Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษา Case study - Coggle Diagram
กรณีศึกษา Case study
Cleft palate เพดานโหว่
พยาธิสภาพ
จะมีรอยแยกบริเวณริมฝีปาก ใต้จมูก เหงือกบนหรือเพดานปาก สามารถเกิดชิ้นแยกกันอย่างใดอย่างหนึ่งหรือร่วมกันทั้งปากแหว่งเพดาน โหว่ ปากแหว่งเพดานโหว่เป็น โรคที่พบตั้งแต่เด็ก และถือเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดอย่างหนึ่งโดยเกิดความผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์มารดา
-
สาเหตุ
- ปัจจัยด้านพันธุกรรม (hereditary/genetic factor)จากการศึกษาความผิดปกติทางครอบครัว (familial line) ในฝาแฝดแท้ พบว่ามากกว่าร้อยละ 70 ของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการโรคอื่น (non-syndromic cleft lip and palate) และอีกร้อยละ 30 เป็นปากแหว่งเพดานโหว่แบบกลุ่มอาการ (syndromic cleft lip and palate)
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (environmental factor) เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างอวัยวะที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับยาหรือสารเคมีบางประเภท การขาดสารอาหาร ตลอดจนการขาดวิตามิน
-
-
-
การวินิจฉัย
1.การอัลตราชาวด์ (UItrasound) คือ การใช้คลื่นเสียงเพื่อจำลองภาพทารกในครรภ์ และแพทย์ทำกรสร้างใบหน้าของทารกเพื่อหาความผิดปกติ สามารถตรวจช่วงสัปดาห์ที่ 13 และอาจตรวจตัวอย่างน้ำคร่ำเพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซม
2.ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด คือ การตรวจลักษณะทางกายภาพของทารกหลังคลอด ในช่วงแรกเกิด เพื่อดูความผิดปกติของร่างกาย
-
-
-
Club foot เท้าปุก
พยาธิสภาพ
โรคเท้าปุกเป็นความปกติของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณเท้าสั้นกว่าปกติทำให้เท้ามีลักษณะผิดรูป ลักษณะเท้าปุกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 เท้าปุกเทียม
เท้าปุกชนิดนี้จะไม่ร้ายแรง เท้าจะไม่เล็กหรือสั้นลง ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด และจะหายได้ดีโดยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ร่วมกับการดัด ดึง หรือการเข้าเฝือก ก็สามารถหายได้ 100%
กลุ่มที่ 2 เท้าปุกแท้
เท้าจะมีความแข็ง และตัวเท้าจะสั้น ส่วนของน่องก็จะเล็กลง สังเกตได้ว่าเท้าจะมีลักษณะการเขย่งของเอ็นร้อยหวาย ลักษณะของเท้ากลุ่มนี้จะต้องได้รับการเข้าเฝือก หรือการผ่าตัดแก้ไข
-
สาเหตุ
-
-ทารกที่เป็นโรคพิการแต่กำเนิดที่มีความผิดปกติของกระดูก อย่างโรคสไปนาไบฟิดา (Spina Bifida) ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อที่เกี่ยวพันรอบกระดูกสันหลังไม่เชื่อมต่อกัน
-
-
-
อาการและอาการแสดง
-เท้าโค้งงอผิดรูป หลังเท้าพลิกลงพื้น และส้นเท้าบิดเข้าด้านใน หากไม่ได้รับการรักษาอาจพบว่าเท้าบิดเข้าด้านในมากขึ้น จนเด็กต้องใช้หลังเท้าเป็นจุดรับน้ำหนักขณะยืนหรือเดิน
-
-
-
ภาวะแทรกซ้อน
-โรคข้ออักเสบ ซึ่งเป็นการอักเสบบริเวณข้อต่อ ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดตามข้อและมีอาการข้อติดแข็ง
-ลักษณะการเดินผิดปกติ เพราะใช้ด้านข้างเท้าหรือหลังเท้าเป็นจุดรับน้ำหนักแทนการใช้ฝ่าเท้า ทำให้ปวดเท้าและใส่รองเท้าไม่ได้ นอกจากนั้น การเดินที่ผิดปกติอาจส่งผลให้เกิดแผลหรือตาปลาที่เท้าตามมาด้วย
-
การวินิจฉัย
โดยปกติแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคเท้าปุกจากการสังเกตลักษณะผิดปกติของเท้าทารกได้ตั้งแต่แรกเกิด หรืออาจต้องใช้การอัลตราซาวด์ตรวจดูลักษณะเท้าของทารกตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์
-
การรักษา
-การดัดเท้าและเข้าเฝือก โดยปกติแพทย์จะแนะนำให้เด็กที่มีอาการไม่รุนแรงให้เข้ารับการรักษาภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด โดยให้เข้าเฝือกแบบพอนเซตี้ (Ponseti Method) คือ การดัดเท้าที่มีลักษณะผิดปกติให้กลับมาเป็นปกติทีละน้อยด้วยการเข้าเฝือกแข็งเพื่อคงรูปเท้าเอาไว้
-การผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่มีเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณเท้าสั้นและตึงจนไม่สามารถดัดเท้าได้ แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดยืดเส้นเอ็นบริเวณเข่าและเท้า หรือผ่าตัดย้ายเอ็นกล้ามเนื้อเพื่อให้สามารถดัดเท้ากลับมาเป็นรูปร่างปกติได้ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่อาจจำเป็นต้องผ่าตัดยืดเส้นเอ็นร่วมกับผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก
-
ข้อมูลพื้นฐาน
Term 40 week
Diagnosis Cleft palate with Dextrocardial with Club foot มีเพดานโหว่ร่วมกับภาวะหัวใจอยู่ข้างขวาร่วมกับมีเท้าปุก