Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คลื่น - Coggle Diagram
คลื่น
ส่วนประกอบของคลื่น
ท้องคลื่น คือ ตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น
ความยาวคลื่น (wavelength) คือ ระยะทางที่คลื่นไปได้ในช่วงเวลาของ 1 คาบ บางทีความยาวคลื่น คือ ระยะระหว่างจุด 2 จุด ที่อยู่ถัดกัน ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน
แอมพลิจูด คือ ระยะขจัดสูงสุดของคลื่นวัดจากตำแหน่งสมดุล
ความกว้างคลื่น (bandwidth) คือ ขนาดทางที่คลื่นไปได้ในช่วงเวลาของ 1 วง บางทีความกว้างคลื่น คือ ขนาดระหว่างวงสองวงที่อยู่ถัดกัน ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน
สันคลื่น คือ ตำแหน่งที่สูงที่สุดของทุกๆ คลื่น
คาบ (period) คือ ช่วงเวลาในการสั่น 1 รอบของอนุภาค มีหน่วยเป็นวินาที สามารถแทนด้วย T
ความถี่ (frequency) คือ จำนวนรอบที่อนุภาคสั่นใน 1 วินาที มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที หรือ เฮิร์ท โดยที่คาบและความถี่มีความสัมพันธ์
อัตราเร็วคลื่นหรืออัตราเฟส คือ ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ได้ 1 ความยาวคลื่น ในเวลา 1 คาบ มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที(m/s) โดยสำหรับในตัวกลางชนิดเดียวกัน อัตราเร็วคลื่นจะมีค่าคงที่ โดยความยาวคลื่นจะผกผันกับความถี่ นั่นคือ ถ้าความถี่สูง ความยาวคลื่นจะสั้น ส่วนคลื่นที่มีความถี่ต่ำ ความยาวคลื่นจะยาวขึ้น
ชนิด
1.1 การจำแนกคลื่นตามลักษณะของตัวกลาง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) คลื่นกล (mechanical wave) คือ คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่สามารถถ่ายทอดและโมเมนตัมโดยอาศัยความยืดหยุ่นของตัวกลาง เช่น คลื่นเสียง คลื่นน้ำ คลื่นในเส้นเชือก
2) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic waves) คือ คลื่นที่ต้องไม่อาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น แสง คลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์
1.2 การจำแนกคลื่นตามลักษณะการกำเนิดคลื่น แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) คลื่นต่อเนื่อง (continuous wave) คือ คลื่นที่เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดหลายครั้งติดต่อกัน ทำให้เกิด คลื่นหลายลูกติดต่อกัน โดยความถี่ของคลื่นที่เกิดขึ้นเท่ากับความถี่ของการรบกวนของแหล่งกำเนิดคลื่น เช่น คลื่นน้ำที่เกิดจากการใช้มอเตอร์
2) คลื่นกล (mechanical wave) คือ คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่สามารถถ่ายทอดและโมเมนตัมโดยอาศัยความยืดหยุ่นของตัวกลาง เช่น คลื่นเสียง คลื่นน้ำ คลื่นในเส้นเชือก
1.3 การจำแนกคลื่นตามลักษณะการเคลื่อนที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) คลื่นตามขวาง (transverse wave) คือ คลื่นที่ส่งผ่านไปในตัวกลางแล้วทำให้อนุภาคในตัวกลางเคลื่อนที่ตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นตามขวางในเส้นเชือก คลื่นแสง
2) คลื่นตามยาว (longitudinal wave) คือ คลื่นที่ส่งผ่านไปในตัวกลางแล้วทำให้อนุภาคในตัวกลางเคลื่อนที่ตามแนวขนานกับทิศทางการเคลื่อที่ของคลื่น เช่น คลื่นเสียง คลื่นสปริง
สมบัติคลื่น
คลื่นทุกประเภทจะมีพฤติกรรมร่วมที่เหมือนกันภายใต้สภาวะปกติ โดยมีสมบัติ ดังต่อไปนี้ คือ
การสะท้อน (en:reflection) คือ คลื่นเปลี่ยนทิศทางโดยการสะท้อนเมื่อตกกระทบกับพื้นผิว
การแผ่เชิงเส้นตรง (en:rectilinear propagation) คือ การเคลื่อนที่ของคลื่นเป็นเส้นตรง
การกระจาย (en:dispersion) คือ องค์ประกอบที่ความถี่ต่างกันของคลื่น จะมีการแยกตัวออกห่างจากกัน
การแทรกสอด (en:interference) คือ เกิดจากการซ้อนทับกันของคลื่น เมื่อวิ่งมาตัดกัน
การเลี้ยวเบน (en:diffraction) คือ คลื่นเคลื่อนที่ขยายวงออกเรื่อยๆ เช่น ลำคลื่นที่วิ่งผ่านออกจากช่องแคบๆ จะมีลักษณะขยายขนาดลำออก
การหักเห (en:refraction) คือ คลื่นเปลี่ยนทิศทางเมื่อเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง