Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบย่อยอาหาร (Digestive system) - Coggle Diagram
ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)
อวัยวะในระบบทางเดินอาหาร
1.ปากและช่องปาก ประกอบด้วย ลิ้น ฟัน ต่อมน้ำลาย เป็นทางรับอาหาร ฟันช่วยกัด บด ฉีก น้ำลายช่วยคลุกเคล้า ลิ้นช่วยเคี้ยวและกลืน
คอหอย (pharynx) เป็นบริเวรที่ทางเดินอาหารพาดผ่านทางเดินอากาศหายใจเข้าออกปอด ดังนั้นเวลากลืนอาหาร จึงต้องหยุดหายใจชั่วครู่
3.หลอดอาหาร (esophagus)
เป็นท่อที่กั้นแยกอาหารออกจากอวัยวะในช่องอกโดยมีกล้ามเนื้อหูรูดกั้นส่วนบนและส่วนล่างผนังของหลอดอาหารมีทั้งกล้ามเนื้อลาย (ส่วนบน) และกล้ามเนื้อเรียบ(ส่วนล่าง)
4.กระเพาะอาหาร (Stomach) มีกล้ามเนื้อบุถึง 3 ชั้น แข็งแรงพอที่จะเก็บพักเตรียมอาหารมีการย่อยอาหารโปรตีนขั้นต้นอาหารที่ย่อยแล้วจะได้เป็น acid chyme แล้วส่งต่อให้ลำไส้เล็กที่กระเพาะอาหารมีการดูดซึมไขมันโซ่สั้น
5.ลำไส้เล็ก (small intestine) แบ่งเป็น 3 ส่วน เซลล์ของลำไส้เล็กมีไมโครวิลไลจำนวนมาก เพื่อเพิ่มพื้นที่จึงเป็นตำแหน่งสำคัญสำหรับการย่อยและการดูดซึมสารอาหารทุกประเภท โดยอาศัยน้ำย่อยจากตับอ่อนและน้ำดีจากตับ
6.ลำไส้ใหญ่ (Large intestine,Colon) มีหน้าที่ดูดซึมน้ำและเกลือแร่ ที่สำคัญเป็นที่เก็บพักกากอาหารรวมทั้งจุลินทรีย์ เซลล์ที่หลุดออกจากผนังทางเดินอาหาร เพื่อรอการขับถ่ายทิ้ง
การคัดหลั่งในระบบทางเดินอาหาร
(digestive secretion)
2.การหลั่งจากต่อมน้ำลาย (salivary secretion) มีอยู่ 3 คู่ดังนี้
1) ระยะที่อาหารยังไม่ตกถึงกระเพาะอาหาร (Cephalic phase) การหลั่งในระยะนี้คิดเป็นร้อยละ 40
2) ระยะที่อาหารอยู่ในกระเพาะอาหาร (Gastric phase) การหลั่งในระยะนี้คิดเป็นร้อยละ 50
3) ระยะที่อาหารอยู่ในลำไส้เล็กส่วนเกิน (Intestinal phase) การหลั่งกรดการหลั่งในระยะนี้คิดเป็นร้อยละ 10
1.การปล่อยสารต่างๆออกมาจากต่อมมีท่อเพื่อตอบสนองการทำงานของระบบ
3.การควบคุมการคัดหลั่งตับอ่อน คือ ช่วยลดความเป็นกรดของอาหารจากกระเพาะอาหารที่มาถึงลำไส้เล็กให้มีฤทธิ์เป็นกลาง และเป็นด่างน้อยที่สุด
4.การสร้างและการหลั่งน้ำดี (bile secretion)
1)เพื่อให้น้ำดีช่วยให้ไขมันละลายในน้ำได้ดี เอนไซม์ ไลเปส ย่อยได้สะดวก
2)เพื่อขจัดโคเลสเตอรอลออกไปจากร่างกาย
5.การคัดหลั่งจากลำไส้
ลำไส้ใหญ่จะไม่หลั่งน้ำย่อย แต่มีการหลั่งเมือกที่เป็นด่าง
การดูดซึม
เป็นการขนส่งสารอาหารที่ผ่านกระบวนการย่อยแล้ว และไออนจากโพรงของอาหารผ่านเข้าทางเดินอาหาร ผ่านผนังของทางเดินอาหาร เข้าสู่หลอดเลือด หรือต่อมน้ำเหลืองย้อนทิศทางกับการหลั่ง
โดยจะมีการดูดซึม
1.ชั้นเยื่อเมือก เป็นชั้นที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วย
1.1เยื่อบุผิว
1.2ชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มีเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยในการต่อสู้เชื้อโรค
1.3ชั้นกล้ามเนื้อเรียบ
2.ชั้นใต้เยื่อเมือก
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอย่างหลวมเป็นทางผ่านแต่ละส่วนของทางเดินอาหาร
3.ชั้นกล้ามเนื้อ
แบ่งเป็น2ขั้นตามลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อในผนังทางเดินอาหาร กล้ามเนื้อเรียบชั้นในจะอยู่ถัดจากชั้นใต้เยื่อบุจะเรียงตัวเป็นวงแหวน ระหว่างสองชั้นจะมีเซลล์ประแทรกเป็นร่างแหทำหน้าที่ในการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ
การบีบตัว ของทางเดินอาหารจะทำให้เกิดกระบวนการคลุกเคล้าอาหารเพื่อย่อยและดูดซึมสารอาหารอย่าสมบูรณ์
4ชั้นนอกสุด
เป็นพวกเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลายชั้นและคลุมด้วยเยื่อบุผิวแผ่นบาง
ตับ (Liver)
ตับเผาผลาญยาและสิ่งแปลกปลอม (xenobiotic Compound)
ซึ่งบางอย่างมีพิษจะปนมากับอาหาร
ไตจะขับออกจากร่างกายในรูปที่ละลายน้ำได้
การเผาผลาญพลังงานของตับ : ควบคุมการเผาผลาญสารอาหารที่ถูกดูดซึมจากลำไส้เล็กเข้าสู่ตับ
มีหน้าที่ : ควบคุมการเผาลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมันถ่ายสารเก็บและเปลี่ยนแปลงสารสังเคราะห์โมเลกุลใหม่และขจัดสารพิษ
โภชนาการและการเผาผลาญอาหาร
(Nutrition & Metabolism)
กระบวนการที่ร่างกายนำอาหารเข้าสู่ร่างกายตั้งแต่การย่อย การดูดซึม การขนส่ง การเผาผลาญและการนำไปใช้
คาร์โบไฮเดรต : เป็นสารประกอบอินทรีย์ พลังงานถูกยึดโยงกันด้วยพันธะเคมีถูกใช้เป็นเบื้องต้นเพื่อกระบวนการทำงานของเซลล์
น้ำ : เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิต เพื่อทดแทนน้ำที่เราสูญเสียไป
วิตามิน : หากร่างกายขาดวิตามินจำเป็นในอาหารทำให้เกิดการบกพร่องได้
เกลือแร่ : เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่จำเป็นต่อการเผาผลาญ เกี่ยวข้องกับการทำงานสำคัญ
การเผาผลาญอาหาร metabolism : การเผาผลาญเป็นปฏิกิริยาทางเคมีทุกชนิดที่เกิดขึ้นในร่างกายมีอยู่ 2 ชนิด คือ 1.การสลาสารอาหาร 2.การสร้างเสรีกระบวนการเกิดขึ้นในระดับโมเลกุล
การเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร
การกลืน (Swallowing,deglutition
เป็นกระบวนการทำอาหารที่บดเคี้ยวและย่อยแล้วลงสู่กระเพาะอาหาร
การเคลื่อนไหวของกระเพาะ มี 3 ลักษณะ คือขณะกลืนอาหาร มีอาหารอยู่ในกระเพาะและขณะท้องว่างเมื่อมีการกลืน ศักย์การทำงานของกระเพาะอาหาร แบ่งได้ 2 ส่วน คือ 1.การหัดตัวนำ (leading contraction)
2.การหัดตัวตาม (tratting contraction)
การเคลื่อนไหวของลำไส้เล็กต่อจากหูรูดไพลอรัสถึง ileococal valve แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1.ส่วนต้น Duodenum
2.ส่วนกลาง Jejunum
3.ส่วนปลาย Ileum
การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1.Segmentation movement
เพื่อช่วยในการคลุกเคล้าอาหาร ส่วนของ colon
มีการดูดซึมน้ำ และแร่ธาตุได้เร็วขึ้
2.Peristaltic movement
เพื่อให้อาหารที่อยู่ภายในเคลื่อนตัว
3.Mass peristalsis movement
เป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน colon
เกิดขึ้นตอนถ่ายอุจจาระเท่านั้น
เส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของทางเดินอาหาร
ประกอบด้วยเส้นประสาทที่ควบคุมการบีบตัวโดยอันตโนมัติและการรับความรู้สึก แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
1.เส้นประสาทที่ควบคุมส่วนนอก
2.เส้นประสาทที่ควบคุมส่วนใน
1.เส้นประสาทที่ควบคุมส่วนนอก (extrinsic nerve innervation)
ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ ประกอบด้วย ระบบซิมพาเทติก (sympathetic system) และระบบพาราซิมพาเทติก (parasympathetic system) มีปมประสาทที่อยู่ด้านหน้าและด้านข้างของกระดูกสันหลัง
2.เส้นประสาทที่ควบคุมส่วนใน (intrinsic nerve innervation)
เป็นกลุ่มประสาท เซลล์ประสาทแผงไมส์เนอร์และเออร์บัค จะควบคุมการบีบตัวของทางเดินอาหาร การสร้างและหลั่งน้ำย่อยไปพร้อมๆกันและยังรับความรู้สึกทางอุณหภูมิสัมผัสของกล้ามเนื้อลาย
กระบวนการย่อยอาหาร
คือ การทำให้สารโมเลกุลใหญ่ให้กลายเป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กลงจนสามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ มี 2 วิธี
1.การย่อยเชิงกล คือการบดเคี้ยวอาหารโดนฟัน เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลทำให้สารอาหารเล็กลง ได้แก่ การบดเคี้ยวอาหารในปาก
2.การย่อยเชิงเคมี คือการเปลี่ยนแปลขนาดโมเลกุลจองสารอาหารโดยใช้เอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง ทำให้โมเลกุลของสาอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้ เช่น การเปลี่ยนโมเลกุลของแป้งเป็นน้ำตาล
ฮอร์โมนทางเดินอาหาร
คือสารที่หลังออกมาจากกลุ่มเซลล์ (enteroendocrine cell : EEC) ที่ฝังตัวอยู่ในผนังของทางเดินอาหารโดยที่อยู่ในชั้นเยื่อเมือกของกระเพาะอาหารและลำไส้ ได้แก่
• แกสตริน (gastrin ) คุณแป๊บถ่ายที่จัดอยู่ในกลุ่ม gastrin /cckfamily ผลิตจากเซลล์จีที่จัดอยู่บริเวณแอนทรัมของกระเพระอาหารเป็นฮอร์โมนแปปไทป์ที่กระตุ้นการหลั่งของในกระเพาะอาหารมีหน้าที่สำคัญที่ช่วยให้อาหารย่อยได้สะดวกขึ้น
• โคลีซิสโทโคนิน (cholecystokinin : CCK) เป็นเพปไทด์จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับแกสตริน สร้างจากเซลล์ไอ (cell I) ซึ่งอยู่ที่ชั้นเยื่อเมือกลำไส้เล็กส่วนต้น มีหน้าที่กระตุ้นการสร้างและหลังน้ำย่อยจากตับอ่อนและกระตุ้นการหดตัวของถุงน้ำดี
• ซีครีติน (Secretin) ซึ่งจัดอยู่ในเซลล์เต็มขั้นหรือของฉันเยอะเมือกส่วนบนของลำไส้เล็กมีหน้าที่เบื้องต้น คือกระตุ้นการสร้างน้ำดีในตับและสร้างบัฟเฟอร์
•แกสทริกอินธิบิทอรี่ เพปไทด์ มีกรดอะมิโน 43 ตัวสร้างจากเซลล์เคในชั้นเยื่อบุของลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum )และลำไส้เล็กส่วน(Jejunum) เป็นฮอร์โมนเพียงอย่างเดียวตัวกระตุ้นคือกลูโคสและไขมันในลำไส้เล็กส่วนต้น
กระบวนการกลืน
การกลืนเป็นกระบวนการนำอาหารที่บดเคี้ยวและย่อยแล้วลงสู่กระเพาะอาหาร การกลืนในระยะแรกอยู่ในอำนาจจิตใจ แต่หลังจากนั้นแล้วจะเป็นรีเฟลกซ์เพื่อขับอาหารออกจากคอหอยสู่หลอดอาหาร รีเฟลกซ์นี้จะยับยั้งการหายใจและป้องกันไม่ให้อาหารเข้าสู่หลอดลมใหญ่ในระหว่างการกลืน
การกลืนแบ่งได้ 3 ระยะ
1.ระยะที่อยู่ในปาก oral stage เป็นการทำงานในอำนาจจิตใจภายต้การควบคุมของสมองใหญ่ตอบสนองสัญญาณนำเข้าโดยบังคับให้มีการหุบปาก กระดกลิ้นขึ้นชิดเพดาน และผลักก้อนอาหารลงสู่คอหอย
2.ระยะที่อยู่บริเวณคอหอย pharyngeal stage เมื่ออาหารตกลงมาถึงคอหอย การกลืนจะต่อเนื่องเป็นรีเฟลกซ์ ไม่สามารถยุติการกลืนได้ เพดานอ่อนถูกดึงขึ้นไปปิดคอหอยช่องจมูก nasopharynx ป้องกันสำลักอาหารเข้าจมูก สายเสียง vocal cord ถูกดึงปิดเข้าหากัน กล่องเสียง larynx เคลื่อนไปข้างและขึ้นข้างบนแนบฝาปิดกล่องเสียง epiglottis ปิดทางเดินหายใจ ป้องกันอาหารเข้าหลอดลมและช่วยเปิดหูรูดตอนบนของหลอดอาหาร (upper esophageal sphincter :UES)
3.ระยะที่อยู่ในหลอดอาหาร esophageal stage หลอดอาหารยาวประมาณ25 ซม. เชื่อมคอหอยกับกระเพาะอาหารอยู่ในช่องอก หลังหลอดลมใหญ่แบ่งเป็น 3ส่วนตามการทำงานหน้าที่ ส่วนบนคือ หูรูดอันบน (UES) บุด้วยกล้ามเนื้อลายเพื่อช่วยการกลืน
ส่วนกลางหรือบอดี้มีทั้งกล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบ ส่วนล่างสุดคือกล้ามเนื้อหูรูด (LES) เป็นกล้ามเนื้อเรียบอย่างเดียว ช่วยผลักดันอาหารและป้องกันกรดจากกระเพาะอาหาร