Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System), นางสาวชรินรัตน์ อุ้ยมาก รหัสนักศึกษา…
ระบบต่อมไร้ท่อ
(Endocrine System)
ไฮโพทาลามัส
(Hypothalamus)
Indirect hormone
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
(anterior pituitary gland)
ACTH (adrenocorticotrophic hormone หรือ corticotrophin)
มีผลกระตุ้นการเจริญเติบโต, สังเคราะห์ และหลั่งฮอร์โมน จากเปลือกต่อมหมวกไต คือ ฮอร์โมนคอร์ทิซอล และมีผลทางอ้อมโดยผ่านทางเปลือกต่อมหมวกไตไปมี ผลต่อการสลายตัวของต่อมไทมัส (thymus) การสร้างเม็ดเลือดแดง กระตุ้นการกระจายตัวของเมลานินใต้ผิวหนัง
ระดับฮอร์โมนคอร์ทิซอล ถ้ามากเกินไปจะ มายับยั้งการสร้าง ACTH แต่ภาวะเครียด การสูญเสียเลือด อากาศหนาว ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ความ เจ็บปวด จะกระตุ้นการหลั่ง
MSH (melanocyte stimulating hormone
; intermedin)
MSH มีบทบาทในการควบคุมสีผิว ฮอร์โมนนี้ยังควบคุมพฤติกรรม การเรียนรู้ พฤติกรรมทางเพศ ควบคุมการเจริญเติบโต การทำหน้าที่ ของ sertoli cell ของอัณฑะ หน้าที่อื่น ๆ ของ MSH ยังไม่ทราบแน่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองในระบบความจำและความเข้าใจ
LPH (ipotropin)
เป็น linear protein LPH ควบคุมการสลายและเคลื่อนย้ายไขมัน สำหรับหน้าที่บทบาทอื่น ๆ ต่อสรีรวิทยา ยังไม่ทราบอีกมากนัก
GH (Growth hormone)
หน้าที่และบทบาท
1) GH มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และลดการสลายโปรตีน
2) ลดการสะสมไขมัน และนำไขมันมาใช้เป็นพลังงาน ทำให้เพิ่มกรดไขมันอิสระออกมาในกระแสโลหิต
3) ลดการใช้คาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยนไปใช้ไขมันเป็นแหล่งสร้างพลังงานแทน
4) รักษาระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้คงที่
5) มีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูก และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย กระตุ้นการแบ่งตัว เพิ่มจำนวนเซลล์ ขยายขนาดให้โตขึ้น ในการสร้างเสริมเนื้อเยื่อ (anabolism) เร่งให้สังเคราะห์กระดูกอ่อนเพิ่มขึ้น ทำให้กระดูก epiphysial ยาวและหนาขึ้น
6) กระตุ้นการดูดซึมแคลเซียม จากระบบทางเดินอาหารเพิ่มขึ้น
ภาวะความผิดปกติ
Giantism
ระดับฮอร์โมนมากเกินไป จะมีการเจริญเติบโตของกระดูก กระดูกแขนขายาวขึ้นจนสูงผิดปกติ แต่ยังคงรักษา สัดส่วนของร่างกายตามปกติได้ ระบบสืบพันธุ์ยังคงทำงานปกติ จะทำให้ร่างกายใหญโตเกินปกติ
Acromegaly
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักจะให้ประวัติ ว่ามีหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปในระยะเวลาหลายปี จะมีมือเท้าใหญ่ขึ้น เช่น ถ้าเคยใส่แหวนจะใส่แหวนวง เดิมไม่ได้และรองเท้าก็ต้องเปลี่ยนขนาดบ่อยจนหารองเท้าใส่ไม่ได้ ขากรรไกรจะยื่นยาวขึ้น และขนตาม ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะมากขึ้น
Dwarfism
ระดับฮอร์โมนน้อยเกินไป ทำ ให้มี GH ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จะทำให้ร่างกายเตี้ยแคระแกรนไม่เจริญเติบโต
acromegaly
เป็นภาวะที่ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ออกมามากผิดปกติ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตไม่สมส่วน เช่น กระดูกมีขนาดใหญ่ เนื้อเยื่อเจริญเติบโตเกินกว่าปกติ เป็นต้น ส่วนใหญ่จะปรากฏชัดที่แขน ขา และใบหน้า โดยภาวะนี้มักเกิดในผู้ใหญ่วัยกลางคน
gigantism
โรค Gigantism เรียกอีกอย่างว่า ภาวะยักษ์ ผู้ป่วยจะมีอาการตัวสูงใหญ่กว่าคนปกติ แต่สัดส่วนของร่างกาย เท่าเดิมทุกอย่าง มักจะเกิดตั้งแต่เด็ก สาเหตุมาจาก Growth Hormone (GH) มากเกินไป
PRL (prolactin, luteotrophic hormone, LTH or lactogenic hormone)
PRL จะมีระดับสูงตอนใกล้คลอด เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทมากมาย แต่ที่เห็นชัดที่สุดคือ กระตุ้นการเจริญเติบโตของต่อมน้ำนม เพื่อให้สร้างและหลั่งน้ำนมในระหว่างการเลี้ยงลูกอ่อน
ภาวะผิดปกติ
PRL สูงกว่าปกติเรียกว่า hyperprolactinemia เช่น ในกรณีของ Galactorrhea ทำให้ gonad ทำงานผิดปกติ จะมีน้ำนมไหล โดยไม่ได้ตั้งครรภ์ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือขาดประจำเดือน ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เป็นหมัน
PRI มีระดับต่ำหรือสูงเกินปกติ จะขัดขวางการออกฤทธิ์ของ LH ต่อ gonads ทำให้ หน้าที่การทำงานของ gonads ลดลง
FSH
(follicle stimulating hormone)
ฮอร์โมนนี้มีหน้าที่และบทบาท คือ กระตุ้นและควบคุมการเจริญเติบโตและสร้าง ฮอร์โมนเพศของรังไข่ การตกไข่ (ovulation)ในเพศหญิง การสร้างเชื้ออสุจิในเพศชาย การเจริญเติบโตของ seminiferous tubules และการสร้างฮอร์โมนเพศ
TSH
(thyroid stimulating hormone or thyrotrophin)
กระตุ้นและควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยกระตุ้นการเจริญเติบโตของต่อมให้มีการ สร้าางและการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมคือ T3 และ T4 และกระตุ้นการสลายไขมัน (lipolysis) จากเนื่อเยื่อไขมัน
LH (luteinizing hormone) หรือ interstitial cell stimulating hormone (ICSH)
1) กระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่หลังจากกระตุ้นด้วย FSH ทำให้มีไข่สุก และมีการตกไข่
2) ทำให้เกิด corpus luteum ในรังไข่ซึ่งจะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโทรเจนและกระตุ้นการหลั่งโพรเจสเตอโรน
3) เตรียมต่อมน้ำนมสำหรับการหลั่งน้ำนม
4) ในเพศชาย LH เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ICSH (interstitial cell stimulating hormone) ทำหน้าที่กระตุ้น Leydig's cell ในอัณฑะให้เจริญและสร้างฮอร์โมนเพศชาย (androgen) เช่น เทสโทสเตอโรน (testosterone)
Direct hormone
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
(posterior pituitary gland
Oxytocin (Picocin)
ช่วยในการคลอดลูก เพื่อช่วยเร่งให้เด็กผ่านช่องคลอดออกมาอย่างรวดเร็ว ออกซิโทชินเป็นยาช่วยเร่งการคลอด กระตุ้นให้มดลูกหดตัว และใช้เป็นยาทำแท้ง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการตกเลือดตอนหลังคลอดด้วย
ช่วยในการหลั่งนั้นม (mik ejection) หลังคลอด
ช่วยเร่งการขนส่งตัวอสุจิในน้ำเชื้อในมดลูกไปผสมกับไข่
Vasopressin (Antidiuretic Hormone ; ADH or Pitressin)
เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความสมดุลของน้ำในร่างกาย ซึ่งได้กล่าวในหัวข้อ เรื่องการควบคุมความสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย
ต่อมไทรอยด์
(Thyroid Gland)
หน้าที่และบทบาท
เป็นฮอร์โมนที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายทั่ว ๆ ไป
มีความสำคัญและจำเป็นมากต่อการเจริญเติบโตของกระดูก
มีผลเป็น calorigenic action คือ ควบคุมอัตราการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกาย
มีผลกระตุ้นทุกขั้นตอนของคาร์โบไฮเดรตเมแทบอลิซึม
ลดการสร้างไข่มันและ cholesterol ในเลือด เพิ่มการแตกสลายของไขมัน (lipolysis) จากเนื้อเยื่อไขมัน และเซลล์อื่น ๆ เพิ่มขึ้น
เพิ่มความต้องการของวิตามิน และ coenyzme เพื่อใช้ในขบวนการเมแทบอลิซึมของ ร่างกาย จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์วิตามิน A จาก carotene
มีผลโดยตรงต่อการทำงานของระบบประสาทในผู้ใหญ่ และมีความจำเป็นต่อการ เจริญเติบโต พัฒนาการของสมองและระบบประสาทของทารกโดยเฉพาะในปีแรก
ภาวะความผิดปกติ
คอพอก (goiter / goitre)
คือ ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้นกว่าปกติ
สาเหตุเกิดจาก
ได้รับสาร goitrogens มากเกินไป สาร goitrogens เป็นสารยับยั้งการสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมน
การได้รับธาตุไอโอดีนในอาหารน้อยผิดปกติ ขาดเอนไชม์สำหรับสังเคราะห์ฮอร์โมนมา แต่กำเนิด หรือร่างกายต้องการฮอร์โมนมากกว่าปกติใน
วัยรุ่น สตรีระหว่างตั้งครรภ์
Hyperthyroidism หรือ Thyrotoxicosis
เป็นภาวะที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนมากผิดปกติเกินความต้องการ โดยที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง มี การกระตุ้นให้หลั่ง TSH มากเกินไป เกิดเนื้องอกหรือจากการรับประทานฮอร์โมนเข้าไป
Hypothyroidism
เป็นภาวะที่มีไทรอยด์ยอร์โมนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อาจ เป็นเพราะสร้างไม่พอ เกิดโรคของต่อมไทรอยด์เอง ต่อมไม่ทำงาน การผ่าตัดต่อมออกมากเกินไป การ ฉายแสง หรือได้ยาพวก goitrogens ซึ่งจะไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมน เช่น thiouracil
ไทรอกซิน
(thyroxin )
สร้างจากไทรอยด์ฟอลลิเคิล ( parafollicular cell ) ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบบอลิซึมต่างๆของร่างกาย เช่น ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต, การใช้พลังงาน และ การสังเคราะห์สาร เป็นต้น
แคลซิโทนิน
(Calcitonin)
สร้างจากเซลล์พาราฟอลลิคิวลาร์หรือเซลล์ซี (C-cell) หน้าที่ลดระดับแคลเซียมในเลือดให้ต่ำลงถ้าในเลือดมีระดับแคลเซียมสูงกว่าปกติ ทำได้โดย
เพิ่มการสะสมแคลเซียมที่กระดูก
ลดการดูดแคลเซียมกลับจากท่อหน่วยไต
( ขับแคลเซียมทิ้งทางน้ำปัสสาวะ )
ลดการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็ก
( เพื่อไม่ให้แคลเซียมถูกดูดเข้าสู่กระแสเลือด )
นางสาวชรินรัตน์ อุ้ยมาก รหัสนักศึกษา 64106301123
ห้อง 1B เลขที่ 51