Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Reflexes - Coggle Diagram
Reflexes
Type of reflexes
ชนิดของรีเฟล็กซ์แบ่งตามเวลาการเกิด
- Inborn reflex เป็นรีเฟล็กซ์ที่ทํางานได้ตั้งแต่เกิด โดยไม่ต้องฝึกฝน เช่น การชักเท้าหนีเมื่อสัมผัสของมีคม
- Acquired or conditional reflex เป็นรีเฟล็กซ์ที่เกิดจากการฝึกเช่นคนขับรถเหยียบเบรคเวลาเจอสิ่งกีดขวาง
ชนิดของรีเฟล็กซ์แบ่งตามจํานวน synapse ใน reflex arc
- Monosynaptic reflex มีเซลล์ประสาทในวงจรรีเฟล็กซ์เพียง 2 ตัว จึงมี synapse จุดเดียว เช่น stretch reflex
- Disynaptic reflex มี synapse 2 จุด เช่น golgi tendon reflex
- Polysynaptic reflex มีsynapse หลายจุด เช่น withdrawal reflex
ชนิดของรีเฟล็กซ์แบ่งตามชนิดของระบบประสาท
- Somatic reflex เป็นรีเฟล็กซ์ที่มีกล้ามเนื้อลาย เป็นอวัยวะตอบสนอง
- Autonomic reflex เป็นรีเฟล็กซ์ที่มีกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจและต่อมต่าง ๆ เป็นอวัยวะตอบสนอง
ชนิดของรีเฟล็กซ์แบ่งตามตําแหน่งของตัวรับความรู้สึก
- Superficial reflex ตัวรับความรู้สึกอยูบริเวณผิวหนัง
- Deep reflex ตัวรับความรู้สึกอยูในเนื้อเยื่อชั้นลึกลงไป เช่น tendon
- Visceral reflex ตัวรับความรู้สึกอยูในอวัยวะภายใน
Stretch reflex
• ตัวรับความรู้สึก คือ muscle spindles ที่อยูใน่ กล้ามเนื้อเป็นเซลล์กล้ามเนื้อพิเศษ ที่จะถูกกระตุ้นเมื่อมีการยืด (เปลี่ยนแปลงความยาว)
• ผลของ stretch reflex ทําให้กล้ามเนื้อมัดที่ถูกกระตุ้นเกิดการหดตัว
• Muscle spindle ประกอบด้วยใยกล้ามเนื้อ 3-10 อัน เรียงตัวเป็นลักษณะกระสวย (fusiform shape) เรียกว่าintrafusal fiber เรียงตัวขนานกบ กล้ามเนื้อที่ทําหน้าที่ยืด หดตัว เรียกว่า extrafusal fiber
การประยุกต์ใช้ในทางคลินิก
• Knee jerk
เคาะที่ patellar tendon ทําให้กล้ามเนื้อ quadriceps ยืดออก เกิด stretch reflex ทําให้ขาข้างที่กระตุ้นเตะออก
• reflex ลักษณะนี้เกิดที่กล้ามเนื้อลายส่วนอื่น ๆ ได้เช่นกัน
Spinal shock
คือการตัดขาดการส่งสัญญาณประสาทระหวางสมองและไขสันหลังระดับนั้น ๆ สาเหตุอาจเกิดจาก อุบัติเหตุ การกดทับของโครงสร้างข้างเคียง เป็นต้น
spinal shock ส่งผลให้การทํางานของระบบประสาทผิดปกติ ดังนี้
• สูญเสียการควบคุมภายใต้อํานาจจิตใจของกล้ามเนื้อที่เลี้ยง ด้วยเส้นประสาทจากไขสันหลังระดับตํ่ากวาที่ถูกตัด
• สูญเสียการรับความรู้สึกของร่างกายระดับตํ่ากว่าไขสันหลังที่ถูดตัด
• reflex ที่มี center อยู่ในไขสันหลังระดับตํ่ากว่าที่ถูกตัด หายไปชั่วคราว
• หลังเกิด spinal shock ผานไปช่วง 2-3 วัน จนถึง 2-3 เดือน เซลล์ประสาทใน ไขสันหลังจะเริ่มฟื้นการทํางาน (แต่อาจจะไม่เต็มที่เหมือนก่อนเกิด spinal shock)
• การฟื้นตัวขึ้นกบความรุนแรงของการบาดเจ็บต่อไขสันหลัง
• reflex จะเริ่มกลับมาทํางาน โดย reflex ชนิดแรกที่กลับมา คือ stretch reflex ที่ มีความซับซ้อนน้อยที่สุดและ reflex ชนิดอื่น ๆ จะฟื้นตามมาภายหลัง
• reflex ที่เกิดขึ้นหลังภาวะ spinal shock จะมีความแรงมากกวาปกติ (hyperreflexia) และอาจมี pathologic reflex ได้
Reflex arc
วงจรรีเฟล็กซ์ ประกอบด้วย
- อวัยวะรับความรู้สึก(sensory organ) หรือตัวรับความรู้สึก (sensory receptor)
- วิถีประสาทนําเข้า (afferent pathway)
- ศูนย์รีเฟล็กซ์ (reflex center)
- วิถีประสาทนําออก (efferent pathway)
- อวัยวะตอบสนอง (effector organ)
Spinal somatic reflex
Reflex from skeletal muscle
• Stretch reflex
• Tendon reflex
Reflex from skin
• Flexor reflex
• Crossed extensor reflex
Tendon reflex
• ตัวรับความรู้สึก คือ golgi tendon organ ที่ เอ็นของกล้ามเนื้อ (tendon) ถูกกระตุ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความตึง (tension)
• ผลของ tendon reflex ทําให้กล้ามเนื้อที่ต่อกับ tendon ที่ถูกกระตุ้นนั้นเกิดการคลายตัว
• เมื่อกล้ามเนื้อมีการหดตัว ทําให้เกิดความตึงที่เอ็น (tendon) ทําให้golgi tendon organ ถูกกระตุ้น ส่งสัญญาณเข้าสู่ไขสันหลัง ทําให้เกิด tendon reflexยับยั้งการ หดตัวของกล้ามเนื้อนั้น ๆ (ตรงข้ามกับ stretch reflex)
• กลไกนี้ป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อและเอ็นมีความตึงมากเกินไปจนเกิดการฉีกขาด
Skin reflex
• ตัวรับความรู้สึกอยู่บริเวณผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
• รับสิ่งกระตุ้นประเภทสัมผัส (touch)แรงกด (pressure) ความเจ็บปวด (pain)และอุณหภูมิ (temperature)
reflex ที่เกี่ยวข้อง มี 2 แบบ
• Flexor reflex
• Crossed extensor reflex
Flexor reflex
• เมื่อมีสิ่งกระตุ้นไม่ว่าจะเป็นความเจ็บปวด อุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นเกินไป หรือ แม้แต่การสัมผัสจะทําให้มีการหดตัวของกล้ามเนื้อกลุ่ม flexor เพื่อดึงแขนหรือขา ข้างนั้น ๆ หนีออกจากสิ่งกระตุ้น
• บางครั้งกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทํางานอาจจะไม่ใช่กลุ่ม flexor แต่เป็น reflex รูปแบบเดียวกันอาจเรียกรวมว่า withdrawal reflex
Flexor reflex เป็น polysynaptic reflex
Crossed extensor reflex
• เกิดในสถานการณ์เดียวกับ flexor reflex ตามหลังประมาณ 0.2-0.5 วินาที
• เป็นการทํางานของกล้ามเนื้อกลุ่ม extensor ด้านตรงข้ามกบสิ่งกระตุ้น
• เป็น polysynaptic reflex
ตัวอยางสถานการณ์การเกิด flexor reflex และcrossed extensor reflex
• ขณะที่เดินอยู่เท้าซ้ายเหยียบตะปูที่อยู่บนพื้น ขาซ้ายจะชักหนีตะปู (แม้จะยังไม่รู้ ว่าเหยียบโดนอะไร และสมองยังไม่ได้รับรู้ถึงความเจ็บชัดเจน)
= flexor reflex / withdrawal reflex
• ในขณะเดียวกันขาขวาก็จะเหยียดออก เพื่อทรงตัวไม่ให้ล้ม
= crossed extensor reflex
Autonomic reflex
เป็น reflex ที่เกี่ยวข้องกับ autonomic nervous system (จะได้เรียนอยางละเอียดในสรีรวิทยาแต่ละระบบต่อไป)
ตัวอย่าง
• baroreceptor reflex เกี่ยวข้องกบการควบคุมความดันเลือด การบีบตัวของหัวใจ และการหายใจ
• gastro-intestinal reflex เกี่ยวข้องกบการบีบตัวของทางเดินอาหาร
• micturition reflex เกี่ยวข้องกบการปัสสาวะ
• ฯลฯ
Abnormal reflex
• Hyporeflexia คือ การทํางานของ reflex ลดลง หรือถ้าไม่เกิด reflex เลยจะเรียกว่า areflexia
สาเหตุมักจะเกิดจากรอยโรคตั้งแต่ระดับ reflex center ลงไป เช่น การบาดเจ็บของไขสัน หลังในช่วงแรก หรือรอยโรคของเส้นประสาท เป็นต้น
• Hyperreflexia คือ การทํางานของ reflex เพิ่มขึ้น
สาเหตุมักจะเกิดจากรอยโรคเหนือต่อระดับของ reflex center เช่น การบาดเจ็บของไขสัน หลังในระยะหลัง หรือรอยโรคในสมอง เป็นต้น
• Pathologic reflex คือ การเกิด reflex ที่ในคนปกติไม่ควรจะเกิด เช่น Barbinski reflex
สาเหตุคล้ายกบรอยโรคในกรณี hyperreflexia
รีเฟล็กซ์ (reflexes)
เป็นการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม (external stimuli) โดยอัตโนมัติ (autonomic response) นอกอำนาจจิตใจ (involuntary) มีลักษณะเฉพาะต่อสิ่งกระตุ้นนั้น (stereotype)
ทำให้สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายได้