Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาเซียนในยุคโควิด-19 - Coggle Diagram
อาเซียนในยุคโควิด-19
-
การแถลงการณ์ที่ฉับไว
ถ้าจะว่าไปแล้ว กลุ่มอาเซียนซึ่งตอนนั้นเวียดนามเป็นประธานตื่นตัวค่อนข้างเร็วต่อการระบาดของโควิด-19 เพราะองค์การอนามัยโลกประกาศยืนยันพบผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีนเป็นรายแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2020 ในประเทศไทย[2] ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนและรายแรกที่เป็นการระบาดในท้องถิ่นของไทยเองก็ได้รับการยืนยันในเวลาอีกไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้นคือวันที่ 31 มกราคม 2020 ซึ่งก็เป็นเวลาเพียง 1 วันหลังจากที่องค์การอนามัยโลกประกาศภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุขจากประเทศอาเซียนกับผู้เชี่ยวชาญเริ่มหารือกันว่าจะทำความร่วมมือกันเพื่อรับสถานการณ์นี้อย่างไร
สรุป
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เผชิญกับภัยพิบัติอยู่เป็นประจำ โดยที่ภัยนั้นมีมาในรูปแบบต่างๆ หลากหลายชนิด แม้ว่ากลุ่มอาเซียนจะคุ้นเคยกับภัยธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ที่เกิดขึ้นประจำในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ พายุ น้ำท่วม ความแห้งแล้ง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำในแผ่นดินใหญ่ แต่โรคระบาดอย่างโควิด-19 ก็ไม่ใช่สิ่งที่เกินความคาดหมาย และอาเซียนก็พิสูจน์ให้เห็นว่าได้เรียนรู้ เตรียมการ สร้างกลไกความร่วมด้านสาธารณสุขเอาไว้รับมือแล้ว แต่ปัญหาที่จะต้องพิจารณาคือ ขีดความสามารถในการบริหารจัดการอย่างเป็นองค์รวมและความสมานฉันท์ภายในกลุ่มอาเซียนเอง อาจจะกลายเป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ทำให้กลุ่มอาเซียนไม่สามารถรับมือกับภัยคุกคามชนิดนี้ได้ดีพอ
การบริหารงานในกลุ่มอาเซียนในระยะหลังโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่อาเซียนมีกฎบัตรเมื่อกว่าทศวรรษที่ผ่านมาจะพึ่งพิงความสามารถและความกระตือรือร้นของประเทศที่เป็นประธานและตัวเลขาธิการเป็นสำคัญ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว อาเซียนภายใต้การนำของเวียดนามในปี 2020 เมื่อโควิดเริ่มระบาดนั้นตอบสนองต่อสถานการณ์ของโควิดได้ค่อนข้างรวดเร็ว แม้ว่าการปฏิบัติอาจจะล่าช้าติดขัดที่ระบบการบริหารและกลไกภายในอยู่มากก็ตาม แต่อาเซียนภายใต้การเป็นประธานของบรูไนในปีนี้ ซึ่งมีสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ที่รุนแรง รวดเร็ว กลับไม่มีความเคลื่อนไหวหรือความริเริ่มอะไรที่ทันท่วงทีออกมาเลย