Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดสัมมนา - Coggle Diagram
การจัดสัมมนา
คุณสมบัติของผู้ร่วมการสัมมนาที่ดี
วิทยากรมีคุณลักษณะที่ดี
เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการสัมมนาเป็นอย่างดี
เป็นผู้ที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น ๆ เข้าใจได้ดี
เป็นผู้ที่มีความคิดก้าวไกลทันสมัยและใจกว้าง
เป็นผู้ที่มีเหตุผลมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้ดี
เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวางในสังคมหรือแวดวงวิชาชีพ
(ไพพรรณ เกียติโชคชัย, 2545)
มีความจริงใจ สนใจ เอาใจใส่ในการสัมมนาอย่างจริงจัง ตั้งใจฟังวิทยากร ร่วมแสดงความคิดเห็น มีเหตุผล
เที่ยงตรง ไม่แสดงการคัดค้านอย่างมีอคติ
พูดจาสุภาพและเหมาะสมกับกาลเทศะ
รักษาอารมณ์ให้มั่นคง
ยอมรับฟังความคิดเห็นส่วนรวม
ถ่ายทอดความรู้-แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์
มีน้ำใจ/ ตรงต่อเวลา / มีจิตส านึกต่อความเป็นมนุษย์
นำแนวความคิดที่ได้ไปสร้างสรรค์ในแนวทางที่เหมาะสม
(นิรันดร์ จุลทรัพย์, 2550)
เป็นผู้ที่ชอบแสวงหาความรู้ใหม่ๆ มีความคิดกว้างไกล
รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
คิดก่อนพูดอย่างมีหลักการและเหตุผล
รู้จักกาลเทศะ มีสปิริต
แสดงความคิดเห็นในโอกาสและจังหวะที่เหมาะสม
ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมการสัมมนา
มีมารยาทในการสมาคม
องค์ประกอบของการสัมมนา
ด้านเนื้อหา
จุดมุ่งหมายของการจัดสัมมนาต้องเขียนให้ชัดเจน มักกำหนดเพื่อให้ได้สาระอย่างใดอย่างหนึ่ง
เรื่องที่นำมาจัดสัมมนาควรเป็นเรื่องที่ต้องการศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไข
กำหนดหัวข้อเรื่องเพื่อเป็นกรอบของแนวความคิดของเรื่องที่สัมมนา
ระบุชื่อหน่วยงานหรือกลุ่มบุคคลดำเนินการสัมมนา ชื่อเรื่องสัมมนา วัน เดือน ปี เวลาสถานที่
ผลที่ได้จากการสัมมนา
ด้านสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์
ห้องประชุมใหญ่ที่ใช้ในการสัมมนา
ห้องประชุมย่อยควรอยู่ใกล้ห้องประชุมใหญ่เพื่อความสะดวกในการประสานงาน
ห้องรับรอง ใช้รับรองวิทยากร แขกพิเศษ ให้เตรียมตัวก่อนสัมมนา
ห้องรับประทานอาหารว่าง
ห้องรับประทานอาหาร
อุปกรณ์ด้านโสตทัศน์นูปโภค
ด้านเวลา
ระยะเวลาสำหรับการเตรียมการ
การเชิญวิทยากร
ระยะเวลาที่ใช้ในการสัมมนา
ด้านบุคลากร
บุคลากรฝ่ายจัดการสัมมนา เช่น ประธาน รองประธาน เลขานุการ ฝ่ายทะเบียน ถ่ายเอกสาร เหรัญญิก พิธีกร สถานที่ ประชาสัมพันธ์ และอื่นๆ
วิทยากร ทำหน้าที่บรรยาย อภิปราย หรือถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์
ผู้เข้าร่วมสัมมนา
ด้านงบประมาณ
เหรัญญิกต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายรวมทั้งมีเอกสารเบิกเงินและรายเซ็นผู้รับเงิน
การสรรหางบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินการสัมมนาอาจทำได้โดยงบประมาณจากหน่วยงานที่จัดสัมมนาหรือการขอความสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น
ค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องจัดซื้อควรรู้ราคาซื้อ ขายในตลาดก่อน เพื่อจะไม่เกิดข้อผิดพลาด
ความหมายของการสัมมนา
การสัมมนา คือ
การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ซึ่งกันและกันในระหว่างผู้เข้าร่วมสัมมนา ผลจากการสัมมนาจะช่วยสร้างความเข้าใจที่ดีสร้างความชัดเจนและถูกต้องแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติงานในเรื่องที่สัมมนากันนั้นๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ความหมายการสัมมนา
การชุมนุมของผู้คนเพื่อการอภิปรายหัวข้อที่จะบรรยายการ
ชุมนุมดังกล่าวมักจะเป็นช่วงการโต้ตอบที่ผู้เข้าอบรมมีส่วนรวมในการอภิปรายเกี่ยวกับหัวข้อที่ถูกบรรยาย ซึ่งมักจะผู้บรรยายหรือนำโดยหนึ่งและสองพิธีกรที่ให้การบรรยาย เพื่อนำทางการสนทนาหรือการบรรยายตามเส้นทางที่ต้องการ
A seminar is an advanced group technique which is usually used in higher education. It is an instructional technique it involves generating a situation for a group to have a guided interaction among themselves on a theme.
ลักษณะของการสัมมานาที่ดี
กำหนดจุดมุ่งหมายในการสัมมนาให้แน่ชัดว่าต้องการจะได้ผลอย่างไรในการสัมมนาครั้งนี้
จัดการสัมมนาเพื่อเสริมความรู้และประสบการณ์ใหม่แก่สัมมนาสมาชิก
จัดให้มีโอกาสสัมมนาสมาชิกได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างกว้างขว้าง
สมาชิกได้มีโอกาสร่วมกันแก้ปัญหาที่มีมาก่อนการสัมมนา หรือปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการสัมมนาให้มากที่สุด
มีอุปกรณ์ในกี่สัมมาเพียบพร้อม เช่น หนังสือ เอกสาร สถานที่ วิทยาการ เครื่องมือ โสตทัศนูปกรณ์ เครื่องเขียนและอื่น ๆ ที่จำเป็น
กำหนดช่วงเวลาในการสัมมนาให้เหมาะสมกับหัวข้อปัญหาที่จัดสัมมนา
สัมมนาสมาชิกมีบุคลิกภาพทางประชาธิปไตยสูง กล่าวคือ สมาชิกต้องใจกว้างที่จะรับฟังเหตุและผลของผู้เข้าร่วมสัมมนาอื่นอย่าง
กว้างขวาง แม้ไม่ตรงกับความคิดเห็นของตน
ผู้ดาเนินการจัดการสัมมนามีคุณภาพ มีความเป็นผู้นาและสันทัดจัดเจนในการจัดการสัมมนา
ผลที่ได้รับจากกาจัดการสัมมนาสามารถนาไปเป็นแนวทางทาประโยชน์ได้อย่างแท้จริง อย่างน้อยก็ต้องสามารถคลี่คลายปัญหาที่นำเข้าสู่ การสัมมนาได้
มีการเผยแพร่ผลลการสัมมนาสู่สาธารณชนตามควรแก่กรณ
ประโยชน์ของการสัมมนา
เนตร โพธิ์เขียว
สามารถจัดงานสัมมนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้รับความรู้ แนวคิดมาปรับใช้ในการทำงานและชีวิตส่วนตัว
ผลจากการที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับจากการสัมมนา จะทำให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น
แบ่งเบาภาระการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชา เพราะผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติงาน
เป็นการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้อยู่พร้อมเสมอ
เป็นการส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติงาน
เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
สร้างความเข้าใจอันดีต่อเพื่อนร่วมงาน มีมนุษย์สัมพันธ์ เกิดความร่วมมือ สามารถทำงานได้เป็นทีม
เกิดความกระตือรือร้น กล้าคิด กล้าทำ รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหาการทำงาน ได้เกิดภาวะผู้นำ
เกษกานดา สุภาพจน์
ผู้จัดสัมมนาหรือผู้เรียนสามารถจัดสัมมนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้รับความรู้ แนวคิดจากการสัมมนา สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้
ผลจากการที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้และความสามารถมากขึ้นจากการสัมมมนา ช่วยทำให้ระบบและวิธีการทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
การจัดสัมมนาจะช่วยแบ่งเบาภาระการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชา เพราะผู้ได้บังคับบัญชาได้รับการสัมมนา ทำให้เข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติงานตลอดจนปัญหาต่างๆ และวิธีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนางานให้ได้ผลดี
เป็นการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้พร้อมอยู่เสมอ ที่จะก้าวไปรับตำแหน่งที่สูงกว่าเดิม หรืองานที่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจะไม่รู้สึกลำบากใน การปรับตัว เพราะได้รับความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา
เป็นการส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติงาน เพราะโดยปกติแล้วการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง ผู้ที่ได้รับการสัมมนาย่อมมีโอกาสได้รับการพิจารณาก่อน
เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นผลให้เกิดแรงบันดาลใจมุ่งกระทำกิจกรรมอันดีงามให้สังคม
สามารถสร้างความเข้าใจอันดีงามต่อเพื่อนร่วมงาน มีมนุษย์สัมพันธ์ เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน สามารทำงานเป็นทีมได้เป็นอย่างดี
เกิดความกระตือรือร้น กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ มีความรับผิดชอบ รู้จักยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักใช้ดุลยพินิจวิเคราะห์ปัญหา สามารถแก้ปัญหาในการทำงานและเกิดภาวะผู้นำ
ขั้นตอนการจัดสัมมนา
ขั้นดำเนินการจัดสัมมนา
ลงทะเบียน
เปิดการสัมมนา
จัดประชุมกลุ่มใหญ่
จัดประชุมกลุ่มย่อย
จัดประชุมรวม
ปิดการสัมมนา
ขั้นเตรียมการจัดสัมมนา
ตั้งคณะกรรมการจัดการสัมมนา
คณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
เพื่อพิจารณาหาหัวข้อเรื่องที่จะใช้ในการสัมมนา
เพื่อพิจารณาบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญ ที่เข้าร่วมการสัมมนา
พิธีเปิด พิธีปิดการสัมมนา
เพื่อพิจารณาแผนการและจัดเตรียมขั้นตอนในการดําเนินการ
เพื่อพิจารณาแนวทางในการประชาสัมพันธ์ วิธีการประเมินผล ตลอดจนการเผยแพร่รายงานผลการสัมมนา หรือผลสรุปของการสัมมนาได้อย่างเหมาะสม
เพื่อพิจารณาและเสนอการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ตั้งแต่เริ่มเตรียมงานจนกระทั่งสิ้นสุดการสัมมนา
เพื่อ พิจารณาปัญหาอื่นๆ ที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ในขั้นการเตรียมงาน ขั้นดําเนินการสัมมนา และขั้นหลังการดําเนินการสัมมนา
สำรวจประเด็นปัญหา
นโยบายของหน่วยงาน
อุปสรรคในการทำงาน
ความต้องการของบุคลากรโดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสํารวจความคิดเห็น
แบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์
เขียนโครงการสัมมนา
ชื่อโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
วิทยากร
ระยะเวลา
สถานที่
วิธีการสัมมนา
งบประมาณ
การประเมินผล
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
กำหนดการสัมมนา
ดำเนินงานเตรียมการสัมมนา
โฆษณา/ประชาสัมพันธ์
เชิญวิทยากร
เชิญผู้เข้าร่วมการสัมมนา
ประสานงาน สถานที่ อุปกรณ์
เตรียมงานลงทะเบียน
เตรียมเอกสาร
เตรียมสำหรับพิธีการเปิด-ปิดสัมมนา
ขั้นหลังการจัดสัมมนา
วิเคราะห์ผลการศึกษา
รายงานผู้บังคับบัญชา
รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดำเนินงานงบประมาณ
ติดตามผลและวิเคราะห์
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำมายแมพ
ช่วยการเห็นภาพรวมของความสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดการสัมมนาได้จากกระดาษแผ่นเดียว
ช่วยในการจับประเด็นสำคัญ สรุปสาระสำคัญนำมาสื่อสารให้สามารถเข้าใจมาขึ้น
วัตถุประสงค์ของการสัมมนา
คมสันฐ หัวเมืองลาดและ
มนัสวี ศรีราชเลา, 2563
เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์
เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา
เพื่อฝึกอบรมเรียนรู้ร่วมกัน
เพื่อแสวงหาข้อมูล
เพื่อกำหนดนโยบาย
เพื่อเพิ่มพูนความสามารถ
เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมสัมมนานำหลักวิธีการไปใช้ประโยชน์
ณิรดา เวชญาลักษณ์ ,กศด. การบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ไพโรจน์ เนียมนาค. (2543). การสัมมนาและการฝึกอบรม = Seminar and Training. กรุงเทพฯ : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร.
คมสันฐ หัวเมืองลาดและ มนัสวี ศรีราชเลา. (2563). สื่อการสอน วิชาสัมมนานาฏยศิลป์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Lecture notes on Teaching of Science (Part: Methodology)., Source Book., D.T.Ed., First Year.