Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น อายุประมาณ 13-19 ปี หรือวัยกำดัด - Coggle Diagram
การส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น
อายุประมาณ 13-19 ปี หรือวัยกำดัด
ธรรมชาติของวัยรุ่น ความต้องการของบุคคลในวัยรุ่น
ความต้องการทางด้านจิตสังคมที่สำคัญ
ความต้องการเป็นอิสระและความเป็นตัวของตัวเอง
ความต้องการความรัก วัยรุ่นจะชื่นชอบบุคคลที่นิยมยกย่องตนเอง ทุ่มเทให้กับคนที่ตนยกย่องบูชา
ต้องการประสบการณ์แปลกใหม่ อยากรู้ อยากลอง ปัญหาเรื่องเพศและยาเสพติด
ความต้องการทางด้านร่างกาย
เนื่องจากการเจริญเติบโตเป็นไปอย่างรวดเร็ว วัยรุ่นจึงต้องการพลังงาน แคลเซียมค่อนข้างสูง ถึง 1200 มก./วัน เพื่อการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน
การออกกำลังกาย และการพักผ่อน
ความต้องการเป็นที่ยอมรับของสังคม
ไม่ชอบการถูกตำหนิ
ยอมรับนับถือและเห็นคุณค่า ปฏิบัติตามกลุ่มสังคมตนเอง
การประเมินภาวะสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยง
สิ่งที่ต้องคำนึงในการประเมินภาวะสุขภาพ
สถานที่ตรวจ ควรมีความเป็นส่วนตัวไม่ถูกรบกวน
ผู้ประเมินควรมีทัศนคติที่ดีต่อวัยรุ่น ไม่สร้างความเครียดให้กับวัยรุ่น
ภาษาที่ใช้ในการพูดคุยควรเข้าใจง่าย
วัยรุ่นมักใช้ภาษาท่าทาง ทั้งสีหน้า การเคลื่อนไหว และการแสดงออกต่างๆ มากกว่าการใช้คำพูด
หากสงสัยควรซักประวัติในประเด็นปัญหาจากพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลายร่วมด้วย
แนวทางการประเมินภาวะสุขภาพ
การประเมินตามกรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
การประเมินภาวะสุขภาพด้านจิตสังคมของวัยรุ่น
แบบประเมินด้านจิตสังคมของวัยรุ่น ารประเมินพฤติกรรมเสี่ยง ควรพูดคุยกับวัยรุ่นตามลำพังโดยใช้ HEEADSSS
Home : ครอบครัว บ้าน ชุมชน สิ่งแวดล้อม
Education/Employment : การศึกษาการประกอบอาชีพ
Eating : พฤติกรรมการกิน
Activities : กิจกรรมยามว่าง งานอดิเรก
Drugs : การใช้สารเสพติด
Sex : เรื่องเพศ
Suicide : ปัญหาทางอารมณ์
Safety : ความปลอดภัย
Strengths : จุดแข็ง ข้อดี
แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงสำหรับวัยรุ่น ฉบับ 12 คำถาม
มีคะแนนรวม ตั้งแต่ 0-12 คะแนน ไม่เสี่ยง
มีคะแนนรวม ตั้งแต่ 13-24 คะแนน เสี่ยงเล็กน้อย
มีคะแนนรวม ตั้งแต่ 25-36 คะแนน เสี่ยงปานกลาง
มีคะแนนรวม ตั้งแต่ 37-48 คะแนน เสี่ยงมาก
แบบทดสอบการติดเกม (GAST: Game Addiction Screening Test)
จำนวนข้อของแบบทดสอบ
1) การหมกมุ่นกับเกม (preoccupation with game) : ได้แก่ ข้อคำถามที่ 1,8,9,11,13,16
2) การสูญเสียความสามารถในการควบคุมการเล่นเกม (loss of control) : ได้แก่ ข้อคำถามที่ 2,4,5,6,12
3) การสูญเสียหน้าที่ความรับผิดชอบ (function impairment) : ได้แก่ ข้อคำถามที่ 3,7,10,14,15
การตอบแบบทดสอบ
ไม่ใช่เลย หมายถึง ผู้ตอบมีความมั่นใจ 100% ว่าตนเองไม่เคยมีพฤติกรรมเช่นนั้นเลย
ไม่น่าใช่ หมายถึง ผู้ตอบมีความมั่นใจมากกว่า 50% (แต่ไม่ถึง 100%) ว่าตนเองไม่เคยมีพฤติกรรมเช่นนั้น
น่าจะใช่ หมายถึง ผู้ตอบมีความมั่นใจมากกว่า 50% (แต่ไม่ถึง 100%) ว่าตนเองมีหรือเคยมี พฤติกรรมเช่นนั้น
ใช่เลย หมายถึง ผู้ตอบมีความมั่นใจมากกว่า 100% ว่าตนเองมีหรือเคยมีพฤติกรรมเช่นนั้น
แนวทางการส่งเสริมสุขภาพ
การส่งเสริมสุขภาพในวัยรุ่นในระดับต่างๆ
ระดับปฐมภูมิ
1) การสร้างความอบอุ่นในครอบครัว พ่อแม่ต้องมีเวลาให้ลูก เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่ปรึกษาให้ลูกเมื่อมีปัญหาคับข้องใจ
2) การสร้างความนับถือตนเอง ให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีบุคคลคอยเอาใจใส่ และให้กำลังใจ ซึ่งจะทำให้วัยรุ่นมีความยับยั้งชั่งใจในการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
3) การสอนทักษะชีวิต (Life skill) เพื่อให้สามารถเผชิญและจัดการกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) การให้ความรู้เฉพาะด้านต่างๆ เช่น เรื่องเพศศึกษา ซึ่งควรปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องความเป็นหญิงชาย ตั้งแต่วัยเด็ก โดยให้เนื้อหาที่สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย เป็นต้น
ระดับทุติยภูมิ
เป็นการค้นหาผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ระยะแรก
คัดกรองเด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน ในชุมชน หรือในเด็กที่มารับบริการด้วยโรคทางกายอื่นๆ
ให้คำแนะนำในกรณีที่มีภาวะเสี่ยงซึ่งสามารถดำเนินการได้ในรูปแบบต่างๆ
คลินิกวัยรุ่นในโรงเรียน
คลินิกแนะแนววัยรุ่น
โทรศัพท์สายด่วน
ระดับตติยภูมิ
เป็นการฟื้นฟูสภาพทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
ให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว เ
หลักการทำงานกับกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน มี 3 ประการ
การสร้างสัมพันธภาพ
การให้ความช่วยเหลือ
การค้นหาและเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนในชุมชน
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น
ดูแลครอบคลุม 4 มิติ
การป้องกัน
การส่งเสริม
การรักษา
การฟื้นฟูสุขภาพ
ใช้กระบวนการพยาบาล ร่วมกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพ
ประเมินสภาพของปัญหา โดยพิจารณาจากปัญหาสุขภาพ
ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ
กำหนดกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ชุมชน ตรวจสอบความเชื่อทางสุขภาพ
ประเด็นกฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่น
1.ห้ามขายแอลกอฮอล์ให้แก่บุคคลที่อายุต่ำกว่า 20 ปี
2.ห้ามขาย/ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในหรือบริเวณสถานศึกษา
ห้ามจำหน่าย ขาย แลกเปลี่ยนหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ แก่บุคคลซึ่งตนรู้อยู่ว่าผู้ซื้อหรือผู้รับเป็นผู้มีอายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์
เขตปลอดบุหรี่ ได้แก่ รถรับส่งนักเรียน โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ต่ำกว่าระดับอุดมศึกษา
ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ให้ผู้อื่นเสพยาเสพติดให้โทษ มีโทษจำคุก และปรับ