Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคจากการทำงาน (Occupational disease) - Coggle Diagram
โรคจากการทำงาน
(Occupational disease)
ความหมาย ลักษณะ และชนิดของโรคจากการทำงาน
โรคจากการประกอบอาชีพ (occupational Diseases)
หมายถึง โรคหรือการเจ็บป่วย ที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ทำงาน
โรคเนื่องจากงาน (work-related Diseases)
หมายถึง โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน และการทำงานในอาชีพเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค
โรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อม (environmental diseases)
หมายถึง ผลกระทบที่เกิดจากมลพิษปนเปื้อน ในดิน น้ำ อากาศทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้เกิดโรคหรือผลกระทบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
ชนิดของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงานไว้ 8 กลุ่ม
1) โรคที่เกิดขึ้นจากสารเคมี
2) โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางกายภาพ
3) โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางชีวภาพ
4) โรคระบบหายใจที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน
5) โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน
6) โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน
7) โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน
8) โรคอื่นๆ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน
ระบาดวิทยาของโรคจากการทำงาน
ปัจจัยสามทางด้านระบาดวิทยา
ปัจจัยด้านตัวมนุษย์ (Host)
ปัจจัยด้านสิ่งก่อโรค (Agent)
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment)
การเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน
การเฝ้าระวังทางด้านสิ่งแวดล้อม (environmental monitoring)
โดยการสำรวจสถานที่ทำงาน เพื่อให้เห็นสภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงานทั้งด้านกายภาพ
การเฝ้าระวังทางด้านชีวภาพ (biological monitoring)
เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการสำรวจสภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เมื่อทราบว่าคนทำงานแต่ละประเภทหรือแต่ละลักษณะงานจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค
การเฝ้าระวังทางการแพทย์ (medical monitoring)
การเฝ้าระวังทางการแพทย์นับเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันปัญหาสุขภาพตั้งแต่แรกเริ่ม โดยทั่วไปนิยมให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีโดยแพทย์
การสอบสวนโรคหรืออุบัติเหตุ
เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการเกิดโรคภัยหรือการบาดเจ็บจากการทำงานด้วยการ รวบรวมข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยประวัติการทำงาน การตรวจโรคโดยแพทย์
การศึกษาทางวิทยาการระบาด
วิทยาการระบาดเชิงพรรณนา
(Descriptive study) เป็นศึกษาเกี่ยวกับการกระจายของโรคหรือการกระจายขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคในกลุ่มคนทำงาน
วิทยาการระบาดเชิงวิเคราะห์
(Analytical study) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ
เกิดโรคในกลุ่มคนทำงาน
Prevalence studies หรือ Cross-sectional studies คือ การศึกษา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษากลุ่มเดียว
Retrospective studies หรือ Case-control studies คือ การศึกษาย้อนหลังโดยเริ่มจากกลุ่มผู้ป่วยที่มีการวินิจฉัยโรคแล้ว
Prospective studies หรือ Cohort studies หรือ Incident studies คือ การศึกษาไปข้างหน้าโดยศึกษาในกลุ่มบุคคลสองกลุ่มที่มีปัจจัยต่างๆ คล้ายคลึงกัน
วิทยาระบาดเชิงทดลอง การศึกษาวิทยาการระบาดเชิงทดลอง
(Experimental Epidemiology) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผล ช่วยค้นหากลไกหรือ วิธีการรักษาโรค การพัฒนาวิธีการป้องกัน
ประเภทและกลุ่มโรคจากการทำงานที่สำคัญ
กลุ่มโรคที่เกิดขึ้นจากสารเคมี (Diseases caused by chemical agents)
จำแนกโดยสภาพการออกฤทธิ์ภายในและภายนอกเซลล์พืช
สารกำจัดศัตรูพืชประเภทสัมผัสตาย (contact pesticide) หรือ ประเภทที่ไม่ดูดซึม (non systemic)
สารกำจัดศัตรูพืชประเภทดูดซึม (systemic pesticide)
จำแนกโดยอาศัยกลุ่มเป้าหมาย
สารที่ใช้ป้องกันกำจัดไร (acarides) สารที่ใช้ป้องกันกำจัดสาหร่าย (algicides)สารที่ใช้ป้องกันกำจัดเพลี้ย (aphicides) สารที่ใช้ป้องกันกำจัดนก (avicides)
จำแนกโดยโครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของสาร
สารกลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine compounds)
สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate compound)
สารกลุ่มไพรีทรอยด์(Synthetic Pyrethroids)
กลุ่มโรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางกายภาพ (Diseases caused by physical agents)
โรคหูตึงจากเสียงดัง (Noise induced hearing loss หรือ noise induced deafness หรือ occupational hearing loss)
องค์ประกอบที่ทำให้หู
ตึงหรือประสาทหูเสื่อมจากเสียงดัง
ระดับความดันเสียง (Sound Pressure Level)
ความถี่ของเสียง (frequency)
ระยะเวลาที่ได้ยินเสียง (duration)
ลักษณะของเสียง (nature of sound)
ความไวต่อการเสื่อมของหู (individual susceptibility)
กลุ่มโรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางชีวภาพ (Diseases caused by biological agents )
ปัจจัยทางชีวภาพ
พืช สัตว์ แมลงนำโรคและเชื้อโรคชนิดต่างๆ ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัสและพาราไซต์กลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรค
การสัมผัสทางผิวหนัง
การสัมผัสทางผิวหนัง
ทางการกิน
กลุ่มคนที่ทำงานเกษตรกรรม
โรคปอดชาวนา (Farmer's Lung Disease)
โรคปอดชานอ้อย (Bagassosis)
โรคไข้มาเลเรีย
งูกัด
โรคแอนแทรกซ์หรือโรคกาลี
กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน (Occupational respiratory diseases)
โรคซิลิโคซิส (Silicosis)
อาชีพที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคคือ ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่
งานที่เกี่ยวข้องกับการตัดหิน สกัดหิน
โรคแอสเบสโตซิส (โรคปอดจากแร่ใยหิน; Asbestosis )
ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง ผู้ที่ทำงานสัมผัสกับฝุ่นหินในงานต่อไปนี้ อุตสาหกรรมผ้าเบรกรถยนต์อุตสาหกรรม ผ้าคลัทช์รถยนต์ อุตสาหกรรมกระเบื้องมุงหลังคา
กลุ่มโรคผิวหนังจากการทำงาน (Occupational skin disease)
สารระคายที่พบบ่อยในการทำงาน สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาทำความสะอาด
แอลกอฮอล์ กรด ด่าง น้ำยาย้อมผม น้ำยาดัดผม ใยแก้ว เป็นต้น
อาการแสดงอาจแสบร้อนหรือคัน ความรุนแรงและรูปแบบของผื่นที่เกิด
ขึ้นกับคุณสมบัติของสารมากกว่า
ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง ได้แก่ พนักงานทำความสะอาด
ช่างเครื่องยนต์ ช่างพิมพ์ ช่างเสริมสวย เกษตรกร
โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกจากการทำงาน (Occupational musculoskeletal disorders)
กลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่างจากการทำงาน
บุคคลที่มีแนวโน้มจะมีอาการปวดหลัง
หรือมีพยาธิสภาพที่กระดูกสันหลังอยู่เดิม
ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง
คนที่ต้องทำงาน
ประเภทแบกหาม ยกของหนัก
โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน(Cancer)
ชนิดของมะเร็งที่เกิดขึ้นในร่างกาย
มะเร็งคาร์ซิโนมา (Carcinoma) คือ มะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุ
มะเร็งซาร์โคมา (Sarcoma) คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์เนื้อเยื่ออ่อน (Soft Tissue)
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) หรือลูคีเมีย
มะเร็งผิวหนัง (Melanoma) คือ เป็นมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของการสร้างเม็ดสีผิว
ปัจจัยเสี่ยงที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งที่พบบ่อย
การสูบบุหรี่
การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคจากการทำงาน
คนทำงานหรือผู้ประกอบอาชีพ (worker)
คุณสมบัติพื้นฐาน
เช่น เพศ อายุความสูง ความอ้วน พันธุกรรม โรคประจำตัว ประสบการณ์การทำงาน เป็นต้น
พฤติกรรมทางสุขภาพของคนทำงาน
คนที่เมาขณะขับรถย่อมเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เป็นต้น
สภาพแวดล้อมในการทำงาน (working environments)
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
(physical factors) เช่น เครื่องจักรเครื่องกล
ความร้อน ความเย็นแสง เป็นต้น
สภาพแวดล้อมทางเคมี
(chemical factors) สารเคมีในสิ่งแวดล้อมการทำงาน หมายรวมถึงอากาศที่จำเป็นในการหายใจถ้าปริมาณออกซิเจนลดลงมากผิดปกติ หรือมีก๊าซอันตรายอื่นๆ
สภาพแวดล้อมทางชีวภาพ
(Biological factors) หมายถึง เชื้อโรค สัตว์
แมลงต่างๆ แมลงบางชนิดก็เป็นพาหะนำโรคมาสู่คน
สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาสังคม
(Psychosocial factors) หมายถึง
สัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงาน นายจ้างกับลูกจ้าง ผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ
ตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม เป็นต้น
หลักการวินิจฉัยการดูแลสุขภาพผู้ประกอบอาชีพ
ความสำคัญของการวินิจฉัยโรคฯ
เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
ป้องกันการลุกลามของโรคหรือความสูญเสียที่จะตามมา
เพื่อวางแผนการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรคในผู้ที่ทำงานที่เดียวกันหรือมีลักษณะการทำงานแบบเดียวกันได้ทันการณ์
เพื่อประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายการส่งเสริมอาชีพ การกำหนดกฎหมายและแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่จำเป็นและเหมาะสมในระดับหน่วยงานจนถึงระดับประเทศ
การวินิจฉัยโรคจากการทำงาน
การซักประวัติผู้ป่วย
การตรวจร่างกายทั่วไป
การตรวจพิเศษ ตามแต่ปัญหาและอาการแสดงของโรค
โรคและปัญหาสุขภาพจากการทำงานในสถานบริการสาธารณสุข
โรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาสำคัญแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
วัณโรค
ปัจจัยที่ทำให้การติดเชื้อวัณโรคในบุคลากร คือ สุขภาพของบุคลากรโดยตรงโดยเฉพาะที่พักผ่อนน้อย มักจะมีปัญหาเรื่องภูมิต้านทานที่ต่ำกว่าปกติ
เป็นเชื้อก่อโรคจากแบคทีเรียชนิด Mycobacterium tuberculosis
การทำงานในสถานที่เสี่ยง เช่น สถานที่ปิดหรือมีการระบายอากาศที่ไม่เหมาะสมประกอบกับการที่มีผู้ป่วยวัณโรคมาอยู่ในสถานที่ทำงานเป็นเวลานานๆ
ปัญหาทางกายภาพในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
ภาวะปวดหลัง
เคยมีประวัติการเกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บที่หลังมาก่อน
งานประจำเป็นงานที่ใช้กำลังกายมาก พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่าง
การยกของหนักกับความเสื่อมของกระดูกสันหลัง
มีการทำงานโดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยยก
การบิด หรือการงอของหลัง
การบิด หรือการงอของหลัง
การเกิดอุบัติเหตุ พบว่าในประชาชนทั่วไปที่มีอาการปวดร้าวไปขาและปวดหลัง เคยมีประวัติอุบัติเหตุที่หลังมาก่อน