Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, นายเขมทัต ทิณแก้ว…
บทที่ 4 การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4.1 หลักการเขียนข้อสอบ
4.1.1 หลักการเขียนแบบทดสอบอัตนัย
4.1.1.1วิเคราะห์วัตถุประสงค์รายวิชา
4.1.1.2 เลือกรูปแบบของแบบทคสอบอัตนัย
4.1.1.3 ใช้คำถามที่ชัดเจน
4.1.1.4 พยายามใช้คำถามที่ให้ผู้ตอบได้แสดงถึงความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นจริงๆ
4.1.1.5 ให้มีจำนวนข้อสอบมากข้อ
4.1.1.6 ควรทำเฉลยคำตอบไว้ล่วงหน้า
4.1.2 หลักการเขียนแบบทดสอบปรนัย
แบบทดสอบปรนัย
4.1.2.1 ข้อสอบเติมคำหรือข้อสอบตอบสั้น หมายถึง ข้อสอบที่ให้ผู้สอบเขียนคำหรือข้อความสำคัญลงในช่องว่างที่กำหนดให้
4.1.2.2 ข้อสอบถูกผิด หมายถึง ข้อสอบที่ยกข้อความมาให้ผู้สอบพิจารณาว่าข้อความนั้นถูกหรือผิด
4.1.2.3 ข้อสอบจับคู่ หมายถึง ข้อสอบที่ให้ผู้สอบจับคู่ระหว่างข้อความกับตัวเลือกที่กำหนดให้โดยข้อความทางซ้ายมือเรียกว่า "ตัวยืน" และข้อความทางขวา
เรียกว่า "ตัวเลือก"
4.1.2.4 ข้อสอบเลือกตอบ หมายถึง ข้อสอบที่ผู้สอบเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดจากตัวเลือกทั้งหมดที่กำหนดให้ ประกอบด้วยคำถามหรือ "ตอนนำ" และตัวเลือก คำตอบให้ผู้สอบเลือก โดยตัวเลือกจะมี 2 ชนิดคือตัวถูกและมีเพียงตัวเลือกเดียว และตัวลวงซึ่งเป็นคำตอบผิดและมีหลายตัวเลือก โดยทั่วไปจำนวนตัวเลือกจะมี 4 - 5 ตัวเลือกซึ่งขึ้นอยู่กับระดับของผู้สอบและความยากของเนื้อหาวิชาที่สอบ
4.2 การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธพิสัย
4.2.1 การเขียนข้อสอบวัดความรู้ความจำ
4.2.1.1 วัดความรู้ในเนื้อเรื่อง เป็นการวัดความรู้ที่เป็นเนื้อหาสาระสำคัญในเรื่องนั้นวิชานั้นโดยเฉพาะ แบ่งออกเป็นวัดความรู้เกี่ยวกับศัพท์และนิยาม และวัดความรู้เกี่ยวกับสูตรกฎ ความจริง ความสำคัญ
4.2.1.2 วัดความรู้ในวิธีดำเนินการ เป็นการวัดความรู้ที่เป็นวิธีประพฤติปฏิบัติ วิธีดำเนินการในกิจการงานและเรื่องราวต่าง ๆ เบ่งออกเป็น วัดความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผนวัดความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม วัดความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท วัดความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ และวัดความรู้เกี่ยวกับวิธีการ
4.2.1.3 วัดความรู้รวบยอด เป็นการวัดความรู้ที่เป็นหลักวิชาความคิดรวบยอดซึ่งเป็นความจริงทั่วไป และสามารถขยายหลักการของเรื่องนั้น แบ่งออกเป็นวัดความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและการขยายหลักวิชา และวัดความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง
4.2.2 การเขียนข้อสอบวัดความเข้าใจ
4.2.2.1 วัดการแปลความ เป็นการวัดความสามารถแปลความหมายของสิ่งต่าง ๆ เช่น ข้อความ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ให้ได้ตามลักษณะและนัยของเรื่องราวนั้น โดยเป็นความหมายที่ถูกต้องสำหรับเรื่องราวนั้น โดยเฉพาะ แนวการถามการแปลความมี 3 ชนิดคือ ถามให้แปลความหมายของคำและข้อความ ถามให้แปลความหมายของภาพและสัญลักษณ์ และถามให้แปลถอดความ
4.2.2.2 วัดการตีความ เป็นการวัดความสามารถในการเอาความหมายจากการแปลความทั้งหมดมาสัมพันธ์กันแล้วสรุปหรือขยายความนั้นตามแนวใหม่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แปลกไปจากเดิม แนวการถามวัดการตีความมี่ 2 ชนิดคือ ถามให้ตีความหมายของเรื่อง และถาม
ให้ตีความหมายของข้อเท็จจริง
4.2.2.3 วัดการขยายความ เป็นการวัดความสามารถในการขยายความหมาย และนัยของเรื่องนั้นให้กว้างไกลไปจากเรื่องราวเดิมอย่างสมเหตุสมผล แนวการถามมี 4 ชนิดคือ ถามให้ขยายความแบบจินตภาพ แบบพยากรณ์ แบบสมมติ และแบบอนุมาน
4.2.3 การเขียนข้อสอบวัดการนำไปใช้
1) ถามความสอดคล้องระหว่างหลักวิชากับการปฏิบัติ เป็นการถามที่ให้วินิจฉัยว่าการกระทำและตัวอย่างของจริงที่สอดคล้องถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปตามสูตร กฎ หลักการ หรือทฤษฎีที่กำหนดให้ มี 2 แบบคือถามความสอดคล้องระหว่างหลักวิชากับตัวอย่าง และถามความสอดคล้องระหว่างตัวอย่างกับตัวอย่าง
2) ถามขอบเขตของการใช้หลักวิชาการ เป็นการถามขอบเขตหรือเงื่อนไขนำหลักวิชาไปใช้มี 2 แบบคือถามขอบเขตเงื่อนไขของหลักวิชาและการปฏิบัติ และถามข้อยกเว้นของหลักวิชาและการปฏิบัติ
3) ถามให้อธิบายหลักวิชา เป็นการถามที่ให้อธิบายเรื่องราว ปรากฏการณ์และการกระทำต่าง ๆ ตามหลักวิชา มักจะมีคำว่า"ทำไม" "เพราะอะไร" อยู่ด้วย
4) ถามให้แก้ปัญหา เป็นการถามโดยตั้งคำถามเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์สมมติ แล้วให้ตอบแก้ปัญหานั้นด้วยความคิดความสามารถของตนเอง มี 2 แบบคือ ถามให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และถามให้แก้ปัญหาตามหลักวิชา
5) ถามเหตุผลในการปฏิบัติ เป็นการถามวิธีการปฏิบัติและเหตุผลของการปฏิบัตินั้นมี 2 แบบคือ ถามให้ตรวจสอบแก้ไขและถามให้วินิจฉัยคัดเลือก
4.2.4 การเขียนข้อสอบวัดการวิเคราะห์
เป็นความสามารถในการพิจารณาแยกแยะเรื่องราว สิ่ง
ต่างๆ ออกเป็นส่วนย่อยๆตามหลักการและกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้ เพื่อต้นหาความจริงต่าง ๆ ที่อยู่ในเรื่องราวนั้นสิ่งนั้นว่าประกอบด้วยส่วนย่อยอะไรบ้าง แต่ละส่วนมีความสัมพันธ์กันอย่างไรและอยู่ร่วมกันได้โดยมีหลักการใดซึ่งเป็นพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยขั้นสูงกว่าการนำไปใช้ ครูจะใช้ข้อสอบไปกระตุ้นให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมการวิเคราะห์ได้นั้น จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับแนวการถามวัดการวัดวิเคราะห์และเขียนข้อสอบเลือกตอบวัดการวิเคราะห์เป็นอย่างดี
เพื่อค้นหาความจริงต่าง ๆ ที่อยู่ในเรื่องราวสิ่งนั้นมี 3 ชนิดคือ ถามวิเคราะห์ความสำคัญ ถามวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และถามวิเคราะห์หลักการ
นายเขมทัต ทิณแก้ว กลุ่มเรียน 63017.151 รหัสนักศึกษา 6301109001004