Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพระบบผิวหนัง - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพระบบผิวหนัง
โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
สาเหตุ
ผลข้างเคียงของการติดเชื้อ HIV
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเพื่อรักษาอาการความดันสูง หรือโรคหัวใจ
เกิดจากความเครียดมากจนเกินไป
ผิวหนังได้รับความเสียหายทั้งรอยแผลจากวัตถุ การแกะ หรือการเกาจนเป็นแผล
พันธุกรรม
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
ชนิดของสะเก็ดเงิน
ชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis) เ
ชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate psoriasis)
ชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis)
ชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic psoriasis)
สะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ (Inverse psoriasis)
สะเก็ดเงินบริเวณมือเท้า (Palmoplantar psoriasis)
เล็บสะเก็ดเงิน (Psoriatic nails)
ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis
อาการ
ผิวหนังมีลักษณะเป็นผื่นแดง มีขอบเขตชัดเจน
มีอาการลอกเป็นขุยสีขาว
ในบางรายอาจจะมีอาการอักเสบของผิวหรือผิวแห้งแตก และมีอาการเลือดออก
การรักษา
สะเก็ดเงินความรุนแรงน้อย หมายถึง ผื่นน้อยกว่า10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย (ผื่นขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือเท่ากับพื้นที่ประมาณ1%) ให้การรักษาโดยใช้ยาทาเป็นอันดับแรก
สะเก็ดเงินความรุนแรงมากหมายถึง ผื่นมากกว่า10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย พิจารณาให้การรักษาโดยใช้ยารับประทานหรือฉายแสงอาทิตย์เทียมหรืออาจใช้ร่วมกันระหว่างยารับประทานหรือฉายแสงอาทิตย์เทียมและยาทา
Fasciitis
อาการ
ผิวหนังบริเวณรอบ ๆ บาดแผลร้อนหรือมีสีแดง
รู้สึกปวดบาดแผลมากผิดปกติ
บริเวณที่เกิดการติดเชื้อเกิดการเปลี่ยนสี หรือมีของเหลวซึมออกมา
มีตุ่มแดงเล็ก ๆ ถุงน้ำ จุดดำ หรือความผิดปกติอื่น ๆ เกิดขึ้นบนผิวหนังร่วมกับเกิดความเจ็บปวด
ตึงบริเวณกล้ามเนื้อ
มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
มีภาวะขาดน้ำ โดยมีอาการ เช่น กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อย
สาเหตุ
ผู้ที่ติดแอลกอฮอล์หรือฉีดสารเสพติด
ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์
ผู้ป่วยโรคผิวหนัง
ผู้ป่วยโรคหัวใจหรือโรคปอดเรื้อรัง
ผู้ป่วยเบาหวานหรือมะเร็ง
การรักษา
การใช้ยา ผู้ป่วยอาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะ ซึ่งแพทย์มักให้ยาหลายชนิดร่วมกันทางหลอดเลือดดำ และยาควบคุมความดันโลหิต รวมทั้งสารภูมิคุ้มกันอิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับภาวะติดเชื้อ
การผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดกำจัดเนื้อเยื่อที่เสียหายหรือตาย เพื่อหยุดการกระจายของเชื้อ รวมทั้งอาจต้องตัดแขนหรือขาในบางกรณีหากการติดเชื้อลุกลามหรือรุนแรง
Erythema Multiforme
อาการ
ผื่นสีแดงขนาดเล็ก ซึ่งมักเริ่มเกิดบริเวณมือและเท้า ก่อนจะแพร่กระจายไปตามแขน ขา และจะพบได้มากที่สุดบริเวณใบหน้า คอ และลำตัว
รอยผื่นบางบริเวณมีลักษณะกระจุกตัวกันหรือเกาะรวมกันเป็นกลุ่ม เช่น บริเวณข้อศอก หรือหัวเข่า
สาเหตุ
ชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยเชื้อที่พบได้บ่อย ได้แก่ เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) หรือเชื้อที่ทำให้เกิดโรคเริม เชื้อแบคทีเรียไมโคพลาสมา (Mycoplasma Bacteria)
ยาบางชนิด เช่น กลุ่มยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) กลุ่มยาเพนิซิลลิน (Penicillin) กลุ่มยาซัลฟา (Sulfonamides) ยากันชัก ยาชาหรือยาสลบ และยาต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มอื่น
การรักษา
การติดเชื้อ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยา โดยชนิดของยาจะขึ้นอยู่กับการติดเชื้อของผู้ป่วย เช่น ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ชนิดรับประทาน สำหรับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ หรือยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) สำหรับผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียไมโคพลาสมา
รับประทานยากลุ่มต้านฮิสตามีน หรือทาครีมที่มีสารช่วยให้ผิวชุ่มชื้น เพื่อบรรเทาอาการคัน
รับประทานยาแก้ปวด หรือทำแผลเพื่อบรรเทาอาการปวดจากการติดเชื้อ
ทายาสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการอักเสบของผิวหนัง
ใช้น้ำยาบ้วนปากที่บรรเทาอาการปวดในช่องปาก
รับประทานอาหารเหลว หรืออาจให้สารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำ หากผู้ป่วยรับประทานอาหารลำบากจากแผลในช่องปากหรือริมฝีปาก
ภาวะแทรกซ้อน
ผิวหนังเกิดรอยแผลเป็น
เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis)
อวัยวะภายในเกิดการอักเสบ เช่น ปอด ตับ
ดวงตามีความผิดปกติอย่างถาวร
ติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis)
ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ (Septic Shock
Stevens-Johnson syndrome
อาการ
เกิดผื่นแดงที่ตรงกลางมีสีเข้มและรอบข้างมีสีจาง จากนั้นผื่นจะค่อย ๆ ลุกลามและเพิ่มจำนวนขึ้น
ผิวหนังชั้นนอกหลุดลอก เผยให้เห็นผิวด้านในที่มีลักษณะคล้ายผิวไหม้
รู้สึกเจ็บปวดตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ
เกิดแผลพุพองตามผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิวบริเวณริมฝีปาก ช่องปาก จมูก ตา และอวัยวะเพศ
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุของ Stevens Johnson Syndrome อย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่าการติดเชื้อและการใช้ยาบางชนิดอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ได้
การรักษา
ประคบเย็นเพื่อช่วยให้ผิวหนังที่ตายแล้วหลุดออกง่ายขึ้น จากนั้นจึงใช้ผ้าพันแผลปลอดเชื้อพันรอบผิวหนังบริเวณที่มีอาการ
ให้น้ำและสารอาหารผ่านทางจมูก ช่องท้อง หรือหลอดเลือด เนื่องจากการสูญเสียผิวหนังส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและสารอาหารมากกว่าปกติ
ใช้ผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นหรือมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ทาผิวเป็นประจำ
ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาชาหรือยาฆ่าเชื้อ
ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติบริเวณดวงตา แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาหยอดตาหรือยาป้ายตา
ให้ยาปฏิชีวนะ หากผู้ป่วยมีอาการเข้าข่ายภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
ให้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อควบคุมอาการอักเสบของผิวหนัง
ภาวะแทรกซ้อน
เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ
ติดเชื้อในกระแสเลือด
ผิวหนังถูกทำลายถาวร
อวัยวะภายในอักเสบ
ปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์
ปอดทำงานผิดปกติ
Herpes simplex, Herpes Zoster
โรคงูสวัด
โรคเริม
สาเหตุ
Herpes Simplex virus type 1 หรือ เชื้อ HSV ชนิดที่ 1 มักพบการติดเชื้อบริเวณปากหรือรอบๆ ปาก เกิดขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น มีความเครียด พักผ่อนน้อย ร่างกายอยู่ในช่วงพักฟื้นจากการเจ็บป่วยหรือผ่าตัด หรือ แม้แต่ช่วงที่ผู้หญิงมีประจำเดือน ก็สามารถป่วยด้วยโรคนี้ได้ เช่น อาการเริมที่ปาก
Herpes Simplex virus type 2 หรือ เชื้อ HSV ชนิดที่ 2 เป็นการติดเชื้อที่บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ หรือ อวัยวะเพศ ช่องคลอด ปากมดลูก ทหารหนัก อวัยวะเพศชาย ถุงอัณฑะ
การรักษาเริม
การบรรเทาอาการเจ็บปวด โดยแพทย์อาจสั่งยาบรรเทาอาการปวด ซึ่งแผลจากโรคเริมจะสามารถหายเองได้ภายในเวลา 2-6 สัปดาห์
พักผ่อนให้เพียงพอ
รักษาสุขอนามัย ป้องกันการติดเชื้อในเนื้อเยื่อ และอวัยวะ และสู่ผู้อื่น แยกของใช้ เครื่องใช้ ส่วนตัว รวมทั้งแก้วน้ำและช้อนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ดื่มน้ำสะอาดมากๆ อย่างน้อย 6 – 8 แก้วต่อวัน
รักษาความสะอาดบริเวณตุ่มพอง และเครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน
ในรายที่เกิดโรคบริเวณอวัยวะเพศ ควรสวมใส่เสื้อผ้า กางเกงในที่หลวมสบาย และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ช่วงนั้น
กินยาบรรเทาปวด พาราเซตามอล และยาบรรเทาอาการคัน โดยปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยาเองเสมอเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา