รับสารอาหารไม่ครบถ้วน อดนอน เครียดต่อการทำงาน
เด็กทารก และผู้มีอายุ 16-21 ปี มีความเสี่ยงต่อการติดโรคได้ง่าย
Clostridium
ประกอบด้วย
Clostridium tetani
ก่อโรค
โรคบาดทะยัก (Tetanus)
เกิดจากบาดแผลขนาดเล็ก หรือรอยถลอกที่ปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อ C.tetani จากดิน หรือจากการสัมผัสสิ่งสกปรก
toxin เข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง
อาการ และอาการแสดง
อาการชักกระตุก : เนื่องจากได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แสง เสียง การสัมผัส
อาการหลังแข็งแล้วแอ่นไปข้างหน้า : เวลานอนจะมีส่วนศีรษะ และแขนที่แตะที่นอน ขาทั้งสองข้างเหยียดตรง
อาการขากรรไกรแข็ง : เนื่องจากการหดตัวของของกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยว
การติดต่อ
เชื้อแบ่งตัวได้ดีในสภาพเนื้อตาย แผลลึก และแผลที่มีดินติด
ทางเข้าของเชื้อ คือ บาดแผลฉีกขาด การติดเชื้อหลังคลอด และการตัดสายสะดือทารก
Clostridium botulinum
แบ่งเป็น
Wound Botulism
สาเหตุ
เกิดจากบาดแผลติดเชื้อแบคทีเรียคลอสติเดียมโบทูลินัมแล้วเกิดการสร้างสารพิษขึ้น ส่วนใหญ่มักเกิดจากการใช้สารเสพติดแบบฉีดเข้าทางผิวหนัง
อาการ และอาการแสดง
หงุดหงิดง่าย
หายใจลำบาก หายใจถี่
แขนขาอ่อนแรง อ่อนเพลีย หมดแรง
Infantile Botulism
สาเหตุ
เกิดจากการรับประทานอาหารหรือสิ่งที่ปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย
พบในทารกอายุ 6 สัปดาห์ – 6 เดือน
อาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน
อาการ และอาการแสดง
ท้องผูก เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ดูดกลืนลำบาก ร้องไห้เสียงเบา และคออ่อนพับ
Foodborne Botulism
สาเหตุ
รับประทานอาหารที่ผ่านขบวนการถนอมอาหาร ที่มีการบรรจุไม่ได้มาตรฐาน เช่น อาหารกระป๋อง ผัก/ผลไม้กระป๋อง
อาการ และอาการแสดง
ระยะฟักตัว 12-36 ชั่วโมง อ่อนเพลีย ปวดท้อง เวียนศีรษะ กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก
อาการทางประสาท
นัยน์ตาพร่า เห็นภาพซ้อน กล้ามเนื้ออ่อนแรง
กลืนอาหารลำบาก พูดลำบาก หายใจลำบาก
อาจเสียชีวิตภายใน 1 วัน
Clostridium perfringens
แบ่งเป็น
Clostridial Food Poisoning
อาการ และอาการแสดง
เกิดขึ้นหลังจากกินอาหาร 8-24 ชั่วโมง
ปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้ และท้องร่วง (ไม่มีไข้ และไม่อาเจียน)
โรคก๊าซแกงกรีน หรือโรคเนื้อตายเน่า (Gas Gangrene/Myonecrosis)
สาเหตุ
บาดแผลจากอุบัติเหตุ บาดแผลอยู่ในสภาพไร้อากาศ ทำให้เชื้อเจริญได้ดี
อาการ และอาการแสดง
บริเวณรอบแผลบวมน้ำ มีตุ่ม มีของเหลวไหลซึมออกมา
แผลบริเวณกล้ามเนื้อบวมเป็นสีม่วงคล้ำ มีก๊าซ และของเหลวสะสม
แผลถูกล้อมรอบด้วยพังผืด เกิดความดันเพิ่มขึ้น ขาดเลือด และกล้ามเนื้อตาย
Staphylococcus
แบ่งเป็น
Staphylococcus aureus
ก่อโรค
การติดเชื้อที่ผิวหนัง
ประกอบด้วย
โรคผิวหนังเป็นตุ่มพุพอง (impetigo)
เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง เป็นผื่นแดง คัน เป็นตุ่มหนอง ตกสะเก็ด พบบริเวณใบหน้า ปาก รอบจมูก มือและเท้า สามารถกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
อาการของแผลพุพองสามารถเกิดขึ้นได้ 3 แบบ คือ
1.แผลพุพองแบบมีตุ่มน้ำ (Bullous Impetigo)
2.แผลพุพองแบบไม่มีตุ่มน้ำ (Non-Bullous Impetigo)
3.แผลพุพองแบบรุนแรง (Ecthyma)
โรคผิวหนังหลุดลอก (scalded skin syndrome)
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเเตปฟิโลค็อกคัส ออเรียส ส่วนใหญ่พบในทารกแรกเกิดหรือเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ซี่งภูมิต้านทานของร่างกายยังทำงานไม่เต็มที่
ฝี และฝีฝักบัว (furuncles and carbuncles)
ผิวหนังชั้นนอกอักเสบ ทำให้เกิดหนอง / ฝีฝักบัวมักเกิดที่คอ หรือหลังส่วนบน โดยจะมีปริมาณมากกว่าฝีธรรมดา และแพร่กระจายไปลึกกว่า
ไขกระดูกอักเสบ (osteomyelitis)
พบในเด็กชายอายุต่ำกว่า 12 ปี
โพรงข้อต่อมีหนอง (pyoarthrosis)
พบหลังจากการทำศัลยกรรมกระดูก >> เกิดการติดเชื้อระหว่างการฉีดสารบางชนิดเข้าไปในข้อต่อ
อาหารเป็นพิษ (Food poisoning)
พบการกินอาหารที่ปนเปื้อน enterotoxin ของเชื้อ
ลำไส้อักเสบ (enterocolitis)
พบในคนไข้ในโรงพยาบาลที่ normal flora ในลำไส้ ถูกยับยั้งการเจริญด้วย antibiotic ที่ออกฤทธิ์กว้าง (broad spectrum antibiotics)
ช็อก (Toxic Shock Syndrome, TSS)
พบในผู้หญิงที่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอด
Staphylococcus saprophyticus
ก่อโรค
พบเชื้อตามผิวหนัง >> ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะของผู้หญิง (ไม่ค่อยพบการติดเชื้อในผู้ชาย)
อาการ และอาการแสดง
ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ มีหนอง และมีเชื้อจำนวนมากในปัสสาวะ
Bacillus cereus
ก่อโรค
เชื้อสร้าง Enterotoxin >> FoodPoisoning
heat stable enterotoxin : มีอาการอาเจียน
heat labile enterotoxin : ท้องร่วง
ตาอักเสบ (Panophthalmitis)
แหล่งของเชื้ออยู่ในสิ่งของที่ปนกับดิน แล้วจะแพร่เข้าสู่ตา
เชื้อลุกลามอย่างรวดเร็ว จะทำลายเนื้อเยื่อเรตินา สูญเสียการมองเห็นภายใน 48 ชั่วโมง
Streptococcus
ประกอบด้วย
Streptococcus agalactiae
ก่อโรค
พบเชื้อบริเวณ pharynx ทางเดินอาหาร ช่องคลอด
อาการ และอาการแสดง
ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ
ติดเชื้อที่ผิวหนัง เยื่อบุหัวใจอักเสบ หูอักเสบ ข้ออักเสบ
Bacteremia เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษในทารกแรกเกิด
Streptococcus pyogenes
ก่อโรค
โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนังอย่างรุนแรง
อาการ และอาการแสดง
เกิดรอยแผลตามใบหน้า และขา ผิวหนังจะเป็นสีแดงคล้ำ บวมน้ำ และเป็นตุ่ม
โรคคออักเสบเฉียบพลัน (Acute pharyngitis)
สาเหตุ
แบคทีเรียสเตรปโทค็อคคัส (Streptococcus)
แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหนองในแท้ หนองในเทียม ไอกรน และโรคคอตีบ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคคออักเสบ (Strep Throat)
อาการ และอาการแสดง
กลืนน้ำลายแล้วรู้สึกเจ็บคอ มีไข้
คอหอย และต่อมทอนซิลแดง มีหนองที่ต่อมทอนซิล ลิ้นไก่บวมแดง
เจ็บคอ (อาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน)
ต่อมน้ำเหลืองข้างคอโต และกดเจ็บ
ในเด็กมักพบอาการปวดศีรษะ และอาการในระบบทางเดินอาหาร (เช่น ปวดท้อง และอาเจียน)
Streptococcus mutans
ก่อโรค
โรคฟันผุ (decayed teeth)
พบเชื้อใน nasopharynx ในปาก รอยแยกของช่องเหงือก
สาเหตุ
ทำให้เกิดคราบพลัค คือ แบคทีเรียชนิด Streptococcus mutan
แบคทีเรียชนิดนี้จะเปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นคราบพลัค และขยายตัวแพร่พันธุ์อยู่ภายในช่องปาก จึงไม่น่าแปลกใจว่าคนที่ชอบทานแป้ง, น้ำตาล ทานขนม หรือทานของหวาน
Streptococcus pneumoniae
ก่อโรค
โรคปวดบวม (Pneumonia) ปอดอักเสบ (Pneumonitis)
อาการ และอาการแสดง
มีไข้ ไอ เจ็บหน้าอกรุนแรง มีเสมหะเป็นสีสนิม หรือสีน้ำตาล และมีเลือดปน
เหงื่อออกมาก ชีพจรเต้นเร็ว หายใจลำบาก
มีหนองในช่องปอด
Bacteremia
มีการติดเชื้อไปสู่ส่วนอื่น เช่น โพรงจมูก หูส่วนกลาง เยื่อหุ้มสมอง
สาเหตุ
เกิดไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ ข้ออักเสบ
ภาวะที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำลง
จะทำให้เกิดภาวะภูมิแพ้ Alcoholism การระคายเคืองทางเดินหายใจ ความเป็นพิษของยากดการทำงานของ phagocyte
Streptococcus suis
ก่อโรค
เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
ถ่ายทอดสู่คนโดยการสัมผัสโดยตรง และการกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
ระยะฟักตัว 2-3 วัน
Sepsis / Streptococcal Toxic Shock Syndrome (STSS)
อาการ และอาการแสดง
ถ้าเกิด Bacteremia >> อาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ไข้ หนาวสั่น หอบเหนื่อย คลื่นไส้ ปวดศีรษะ สูญเสียการได้ยิน >> หูหนวก (ไข้หูดับ)
สาเหตุ
เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ ม่านตาอักเสบ
Spirochetes
ประกอบด้วย
Leptospira interrogans
ก่อโรค
โรคฉี่หนู (Leptospirosis)
สาเหตุ
เชื้อจะถูกขับออกมากับปัสสาวะสัตว์ แล้วปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งน้ำขัง
ชื้อโรคนี้เข้าสู่ร่างกายคนโดยการไชเข้าทางผิวหนังที่มีรอยถลอก หรือไชผ่านผิวหนังที่เปียกชุ่มจนยุ่ย
มีอุบัติการสูงในผู้ที่สัมผัสดินและน้ำเป็นเวลานาน ๆ เช่น ชาวไร่ ชาวนา กรรมกร คนจับปลา
เชื้อ L. interrogans มีสัตว์หลายชนิดเป็นรังโรค (Reservoir) เช่น หนู หมู วัว ควาย สุนัข แมว เป็นต้น
อาการ และอาการแสดง
ไข้หวัดใหญ่ ไข้สมองอักเสบ ไทฟอยด์ ริกเกตเซีย เมลิออยโดสิส โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่นำโดยสัตว์ (Zoonosis) หรือ กลุ่มอาการไข้ไม่ทราบสาเหตุ
ไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง มักปวดที่น่องและโคนขา อาจมีไข้ติดต่อกันหลายวัน
Treponema pallidum
ก่อโรค
โรคซิฟิลิส (Syphilis)
การเกิดโรค แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
ซิฟิลิสที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired syphilis)
ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุ เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่มีแผล รอยถลอก หรือเยื่อเมือกของอวัยวะสืบพันธุ์
ซิฟิลิสแต่กำเนิด (Congenital syphilis)
มารดาติดเชื้อซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์ (เชื้ออยู่ในกระแสเลือด >> ผ่านรก >> ทารกในครรภ์)
ระยะฟักตัว : ประมาณ 10-90 วัน (เฉลี่ย ~ 3 สัปดาห์)
แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ระยะที่ 2 (secondary syphilis) เกิดหลังเป็นแผลริมแข็ง 1-2 เดือน
เป็นระยะออกดอก (แพร่เชื้อมากที่สุด)
มีอาการแสดงออกทางผิวหนัง คือ เม็ดตุ่ม หรือผื่นแดงตามร่างกายเป็นผื่นเรียบ ขนาดเล็ก หรือนูนเป็นตุ่มแข็ง อาจกลายเป็นตุ่มหนองที่แตกออกเป็นแผลทั่วร่างกาย
ระยะที่ 3 (tertiary/late syphilis) ระยะไม่ติดต่อ
เป็นระยะทำลายของโรค (5-20 ปี)
เกิด gumma ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ผิวหนัง กระดูก ตับ ลิ้น เพดานปาก กระดูกใบหน้า
เชื้อทำลายสมอง ทำให้ความจำเสื่อม
ระยะที่ 1 (primary syphilis) เกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อ 2-10 สัปดาห์
เป็นระยะ hard chancre (แผลริมแข็ง)
ตรวจเลือดยังไม่ให้ผล + จนกว่าจะเกิดรอยแผลแล้วอย่างน้อย 1 สัปดาห์
เชื้อติดต่อสู่ผู้อื่นได้
สาเหตุ
บางกรณีที่ไม่ได้สัมผัสกับเชื้อโดยตรงอาจไม่เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ เช่น การใช้ห้องน้ำ การสวมเสื้อผ้า หรือใช้ช้อนส้อมร่วมกัน
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema Pallidum) จากการสัมผัสถูกเชื้อโดยตรงจากแผลของผู้ป่วย โดยเฉพาะในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ุ
อาการ และอาการแสดง
อัมพาต ตาบอด ภาวะสมองเสื่อม หูหนวก ไร้สมรรถภาพทางเพศ โรคหัวใจ เสียสติ
ต่อมน้ำเหลืองบวม เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ผมร่วง
เกิดผื่นที่มีลักษณะตุ่มนูนคล้ายหูดขึ้นตามบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า อวัยวะเพศ หรือส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ขาหนีบ ทวารหนัก ภายในช่องปาก แต่ไม่มีอาการคันตามผิวหนัง
Listeria monocytogenes
ก่อโรค
Listeriosis
พบในทารกแรกเกิด หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และคนไข้ภูมิคุ้มกันต่ำ
ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ โลหิตเป็นพิษ และสมองอักเสบ
สาเหตุ
สัมผัสสัตว์ และอุจจาระของสัตว์ กินผักสดที่รดด้วยปุ๋ยคอก การดื่มนม และเนยที่ไม่ผ่านการ pasteurization (62.8 องศา เป็นเวลา 30 นาที)
อาการ และอาการแสดง
ติดต่อผ่านทางอาหาร ทำให้เกิดโรคโรคลิสเทอริโอสิส โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) การติดเชื้อในกระแสเลือด (septicemia) และการแท้ง
Corynebacterium diphtheriae
ก่อโรค
โรคคอตีบ (Diphtheria)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน >> เกิดบริเวณคอหอยมากที่สุด
Diphtheria exotoxin เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เชื้อมีความรุนแรง ไปทำลายเยื่อบุผิว ทำให้เกิดการอักเสบ
อาการ และอาการแสดง
เกิด pseudomembrane
เป็นแผ่นเยื่อมีความเหนียวมาก และลอกออกยาก
พบบริเวณต่อมทอนซิล >> แพร่สู่โพรงจมูก กล่องเสียง และหลอดลม
แผ่นเยื่อไปปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้หายใจไม่ออก (ต้องช่วยหายใจโดยการเจาะคอ)
toxin แพร่เข้าสู่ร่างกายทางกระแสเลือด : Bacteremia