Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สวัสดิการและการสร้างแรงจูงใจ - Coggle Diagram
สวัสดิการและการสร้างแรงจูงใจ
ค่าเล่าเรียนบุตร
ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการค่าเล่าเรียนบุตร
ในกรณีบุตร 1-3 คน
ข้าราชการเบิกค่าเล่าเรียนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายคนที่ 1 ถึง
คนที่ 3 ตามลำดับก่อนหลัง (ไม่รวมบุตรบุญธรรม) ในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี
อายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์
เบิกค่าเล่าเรียนในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี
ในกรณีที่ผู้ใดมีบุตรมากกว่า 3 คน
หากบุตรคนใดคนหนึ่งในจำนวน 3 คน ที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ก่อนอายุ 25 ปีบริบูรณ์ ก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาตามลำดับ
ตาย
กายพิการจนไม่สามารถเล่าเรียนได้
มิได้ศึกษาในสถานศึกษาที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
2 ประเภทและอัตราค่าเล่าเรียน
1) สถานศึกษาของทางราชการ
หลักสูตรระดับไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยก
ต่างหากจากหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง
หลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่ได้
จ่ายไปจริง
2) สถานศึกษาของเอกชน
หลักสูตรระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแต่ไม่สูงกว่า
อนุปริญญาหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง
หลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่งของจำนวน
หลักสูตรระดับไม่สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง
*ที่ได้จ่ายไปจริง ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด สำหรับบุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการหรือเอกชนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ต้องเป็นการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นหลักสูตรแรกเท่านั้น
บำเหน็จบำนาญ
1 ความหมาย
บำเหน็จ
เงินที่จ่ายให้ครั้งเดียว เมื่อสมาชิกภาพ
ของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำนาญ
เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือน
จ่ายตั้งแต่สมาชิกภาพ
ของสมาชิกสิ้นสุดลงจนกระทั่งผู้นั้นถึงแก่ความตาย
เงินสะสม
ส่งเข้ากองทุนเป็นรายเดือน
ขณะนี้กำหนดไว้
ร้อยละ 3 ของเงินเดือน
เงินสมทบ
เงินที่รัฐจ่ายสมทบเงินสะสม โดยส่วนราชการส่งเงินสมทบ
เข้ากองทุนเท่ากับเงินสะสมรายเดือน
กำหนดไว้ร้อยละ 3 ของเงินเดือน
เงินประเดิม
รัฐจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิก
เป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่
บทบัญญัติใช้บังคับและเลือกรับบำนาญ
โดยคำนวณระยะเวลาจากวันที่เริ่ม
เข้ารับราชการจนถึงวันที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุน
เงินชดเชย
รัฐจ่ายเพิ่มตามอัตราที่กำหนดตั้งแต่วันที่เป็นสมาชิก
จนถึงวันที่ออกจากราชการ
ประจำทุกเดือนเพื่อให้แก่สมาชิกซึ่งรับบำนาญ
ผลประโยชน์ตอบแทน
ได้รับตอบแทนเงินสะสม เงินสมทบ
เงินประเดิม เงินชดเชยที่กองทุนได้นำไปลงทุน
บำเหน็จตกทอด
จ่ายให้แก่ทายาทหรือบุคคล
ซึ่งสมาชิกผู้ตายแสดงเจตนาไว้
จ่ายให้ครั้งเดียว เมื่อสมาชิกถึงแก่ความตาย
บำเหน็จดำรงชีพ
จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพ
จ่ายให้ครั้งเดียว
มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพตามอัตราและวิธีการ ที่กำหนดในกฎกระทรวงการคลัง
ไม่เกิน 15 เท่าของบำนาญรายเดือนที่อยู่นั้นได้รับ
2 สิทธิในการได้รับ
สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 25 ปี
บริบูรณ์ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับ
บำนาญ
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง
เวลาราชการตั้งแต่ 1 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ปี มีสิทธิ
ได้รับบำเหน็จ
เหตุสูงอายุ ,เหตุทดแทน,เหตุทุพพลภาพ
เวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีสิทธิได้รับบำนาญ
3 เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง สมาชิกซึ่งมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามหลักเกณฑ์ข้างต้นจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญและเงินประเภทอื่นๆ แล้วแต่กรณี ดังนี้
3.1 กรณีรับบำเหน็จ
1) บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ
2) เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทน
3.2 กรณีรับบำนาญ
3) เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทน
4) มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการศึกษาบุตร
2) เงินชดเชยเท่าจำนวนที่ส่วนราชการจ่ายให้กองทุนตั้งแต่วันที่เป็นสมาชิก
1) บำนาญ = อัตราเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x เวลาราชการ / 50 (แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย)
4 การนับเวลาราชการเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญ
4.1 ให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย (กรณีการนับเวลาราชการเพื่อให้เกิดสิทธิในการได้รับบำเหน็จบำนาญ ให้นับเป็นปี เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี)หมวดเงินเดือนเท่านั้น
4.2 ให้นับเฉพาะวันราชการที่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายใน
4.3 หากมีเวลาป่วย หรือลา หรือพักราชการ หากได้รับเงินเดือน เต็มให้นับเต็ม ครึ่งหนึ่งให้นับครึ่งหนึ่ง ไม่ได้รับเงินเดือนเลย มิให้นำมานับเป็นเวลาสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ
5 บำเหน็จตกทอด
5.1 กรณีข้าราชการเสียชีวิต = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ
5.2 ผู้รับบำนาญเสียชีวิต = 30 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน – บำเหน็จดำรงชีพ (ถ้ามี)
6 การจ่ายบำเหน็จตกทอด
ให้แบ่งจ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาท
6.1 ทายาทตามกฎหมาย มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด
บุตรได้รับ 2 ส่วน โดยเฉลี่ยจ่ายคนละเท่าๆ กัน หากมีบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปให้บุตรได้รับ 3 ส่วน
สามีหรือภริยาให้ได้รับ 1 ส่วน
บิดามารดาที่ยังมีชีวิตอยู่ 1 ส่วน แบ่งจ่ายให้คนละเท่ากัน
6.2 บุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดให้เป็นผู้รับบำเหน็จตกทอด โดยให้ได้รับตามส่วนที่ผู้ตายกำหนดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด กรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาทตามกฎหมายและไม่ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดไว้ ให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดเป็นอันยุติลง
ค่ารักษาพยาบาล
2 อัตราค่ารักษาพยาบาล
2 ค่ายา เบิกได้ไม่เกินที่ใบเสร็จรับเงินระบุว่าเป็น “ค่ายาที่เบิกได้” หรือ“ค่ายาในบัญชียาหลักแห่งชาติ” หรือ “ค่ายาในบัญชียาของสถานพยาบาล” หรือ “ค่ายานอกบัญชียา” แต่สถานพยาบาลออกหนังสือรับรองให้ว่าจำเป็นต้องใช้ยานั้น
1 ค่ารักษาในสถานพยาบาลของรัฐ เบิกได้เต็มที่จ่ายจริง ทั้งคนไข้ในและคนไข้นอก สำหรับในสถานพยาบาลของเอกชน เลิกได้เฉพาะกรณีที่มีอุบัติเหตุ อุบัติภัย หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต โดยให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 3,000 บาท
3) ค่าอวัยวะเทียม ค่าอุปกรณ์ในการบำบัดรักษา และค่าซ่อมแซมอวัยวะเทียมเบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
4 กรณีคนไข้ใน ค่าเตียงสามัญ และค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 200
บาท กรณีอื่นเบิกได้ไม่เกินวันละ 600 บาท และไม่เกิน 13 วัน
5 การตรวจสุขภาพประจำ ปีให้สำ หรับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือ
ผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญที่เข้ารับการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของทางราชการมีสิทธิเบิก
ลักษณะ
มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการสำหรับตนเอง บิดา มารดา คู่สมรส บุตรไม่เกิน 3 คนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ค่ารักษาพยาบาล ได้แก่
1 ค่ายา ค่าเลือด อาหารทางเส้นเลือด
5 ค่าตรวจสุขภาพประจำปี
4 ค่าห้อง ค่าอาหาร
2 อวัยวะเทียม
3 ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ
สวัสดิการค่าเช่าบ้าน
ผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ได้แก่ ข้าราชการที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานต่างท้องที่เว้นแต่
ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้แล้ว
มีเคหะสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง หรือของคู่สมรสในท้องที่ที่ไป
ประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน
ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่เริ่มรับราชการ
ครั้งแรก หรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่
ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคำร้องขอ
ของตนเอง
สำนักงานที่ปฏิบัติราชการอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการใหม่ไปอยู่
ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
อัตราค่าเช่าบ้าน : มีสิทธิได้รับค่าเช่าเท่าที่จ่ายจริงตามสมควรแก่สภาพบ้าน
ตำแหน่งระดับ 2 : ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ 1000-1500 บาท
ตำแหน่งระดับ 3 : ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ 1250-1950 บาท
ตำแหน่งระดับ 4 : ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ 1600-2300 บาท
ตำแหน่งระดับ 1 : ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ 800-1200 บาท
ตำแหน่งระดับ 5 : ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ 1950-3000 บาท
ตำแหน่งระดับ 8 : ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ 3000-4000 บาท
ตำแหน่งระดับ 6 : ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ 2400-3000 บาท
ตำแหน่งระดับ 9 : ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ 3500-4000 บาท
ตำแหน่งระดับ 7 : ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ 3000-3500 บาท
ตำแหน่งระดับ 10 : ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ 4000 บาท
โครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยข้าราชการ
ให้นำเงินงบประมาณทั้งหมดที่ได้รับตามโครงการฯ ฝากไว้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์
ให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินงบประมาณที่ได้รับตามโครงการ ให้แก่
ส่วนราชการต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิกู้เงินตามโครงการ
เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ซึ่งรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิของตนเอง เว้นแต่อยู่ระหว่างการผ่อนชำระ
เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรกและทำสัญญาเงินกู้นั้นภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่รับโอนกรรมสิทธิ์หรือวันเข้าอยู่อาศัยแล้วแต่กรณี
ได้รับการคัดเลือกจากส่วนราชการเจ้าสังกัดนั้นเห็นสมควรกำหนด
ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยใช้สิทธิกู้เงินตามโครงการไปแล้ว
การกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้มีสิทธิกู้เงินตามโครงการให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกข้าราชการในสังกัด ให้เป็นผู้มีสิทธิกู้เงินตามโครงการ โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความเดือดร้อนของข้าราชการผู้นั้น ประโยชน์ที่ข้าราชการผู้นั้นกระทำไว้แก่ทางราชการและการใช้จ่ายเงินจากโครงการนี้ให้เกิดประโยชน์แก่ข้าราชการและส่วนราชการนั้นมากที่สุด
วงเงินกู้ ให้เป็นไปตามที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์กำหนด
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเทียบเท่า ระดับ 1-3 วงเงินไม่เกิน 300,000 บาท
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเทียบเท่า ระดับ 4 วงเงินไม่เกิน 400,000 บาท
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเทียบเท่า ระดับ 5 วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเทียบเท่า ระดับ 6 วงเงินไม่เกิน 600,000 บาท
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเทียบเท่า ระดับ 7 วงเงินไม่เกิน 700,000 บาท
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเทียบเท่า ระดับ 8 วงเงินไม่เกิน 800,000 บาท
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเทียบเท่า ระดับ 9 วงเงินไม่เกิน 900,000 บาท
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเทียบเท่า ระดับ 10-11วงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท
อัตราดอกเบี้ย ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังและธนาคารอาคารสงเคราะห์ร่วมกันกำหนด
ระยะเวลาผ่อนชำระเงินกู้ ให้เป็นไปตามที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างประจำให้สามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
การสร้างแรงจูงใจ
ด้านการจูงใจด้วยผลตอบแทน
ด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
ด้านการสร้างโอกาสของความสำเร็จ
ด้านการจัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร
เบี้ยเลี้ยงเดินทาง
อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ข้าราชการเดินทางไปราชการจะมีสิทธิ
เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางในลักษณะเหมาจ่าย หน่วย : บาท/วัน
ผู้ดำรงตำแหน่งหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าระดับ 1-2
ประเภท ก.
120
ประเภท ข.
72
ผู้ดำรงตำแหน่งหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าระดับ 3-8
ประเภท ก.
180
ประเภท ข.
108
ผู้ดำรงตำแหน่งหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าระดับ 9 ขึ้นไป
ประเภท ก.
240
ประเภท ข.
144
ค่าเช่าที่พัก
ค่าพาหนะ
ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น