Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เรื่องนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ - Coggle Diagram
เรื่องนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ
ผู้แต่งและประวัติผู้แต่ง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เกิดวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๕ เป็นผู้แต่งตำราภาษาไทย และเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาไทยแก่เจ้านายในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ รวมสิริอายุได้ ๖๘ ปี
ลักษณะคำประพันธ์
คำนมัสการคุณานุคุณแต่ละตอนแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทต่างๆดังนี้
๑ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่นำมาแต่งคำนมัสการคุณานุคุณ มาตาปิตุคุณ และอาจริยคุณ
๒ กาพย์ฉบัง ๑๖ กาพย์ฉบัง ๑๖ เป็นกาพย์ที่นำมาแต่งคำนมัสการพระธรรมคุณและพระสังฆคุณมีลักษณะบังคับ
เรื่องย่อ
ในนมัสการมาตาปิตุคุณ จะกล่าวถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่ต้องเหนื่อยเลี้ยงดูจนลูกเติบโต ส่วนนมัสการอาจริยคุณ จะกล่าวถึงพระคุณของครูอาจารย์ที่สั่งสอนให้ความรู้แก่ศิษย์ ซึ่งเราควรรำลึกถึงพระคุณของบิดามารดาตลอดจนครูอาจารย์
สาระน่ารู้
ทิศ6
ทิศ ๖ ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับเรา มี ๖ ประเภท ซึ่งเปรียบได้กับทิศต่าง ๆ ได้แก่ ทิศตะวันออก คือ บิดามารดา ทิศใต้ คือ ครูอาจารย์ ทิศตะวันตก คือ บุตรและภริยา ทิศเหนือ คือ มิตรสหาย ทิศเบื้องล่าง คือ ลูกจ้าง บริวาร และทิศเบื้องบน คือ พระสงฆ์ นักบวช
ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ
๒. ครูอาจารย์เป็นผู้อบรมสั่งสอนศิษย์ต่อจากบิดามารดา ทำให้ศิษย์มีความรู้ สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิต ดังนั้นผู้ที่เป็นศิษย์จึงควรยกย่องและเคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของครู
๑. บิดามารดาเป็นพรหมของบุตร ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนและเลี้ยงดูบุตรจนเติบโต ดังนั้นผู้ที่เป็นบุตรจึงควรสำนึกในบุญคุณของท่านทั้งสอง และปฏิบัติต่อท่านเพื่อให้ท่านมีความสุขทั้งกายและใจ
คำสำคัญ
าตาปิตุคุณและอาจริยคุณ พระยาศรีสุนทรโวหา (น้อย อาจารยางกูร) อินทรวิเชียรฉันท์ ทิศ ๖
คุณค่าด้านเนื้อหา
๑. คำนมัสการพระคุณ มีเนื้อหาสำคัญคือ การสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า
๒. คำนมัสการพระธรรมคุณ พระธรรมคือ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
๓. คำนมัสการพระสังฆคุณ ถ้าพรพุทธองค์ไม่ได้ทรงสถาปนาคณะสงฆ์ขึ้นหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบย่อมสูญสิ้นไปพร้อมกับเสด็จดับขันธ์ปรินิพาน
๔. คำนมัสการมาตาปิตุคุณ มารดาบิดาเป็นผู้มีพระคุณก่เราเพราเป็ผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเราโดยไม่หวังผลตอบแทน
๕. คำนมัสการอาจริยคุณ เนื่องด้วยครูอาจารย์เป็นผู้มีพระคุณแก่เราเพราะเป็นผู้อบรมสั่งสอนและถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เรา
คุณค่าด้านกลวิธีการแต่ง
๑. การเลือกสรรคำเหมาะกับเนื้อเรื่อง กวีเลือกสรรถ้อยคำนำมาใช้ได้อย่างไพเราะเหมาะสม
๒. การเลือกสรรคำที่มีเสียงเสนาะ กวีใช้ความงามและเสียงเสนาะในการอ่าน นอกเสียงโดยการใช้สัมผัสอักษรละสัมผัสสระ ได้แก่ สัมผัส การเล่นคำ
๓. ภาพพจน์ กวีใช้การเปรียบเทียบแบบอุปมาเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนขึ้น
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การเลือกสรรคำ
ผู้ประพันธ์ได้เลือกคำที่เหมาะสมในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก มีการใช้คำที่เป็นการยกระดับในการเดินเรื่อง เช่น ชนก ชนนี เป็นต้น และยังพยายามใช้คำเพื่อให้คนเห็นภาพ เช่น โอบเอื้อ เจือจุน เป็นต้น โดยส่วนใหญ่ผู้ประพันธ์ใช้คำที่เรียบง่าย อ่านแล้วเข้าใจได้ในทันที อาจมีคำยากบ้างแต่ไม่มากนัก ซึ่ง StartDee ได้รวบรวมให้แล้วข้างต้น ลองย้อนกลับไปดูกันนะ
การใช้ภาพพจน์
มีการใช้ภาพพจน์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างบุญคุณของพ่อแม่ กับสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของพระคุณของท่าน โดยผู้ประพันธ์ได้ใช้ “อุปลักษณ์” ในการเปรียบเทีย
คุณค่าด้านสังคม
วรรณคดีเรื่องนี้มีจุดเด่นในการสะท้อนให้เห็นภาพสังคมในอดีตและยังจรรโลงสังคมอีกด้วย
การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้อ่านได้ประจักษ์ในคุณค่าของชีวิต ได้นำแง่คิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่าน ไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือเป็นแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหา
การเล่นเสียง
แบ่งออกเป็นการเล่นเสียงพยัญชนะ การเล่นเสียงสระ และการเล่นเสียงเบา - หนัก (ครุ - ลหุ)
การเล่นเสียงพยัญชนะ หากเล่นเสียงพยัญชนะเดียวกับหรือใกล้เคียงกัน จะทำให้เกิดการกระทบกันของเสียง ช่วยให้เกิดความไพเราะ เช่น ข้าขอนบชนกคุณ มีการใช้คำว่า ข้าและขอ เป็นเสียง ข เหมือนกัน และใช้คำว่า (ช) นกและนบ ซึ่งเป็นเสียง น เหมือนกัน เป็นต้น
การเล่นเสียงสระ มีการเล่นเสียงสระที่เป็นเสียงเดียวกัน ทำให้เวลาอ่านเกิดการส่งสัมผัสที่น่าฟัง เช่น ตรากทนระคนทุกข์ มีการเล่นเสียงสระโอะ โดยใช้คำว่า ทน และ (ระ) คน