Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปรับบรรทัดฐาน (Normalization) - Coggle Diagram
การปรับบรรทัดฐาน (Normalization)
ความหมายและจุดประสงค์
นอร์มัลไลเซชัน
เป็นกระบวนการนำโครงร่างของรีเลชันมาแตกเป็นรีเลชันต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่เรียกกว่า รูปแบบบรรทัดฐาน หรือเรียกว่า Normal Form เป้าหมายเพื่อให้รีเลชั่นที่ได้รับการออกแบบอยู่ในรูปแบบบรรทัดฐานระดับที่เหมาะสม
จุดประสงค์การนอร์มัลไลเซชัน
1.ลดเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล
กระบวนการนอร์มัลไลเซชันเป็นการออกแบบเพื่อลดความซ้ำซ้อนในข้อมูล ดังนั้นการลดความซ้ำซ้อน ในข้อมูลย่อมทำให้ลดเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลตามมาด้วย
2.ลดปัญหาที่ไม่ถูกต้อง
เมื่อข้อมูลไม่มีความซ้ำซ้อนในการปรับปรุงข้อมูลก็สามารถปรับปรุงข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลเพียงแห่งเดียวจึงช่วยลดปัญหาการปรับปรุงข้อมูลไม่ถูกต้อง (inconsistency) ซึ่งหมายรวมถึงการลดปัญหา จากการเพิ่มข้อมูล ลบข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล
ความซ้ำซ้อนและข้อผิดพลาดจากการปรับปรุงข้อมูล
ข้อผิดพลาดจากการเพิ่มข้อมูล (Insertion Anomalies)
ข้อผิดพลาดจากการลบข้อมุล (Deletion Anomalies)
ข้อผิดพลาดจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Modification Anomalies)
ฟังก์ชันการขึ้นต่อกัน
คือความสัมพันธ์ระหว่างแอตตริบิวต์ ซึ่งหมายถึงการที่ค่าของ แอตตริบิวต์หนึ่ง หรือแอตตริบิวต์ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมาประกอบกัน แล้วสามารถทำการระบุค่าของแอตตริบิวต์อื่นๆ ในทูเพิลเดียวกันของ รีเลชันนั้นได้ โดยแอตตริบิวต์ที่เป็นตัวระบุค่าในแอตตริบิวต์อื่นๆ เรา เรียกว่า determinant
ปัญหาที่เกิดกับการจัดเก็บข้อมูล
เกิดความซ้ำซ้อน (Data Redundancy)
เกิดความขัดแย้งของข้อมูล (Data Inconsistency)
ปัญหาการแก้ไข (Update Anomalies)
การผูกติดกับข้อมูล (Data Dependency)
การนอร์มัลไลเซชัน (Normalization)
เป็นทฤษฎีการออกแบบฐานข้อมูล ที่ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาด้านความซ้ำซ้อนข้อมูล
เป็นทฤษฎีช่วยในการประเมินการออกแบบ
ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างฟิลด์ว่า ฟิลด์ใดควรอยู่ตารางใด โดยการแตกตารางใหญ่ให้เป็นตารางย่อยโดยมีขั้นตอนการทำที่ชัดเจน เพื่อขจัดปัญหาความซ้ำซ้อนให้เหลือน้อยที่สุดหรือหมดไป