Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เครื่องมือ อุปกรณ์ในงานช่างพื้นฐาน - Coggle Diagram
เครื่องมือ อุปกรณ์ในงานช่างพื้นฐาน
ไขควง (Screwdrivers)
ไขควงเป็นเครื่องมือช่างที่สำคัญอย่างหนึ่ง แม้ว่าจะมีหลายแบบแต่ก็มีไขควงมี 2 ประเภทหลักๆคือ
ไขควงปากแบน (Standard tip Screwdriver)
เป็นไขควงที่ใช้กับสกรูที่มีหัวเป็นร่องผ่า การใช้ไขควงประเภทนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ปากของไขควงกับร่องของสกรูเหมาะสมกัน โดยปากของไขควงจะต้องไม่ใหญ่ หรือเล็กจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อไขควง หรือร่องสกรูได้
ไขควงปากแฉก (Phillips type Screwdriver)
ไขควงประเภทนี้จะใช้กับหัวสกรูที่เป็นร่องจีบสี่เหลี่ยม การใช้ไขควงประเภทนี้จะมีลักษณะการใช้เหมือนกับไขควงปากแบน และที่สำคัญก็คือจะต้องให้ปลายของไขควงเหมาะสมกับหัวของสกรูมากที่สุด
ค้อน (Hammers)
ค้อนหงอน (Hammer tool)
เป็นค้อนที่ใช้สำหรับตอก ส่วนปลายของค้อนหงอนใช้ถอนตะปูได้ นอกจากนี้ยังใช้ค้อนหงอนในการตอกสิ่ว และตอกไม้เวลาทำโครงร่างได้อีกด้วย
ค้อนหัวกลม (Ball Peen Hammer)
เป็นค้อนที่ใช้กันมากที่สุด ลักษณะทั่วไปของค้อนหัวกลมจะมีหน้าเรียบส่วนหน้าตัดจะมีลักษณะกลม ผิวนูนโค้งเล็กน้อยใช้งานได้ทั้งสองหน้า ค้อนหัวกลมจะถูกใช้ในงานเคาะขึ้นรูป และย้ำหมุดทั่วไป
ค้อนไม้ (Mallet)
เป็นค้อนที่ไม่ได้ทำมาจากโลหะแต่ทำจากเนื้อไม้แข็งแทน จึงทำให้มีความยืดหยุ่นดีกว่าเหล็กเมื่อใช้เคาะชิ้นส่วนใด ๆ จึงไม่เกิดความเสียหายหรือเกิดความเสียหายน้อยมาก
ค้อนเดินสายไฟ (Electrician Hammer)
ส่วนใหญ่จะใช้กับงานไฟฟ้า หัวค้อนทำด้วยเหล็กมีปลายด้านหนึ่งหน้าเรียบตรง และอีกด้านหนึ่งแบนแหลมใช้ตอกในที่แคบได้ นอกจากนี้ยังใช้ค้อนเดินสายไฟกับการตอกตะปูเฟอร์นิเจอร์เล็กๆ ได้อีก
– ค้อนยาง (Rubber Hammer)
หัวค้อนทำมาจากยางพารา ทำให้มีคุณสมบัติเหนียวนุ่ม ค้อนยางใช้สำหรับขึ้นรูปชิ้นงานที่มีเนื้ออ่อน หรือใช้ตอกเพื่อรักษาสภาพผิวงาน
ค้อนพลาสติก (Plastic Hammer)
หัวค้อนทำจากพลาสติกแข็ง หน้าตัดมีลักษณะกลมผิวนูนเล็กน้อย บริเวณขอบมนค้อนพลาสติกหัวทั้งสองข้างจะเหมือนกัน มักใช้ตอกเพื่อรักษาสภาพผิวงาน เพียงแต่ว่าหัวค้อนจะสามารถถอดเปลี่ยนได้ และยังมีน้ำหนักในการเคาะชิ้นงานได้
ค้อนปอนด์ (Heavy Hammer)
มีรูปร่างเป็นรูปแปดเหลี่ยมผิวหน้าจะมน และลาดเอียงไปทางขอบมีตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่เหมาะสำหรับใช้งานหนักทั่วไป
คีม (Pliers)
คีมปากจระเข้
เป็นเครื่องมือช่างที่มีลักษณะการนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย ปากคีมมีคมไว้สำหรับตัดด้านข้าง และสามารถใช้จับชิ้นงานได้อยู่ภายในตัวเดียวกัน
คีมปากจิ้งจก
ใช้สำหรับจับโลหะแบนหรือสายไฟ ปากคีมมีลักษณะเรียวแหลม และ มีขนาดเล็ก เหมาะกับการใช้งานในที่แคบ และ งานไฟฟ้า
คีมปากขยาย
ปากคีมมีลักษณะโค้งมน และสามารถขยายออก ลด ให้แคบลงได้ ลักษณะด้านใน จะทำโค้งเว้าไว้ทั้งสองข้างและมีร่องฟัน เพื่อใช้ในการจับ งานกลม บริเวณปลายปากจะแบนเรียบมีร่องฟัน สามารถปรับปากให้แคบ หรือขยายให้กว้างได้ด้วยสลักเกลียว ซึ่งทำหน้าที่เป็นจุดหมุนใช้จับงานทั่วไป ไม่ต้องการความละเอียด หรือ ความประณีตมากนัก เหมาะสำหรับจับงานร้อนและงานที่มีขนาดใหญ่ที่คีมธรรมดาไม่สามารถจับได้ หรือ การใช้งานที่เกี่ยวกับเครื่องกลและงานเครื่องยนต์ประเภทต่างๆ
คีมปากกลม
ปากด้านนอกมีลักษณะกลม ส่วนปากด้านในจะเจียระไนให้มีลักษณะแบนทั้งสองข้าง ด้ามหุ้มด้วยปลอกพลาสติกหุ้มเหมาะสำหรับงานดัด งานที่เป็นรูห่วง หรือดัดห่วง และงานที่มีความละเอียด เช่น งานไฟฟ้า งานอิเล็กทรอนิกส์
คีมตัด
เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้สำหรับงานตัดโดยเฉพาะ ปากคีมมีลักษณะคล้ายกับปากนกแก้ว ส่วนปลายของปากจะมีลักษณะเป็นคมตัดโดยหันขวางกับด้านคม ที่ด้ามจับมีฉนวนหุ้มเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ใช้สำหรับตัดเหล็ก เส้นลวด คีมชนิดนี้ไม่สามารถจับชิ้นงานได้
คีมล็อค
ใช้จับนอตหรือชิ้นงานเพื่อป้องกันการหมุนหรือเลื่อนโดยปากปรับขยายให้กว้างได้ และ ล็อคให้แน่น ออกแบบเป็นพิเศษ ใช้งานเฉพาะ ปลายด้ามมีสกรูปรับ มีแบบธรรมดา แบบปากแหลม แบบใช้งานเชื่อม ใช้สำหรับจับหรือบีบชิ้นงานที่แน่นมาก บีบท่อน้ำยาแอร์
กบไสไม้ (Planing)
ในขณะที่การถือกำเนิดของเครื่องมือไฟฟ้า เช่น เร้าเตอร์ แต่เครื่องมือเหล่านี้ยังคงมีประโยชน์ ช่างไม้บางคนถึงกับชอบพวกเขามากกว่า แม้ว่าเครื่องมือทุกชิ้นในรายการนี้ต้องการการบำรุงรักษา แต่กบไสไม้ก็ไร้ค่าหากไม่มีใบมีดที่คม และเฉียบคม กบไสไม้ เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับช่างไม้ที่จะขาดไม่ได้ ซึ่งกบไสไม้ใช้สำหรับขัดผิวไม้ให้มีผิวที่เรียบ และได้รูปทรงตามต้องการ เช่น วงกบ ประตู หน้าต่าง หรือไม้พื้นประโยชน์หลักๆ ของกบไสไม้คือ ไสไม้ให้ผิวหรือหน้าไม้เรียบ การเรียกชื่อกบมักเรียกตามรูปร่างและลักษณะการใช้งาน ตัวกบอาจทำด้วยไม้หรือด้วยเหล็กก็ได้ กบไสไม้มี 2 แบบหลักๆ คือ กบที่ทำด้วยไม้ และกบที่ทำจากเหล็ก หรือเรียกว่า กบไฟฟ้านั่นเอง
สิ่ว (Chisels)
1 more item...
ค้อน (Mallet)
มีด้ามคล้ายค้อน แต่ใหญ่กว่ามากจะมีคนที่โต้แย้งว่าค้อนเป็นเพียงค้อนอีกแบบหนึ่ง ในทางเทคนิคแน่นอนแต่ข้อแตกต่างที่แท้จริงคือหัวของค้อนซึ่งใหญ่กว่าของค้อนทั่วไป โดยทั่วไปแล้วจะทำจากยางหรือไม้ อย่างไรก็ตาม มีพุกที่ทำจากโลหะหลายชนิดสำหรับงานเฉพาะ ช่างก่ออิฐก็ใช้ค้อนพลาสติกเช่นกัน หัวค้อนที่เป็นโลหะอาจทำให้พื้นผิวที่อ่อนนุ่ม เช่น ไม้สน พื้นไม้ลามิเนต หรือพื้นไม้เสียหายได้ พุกให้แรงทื่อของค้อน แต่ส่งแรงน้อยกว่า ช่วยให้คุณทำงานได้อย่างละเอียดอ่อน
ที่วัดระดับน้ำ (Level)
1 more item...
คีมปอกสายไฟ
เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานต่าง ๆ เกี่ยวกับสายไฟฟ้าทำได้สะดวกขึ้น คีมดังกล่าวออกแบบมาเพื่อการปอกฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มลวดทองแดงอยู่ โดยจะตัดเฉพาะส่วนที่เป็นฉนวนพลาสติกโดยไม่ตัดเส้นลวดทองแดง และยังใช้สำหรับการตัดสายไฟ และใช้ในการย้ำขั้วหางปลาให้ยึดติดกับปลายสายไฟฟ้าได้
ตลับเมตร (Measurement Tape)
รูปลักษณ์ภายนอก การใช้งาน หรือรายละเอียดของเทปตลับเมตร ตัวเลขที่บอกระยะการวัดบางยี่ห้อเริ่มการวัดจากตัวเลข 0 และอีกยี่ห้อเริ่มจากตัวเลข 1 ส่วนใหญ่ที่พบเห็นในปัจจุบันเริ่มจากตัวเลข 1 แต่ก็มีบางยี่ห้อที่ยังเริ่มจากตัวเลข 0 ช่างอาชีพหรือบุคคลทั่วไปที่คงรู้วิธีอ่านค่าเบื้องต้นของตลับเมตรไปแล้ว เพราะถือว่าเป็นพื้นฐาน บางคนอยากศึกษาเกี่ยวกับ ตลับเมตร สัญลักษณ์ หรือองค์ประกอบที่เรียกกัน ตลับเมตรเกือบทั้งหมดมีกลไกสปริงภายในที่จะดึงเทปโดยอัตโนมัติเมื่อคุณใช้งานเสร็จแล้ว และตัวล็อคที่จะเปิดเทปไว้ในขณะที่คุณทำเครื่องหมายสิ่งที่คุณต้องการบนวัสดุของคุณ
ประแจ (Wrenches)
ประแจแหวน ลักษณะเด่นอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน มีลักษณะเป็นแหวนวงกลม ภายในวงแหวนจะมีเขี้ยวประมาณ 6-12 เขี้ยว เพื่อใช้ในการจับเหลี่ยมแป้นเกลียว และสลักเกลียวได้อย่างมั่นคง
ประแจปากตายปากคู่ ปลายทั้งสองด้านมีลักษณะเป็นรูปตัวยู U ซึ่งจะมีขนาดที่ไม่เท่ากัน ประแจชนิดนี้เหมาะกับงานในที่แคบมากที่สุด ในการใช้งานจะต้องระวังอย่าขันแน่นมากเกินไป เพราะจะทำให้สลักเกลียวชำรุดเสียหายได้
ประแจรวม ประแจชนิดนี้ได้รวมเอาประแจแหวนกับประแจปากตายปากคู่เข้าไว้ด้วยกัน โดยที่ด้านหนึ่งมีลักษณะเหมือนกับประแจแหวน ส่วนอีกด้านจะเหมือนกับประแจปากตายปากคู่ ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย ขนาดของหัวประแจจะมีขนาดที่เท่ากันทั้งสองด้าน
ประแจขันฟรี ประแจชนิดนี้สามารถนำไปใช้งานได้เหมือนกับประแจแหวน แต่ลักษณะที่แตกต่างกันจะอยู่ตรงที่ตัวประแจจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือด้ามประแจ และหัวประแจ ในส่วนของด้ามประแจนั้น ปลายด้านหนึ่งจะมีลักษณะเป็นด้ามจับ อีกด้านจะมีลักษณะเป็นหัวต่อ เพื่อนำไปต่อกับหัวประแจอีกทีหนึ่ง ลักษณะพิเศษของหัวต่อ คือสามารถหมุนได้ในทิศทางเดียว ทำให้สะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น ส่วนที่หัวประแจจะมีลักษณะเป็นบล็อกหกเหลี่ยมตามขนาดของแป้นเกลียว หัวประแจนอกจากจะมีลักษณะเป็นบล็อกแล้ว ยังมีลักษณะเป็นรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น หัวเป็นไขควง, ประแจหกเหลี่ยม เป็นต้น
ประแจหกเหลี่ยมหรือประแจแอล ในการเรียกชื่อของประแจประเภทนี้สามารถเรียกได้ 3 แบบคือ หากเป็นแบบอเมริกันจะเรียกว่า “Hex Wrench” หรือ “Allen Wrench” แต่ถ้าเป็นอังกฤษจะเรียกว่า “Allen Key” ลักษณะภายนอกของประแจประเภทนี้ก็คือ มีลักษณะเป็นตัวแอล L โดยลำตัวมีลักษณะเป็นหกเหลี่ยม ประแจประเภทนี้จะถูกนำไปใช้ในการขันนอตที่มีหัวเป็นหลุมหกเหลี่ยมหรือสลักเกลี่ยวที่ทำเป็นหัวกลม ส่วนกลางทำเป็นรูหกเหลี่ยม ซึ่งใช้สำหรับงานที่มีความพิเศษ เช่น สลักเกลียวปรับชิ้นงาน เป็นต้น ข้อควรระวังในการใช้งานคือ ความพอดีของแรงที่ใช้ในการขันจะต้องไม่ออกแรงมากเกินไป
ประแจเลื่อน ประแจชนิดนี้เป็นประแจที่สามารถปรับขนาดได้ เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของแป้นเกลียว การปรับขนาดนั้นจะปรับตรงส่วนที่เป็นสลักเกลียว ซึ่งถือได้ว่าได้ว่าเป็นข้อดีของประแจชนิดนี้ ทำให้สะดวกในการพกพาเพียงตัวเดียวก็สามารถใช้ได้เกือบทุกขนาด เมื่อเทียบกับประแจปากตายแล้วถือว่าสะดวกกว่ามาก แต่จุดด้อยของประแจเลื่อนก็คือ มีปากด้านหนึ่งที่สามารถปรับเข้าออกได้ เป็นผลให้ปากด้านนี้ไม่แข็งแรงในการใช้งานจึงต้องให้ปากประแจด้านที่ไม่เคลื่อนเป็นด้านที่รับแรงมากและปรับขนาดของปากให้แนบสนิทกับแป้นเกลียวทุกครั้ง
เลื่อยมือ (Hand Saw)
เลื่อยลันดา เราจะเห็นเลื่อยชนิดนี้กันบ่อยที่สุด เพราะสามารถใช้ได้ทั้งตัดและงานโกรกไม้ ขึ้นอยู่กับคมฟันของเลื่อยโดยฟันเลื่อยที่ค่อนข้างถี่ 10-12 ซี่ ต่อ 1 นิ้ว มักจะใช้สำหรับตัดขวางเนื้อไม้เพื่อให้เกิดรอยตัดที่เรียบ ส่วนฟันเลื่อยหยาบหรือฟันห่าง 5-6 ซี่ ต่อ 1 นิ้ว สามารถตัดไม้ได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกับงานตัดตามแนวยาวของเนื้อไม้ โดยมีความยาวของใบเลื่อยให้เลือกใช้งานตั้งแต่ 14-28 นิ้ว ตามขนาดของหน้าตัดของไม้
เลื่อยลอ มีลักษณะคล้ายเลื่อยสันแข็งต่างกันที่ด้ามจับซึ่งเป็นด้ามยาว ฟันเลื่อยมีทั้งชนิดหยาบและละเอียด ใบเลื่อยกว้าง 2.5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว 10 นิ้วและ 12 นิ้ว แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ 10 นิ้ว เหมาะสำหรับใช้บากปากไม้เพื่อทำเดือยเข้าไม้แบบต่างๆ และงานไม้ที่ต้องการความประณีตเป็นพิเศษ
เลื่อยฉลุ นิยมใช้ทำงานประดิษฐ์ ใช้กับงานไม้ เหมาะสำหรับงานตัดโค้ง ทำลวดลาย เวลาใช้งานต้องขึงใบเลื่อยกับด้ามและคันเลื่อยให้ตึง ใบเลื่อยมีขนาดค่อนข้างเล็กมากเหมือนเส้นลวด มีความอ่อนตัว เหมาะกับชิ้นงานที่มีขนาดไม่ใหญ่ ไม่หนา มากนัก
เลื่อยตัดเหล็ก เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดเหล็ก มีลักษณะคล้ายเลื่อยฉลุ แต่คันเลื่อยโค้งไม่มาก การใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ตัดโลหะทั่วไป อาทิ ตะปู น็อต สกรู เหล็กฉาก หรือ ท่อพีวีซี ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแถบยาว ปลายใบเลื่อยทั้ง 2 ข้าง ติดกับปลายและโคน คันเลื่อย ขนาดยาวตามมาตรฐาน 12 นิ้ว เหมาะสำหรับที่มีพื้นที่จำกัด สามารถเปลี่ยนใบเลื่อยได้
เลื่อยหางหนู หรือ เลื่อยฉลุฝ้า ใช้เลื่อยชิ้นงานเป็นแนวโค้ง หรือวงกลมและลวดลายต่างๆ ใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกสามารถใช้เจาะฝ้าหรือผนังยิปซั่มได้ ใบเลื่อยมีขนาดเล็ก โคนใหญ่มีมือจับ ปลายใบเลื่อยเรียว แหลม เล็ก สามารถถอดเปลี่ยนใบเลื่อยได้
เลื่อยคันธนู เป็นเลื่อยที่มีลักษณะคล้ายคันธนู เหมาะสำหรับใช้เลื่อยตัดกิ่งไม้ทั้งไม้สด และแห้ง หรือตัดต้นไม้เป็นท่อนๆเพื่อการเคลื่อนย้ายสำหรับงานก่อสร้าง ใบเลื่อยผลิตจากเหล็กกล้าและชุบแข็งที่ฟันเลื่อย จึงมีความคมและแกร่งเป็นพิเศษ สามารถตัดชิ้นงานได้ทั้งจังหวะเลื่อยขึ้น และลง โดยมีให้เลือกหลายขนาด อาทิ 12 นิ้ว21 นิ้ว24 นิ้วหรือ 30 นิ้ว
เลื่อยตัดกิ่งไม้ ใช้ตัดแต่งกิ่งไม้ ตัดก่อไผ่ ฯลฯ ด้วยลักษณะความโค้งของคมเลื่อย และฟันเลื่อย จึงทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถตัดแต่งกิ่งไม้ในที่สูงได้ โดยต่อด้ามเลื่อยเข้ากับลำไม้ไผ่ แค่นี้เราก็ไม่ต้องปีนต้นไม้ให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย
คัตเตอร์ (Cutter)
เครื่องมือช่างที่ขาดไม่ได้อีกอย่างในรายการคือ คัตเตอร์ มีดขนาดเล็กที่มีไว้สำหรับตัด กรีด ใบมีดบางเลื่อนออกจากด้ามที่ครอบอยู่ ซึ่งหลายคนอาจจะเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับคัตเตอร์มาอย่างแน่นอน เพราะยิ่งคัตเตอร์เป็นอุปกรณ์เครื่องมือที่เราใช้กันมานาน และใช้งานอยู่บ่อยครั้ง ยิ่งทำให้เราละเลยเรื่องความปลอดภัยในการใช้งาน เพราะฉะนั้นเราต้องยิ่งให้ความสำคัญในการใช้งานให้ปลอดภัยดีกว่า ใบมีดสามารถเปลี่ยนได้ง่ายเมื่อใบมีดทื่อ หากคุณกลัวว่าจะตัดบางสิ่งที่ลึกเกินไป ให้ดึงใบมีดกลับเข้าไปแล้วล็อคเข้าที่เพื่อหั่นให้ตื้นขึ้น เราจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าใส่มีดนี้กลับเข้าไปในกระเป๋าเครื่องมือหรือกระเป๋าของคุณโดยไม่ได้ดึงใบมีดกลับเข้าที่ และต้องแน่ใจว่าได้เก็บใบมีดคมไว้ในมีด
ขวาน (Axe)
เป็นเครื่องมือที่มีมาแต่อดีต ใช้ในการตัดไม้ หรือหั่นไม้ รวมไปถึงการใช้เป็นอาวุธ โดยทั่วไปขวานจะประกอบด้วยสองส่วนหลักคือ ส่วนหัว และส่วนด้ามจับ โดยจะเห็นได้ว่าขวานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับลิ่ม ที่ใช้ในการผ่อนแรง ขวานในสมัยโบราณ ส่วนหัวทำจากหิน และผูกเข้ากันกับด้ามไม้ ในขณะที่ขวานในยุคปัจจุบันส่วนหัว จะสร้างจากเหล็กและด้ามจับไม้ โดยขวานจะมีทั้งแบบที่ด้ามยาว และแบบด้ามสั้นขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งานของขวานนั้น ๆ ดังนั้นการเลือกของคุณจะถูกควบคุมโดยงานที่คุณทำ สำหรับการทำงานกับไม้เพียงอย่างเดียว ก็มีแกนหลายแบบ เลือกขวานขนาดเล็กที่ถือได้ง่ายด้วยมือเดียว และพกพาสะดวก สามารถจัดเก็บได้มากกว่าด้ามขนาดใหญ่ การหาเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับงานนั้นซับซ้อนกว่าเล็กน้อยเมื่อพูดถึงขวาน เพราะมีเครื่องมือหลายประเภทที่แตกต่างกันออกไป แต่นั่นก็หมายความว่าสิ่งที่คุณต้องเลือกในที่สุดจะเป็นสิ่งที่คุณต้องการอย่างแท้จริงนั่นเอง
แท่งแงะ (Pry Bars)
แท่งแงะเป็นเครื่องมือที่ต้องใช้มือและไม่ต้องใช้ไฟฟ้า มีหลายขนาดและหลายสไตล์ งานก่อสร้างส่วนใหญ่มีงานหลายงานในสถานที่เพื่อให้แถบแงะที่เหมาะสมสามารถใช้เพื่อทำให้งานเร็วขึ้น แถบแงะ เป็นเครื่องมืออเนกประสงค์ที่ใช้งานได้หลากหลายสำหรับงานก่อสร้าง และงานหลังคา โดยทั่วไปแล้วจะมีปลายตรงด้านหนึ่ง และปลายโค้งหนึ่งด้าน และปลายแต่ละด้านมีก้ามปูที่มักใช้เพื่อช่วยในการถอดต่างๆ สิ่งเหล่านี้ใช้ในการก่อสร้างบ่อยกว่าในการรื้อถอน ซึ่งต่างจากชะแลงซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นเครื่องมือในการรื้อถอน งัดแงะมีหลายขนาดแต่โดยทั่วไปจะเล็กกว่าชะแลง พวกมันใช้งานได้หลากหลายและบางครั้งก็ให้ความยาวที่ปรับได้ ทำให้มีแรงบิดมากหรือน้อยในการงัดจริง
ตะไบ (Rasp)
เครื่องมือที่ทำมาจากเหล็กกล้าคาร์บอนสูง ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการขัดแต่งผิว หรือปาดหน้าชิ้นงานที่ต้องการขจัดเนื้อโลหะทิ้งไปไม่มากนัก ดังนั้น การตะไบ ก็คงจะหมายถึง การตัดเฉือนผิววัสดุงานออกในลักษณะการถากหรือขูดเพื่อลดขนาดของชิ้นงานหรือเพื่อปรับแต่งชิ้นงานให้เรียบร้อยตามความต้องการ ตะไบ เป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานที่ทำจากเครื่องมือ โดยการนำไปขึ้นรูปแล้วนำไปชุบแข็ง ที่ผิวหน้าของตะไบจะมีคมตัดที่เรียกว่า ฟันตะไบ โดยที่ฟันตะไบเหล่านี้จะเรียงเป็นแถวขนานกันไปตลอดความยาวก้านของตะไบ และแถวของตะไบนี้จะทำมุมเอียงกับขอบตะไบด้วย ลักษณะของฟันตะไบที่ใช้กันอยู่ทั่วไป สามารถแบ่งแบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
คมตัดหยาบ ฟันเป็นยอดแหลมคล้ายบุ้ง เหมาะสำหรับขัดแต่งวัสดุอ่อนอย่าง อะลูมิเนียม
ลักษณะของฟันชนิดนี้จะเป็นรูปโค้งมีระยะห่างระหว่างฟันมาก เวลาใช้งานเศษวัสดุจะไม่ติดร่องฟัน ใช้ทำงานตกแต่ง วัสดุนี้มีลักษณะโค้งนูนจึงสะดวกกว่าแบบอื่นมากครับ
ลักษณะคมตัดเดี่ยว จะเป็นลักษณะร่องฟันมีแถวเดียว ซึ่งจะทำมุมกับแนวยาวของหน้าตะไบ
ลักษณะคมตัดคู่ จะแตกต่างกับลักษณะแรกตรงที่ร่องฟันจะตัดกัน ปลายคมตัดจะมียอดแหลมสามารถตัดเฉือนวัสดุได้ดีกว่า
ลักษณะคมตัดเป็นรูปโค้ง
ปากกาจับชิ้นงาน (Vise)
ปากกาจับชิ้นงานตั้งโต๊ะ มีลักษณะเป็นท่อนเหล็กสองท่อนประกอบเข้าด้วยกัน โดยเหล็กชิ้นแรกเป็นฐานใช้ยึดกับโต๊ะ มีช่องสำหรับให้เหล็กชิ้นที่สองประกอบเข้าไปได้ ส่วนด้านบนของท่อนเหล็กสองชิ้นจะมีเหล็กหนาผิวหน้าเรียบสองแผ่นเป็นตัว จับชิ้นงาน มีด้ามหมุนเข้า-ออก เป็นกลไกให้เหล็กหน้าเรียบทั้งสองชิ้นประกบเข้า-ออก ด้วยกันอย่างแนบสนิท แข็งแรง และปลดออก
ได้รวดเร็วเป็นระบบที่ไม่ซับซ้อนใช้งานง่าย เหมาะกับจับชิ้นงานเหล็กและงานไม้
ปากกาจับชิ้นงานบนแท่นเครื่องมิลลิ่ง เป็นปากกาจับชิ้นงานที่ออกแบบมาเพื่อใช้บนแท่นเครื่องกัดเพราะมี โครงสร้างที่แข็งแรง มีลักษณะตัวเครื่องและขากรรไกรทำจากเหล็กติดบนแท่นเครื่องกัด จึงมีความแกร่งช่วยรับแรงตัดได้ดี เหมาะสำหรับจับยึดชิ้นงานเพื่อทำการกัดและการเจาะ สามารถใช้ได้กับวัสดุที่หลากหลาย เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม พลาสติก ไม้
ปากกาจับงานแบบปรับองศาได้ เป็นอุปกรณ์จับชิ้นงานที่สามารถปรับมุมเอียงซ้าย-ขวา เพื่อปรับองศาให้เข้ากับรูปทรงชิ้นงานได้ ลักษณะเป็นท่อนเหล็กมีควอดรันต์บอกองศาติดอยู่ด้านข้างตัวเครื่องมือ ช่วยให้ผู้ใช้ปรับองศาชิ้นงานได้ตามต้องการ คุณสมบัติเด่นคือ ตัวเครื่องหลักสามารถปรับมุมได้ 90 องศา ในขณะที่ฐานยังคงติดอยู่กับที่บนโต๊ะงาน การเอียงนี้ช่วยให้ผู้ใช้วางชิ้นงา ในตำแหน่งที่สะดวก เหมาะกับงานตัด เลื่อย เจาะรีม หรือการกัด ใช้ได้กับวัสดุที่หลากหลาย เช่น อะลูมิเนียม พลาสติก โลหะ เหล็ก ไม้
ปากกาจับไม้หัวโต๊ะ มีโครงสร้างที่ทำจากโลหะ เป็นอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งเข้ากับขอบของหัวโต๊ะเมื่อใช้งาน ใช้สำหรับ จับไม้ในการตัดหรือเลื่อย มีขากรรไกรที่กว้างทำให้ทนต่อแรงบีบได้มากจึงช่วยลดการแตกร้าวของไม้ขณะทำงานได้ เหมาะสำหรับการตัด หรือเลื่อยไม้ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ทั้งในครัวเรือนและในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้
ทั่ง (Anvils)
ทั่งเป็นเครื่องมืออเนกประสงค์อย่างเหลือเชื่อ แม้แต่ทั่งที่เล็กที่สุดก็หมายความว่าไม่ใช่เครื่องมือช่าง แต่เมื่อคุณต้องการทั่ง ก็ไม่มีตัวเลือกอื่นที่ใช้งานได้ ทั่งมักใช้ในงานโลหะ และช่างตีเหล็กโดยทั่วไป ทั่งเป็นอุปกรณ์หนักที่ใช้ปั้นโลหะ เมื่อวางโลหะร้อนไว้ด้านบน เช่น ดาบหรือ มีดตรงออกจากเตา ผู้ใช้จะตีโลหะร้อนด้วยค้อนทุบให้เข้ารูปกับทั่ง รูปร่างปกติของทั่ง คือการมีปลายด้านหนึ่งเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส และอีกด้านหนึ่งเป็นปลายมนเพื่อให้สามารถทำงานต่างๆ บนทั่งได้ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังพยายามรีดรอยพับบนโลหะที่คุณกำลังขึ้นรูป คุณจะใช้ปลายสี่เหลี่ยมจัตุรัสเนื่องจากมุมที่คมของมันจะช่วยให้คุณพับโลหะที่ร้อน และอ่อนได้ทับไว้ด้วยทั่งที่ใหญ่กว่าจะดีกว่า ยิ่งทั่งของคุณมีมวลมาก (ยิ่งใหญ่ ยิ่งหนัก) ยิ่งสามารถทุบค้อนได้ดีเท่านั้น ในทางกลับกัน พลังงานของคุณจะกระจายไปในงานของคุณมากขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือ ยิ่งทั่งที่หนักกว่า คุณก็จะต้องใช้แรงน้อยลงในการขึ้นรูปโลหะของคุณ
กรรไกร (Scissors)
กรรไกรมีประเภทเฉพาะสำหรับงานเฉพาะ มากกว่าเครื่องมืออื่นๆ ในที่นี้ การใช้กรรไกรที่ไม่ถูกต้องจะทำให้ทั้งเครื่องมือ และงานของคุณเสียหาย วัสดุที่ใช้ในกรรไกร และโครงร่างของใบมีด หรือความยาวของด้ามจับเป็นสิ่งที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะของคู่ โดยทั่วไปสามารถจำแนกประเภทของกรรไกร และลักษณะการใช้งานได้ดังนี้ กรรไกรมาตรฐานทั่วไป ใช้สำหรับตัดวัสดุขนาดบาง เช่น กระดาษ พลาสติก เชือกฟาง ภาพถ่าย ริบบิ้น หรือวัสดุอื่นๆ ตามความเหมาะสม กรรไกรใบมีดขนาดยาว ใช้ตัดวัสดุที่มีขนาดใหญ่และหนาได้ดี เช่น ผ้า กระดาษแผ่นใหญ่ แผ่นโลหะทั่วไป เป็นต้น กรรไกรอเนกประสงค์ ใช้ตัดวัสดุของแข็งได้ดี เช่น สายไฟ ลวด พรม สังกะสีแผ่นบาง และตัดกิ่งไม้ เป็นต้น กรรไกรก้ามปู ใช้ในงานฝีมือ เช่น ตัดเส้นด้าย เส้นไหม เป็นต้น
แคลมป์ (C-Clamps)
แคลมป์เป็นอุปกรณ์หนีบชนิดหนึ่งที่ใช้ยึดวัสดุเข้าที่ โดยปกติแล้วจะเป็นไม้หรือโลหะ แคลมป์เหล่านี้ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น งานไม้ งานเชื่อม ยานยนต์ และอื่นๆ เป็นที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าแคลมป์ C ได้รับการตั้งชื่อตามความคล้ายคลึงระหว่างรูปลักษณ์ของแคลมป์กับตัวอักษร “C”แคลมป์ C บางครั้งเรียกว่า G-clamp เพราะเมื่อรวมสกรูแล้ว แคลมป์จะดูเหมือนตัวอักษร “G” ที่หนีบมีความคล้ายคลึงกันกับตัวอักษรเหล่านี้ แต่เดิมที่หนีบ C เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Carriage Clamp และคำว่า “Carriage” ถูกย่อให้เหลือเพียงแค่ตัวอักษร “C” ใช้แคลมป์โดยหมุนสกรูผ่านด้านล่างของเฟรมแคลมป์จนกว่าจะถึงปริมาณแรงดันที่จำเป็นในการจับชิ้นงาน หากแคลมป์ถูกขันให้แน่น ชิ้นงานที่ยึดจะยึดไว้ระหว่างปลายแบนของสกรูกับปลายแบนของเฟรม อย่างไรก็ตาม หากแคลมป์คลาย จะต้องปล่อยแรงจำนวนมากเพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายวัตถุคงที่เหล่านั้นได้ C-clamps หรือที่เรียกว่า G-clamps ประกอบด้วยเฟรมรูปตัว C ความกว้างคงที่และสกรูแบบปรับได้ที่สามารถขันหรือคลายเพื่อยึดชิ้นงานให้แน่น
ชะแลง (Crowbar)
ชะแลงมีลำตัวโค้งมน และมักจะยาวกว่าและหนักกว่าไม่เหมือนกับแท่งแงะ มักเป็นเครื่องมือในการรื้อถอน ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกว่าแถบทำลายล้าง และไม่ใช่เครื่องมือสำหรับงานละเอียดอ่อน
โดยทั่วไปแล้วจะหนักกว่าแท่งงัดแบบแบน ทำให้เป็นตัวเลือกที่ดีกว่าระหว่างสองแท่งสำหรับการจัดการกับวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่า คุณอาจได้ยินชะแลงที่เรียกกันว่าก้ามปูหรือคอห่าน ท่ามกลางชื่อเล่นอื่นๆ ชะแลงมีไว้สำหรับงัดหินหลวม สำหรับการขยับของหนัก สำหรับการทุบกระจกหรือ ผนังได้ แม้ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ดีและใช้งานได้หลากหลาย แต่ก็เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันทั่วไปน้อยกว่าเครื่องงัดแงะที่คล้ายกันนั่นเอง