Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เภสัชวิทยากลุ่มยาฮอร์โมน และยาต้านฮอร์โมน - Coggle Diagram
เภสัชวิทยากลุ่มยาฮอร์โมน และยาต้านฮอร์โมน
Thyrotoxicosis การรักษาอาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
การใช้ยาต้านไทรอยด์ (antithyroid) เป็นยาในกลุ่ม thioamides ได้แก่ Propylthiouracil (PTU), Methimazole (MMI), carbimazole
Propylthiouracil (PTU)
Propylthiouracil (PTU) หลังรับประทานยาจะมีระดับยาในเลือดสูงสุดที่ 1 ชม.
มีค่าครึ่งชีวิต 1-2 ชม. โดยไม่เปลี่ยนแปลงตามสภาวะของตับหรือไต
แต่มีระยะเวลาออกฤทธิ์ 12-14 ชม. จึงรับประทานยาวันละ 2-3 ครั้ง
ผลข้างเคียงของยา PTU
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย
ผมร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดข้อ
ผลข้างเคียงที่รุนแรง แต่พบน้อยมาก เช่น
ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (agranulocytosis)
ตับอักเสบ ตัวเหลืองตาเหลือง
ไตอักเสบ
อาการแพ้ยาที่พบได้บ่อย
มีไข้ ผื่นหรือลมพิษ ปวดตามข้อ
Methimazole (MMI)
Methimazole (MMI) จะดูดซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะมีระดับยาในเลือดสูงสุดที่ 1-2 ชม.หลังรับประทาน
นิยมใช้ยาเป็นตัวแรก
เนื่องจากประสิทธิภาพดีกว่า และผลข้างเคียงน้อยกว่ายา Propylthiouracil (PTU)
MMI จะมีค่าครึ่งชีวิต 6-8 ชม.
มีระยะเวลาการออกฤทธิ์นาน 1 วัน หรือนานกว่านั้น
ผลข้างเคียงของยา MMI
ผลข้างเคียงที่พบบ่อย
ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ผลข้างเคียงที่พบได้ยาก
เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก
ขาหรือเท้ามีอาการบวม ชา หรือรู้สึกเหมือนเข็มแทง
น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
ดีซ่าน โดยมีอาการผิวเหลืองหรือตาเหลือง
ผื่นแดงคันที่ผิวหนังอย่างรุนแรง หรือผิวแห้งแตก
จำนวนเม็ดเลือดขาวลดลงชั่วคราว ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
เลือดออกง่าย เช่น อุจจาระมีสีดำ มีเลือดปนออกมา ปัสสาวะเป็นเลือด เลือดออกขณะแปลงฟัน มีรอยช้ำตามผิวหนัง
ส่วนยากลุ่ม carbimazole
(prodrug ของ methimazole) เมื่อรับประทานไปแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็น MMI อย่างรวดเร็ว
Oxytocin hormone ฮอร์โมนออกซิโทซิน
Oxytocin (ออกซิโทซิน)
คือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่กระตุ้นการหดตัวของมดลูก และกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
ทางการแพทย์นำมาใช้เพื่อ
กระตุ้นการคลอดหรือเพิ่มการบีบตัวของมดลูกในระหว่างการคลอดบุตร
ใช้รักษาอาการตกเลือดหลังคลอด
ข้อบ่งใช้
กระตุ้นการคลอดและรักษาอาการตกเลือด
การคลอด ช่วยในการคลอดในรายที่มดลูกทำงานช้ามาก ในรายที่ผ่าตัดหน้าท้องเพื่อเอาเด็กออก ให้ฉีดยาเข้ามดลูก ป้องกันและรักษาในรายที่มดลูกหย่อน
ระยะหลังคลอด ในรายที่การหดคืนตัวของมดลูกไม่สมบูรณ์ และช่วยในการห้ามเลือด ในรายที่เกิดการแท้งอย่างไม่สมบูรณ์
ขนาดและวิธีใช้
ฉีดเข้ากล้าม (IM)
หยดยาเข้าหลอดเลือดดำ (IV infusion) ช้าๆ
ผู้ป่วยต้องได้รับยาดังกล่าวตามคำแนะนำของแพทย์และภายในโรงพยาบาลเท่านั้น
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Oxytocin ที่พบบ่อย
คลื่นไส้ อาเจียน
มีอาการปวดหรือปวดบีบที่ท้อง
มดลูกบีบตัวรุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Oxytocin ที่พบไม่บ่อย(ถ้าพบต้องแจ้งแพทย์)
มีเลือดออกทางช่องคลอดมากขึ้น หรือเลือดไหลไม่หยุด
หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหรือแน่นบริเวณหน้าอก
ตรวจพบความดันโลหิตขึ้นสูงถึงขึ้นเป็นอันตราย
เกิดผื่นลมพิษ หรือมีอาการคัน
Insulin and Hypoglycemic drug อินซูลินและยาลดน้ำตาลในเลือด
Insulin อินซูลิน
ข้อบ่งใช้ของการใช้ยาฉีดอินซูลิน
โรคเบาหวานชนิดที่ 1
ความผิดปกติของตับอ่อน
ภาวะกรดคั่งจากคีโตน
การตั้งครรภ์
การติดเชื้อรุนแรง การผ่าตัด
โรคตับ โรคไต
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรง และในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยการควบคุมอาหารหรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาล
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาอินซูลิน
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
การแพ้ยา
ตาพร่ามัวมากขึ้น
อาการบวม
น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ประเภทของยาฉีดอินซูลิน
ฮิวแมนอินซูลินที่ออกฤทธิ์สั้น (Short acting หรือ Regular human insulin : RI)
อินซูลินอะนาลอกที่ออกฤทธิ์เร็ว (Rapid acting insulin analog : RAA) เป็นอินซูลินที่เกิดจากการดัดแปลงกรดอะมิโนที่สายของฮิวแมนอินซูลิน เช่น Insulin lispro และ Insulin aspart
ฮิวแมนอินซูลินที่ออกฤทธิ์ปานกลาง (Intermediate acting insulin : NPH)
อินซูลินอะนาลอกที่ออกฤทธิ์นาน (Long acting insulin analog : LAA) เป็นอินซูลินที่เกิดจากการดัดแปลงกรดอะมิโนที่สายของฮิวแมนอินซูลิน และเพิ่มกรดอะมิโนหรือ เสริมแต่งสายของอินซูลินด้วยกรดไขมัน เช่น Insulin glargine และ Insulin detemir
Insulin
เพิ่มการใช้กลูโคสที่กล้ามเนื้อหรือ ไขมัน
ออกฤทธิ์เหมือนกับอินซูลินภายในร่างกาย
ทำให้เกิดการยับยั้งการสลายไกลโคเจนจากตับ
ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
Hypoglycemic drug ยาลดน้ำตาลในเลือด
ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือดส่วนใหญ่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ตามกลไกการออกฤทธิ์ ดังนี้
1.ยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งของอินซูลินจากตับอ่อน
1.1 ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea)
ส่งผลให้มีปริมาณอินซูลินในร่างกายเพิ่มมากขึ้น
แบ่งออกเป็น 3 รุ่น ได้แก่
ยารุ่นที่หนึ่ง (First generation) เช่น Chlorpropamide
เนื่องจากยาออกฤทธิ์นาน ปัจจุบันจึงไม่นิยมใช้
เกิดผลข้างเคียง เช่น ภาวะที่มีการทำงานของแอนติไดยูเรติกฮอร์โมน (Antidiuretic hormone : ADH) มากผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia) และยังทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ในผู้ป่วยสูงอายุได้บ่อย
ยารุ่นที่สอง (Second generation) เช่น Glibenclamide, Glipizide
ยารุ่นที่สาม (Third generation) เช่น Glimepiride, Gliclazide เป็นต้น
1.2 ยากลุ่มออกฤทธิ์เร็วที่ไม่ใช่ซัลโฟนิลยูเรีย (Rapid acting non-sulfonylurea)
เป็นยากลุ่มใหม่ที่โครงสร้างของยาไม่ใช่กลุ่มซัลฟา
กลไกการออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย
แต่กระตุ้นที่ตำแหน่งของตัวรับแตกต่างกัน
ออกฤทธิ์ได้เร็วกว่า
ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำน้อยกว่า
2 ยากลุ่มที่ลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน
ยากลุ่มไบกัวไนด์ (Biguanide)
ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น จึงมีการนำน้ำตาลเข้าเซลล์กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายไกลโคเจนจากตับเป็นหลัก
3.ยากลุ่มที่ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส (Alpha-glucosidase inhibitor)
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสที่ลำไส้
ประสิทธิภาพการย่อยคาร์โบไฮเดรตลดลง
มีกลูโคสสำหรับดูดซึมได้น้อยลง
ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้
Oral Contraceptives ยาเม็ดคุมกำเนิด
ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นยาที่ใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.ชนิดฮอร์โมนเดี่ยว มีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) เพียงอย่างเดียว
2.ชนิดฮอร์โมนรวม (combined pills) ซึ่งในแต่ละเม็ดมีตัวยาสำคัญเป็นฮอร์โมนใน
กลุ่มเอสโตรเจน (estrogens) ผสมกับฮอร์โมนในกลุ่มโพรเจสติน (progestins)
การออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิด
(Mechanism of Oral contraceptives)
ออกฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่
ลดการสร้างเมือกและเพิ่มความหนืดของเมือกปากมดลูกซึ่งทำให้ตัวอสุจิไม่สามารถเดินทางไปปฏิสนธิกับไข่
เพิ่มการบีบตัวของท่อนำไข่และมดลูกซึ่งทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วมาถึงโพรงมดลูกในเวลาที่ไม่เหมาะสมในการฝังตัว
ทำให้เยื่อบุมดลูกไม่พร้อมที่จะรับการฝังตัวของตัวอ่อน
อาการไม่พึงประสงค์ของยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
คลื่นไส้ อาเจียน
ท้องอืด
เจ็บคัดเต้านม
ปวดศีรษะ
น้ำหนักตัวเพิ่ม มีน้ำสะสมมากในร่างกาย (ตัวบวมน้ำ)
มีเลือดคล้ายประจำเดือนออกกะปริบกะปรอย
เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (จึงห้ามใช้ในผู้ที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำหรือมีประวัติของความผิดปกตินี้) ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวมากน้อยต่างกันขึ้นกับชนิดของตัวยา
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม มักพบได้ 2 รูปแบบ คือ แผง 21 เม็ด และแผง 28 เม็ด
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแผงละ 21 เม็ด
ทุกเม็ดจะมีตัวยาทั้งหมด (ไม่มีเม็ดแป้ง)
รับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน วันละ 1 เม็ด จนหมดแผงแล้วหยุด
7 วันก่อนเริ่มแผงใหม่
หลังหยุดยาประมาณ 1-3 วันจะเริ่มมีประจำเดือน
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแผงละ 28 เม็ด
มีตัวยาฮอร์โมนจำนวน 21 เม็ดและไม่มีตัวยาหรือเรียกว่า “เม็ดแป้ง” อีก
7 เม็ด (มีส่วนน้อยที่ต่างออกไป เช่น ชนิดแผง 24/4 เม็ด คือมีตัวยา 24
เม็ดและเม็ดแป้ง 4 เม็ด)
เม็ดแป้งจะมีสีและ/หรือขนาดเม็ดที่แตกต่างจากเม็ดที่มีตัวยา
รับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน วันละ 1 เม็ด จนหมดแผง แล้วขึ้นแผงใหม่ต่อเนื่องกันไป ช่วงที่รับประทานเม็ดแป้งไปประมาณ 1-3 เม็ดจะเริ่มมีประจำเดือนมา
ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
(Emergency contraception pill)
วิธีกินยาคุมฉุกเฉิน
กินยาเม็ดแรกทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ และเม็ดที่สองห่างไปอีก 12
ชั่วโมง (ห้ามลืมกินเม็ดที่ 2)
หากไม่สามารถกินยาได้ทันที ก็สามารถกินหลังจากนั้น แต่ไม่ควรเกิน 3
วันหรือ 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์
หากมีเพศสัมพันธ์ระหว่างที่กินยาคุมฉุกเฉินแล้ว ไม่มีความจำเป็นต้อง
กินยาซ้ำ เนื่องจากยาจะไม่ส่งผลใดๆ เพิ่ม
ไม่ควรกินยาคุมฉุกเฉินมากกว่า 2 แผง (4 เม็ด) ภายในรอบเดือนเดียว
เนื่องจากยาจะส่งผลให้ระบบสืบพันธุ์สร้างฮอร์โมนผิดปกติ
อาการข้างเคียงและข้อควรระวัง
คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งมักพบหลังจากรับประทานยาไปไม่นาน
ปวดศีรษะหรือปวดท้อง
ประจำเดือนมาผิดปกติ เสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูก
หากหลังจากรับประทานยาไปแล้วมีเลือดออกทางช่องคลอด หรือประจำเดือนขาดหายไป รวมถึงสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยภาวะผิดปกติ