Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 4 ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ - Coggle Diagram
หน่วยที่ 4 ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ
บทที่ 3 ภัยธรรมชาติ
แนวคิดสำคัญ - น้ำท่วม การกัดเซาะชายฝั่ง ดินถล่ม แผ่นดินไหว และสึนามิ เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในบางบริเวณของโลกซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ภัยบางอย่างเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ภัยบางอย่างเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน มนุษย์ควรเฝ้าระวังและเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติดังกล่าว
ตรวจสอบความรู้เดิม
บริเวณที่อยู่อาศัยหรือในชุมชนของนักเรียนมีการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด - ไม่มีเพราะบริเวณที่อยู่อาศัยหรือชุมชนที่อาศัยไม่ได้อยู่ติดชายฝั่ง หรือไม่มีเพราะถึงแม้ว่าบริเวณที่อยู่อาศัยหรือชุมชนที่อาศัยจะอยู่ติดชายฝั่งแต่คลื่นทะเลที่พัดมาไม่ได้มีความรุนแรงมากหรือมีเพราะบริเวณที่อยู่อาศัยหรือชุมชนที่อาศัยอยู่ติดชายฝั่งและคลื่นทะเลที่พัดมามีความรุนแรงมาก จนทำให้ชายฝั่งถูกกัดเซาะจนแนวชายฝั่งถอยร่นออกไปจากตำแหน่งเดิมและทำความเสียหายให้แก่สิ่งที่ปลูกสร้างหรือที่อยู่อาศัย
ดินถล่มเกิดขึ้นได้ทุกพื้นที่หรือไม่ - ดินถล่มไม่ได้เกิดขึ้นทุกพื้นที่แต่จะเกิดเฉพาะบริเวณที่ลาดเชิงเขา บริเวณภูเขา หรือพื้นที่ที่มีความลาดชัน
ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวบ้างหรือไม่และได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง - ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอยู่หลายบริเวณ เช่น ที่จังหวัดตาก กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวทำให้สิ่งปลูกสร้างและเส้นทางคมนาคมในพื้นที่เกิดความเสียหาย
ประเทศไทยเคยได้รับผลกระทบจากสึนามิหรือไม่ อย่างไร - บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยในบางจังหวัด เคยได้รับผลกระทบจากสึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 สึนามิที่พัดเข้าชายฝั่งในครั้งนั้นทำให้ที่พักอาศัยและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ถูกสึนามิซัดให้พังทลายลง ทำให้สภาพแวดล้อมบริเวณชายฝั่งและบริเวณใกล้เคียงเกิดความเสียหาย และมีประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก
นักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรถ้าเกิดภัยธรรมชาติต่างๆ ดังกล่าว - เช่น ภัยธรรมชาติบางอย่างอาจมีสัญญาณบอกเหตุก่อนเกิดภัยธรรมชาตินั้นๆ เราควรติดตามสถานการณ์ และติดตามประกาศเตือนภัยต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเตรียมตัววางแผนรับภัยธรรมชาติได้ทันท่วงที
ภัยธรรมชาติแต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร
น้ำท่วม
เป็นเหตุการณ์ที่ระดับน้ำสูงกว่าระดับปกติจนไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่
ส่วนใหญ่เกิดต่อเนื่องจากฝนตกหนัก
การกัดเซาะชายฝั่ง
แผ่นดินบริเวณบางส่วนค่อยๆ หายไป
ดินถล่ม
ส่วนใหญ่เกิดต่อเนื่องจากฝนตกหนัก
เป็นการเคลื่อนที่ของมวลดินหรือมวลหินลงมาตามแนวลาดชัน
แผ่นดินไหว
เป็นการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน
สึนามิ
เป็นคลื่นในทะเลที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
เมื่อคลื่นที่เข้าสูงชายฝั่ง คลื่นจะมีขนาดใหญ่ขึ้น
เรื่องที่ 1 รู้จักภัยธรรมชาติ
ตรวจสอบความรู้เดิม
สึนามิเกิดขึ้นที่ใด และพื้นที่บริเวณใดที่จะได้รับผลกระทบจากสึนามิบ้าง - สึนามิเกิดขึ้นในทะเล สึนามิสามารถเคลื่อนที่ผ่านทะเลหรือมหาสมุทรได้เป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตร เมื่อเคลื่อนที่เข้าสู่ชายฝั่งจะทำให้บริเวณชายฝั่งและพื้นที่ใกล้เคียงได้รับผลกระทบ
สึนามี มีลักษณะของภัยธรรมชาติเหมือนกับน้ำท่วมและการกัดเซาะชายฝั่งหรือไม่ อย่างไร - สึนามิมีลักษณะแตกต่างจากน้ำท่วมและการกัดเซาะชายฝั่ง โดยสึนามิเป็นคลื่นในทะเลที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงและมีพลังงานมาก เมื่อเคลื่อนเข้าสู่ชายฝั่งจะเปลี่ยนเป็นคลื่นขนาดยักษ์ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขึ้น แต่น้ำท่วมเกิดบนฝั่งเป็นเหตุการณ์ที่น้ำในพื้นที่หนึ่งๆ มีระดับสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดในพื้นที่ราบ ริมแม่น้ำ ที่ราบน้ำท่วมถึง บริเวณที่ลาดเชิงเขาหรือบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม และการกัดเซาะฝั่งเป็นการกร่อนของตะกอนบริเวณชายฝั่ง
ผลกระทบที่เกิดจากสึนามิและดินถล่ม เหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร - ผลกระทบที่เกิกจากสึนามิและดินถล่มมีความแตกต่างกัน โดยสึนามิส่งผลกระทบเป็นบริเวณกว้างกว่าดินถล่ม สึนามิส่งผลกระทบต่อบริเวณชายฝั่งและพื้นที่ใกล้เคียงชายฝั่ง ส่วนดินถล่มส่งผลเฉพาะบริเวณที่ลาดเชิงเขา หรือพื้นที่ราบที่อยู่ติดกับภูเขา
ขั้นฝึกทักษะการอ่าน
สึนามิที่เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เกิดจากสาเหตุใด - เกิดจากแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงใต้พื้นมหาสมุทรทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
ผลกระทบของสึนามิในครั้งดังกล่าวมีอะไรบ้าง - บ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างบริเวณชายฝั่งถูกสึนามิพัดพาไป ทำให้ประชาชนบริเวณชายฝั่งไม่มีที่อยู่อาศัยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้สิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งได้รับความเสียหายอย่างมาก
สรุป - ภัยธรรมชาติเป็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม บางครั้งภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมาก เช่น การเกิดสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งส่งผลกระทบให้ประเทศต่างๆ ที่มีบริเวณติดกับชายฝั่งได้รับความเสียหาย และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
รู้หรือยัง
1.ภัยธรรมชาติมีอะไรบ้าง - ภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม การกัดเซาะชายฝั่ง ดินถล่ม แผ่นดินไหว สึนามิ
2.สึนามิส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไรบ้าง - สึนามิสามารถพัดพาบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างบริเวณชายฝั่งให้พังเสียหาย ทำให้ประชาชนที่อยู่บริเวณชายฝั่งไม่มีที่อยู่อาศัยและเสียชีวิตจำนวนมาก และทำให้สิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งได้รับความเสียหายอย่างมาก
กิจกรรมที่ 1 ปฏิบัติตนอย่างไรให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ
ตรวจสอบความรู้เดิม
"ภัยธรรมชาติบนโลกมีอยู่มากมาย แม้ว่าภัยธรรมชาติจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่หากเรามีการจัดการที่ดีก็ช่วยลดความเสียหายให้น้อยลงได้ การรับมือกับภัยธรรมชาติทุกคนต้องร่วมมือกัน เพื่อลดความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินให้น้อยที่สุด" จากข้อความนี้นักเรียนจะมีส่วนช่วยลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากธรรมชาติได้อย่างไร - ลักษณะของภัยธรรมชาติต่างๆ จะมีลักษณแตกต่างกัน เราจึงควรสังเกตสัญญาณเตือนภัย ติดตามสถานการณ์รอบตัวและติดตามการประกาศเตือนภัยต่างๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อเตรียมตัววางแผนรับภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น และจะได้ช่วยกันระมัดระวัง ช่วยกันแจ้งเตือนเพื่อจะได้ปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
คำถามหลังทำกิจกรรม
ภัยธรรมชาติต่างๆ มีลักษณะและมีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร - ภัยธรรมชาติต่างๆ มีลักษณะแตกต่างกัน และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน เช่น น้ำท่วมมีทั้งน้ำล้นตลิ่ง น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ซึ่งผลกระทบก็จะเกิดในพื้นที่ที่มีลักษณะแตกต่างกัน หรือดินถล่มเป็นการเคลื่อนที่ของมวลดินหรือหินลงมาตามแนวลาดชันของพื้นที่ ซึ่งมวลดินหรือหินที่ถล่มลงมาก็อาจทำให้สิ่งปลูกสร้างพังเสียหายได้หรือแผ่นดินไหวเป็นการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน แรงสั่นสะเทือนอาจทำให้สิ่งปลูกสร้างพังทลายลงได้
ข้อมูลสำคัญในการรับมือและการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ คืออะไร - ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของภัยธรรมชาติ สัญญาณเตือนภัย บริเวณที่เกิดภัยธรรมชาติ ผลกระทบของภัยธรรมชาติ และการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ ทั้งก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัยและหลังเกิดภัย
สรุป
ภัยธรรมชาติต่างๆ มีลักษณะ มีสาเหตุการเกิด บริเวณที่เกิด และมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน การเฝ้าระวังและการปฏิบัติให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติต่างๆ จึงควรปฏิบัติให้สอดคล้องกับลักษณะของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น
ความรุนแรงของภัยธรรมชาติและผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมจะมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ช่วงเวลา และการเปลี่ยนแปลงใต้ผิวโลกในบางบริเวณ
ภัยธรรมชาติบางอย่างอาจมีสัญญาณบอกเหตุก่อนเกิดภัยนั้นๆ จึงควรติดตามสถานการณ์ และการประกาศเตือนภัยต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเตรียมตัววางแผนรับภัยธรรมชาติได้ทันท่วงที และปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ฉันรู้อะไร
1.สึนามิและน้ำท่วมมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร - สึนามิและน้ำท่วมมีลักษณะแตกต่างกัน กล่าวคือ สึนามิเป็นคลื่นในทะเล ส่วนน้ำท่วมเป็นน้ำในพื้นที่บนบกที่มีระดับน้ำสูงกว่าปกติหรือมีปริมาณน้ำมากเกินกว่าที่แหล่งกักเก็บน้ำจะกักเก็บไว้ได้ หรือน้ำที่ไหลเข้าท่วมพื้นที่จากการไหลบ่ามาจากพื้นที่ลาดชัน
2.สัญญาณบอกเหตุล่วงหน้าของดินถล่ม แผ่นดินไหว และสึนามิ มีอะไรบ้าง
สัญญาณบอกเหตุดินถล่ม เช่น มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำในลำห้วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว น้ำในลำห้วยมีสีขุ่นหรือมีสีเดียวกับดินภูเขา มีเสียงดังผิดปกติมาจากภูเขาหรือลำห้วย มีต้นไม้ขนาดเล็กไหลลงมาพร้อมกับน้ำ
สัญญาณบอกเหตุแผ่นดินไหว เช่น น้ำในแม่น้ำมีสีขุ่นกว่าปกติ ระดับน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ
สัญญาณบอกเหตุสึนามิ เช่น ระดับน้ำทะเลลดลงจนเห็นชายหาดถอยร่นลงไปในทะเลเป็นระยะทางหลายร้อยเมตร
3.ถ้าหากมีพายุหรือฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง อาจมีภัยธรรมชาติใดเกิดขึ้นตามมา ควรเฝ้าระวังและปฏิบัติตนอย่างไรให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติดังกล่าว
อาจมีน้ำท่วมและดินถล่มตามมาได้ ให้สังเกตว่าระดับน้ำในลำห้วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหรือไม่ น้ำมีสีขุ่นหรือมีสีเดียวกับดินภูเขาหรือไม่ หรือมีเสียดังผิดปกติมาจากภูเขาหรือลำห้วยหรือไม่ มีต้นไม้ขนาดเล็กไหลลงมาพร้อมกับน้ำหรือไม่
ควรศึกษาแผนอพยพและวิธีการปฐมพยาบาล ติดตามข่าวการพยากรณ์ เตรียมชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินให้พร้อม ศึกษาเส้นทางการอพยด
ถ้าเกิดน้ำท่วมให้งดใช้เครื่องไฟฟ้า ถอดปลั๊กไฟฟ้า ถ้าเดินในน้ำให้สวมรองเท้าบูธ กินอาหารและน้ำที่สะอาด เมื่อสัมผัสน้ำท่วมให้ล้างให้สะอาด และถ้าเกิดดินถล่ม ถ้าอยู่ในบ้านให้หาที่กำบังที่แข็งแรง ถ้าบ้านมีหลายชั้นให้หลบในที่กำบังชั้นบน การหนีภัยให้เลี่ยงแนวการถล่มลงมาของดินหรือหิน ห้ามว่ายน้ำหนีเพราะอาจกระแทกกับหินหรือซากต้นไม้ที่ไหลมาตามน้ำ
4.เมื่อเกิดแผ่นดินไหว อายมีภัยธรรมชาติใดเกิดขึ้นตามมา ควรเฝ้าระวังและปฏิบัติตนอย่างไรให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติดังกล่าว
ถ้าเกิดแผ่นดินไหวใต้พื่นมหาสมุทรอาจมีสึนามิตามมาได้ (แต่สึนามิไม่ได้เกิดขึ้นทุกครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวใต้พื้นมหาสมุทร ให้ฟังประกาศเตือนภัย) ถ้าอยู่ติดชายฝั่งให้สังเกตระดับน้ำทะเลว่ามีการลดลงจนเห็นชายหาดถอยร่นลงไปในทะเลเป็นระยะทางหลายร้อยเมตรหรือไม่ ติดตามข่าวสาร ศึกษาแผนอพยพขึ้นสู่ที่สูงโดยรวดเร็วที่สุด และศึกษาวิธีการปฐมพยาบาล เตรียมชุดอุปกรณ์ฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุสึนามิให้รีบหนีขึ้นที่สูงที่สุดที่ปลอดภัยและอยู่ให้ห่างจากชายฝั่ง ห้ามลงไปบริเวณชายหาดในทันที ให้รอจนมีประกาศยกเลิกการแจ้งเตือนภัยและยุติสภานการณ์
ถ้าอยู่บริเวณที่ลาดเชิงเขาอาจเกิดดินถล่ม ถ้าอยู่ในบ้านให้หาที่กำบังที่แข็งแรง ถ้าบ้านมีหลายชั้นให้หลบในที่กำบังชั้นบน การหนีภัยให้เลี่ยงแนวการถล่มลงมาของดินหรือหิน
5.จากกิจกรรมนี้ ค้นพบอะไรบ้างเกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ
น้ำท่วม การกัดเซาะชายฝั่ง ดินถล่ม แผ่นดินไหว และสึนามิ เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในบางบริเวณของโลก ภัยธรรมชาติต่างๆ จะมีลักษณะและมีสาเหตุการเกิดแตกต่างกัน นอกจากนั้นภัยธรรมชาติบางอย่างจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และภัยธรรมชาติบางอย่างเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน มนุษย์ควรเฝ้าระวังและเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติดังกล่าว
6.จากสิ่งที่ค้นพบ สรุปได้ว่าอย่างไร
ภัยธรรมชาติต่างๆ มีลักษณะของภัยธรรมชาติ การเกิดภัยธรรมชาติ และมีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ภัยธรรมชาติบางอย่างอาจมีสัญญาณบอกเหตุก่อนเกิดภัยนั้นๆ จึงควรติดตามสถานการณ์และติดตามประกาศเตือนภัยต่างๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อเตรียมตัววางแผนรับภัยธรรมชาติได้ทันท่วงที และสามารถนำไปปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
กิจกรรมท้ายบทที่ 3
ลมบก ลมทะเล มรสุม และปรากฏการณ์เรือนกระจกเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างไร
ลมบก ลมทะเล และมรสุม เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นดินและอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นน้ำ จึงเกิดการเคลื่อนที่ของอากาศากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง
ลมบก ลมทะเล มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมตรงบริเวณชายฝั่ง ส่วนมรสุมมีผลต่อการเกิดฤดูของประเทศไทยซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณฝนและอุณหภูมิของอากาศของประเทศไทย และมีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ เป็นบริเวณกว้าง
ส่วนปรากฏการณ์เรือนกระจกเป็นปรากฏการณืที่เกิดจากแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศกักเก็บแล้วคายความร้อนบางส่วนกลับสู่โลก ทำให้อากาศบนโลกมีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต แต่ถ้ามีการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสู่บรรยากาศเพิ่มขึ้น ทำให้การกักเก็บและคายความร้อนกลับสู่ผิวโลกก็จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิของอากาศโดยเฉลี่ยบนโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ จนโลกอาจอยู่ในภาวะโลกร้อน ถ้าภาวะนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก
ภัยธรรมชาติมีลักษณะอย่างไร และจะปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาตได้อย่างไร
ภัยธรรมชาติต่างๆ จะมีลักษณะของภัยธรรมชาติ สาเหตุการเกิด และบริเวณที่เกิดแตกต่างกัน และมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน
การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติต่างๆ ก็จะมีการปฏิบัติตนที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น ภัยธรรมชาติบางอย่างอาจมีสัญญาณบอกเหตุก่อนเกิดภัยนั้นๆ จึงควรตรวนสอบเหตุการณ์รอบตัว ติดตามสถานการณ์ และติดตามประกาศเตือนภัยต่างๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อเตรียมตัววางแผนรับภัยธรรมชาติได้ถูกต้องและเหมาะสม