Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ข้อคิดจากเรื่องมาตาปิตุคุณและอาจริยคุณ,…
วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ข้อคิดจากเรื่องมาตาปิตุคุณและอาจริยคุณ
ประวัติผู้แต่ง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจรยางกูร) เกิดวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๕ บวชเรียนจนเชี่ยวชาญคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้งภาษาไทย บาลี สันสกฤต และภาษาขอม ได้รับราชการเป็นขุนประสิทธิอักษรสารทเป็นนักปราชญ์ในรัชกาลที่ ๕ ปฏิรูปการศึกษาตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรก คือโรงเรียนนายทหารมหาดเล็กพระบรมมหาราชวัง(ตำหนักสวนกุหลาบ) เมื่อพ.ศ. ๒๔๑๔ และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ รวมอายุ ๖๘ ปี
บทนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ เป็นคำเป็นประพันธ์ที่แต่งด้วยฉันท์ ซึ่งเป็นอินทรวิเชียรฉันท์๑๑
ลักษณะบังคับ
๑ บทมี ๒ บาท
๑ บาทมี๒ วรรค คือ วรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๖ คำ
รวม ๑ บท มี ๔ วรรค
ครุ-ลหุ : คำที่ ๓ ของวรรคหน้า กับ คำที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังลหุ นอกนั้นเป็นครุ
คำครุคือคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา และประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด
คำลหุคือคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา
สัมผัส
-ส่งสัมผัสแบบกาพย์ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่สามของวรรคที่ ๒ (เป็นสัมผัสไม่บังคับ แต่ถ้ามีจะทำให้ฉันท์บทนั้นไพเราะยิ่งขึ้น) และ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
สัมผัสระหว่างบท คือคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ของบทแรก จะต้องสัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทถัดไป
เรื่องย่อ
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ
กล่าวสรรเสริญพระคุณของบิดามารดาที่ทะนุถนอมเลี้ยงดูบุตร จนเติบโต โดยไม่เห็นแก่ความยากลาบาก พระคุณของบิดามารดา กว้างใหญ่ไพศาลเปรียบได้กับภูผาและแผ่นดิน สุดที่จะทดแทนได้
บทนมัสการอาจริยคุณ
มีเนื้อหากล่าวสรรเสริญพระคุณของครู อาจารย์ ผู้เปี่ยมด้วยจิต เมตตาและกรุณา ทำหน้าที่สั่งสอนให้ความรู้และอบรมจริยธรรม ชี้ให้เห็นบาปบุญคุณโทษเพื่อขจัดความเขลาของศิษย์
ข้อคิดจากเรื่องอาจริยคุณและมาตาปิตุคุณ
๑. บิดามารดาเป็นพรหมของบุตร ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนและเลี้ยงดูบุตรจนเติบโต ดังนั้นผู้ที่เป็นบุตรจึงควรสำนึกในบุญคุณของท่านทั้งสอง และปฏิบัติต่อท่านเพื่อให้ท่านมีความสุขทั้งกายและใจ
๒. ครูอาจารย์เป็นผู้อบรมสั่งสอนศิษย์ต่อจากบิดามารดา ทำให้ศิษย์มีความรู้ สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิต ดังนั้นผู้ที่เป็นศิษย์จึงควรยกย่องและเคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของครู
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
แบ่งออกเป็นการเล่นเสียงพยัญชนะ การเล่นเสียงสระและการเล่นเสียงเบา - หนัก (ครุ - ลหุ)
การเล่นเสียงพยัญชนะ การใช้คำที่มีเสียงพยัญชนะเดียวกันมาสัมผัสกันเพื่อให้เกิดความไพเราะ
เช่น ข้อขอนบชนกคุณ
สัมผัสสระ การใช้คำที่มีสระเหมือนกัน นำมาสัมผัสกันเพื่อให้เกิดความไพเราะ เช่น โอบเอื้อและเจือจุน
ที่มาของบทนมัสการมาตาปิตุคุณและ
อาจาริยคุณ
เป็นบทประพันธ์รวมพิมพ์ในภาคเบ็ดเตล็ด หนังสือชุดภาษาไทยเล่มที่ ๒ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
คุณค่าด้านสังคม
วรรณคดีเรื่องนี้มีจุดเด่นในการสะท้อนให้เห็นภาพสังคมในอดีตและยังจรรโลงสังคมอีกด้วย
การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้อ่านได้ประจักษ์ในคุณค่าของชีวิต ได้นำแง่คิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่าน ไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือเป็นแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหา
คุณค่าด้านเนื้อหา
มีการสอนจริยธรรม จะเห็นได้ว่า บทเรียนเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่เพื่อน ๆ นำไปใช้ได้จริง ด้วยการรู้จักสำนึกในพระคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ นับเป็นการใช้บทประพันธ์เพื่อปลูกฝังจริบธรรมได้เป็นอย่างดี
โดยปลูกฝังให้สำนึกในบุญคุณของบิดา มราดา และบุญคุณของครูบาอาจารย์
จุดประสงค์
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ
จุดประสงค์ เพื่อสรรเสริญพระคุณของบิดามารดา
บทนมัสการอาจริยคุณ
จุดประสงค์ เพื่อนมัสการและสรรเสริญพระคุณของครู อาจารย์ที่ได้อบรมสั่งสอนและให้ความรู้แก่ ศิษย์ทั้งหลาย
สมาชิกในกลุ่ม
๑.นางสาว ฑิตยา รักทรัพย์ เลขที่ ๑๔
๒.นางสาว เจตสุภา สุภาพบุรุษ เลขที่ ๑๘
๓.นางสาว ศรุตา คงอาษา เลขที่ ๑๙
๔.นางสาว นันท์นลิน วงศ์พระจันทร์ เลขที่ ๒๑
๕.นางสาว ณัฐภัสสร ทองธนเสฏฐ์ เลขที่ ๓๓
๖.นางสาว พีรดา ศรีวิเชียร เลขที่ ๓๕
แต่งอินทรวิเชียรฉันท์ จำนวน ๑ บท
ครอบครัวก็ยิ่งใหญ่ สละได้ตลอดมา
ดูแลและห่วงหา ก็เพราะรักมิยอมใคร