Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System), นางสาวชรินรัตน์ อุ้ยมาก รหัสนักศึกษา…
ระบบต่อมไร้ท่อ
(Endocrine System)
ต่อมไทมัส
(Thymus gland)
ไทโมชิน
(thymosin)
หน้าที่และบทบาท
ฮอร์โมนไทโมชินทำหน้าที่สร้าง T- โymphocytes เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่เกี่ยวกับเซลล์ (cellular immunity) โดยให้ lymphokines ทำหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาภูมิแพ้แบบ delayed type (delayed allergic reaction) การไม่ยอมรับเนื้อเยื่อที่แปลกปลอมที่นำเข้ามาปลูกเข้ากับร่างกาย (graft rejection cell) ช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัส รา และแบคทีเรีย บางจำพวก เช่น Tubercle bacillus ที่ทำให้เกิดวัณโรค
ต่อมไทมัสไวต่อรังสี การติดเชื้อ และการเจ็บปวยของร่างกายมาก พบว่าคนที่หายจากมี การติดเชื้อนาน ต่อมไทมัสจะฝอเล็กลงกว่าปกติ
ภาวะผิดปกติ
การเกิด Congenital aplasia DiGeorge Syndrome
เกิดจากการผ่อของไทมัสในเด็กตั้งแต่แรกเกิด ร่างกายจะขาด thymosin และ T- lymphocytes หน้าที่ทางด้าน delayed hypersensitivity และ graft rejection จะหมดไป
เด็กมักตายเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา เกิด atrophy ของ เกิด atrophy ของ lymphoid organs ทั่วไป ซึ่งมักจะพบเป็นร่วมกับ hypoparathyroidism เพราะมีกำเนิดและการ เจริญเติบโตมาด้วยกัน
ต่อมพาราไทรอยด์
(Parathyroid gland )(PTH หรือ parathormone)
หน้าที่และบทบาท
ควบคุมระดับแคลเชียมในร่างกาย ทำให้แคลเชียมในเลือดเพิ่มขึ้นแต่ฟอสเฟตต่ำลง โดย ฮอร์โมนนี้จะถูกกระตุ้นให้หลั่งเมื่อระดับพลาสมาแคลเซียมต่ำลง ซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำให้ระดับแคลเซียมใน พลาสมาสูงขึ้นโดย
1) การย่อยสลายกระดูก
2)เพิ่มการดูดกลับของแคลเซียมที่หลอดไต
3) การขับถ่ายฟอสเฟต,
ไบคาร์บอเนตทางปัสสาวะ
4) การดูดซึมของแคลเซียมที่ลำไส้
หมายเหตุ : การทำงานของพาราไทรอยด์ฮอร์โมน
จะมีประสิทธิภาพดีขึ้นเมื่อทำงานร่วมกับวิตามินดี
ต่อมหมวกไต
(Adrenal Gland)
ต่อมหมวกไตส่วนนอก (adrenal cortex)
แบ่งได้เป็น 3 ชั้น
1)ชั้นนอกสุดเรียกว่า zona glomerulosa ชั้นนี้จะติดกับ capsule สร้างและหลั่งฮอร์โมน พวก mineralocorticoid ได้แก่ อัลโดสเตอโรน (aldosterone) ฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลน้ำและ เกลือแร่ในร่างกาย
2) ชั้นกลางเรียกว่า zona fasciculata สร้างฮอร์โมนพวกกลูโคคอร์ทิคอยด์ (glucocorticoid) ได้แก่ คอร์ทิชอล (cortisol) คอร์ทิโซน (cortisone) และคอร์ทิโคสเตอโรน (corticosterone) ซึ่งคอร์ทิซอลมีผลต่อร่างกายมากที่สุด ฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึม ของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน
3) ชั้นในเรียกว่า zona reticulait สร้างฮอร์โมนเพศ (sex hormone) ได้แก่ เอสโทร เจน โพรเจสเตอโรน และ androgen ซึ่งมีผลต่อกระบวนการสืบพันธุ์น้อยกว่าฮอร์โมนที่ได้จากรังไข่ และอัณฑะ
คอร์ทิชอล
(Cortisol)
หน้าที่และบทบาท
1) ทำให้เกิดการเผาผลาญสารอาหารพวกควร์โบไฮเดรต
2) เพิ่มการสร้างไกลโคเจนที่ตับเพิ่มขึ้น
3) ยับยั้งการสร้างโปรตีน และเร่งขบวนการทำลายโปรตีนที่กล้ามเนื้อแขนขา
4) เร่งขบวนการสลายตัวของไขมันจากเนื้อเยื่อไขมัน
5) ผลต่อกระดูก ฮอร์โมนนี้เสริมฤทธิ์ parathromone
6) ผลต่อแคลเซียมเมแทบอลิซึม
ภาวะความผิดปกติ
Cushing's syndrome
เกิดจากระดับฮอร์โมนคอร์ทิซอลมากเกินไป โรคนี้เกิดได้กับคนทุกวัย เพศ เชื้อชาติ แต่ส่วนใหญ่ที่พบมักเกิดกับหญิงซึ่งมีอายุระหว่าง 20-60 ปี อาจมีสาเหตุจาก
1) มีการขยายใหญ่ขึ้นของต่อมในส่วนเปลือกต่อมหมวกไต
2) เนื้องอกของต่อมใต้สมอง
3) ผู้ป่วยที่ได้รับฮอร์โมนนาน ๆ อาจทำให้แสดงอาการมีฮอร์โมนมากเกินไป
Addison's disease
เกิดจากถ้าระดับฮอร์โมนคอร์ทิซอลน้อยเกินไป เป็นความผิดปกติของการขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอกทุกตัว ซึ่งอาจมีสาเหตุจากต่อมผิดปกติ จึงไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนได้ หรือเพราะขาดตัวกระตุ้นต่อมหรือต่อมถูกทำลาย
แอนโดนเจน
(Androgen)
ถ้ามีการหลั่งฮอร์โมนมาก แต่ในเด็กชายจะทำให้เข้าสู่วัยรุ่นเร็ว กว่าปกติ (precocious puberty)ส่วนในเพศหญิงต่อมหมวกไตจะเป็นแหล่งผลิต androgen ถ้ามีการ ผลิตฮอร์โมนมาก จะทำให้เกิดลักษณะ secondary male sexual characteristic (viritism) คือ มีสิว เกิดขึ้นมาก มีขนเกิดขึ้นตามตัวและใบหน้า
Androgen มีผลต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และการสร้างโปรตีน การเจริญเติบโตของ ร่างกาย
เอสโตรเจน
(Estrogen)
Estrogen ที่สร้างได้จากต่อมหมวกไต จะเป็นแหล่งสร้างสำคัญในหญิงวัยหมดประจำเดือน
(ซึ่งหน้าที่และบทบาทจะกล่าวโดยละเอียดในระบบสืบพันธุ์)
โปรเจสเตอโรน
(Progesterone)
ฮอร์โมนเพศหญิงที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมภาวะไข่ตกและการมีประจำเดือน ในปัจจุบันมีการสังเคราะห์ฮอร์โมนชนิดนี้ขึ้นเพื่อรักษาผู้หญิงที่ยังไม่เข้าสู่วัยทองแต่มีภาวะประจำเดือนขาดเนื่องจากร่างกายขาดฮอร์โมนดังกล่าว และยังใช้ควบคู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวจนเกินไปในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
เทสโทสเตอร์โรน
(Testosterone)
หน้าที่สำคัญคือกระตุ้นให้แสดงลักษณะความเป็นชาย และรักษาให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรง ซึ่งรวมไปถึงเรื่องความต้องการทางเพศ, การสร้างเชื้ออสุจิ, ปริมาณของขนเพชรและขนตามร่างกาย กล้ามเนื้อและกระดูก
ภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำ หรือภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ เป็นสาเหตุของอาการต่างๆ ดังนี้
ความต้องการทางเพศลดลง
ภาวะแข็งตัวได้ไม่สมบูรณ์ของอวัยวะเพศชาย
ปริมาณของตัวอสุจิมีจำนวนน้อย
ต่อมหมวกไตส่วนใน (adrenal medulla)
เอพิเนฟริน ( epinephrine hormone ) หรือ อะดรีนาลิน (adrenalin hormone )
หน้าที่เเละบทบาท
เปลี่ยน ไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดทำมีระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นในกระแสเลือดการเผาผลาญอาหารเพิ่มมากขึ้น
ทำให้ร่างกายมีพลังมากขึ้น
กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงและเร็วขึ้น ทำให้เลือดลำเลียงออกซิเจนและกลูโคสไปให้เซลล์ร่างกายได้มากขึ้น
หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่บริเวณอวัยวะภายในต่างๆขยายตัว
หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่บริเวณผิวหนังและช่องท้องหดตัว
อิพิเนฟริน ( norepinephrine hormone ) หรือ นอร์อะดรีนาลิน (noradrenalin hormone )
หน้าที่เเละบทบาท
เปลี่ยน ไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดทำมีระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นในกระแสเลือดการเผาผลาญอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีพลังมากขึ้น
กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงและเร็วขึ้น ทำให้เลือดลำเลียงออกซิเจนและกลูโคสไปให้เซลล์ร่างกายได้มากขึ้น
หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่บริเวณอวัยวะภายในต่างๆหดหรือบีบตัว
ตับอ่อน
(Pancreas)
อินซูลิน
(Insulin)
หน้าที่และบทบาท
ฮอร์โมนนี้ได้จาก (B cell of islets of Langerhans) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง ทำหน้าที่เหมือนกุญแจไขเซลล์เพื่อให้กลูโคสและน้ำตาลอย่างอื่นผ่านผนังเชลล์ เพื่อสะสมสารอาหารเก็บไว้ในเซลล์ กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์โดยอินซูลินจะไปเพิ่มตัวพา (carrier) ของเยื่อหุ้มเซลล์ในการขนส่งน้ำตาลเข้าเซลล์ เพราะปกติน้ำตาลไม่สามารถแพร่ผ่านเข้าเซลล์ เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งน้ำตาลเข้าเซลล์ นอกจากนี้ อินซูลินยังควบคุมการใช้สารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันในร่างกาย
ภาวะความผิดปกติ
ถ้าฮอร์โมนน้อยเกินไป ทำให้เกิดโรคเบาหวาน (diabetes mellitus) เนื่องจากตับอ่อน สร้างอินซูลินน้อย ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือร่างกายมีความต้องการอินซูลิน มากกว่าปกติ หรืออินซูลินออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ ส่วนใหญ่แล้วการเป็น โรคเบาหวาน มักเกิดจากกรรมพันธ์
กลูคากอน
(Glucagon)
หน้าที่และบทบาท
1.เป็นฮอร์โมนที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ได้จากอัลฟาเซลล์ของไอสเลทในตับอ่อน (C cell of islets of Langerhans)
กระตุ้นการสลายโปรตีน (proteolysis) เปลี่ยนกรดอะมิโนให้เป็นกลูโคสและกระตุ้นการ นำส่งกรดอะมิโนมาใช้ที่ตับในขบวนการสร้างกลูโคส
กระตุ้นการสลายไขมัน (lipolysis ในตับและที่เนื้อเยื่อไขมัน ส่งเสริมการทำงานของ เอนไซม์ lipase
ภาวะความผิดปกติ
ในปัจจุบันความสำคัญของฮอร์โมนตัวนี้ ยังมีไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะยังไม่มีโรคในคนอัน เนื่องมาจาก glucagons ถ้าฮอโมนกลูคากอนน้อยเกินไปหรือขาดฮอร์โมนซึ่งพบได้น้อยมาก ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมากนัก และยังไม่ทราบว่าทำให้เกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย
ถ้าฮอร์โมนมากเกินไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นสาเหตุทำให้เป็น โรคเบาหวานได้ และพบว่าคนเป็นโรคเบาหวานจะมีระดับของกลูคากอนในเลือดสูง และเนื่องจากกลูคากอนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ฉะนั้นจึงใช้กลูคากอนรักษาโรคหัวใจวายได้
นางสาวชรินรัตน์ อุ้ยมาก รหัสนักศึกษา 64106301123
ห้อง 1B เลขที่ 51