Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปรับตัวทางจิตสังคมและบทบาทมารดาหลังคลอด - Coggle Diagram
การปรับตัวทางจิตสังคมและบทบาทมารดาหลังคลอด
พัฒนกิจในระยะหลังคลอด
การตอบสนองของทารกต่อการดูแล
ทารกแสดงพฤติกรรมร่าเริง อ่อนโยน เลี้ยงง่าย แสดงว่ามารดามีพฤติกรรมที่ดี ทางบวกในการดูแลทารก
ทารกน้ำหนักตัวน้อย พัฒนาการไม่ตามวัย ร้องกวน หงุดหงิดง่าย สำรอกนมบ่อยครั้ง แสดงว่ามารดาอาจมีพฤติกรรมด้านลบ หรือพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อการดูแลทารก
ความคิดเห็นจากบุคคลใกล้ชิดและบุคลากรทางสุขภาพ
มีความสำคัญต่อมารดาหลังคลอด เพราะมารดาหลังคลอดจะเชื่อและปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้รับ
ผดุงครรภ์ควรกล่าวคำชมเชยเมื่อมารดาปฏิบัติกิจกรรมในการดูแลทารกได้อย่างเหมาะสม
กระตุ้นให้มารดาหลังคลอดพูดคุย แสดงความรู้สึกของการปรับตัวในการเป็นบทบาทมารดาให้กับบุคคลรอบข้างทราบ เพื่อได้รับคำแนะนำและการปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
การปรับตัวในการดูแลทารก
มารดาต้องเรียนรู้ความเข้าใจในการดูแลทารก เช่น การอุ้ม การให้นม การอาบน้ำ และความต้องการของทารก
ความภูมิใจในตนเองของมารดาจะช่วยเพิ่มความสามารถในการเลี้ยงดูทารกได้มากขึ้น
การกำหนดตำแหน่งสมาชิกในครอบครัวให้ทารกคนใหม่
สร้างสัมพันธภาพของทารกที่เกิดใหม่ให้กับสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ เพื่อให้ทุกคนได้ปรับบทบาทของตนเองให้เหมาะสม
ถ้ามีบุตรคนโตก็ต้องปรับบทบาทด้านจิตใจให้ยอมรับน้องสมาชิกใหม่
การยอมรับทารก
มารดามีการปรับความคิดเกี่ยวกับลักษณะ พฤติกรรม บุคลิกของทารก เมื่อเข้าสู่ความเป็นจริงที่ปรากฏในระยะหลังคลอด
ถ้ามารดามีการจินตนาการภาพลักษณ์ของทารกในครรภ์มีความแตกต่างกับทารกที่ปรากฏ ก็จะทำให้มียอมรับทารกล่าช้าหรือไม่ยอมรับทารก
ต้องใช้ระยะเวลาและคำอธิบายจากบุคคลากรทางการแพทย์ และบุคคลจากครอบครัวเพื่อให้เกิดการยอมรับทารก
การพัฒนาตนเองของมารดาหลังคลอด ต่อความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูทารก
มีการปรับตัวและตอบสนอง ต่อบทบาทบาทหน้าที่ของการเป็นมารดา แบ่งออกเป็น 5 พัฒนกิจ
การปรับตัวต่อการเป็นบทบาทมารดาหลังคลอด แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ระยะพึ่งพา
(taking-in phase)
ลักษณะอาการของมารดา
มีอาการอ่อนเพลียจากการคลอด
ยอมรับความช่วยเหลือจากผู้อื่น
แสดงถึงความต้องการของตนเอง
มีพฤติกรรมที่พึ่งพาคนอื่น
ต้องการให้ผู้อื่นช่วยเหลือ
วันที่
แสดงอาการ วันที่ 1-2
หลังคลอด
การพยาบาล
ให้การช่วยเหลือมารดาและให้กำลังใจ เช่น อาการปวดมดลูก ปวด แผลฝีเย็บ คัดตึงเต้านม การดูแลทารก
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ระยะกึ่งพึ่งพา (taking hold phase)
ลักษณะอาการของมารดา
รู้สึกสุขสบายขึ้น หายอ่อนเพลีย
สนใจเรียนรู้สุขภาพทารก การให้นมทารก การอุ้ม การอาบน้ำ
ขาดความมั่นใจในการดูแลทารก
พฤติกรรมกึ่งพึ่งพาผู้อื่น กึ่งช่วยตนเอง
มีความกระตือรือร้นในการดูแลตนเอง
การพยาบาล
สอนวิธีการดูแลทารก เช่น อาบน้ำให้นม การอุ้ม เสริมสร้างให้มีความกล้า และมั่นใจในการดูแลทารกเพิ่มขึ้น
เสริมสร้างความมั่นใจ
ชมเชยอย่างสม่ำเสมอ
วันที่
แสดงอาการ วันที่ 3-10
หลังคลอด
ระยะพึ่งตนเอง (taking-in phase)
ลักษณะอาการของมารดา
สามารถดาเนินชีวิตประจำวันได้ดี
ทำบทบาทของมารดา และภรรยาได้ดี
วันที่แสดงอาการ วันที่ 10 หลังคลอดเป็นต้นไป
การพยาบาล
ส่งเสริมให้มารดาตอบสนองต่อทารกอย่างเหมาะสม
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจในระยะหลังคลอด เป็นผลจากความวิตกกังวลในระยะตั้งครรภ์ มารดาเพิ่มภาระรับผิดชอบต่อทารกโดยตรง ต้องทุ่มเทความสามารถทางร่างกายและจิตใจ เพื่อดูแลเลี้ยงดูทารก
สามีและญาติรวมทั้งสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคมของมารดา อันก่อให้เกิดความเครียดทางจิตใจ ( Psycho social Stress ) มีดังนี้
1.ภาวะวิกฤติ
เกิดขึ้นเมื่อมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบสังคมเล็กๆ ของครอบครัว
ทำให้บทบาทต่างๆถูกปรับใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ ค่านิยม และวิถีการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัว
ถ้าครอบครัวได้รับการช่วยเหลือ แก้ปัญหาต่างๆในลักษณะที่ถูกต้องเหมาะสม ประสบการณ์ที่ได้จะ ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สุขภาพจิตที่ดีต่อไป
2.บทบาททางพฤติกรรม
การยอมรับในบทบาทของหญิงหรือชาย จะทำให้สามารถพัฒนาตนเองและจิตใจได้เหมาะสมไม่เกิดความขัดแย้ง
บทบาทของบิดามารดาอาจกำหนดขึ้นมาในลักษณะที่แตกต่างกัน ด้วยอิทธิพลของบุคคลรอบข้าง สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี
บิดามารดาต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพครอบครัวของตน ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดความแตกร้าวและขัดแย้งกัน
3.บทบาทเป็นมารดา
ขึ้นอยู่กับทัศนคติของมารดาในการเลี้ยงดูบุตร การเรียนรู้เกี่ยวกับบุคลิกภาพของการเป็นมารดาบทบาทมารดาที่สังคมกำหนด ต้องอ่อนหวาน นุ่มนวล มีความรัก มีพฤติกรรมที่อบอุ่น
มารดาในภาวการณ์จริงมักไม่มั่นใจในบทบาทของตนเอง โดยเฉพาะมารดาครั้งแรกไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน และมักได้รับทัศนคติจากบุคคลแวดล้อม ซึ่งแตกต่างกันไปทำให้เกิดความไม่แน่ใจ
4.ความรู้สึกสูญเสีย
สูญเสียความสนใจจากบุคคลรอบข้าง
ขณะตั้งครรภ์มารดารู้สึกได้รับความสนใจเอาใจใส่เป็นพิเศษจากบุคคลรอบข้าง มารดาจะรู้สึกว่าจุดร่วมความสนใจเปลี่ยนแปลงไปสู่เด็ก
แม้ว่าส่วนหนึ่งของมารดาจะรู้สึกตื่นเต้นยินดี แต่ก็ยังรู้สึกเศร้าหมองต่อภาวะสูญเสียนี้ อย่างไรก็ตามบทบาทใหม่ที่ต้องรับผิดชอบ ทำให้ความรู้สึกดีขึ้น
การสูญเสียต่อภาพกายและรูปร่างของตน
ระยะหลังคลอดใหม่จะมีความรู้สึกสูญเสีย เพราะจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ผิวหนังยืดขยายพร้อมมีร่องรอยของความเหี่ยวย่นปรากฏอยู่
ทำให้ความสูญเสียการนับถือตนเอง
สูญเสียรูปลักษณ์การตั้งครรภ์
มารดาหลายคนพบว่า การตั้งครรภ์ก่อให้เกิดความสุขความพึงพอใจ
เมื่อตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่สอง มารดาจะคิดถึงตนเองและทารกในครรภ์ รู้สึกว่าทารกในครรภ์เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย
เมื่อทารกคลอดออกไปก็จะมีความรู้สึกว่างเปล่า และมีความรู้สึกสูญเสียบางอย่างของร่างกายออกไป
สูญเสียการควบคุมระบบต่างๆของร่างกาย
ในระยะหลังคลอด จะพบว่าไม่สามารถถ่ายปัสสาวะ อุจจาระได้ตามปกติ มารดามีความรู้สึกขาดผู้ให้ความช่วยเหลือ หรือพึ่งพิง มีความรู้สึกโกรธ แต่เมื่อสามารถทำเองได้สำเร็จ ความรู้สึกจะดีขึ้น
การสูญเสียการควบคุมตนเอง(Loss of self control ) มารดาจะมีความรู้สึกกดดันและอยากร้องไห้ ควบคุมตนเองไม่ได้
สูญเสียบทบาทของตนเองในสังคม การสูญเสียสภาพความเป็นอิสระของตนเองในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังคลอดซึ่งก่อนตั้งครรภ์เคยเป็นผู้นำสังคม มีความภูมิใจในการทำงาน
6.การเปลี่ยนแปลงในการที่จะเป็นมารดา (Transition to parenthood)
Anticipatory phase ซึ่งเป็นระยะที่มีความรู้สึกเกี่ยวกับความรับผิดชอบในหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในระยะตั้งครรภ์เป็นระยะยอมรับทารก
Honey moon phase เป็นระยะหลังคลอด เป็นระยะการสร้างความคุ้นเคยระหว่างพ่อแม่ลูก เป็นการสร้างสัมพันธภาพ ความรัก ความผูกพัน
ความรู้สึกขาดเกินในการตอบสนองของมารดา
ความรู้สึกมากเกินไป
ความรู้สึกไม่สบายใจทางร่างกาย
ความคาดหวังทางสังคม
การพักผ่อนไม่เพียงพอ
การถูกรบกวนจากบุคคลอื่น
คำแนะนำความช่วยเหลืออย่างมากมายจากเพื่อนครอบครัวทำให้เกิดความตึงเครียดทางอารมณ์
ความรู้สึกขาด
การแยกมารดาและทารกออกจากกัน
ขาดการเอาใจใส่จากสามี
การขาดคำแนะนำปรึกษาจากผู้ใหญ่ขาดความช่วยเหลือจากญาติ
ความขัดแย้ง ถึงแม้ว่ามารดาจะมีการวางแผนสำหรับทารกมาก่อนแต่การมีทารกใหม่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ดังนี้
การพึ่งผู้อื่นก่อให้เกิดความมั่นคงและความปลอดภัยแต่ขณะเดียวกันก็รู้สึกว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำและตัดสินใจในสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง
ความขัดแย้งระหว่างบทบาทของมารดาที่คาดหวังในขณะตั้งครรภ์กับที่เกิดขึ้นจริงหลังคอดมารดาอาจคิดว่าบุตรทำให้ตนเองเน็ตเหนื่อยมีงานมากและในเวลาเดียวกันเกิดความรู้สึกพิมพ์ต่อความรู้สึกเช่นนั้น
ความขัดแย้งจากการเปลี่ยนแปลงบทบาทในตนเองจากการเป็นภรรยาอย่างเดียวกลายเป็นภรรยาและมารดาซึ่งไม่สอดข้องกันทำให้เกิดความขัดแย้งกัน
การสนับสนุนทางสังคม
มารดาเกิดความรู้สึกมีบุคคลใกล้ชิดให้ความรัก เอาใจใส่ช่วยเหลือประคับประคอง ตลอดจนให้การช่วยเหลือด้านวัตถุสิ่งของ การเงินและแรงงาน ให้ข้อมูล คําแนะนํา
ช่วยในการแก้ปัญหาทําให้มารดามีความพร้อมเผชิญต่อปัญหาและการปรับตัว
เป็นตัวแปรทางจิตสังคมที่มีผลต่อภาวะสุขภาพ หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์
โดยจะทําให้คนมีประสบการณ์ที่ดีมี อารมณ์ที่มั่นคง และส่งเสริมการต่อสู้ปัญหาของแต่ละคนได้ดียิ่งขึ้น
มารดาหลังคลอดที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมไม่เพียงพอ
มารดาไม่สามารถปรับเปลี่ยน บทบาทเป็นมารดาได้ เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพกายและจิต
รู้สึกเครียด วิตกกังวลซึมเศร้า มีความรู้สึกว่าตนไม่สามารถเป็นมารดาที่ดีได้
เป็นตัวแปรที่ทํานายความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในระยะหลังคลอด