Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 5 สิ่งมีชีวิต บทที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม - Coggle Diagram
หน่วยที่ 5 สิ่งมีชีวิต บทที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
แนวคิดสำคัญ - สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ ซึ่งอาจมีสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ดังนั้นสิ่งมีชีวิตจึงต้องปรับตัวด้านโครงสร้างและลักษณะของร่างกายให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่ สิ่งแวดล้อมในแต่ละแหล่งที่อยู่ ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิตหลายชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆ นอกจากจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตด้วยกันในด้านต่างๆ แล้ว ยังมีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตด้วย เราจึงควรตระหนักและช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีสภาพที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตตลอดไป
เรื่องที่ 1 โครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่
จุดประสงค์การเรียนรู้ - สังเกต รวบรวมข้อมูล และบรรยายโครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่
ขั้นทักษะจากการอ่าน
แหล่งที่อยู่คืออะไร - บริเวณที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
แหล่งที่อยู่ในเรื่องนี้คือที่ใด - ป่าชายเลน
ป่าชายเลนมีลักษณะเป็นอย่างไร - มีลักษณะเป็นดินเลน มีน้ำท่วมถึงสม่ำเสมอ น้ำเป็นน้ำกร่อย
น้ำกร่อยมีลักษณะเป็นอย่างไร - น้ำกร่อยเป็นน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำทะเลและน้ำจืด หรือน้ำที่มีปริมาณสารละลายเกลือมากกว่าที่มีอยู่ในน้ำจืด แต่ไม่มากเท่ากับปริมาณที่มีอยู่ในน้ำเค็ม
สิ่งมีชีวิตที่พบในป่าชายเลนมีอะไรบ้าง - ต้นโกงกาง ต้นแสม ต้นลำพู ต้นเหงือกปลาหมอ ปลาตีน ปูก้ามดาบ ลิงแสม กุ้งดีดขัน
พืชที่พบในป่าชายเลนมีลักษณะแตกต่างกับพืชที่อยู่บนบกหรือไม่อย่างไร - แตกต่างกัน คือ พืชในป่าชายเลนจะมีรากยื่นออกมาจากลำต้น หรือมีรากแทงขึ้นมาเหนือดิน แต่พืชที่อยู่บนบกจะมีรากอยู่ใต้ดิน
ถ้าเรานำต้นไม้บริเวณรอบๆ โรงเรียนไปปลูกในป่าชายเลน ต้นไม่เหล่านั้นจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้หรือไม่ - ต้นไม้เหล่านั้นดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ เพราะรากต้นไม้เหล่านั้นมีลักษณะแตกต่างกับรากพืชในป่าชายเลน ทำให้ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในป่าชายเลน
พืชและสัตว์ต่างๆ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในป่าชายเลนได้อย่างไร - พืชและสัตว์เหล่านี้มีการปรับตัวหรือปรับโครงสร้างและลักษณะของร่างกายให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในป่าชายเลน
สรุป - สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในป่าชายเลนมีการปรับตัวหรือปรับโครงสร้างและลักษณะของร่างกายให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่
รู้หรือยัง
ป่าชายเลนมีลักษณะอย่างไร - ป่าชายเลน มีลักษณะเป็นดินเลน มีน้ำท่วมถึงสม่ำเสมอ น้ำเป็นน้ำกร่อย
สิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนมีอะไรบ้าง สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นมีโครงสร้างและลักษณะเหมาะสมกับการดำรงชีวิตในป่าชายเลนอย่างไร - สิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน เช่น ต้นโกงกาง ต้นแสม ต้นลำพู ต้นลำแพน ต้นเหงือกปลาหมอ ปลาตีน ปูก้ามดาบ ลิงแสม กุ้งดีดขัน สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นมีโครงสร้างและลักษณะเหมาะสมกับการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่ เช่น ต้นโกงกาง มีรากยื่นออกมาจากลำต้นและปักลงดินเลนเพื่อช่วยค้ำลำต้น ต้นแสมและต้นลำแพน มีรากแทงขึ้นมาเหนือดินเพื่อช่วยในการหายใจ ต้นแสมและต้นเหงือกปลาหมอมีต่อขับเกลือเพื่อขับเกลือส่วนเกินออก ปลาตีนก้ฒีครีบอกที่แข็งแรง ใช้ในการว่ายน้ำและการเคลื่อนที่ไปบนดินเลน
กิจกรรมที่ 1 โครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตเหมาะสมกับแหล่งที่อยู่อย่างไร
คำถามหลังกิจกรรม
แหล่งที่อยู่แต่ละแหล่งมีลักษณะเป็นอย่างไร
แหล่งน้ำมีลักษณะเป็นอย่างไร - มีน้ำใส มีพืชน้ำและสัตว์น้ำอาศัยอยู่ มีดินที่ชื้นแฉะอยู่ใต้น้ำ
บริเวณทะเลทรายมีลักษณะเป็นอย่างไร - อุณหภูมิสูงหรืออากาศร้อนในเวลากลางวันแต่จะมีอุณหภูมิต่ำหรืออากาศหนาวจัดในเวลากลางคืน พื้นที่มีความแห้งแล้ง และมีทรายปกคลุมทั่วบริเวณ
บริเวณขั้วโลกมีลักษณะเป็นอย่างไร - อากาศหนาวเย็นตลอดปี มีหิมะปกคลุม
ในแหล่งน้ำมีสิ่งมีชีวิตอะไรบ้าง - ปลา กุ้ง หอย กบ ผักตบชวา ผักกระเฉด
สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในแหล่งน้ำมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่อย่างไร - ปลามีครีบและกบมีพังผืดเชื่อมระหว่างนิ้วช่วยในการว่ายน้ำ ภายในก้านใบของผักตบชวามีช่องอากาศจำนวนมาก และผักกระเฉดมีนวมสีขาวหุ้นลำต้น ช่วยให้ลำต้นลอยน้ำได้
บริเวณขั้วโลกมีสิ่งมีชีวิตอะไรบ้าง - หมีขั้วโลก นกฮูกขั้วโลก นกเพนกวิน หมาป่าขั้วโลก
สิ่งมีชีวิตที่อยู่บริเวณขั้วโลกมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่อย่างไร - หมีขั้วโลก มีขนหนาปกคลุมร่างกายและมีชั้นไขมันหนาใต้ผิวหนัง เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ขนสีขาวช่วยให้กลมกลืนกับแหล่งที่อยู่ซึ่งมีหิมะปกคลุม นกฮูกขั้วโลก มีขนดกแน่นที่อุ้งเท้า เพื่อให้เกาะบนกิ่งไม้ที่มีหิมะปกคลุม นกเพนกวินมีชั้นไขมันหนาใต้ผิวหนัง มีขนแน่นปกคลุมร่างกาย เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น หมาป่าขั้วโลกมีขนสีขาว มีใบหูและจมูกสั้น เพื่อลดการระบายความร้อน
บริเวณทะเลทรายมีสิ่งมีชีวิตอะไรบ้าง - อูฐ สุนัขจิ้งจอกทะเลทราย กระบอกเพชร
สิ่งมีชีวิตที่อยู่บริเวณทะเลทรายมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่อย่างไร - อูฐ มีโหนกสำหรับเก็บไขมันไว้ใช้เมื่อไม่มีอาหาร มีขนตายาวเพื่อป้องกันฝุ่นทรายเข้าตา มีขายาวเพื่อให้ลำตัวอยู่ห่างจากพื้นทรายที่ร้อน มีเท้าที่มีพื้นที่กว้างเพื่อไม่ให้จมลงไปในทราย สุนัขจิ้งจอกทะเลทราย มีขนที่ใบหูเพื่อป้องกันไม่ให้ทรายเข้าหู มีใบหูใหญ่และมีจมูกยาวช่วยระบายความร้อนในร่างกาย กระบอกเพชร มีการลดรูปให้มีขนาดเล็กแหลม แข็งคล้ายหนามเพื่อลดการสูญเสียน้ำ มีการกักเก็บน้ำภายในลำต้น ทำให้มีลำต้นอวบน้ำ
นำ ไก่ เป็ด มีโครงสร้างและลักษณะใดที่แตกต่างกัน - นิ้วตีนของนก ไก่ เป็ด มีโครงสร้างและลักษณะแตกต่างกัน
ลักษณะนิ้วตีนของนก ไก่ เป็ด แตกต่างกันอย่างไร แต่ละโครงสร้างและลักษณะเหมาะสมกับการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่อย่างไร - นกมีนิ้วตีนข้างหน้า 3 นิ้ว ข้างหลัง 1 นิ้ว ช่วยให้เกาะกิ่งไม้ได้แน่น ไก่มีนิ้ว 4 นิ้ว นิ้วด้านหลังยกสูง ตีนใหญ่หนาแข็งแรง ช่วยให้คุ้ยเขี่ยหาอาหารบนดินได้สะดวก เป็ดมีตีนที่มีพังผืดระหว่างนิ้ว ช่วยในการว่ายน้ำ
สรุป - สิ่งมีชีวิตมีโครงสร้างและลักษณะของร่างกายที่เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่ต่างๆ ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและอยู่รอดได้ในแหล่งที่อยู่นั้นๆ
ฉันรู้อะไร
สัตว์และพืชที่อยู่ในน้ำมีโครงสร้างและลักษณะของร่างกายเหมาะสมกับการดำรงชีวิตในน้ำอย่างไร - ปลามีครีบ กบมีพังผืดเชื่อมระหว่างนิ้ว คล้ายใบพาย ช่วยในการว่ายน้ำ ผักตบชวา ภายในก้านใบและลำต้นมีช่องอากาศจำนวนมาก ผักกระเฉด มีนวมสีขาวหุ้มลำต้น ช่วยให้ลำต้นลอยน้ำได้ดี
สัตว์ที่อยู่บริเวณขั้วโลกมีโครงสร้างและลักษณะของร่างกายเหมาะสมกับการดำรงชีวิตในบริเวณขั้วโลกอย่างไร - หมีขั้วโลก มีขนหนาปกคลุมร่างกาย มีชั้นไขมันหนาใต้ผิวหนัง ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น มีขนสีขาวเพื่อให้กลมกลืนกับแหล่งที่อยู่ นกฮูกขั้วโลก มีขนดกแน่นที่อุ้งเท้า เพื่อให้ยืนบนกิ่งไม้ที่มีหิมะปกคลุมได้ นกเพนกวิน มีชั้นไขมันหนาใต้ผิวหนัง มีขนแน่นปกคลุมร่างกาย ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น หมาป่าขั้วโลกมีใบหูและจมูกสั้น ช่วยลดการระบายความร้อน
สัตว์และพืชที่อยู่บริเวณทะเลทรายมีโครงสร้างและลักษณะของร่างกายเหมาะสมกับการดำรงชีวิตในบริเวณทะเลทรายอย่างไร - อูฐมีโหนกไว้เก็บไขมันไว้ใช้เมื่อไม่มีอาหาร มีขนตายาวเพื่อป้องกันฝุ่นทรายเข้าตา มีขายาวเพื่อให้ลำตัวอยู่ห่างจากพื้นทรายที่ร้อน มีเท้าที่มีพื้นที่กว้างเพื่อไม่ให้จมลงไปในทราย สุนัขจิ้งจอกทะเลทราย มีขนที่ใบหูเพื่อป้องกันไม่ให้ทรายเข้าหู มีใบหูใหญ่และจมูกยาวช่วยระบายความร้อนในร่างกาย กระบอกเพชร มีการลดรูปใบให้มีขนาดเล็ก แหลม แข็งคล้ายหนามเพื่อลดการสูญเสียน้ำ มีการกักเก็บน้ำภายในลำต้น ทำให้มีลำต้นอวบน้ำ
ตีนของนก ไก่ และเป็ด มีโครงสร้างและลักษณะแตกต่างกันหรือไม่ โครงสร้างและลักษณะนั้นๆ เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่อย่างไร - แตกต่างกัน โดยนกมีนิ้วตีนข้างหน้า 3 นิ้ว ข้างหลัง 1 นิ้ว ช่วยให้เกาะกิ่งไม้ได้ ส่วนไก่มีนิ้ว 4 นิ้ว โดยนิ้วตีนด้านหลังยกสูง นิ้วตีนมักใหญ่หนา ทำให้คุ้ยเขี่ยหาอาหารได้สะดวก ส่วนเป็ดมีตีนที่มีพังผืดระหว่างนิ้ว ช่วยในการว่ายน้ำ
จากกิจกรรมนี้ ค้นพบอะไรบ้างเกี่ยวกับโครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่ - สิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่มีโครงสร้างและลักษณะเหมาะสมกับแหล่งที่อยู่ โดยสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำจะมีโครงสร้างและลักษณะร่างกายที่ช่วยในการว่ายน้ำหรือช่วยในการลอยน้ำ สิ่งมีชีิวตที่อยู่บริเวณขั้วโลกมีโครงสร้างและลักษณะร่างกายที่ช่วยรักษาอุณหภูมิหรือลดการระบายความร้อนออกจากร่างกาย สัตว์ที่อยู่บริเวณทะเลทรายมีโครงสร้างและลักษณะร่างกายที่ช่วยระบายความร้อน ป้องกันฝุ่นทราย ส่วนพืชจะมีใบขนาดเล็ก คล้ายหนาม เพื่อลดการคายน้ำ สิ่งมีชีวิตจำพวกนกก็มีลักษณะนิ้วตีนแตกต่างกันไปตามการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่
จากสิ่งที่ค้นพบ สรุปได้ว่าอย่างไร - สิ่งมีชีวิตมีโครงสร้างและลักษณะของร่างกายเหมาะสมกับแหล่งที่อยู่ต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและอยู่รอดได้ในแหล่งที่อยู่นั้นๆ
เรื่องที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต
ขั้นฝึกทักษะการอ่าน
สิ่งมีชีวิตที่พบในทุ่งนามีอะไรบ้าง - หญ้า ควาย นกเอี้ยง แมลงกุดจี่ หนอน
สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง - ควายและหนอนกินหญ้า นกเอี้ยงกินหนอนและแมลง แมลงกุดจี่กินมูลควาย วางไข่และเลี้ยงดูลูกอ่นในก้อนมูลควาย
การย่อยสลายมูลควายมีประโยชน์อย่างไร - การย่อยสลายมูลควายทำให้เกิดธาตุอาหารในดิน ซึ่งต้นหญ้าจะได้รับธาตุอาหารและเจริญเติบโตเป็นอาหารของควายและหนอนต่อไป
ถ้าไม่มีเห็ด รา จะเกิดอะไรขึ้น เพราะเหตุใด - มูลควายจะกองทับถมจำนวนมากขึ้น เพราะไม่มีเห็ด ราช่วยย่อยสลายมูลควาย และต้นหญ้าจะไม่มีธาตุอาหาร สัตว์ต่างๆ ก็ไม่มีอาหาร
สิ่งมีชีวิตที่มีการกินกันเป็นอาหารโดยการกินต่อกันเป็นทอดๆ เรียกว่าอะไร - โซ่อาหาร
โซ่อาหารประกอบด้วยอะไรบ้าง - ผู้ผลิตและผู้บริโภค
ผู้ผลิตและผู้บริโภคแตกต่างกันอย่างไร - ผู้ผลิตเป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ ส่วนผู้บริโภคเป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร
สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตมีอะไรบ้าง - พืช สาหร่าย แบคทีเรียบางชนิด
สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้บริโภคมีอะไรบ้าง - สัตว์ต่างๆ
นักเรียนสามารถเขียนโซ่อาหารได้อย่างไร - เขียนโดยใช้ลูกศรแสดงทิศทางการถ่ายทอดพลังงาน โดยให้หัวลูกศรชี้ไปทางสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้บริโภค
ถ้าสิ่งมีชีวิตบางชนิดในทุ่งนาแห่งนี้ย้ายที่อยู่หรือตายไป จะส่งผลกระทบต่อโซ่อาหารหรือไม่ อย่างไร - ส่งผลกระทบ โดยถ้าไม่มีหนอน นกเอี้ยงก็จะไม่มีอาหาร ทำให้นกเอี้ยงมีจำนวนลดลง อาจย้ายที่อยู่ หรือตายไป
สรุป - สิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆ จะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต เช่นการกินกันเป็นอาหาร เป็นที่อยู่อาศัย หลบภัย วางไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน โดยสิ่งมีชีวิตจะมีการกินต่อกันเป็นทอดๆ ในรูปแบบโซ่อาหาร ซึ่งประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค
รู้หรือยัง
สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง - กินกันเป็นอาหาร เป็นที่อยู่อาศัย หลบภัย วางไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในโซ่อาหารเป็นอย่างไร - สิ่งมีชีวิตมีการกินต่อกันเป็นทอดๆ
ผู้ผลิตแตกต่างจากผู้บริโภคอย่างไร - ผุ้ผลิต เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ ส่วนผู้บริโภค เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร
กิจกรรมที่ 2 สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอย่างไร
สรุป - ในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆ สิ่งมีชีวิตจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ เช่น การกินกันเป็นอาหาร เป็นที่อยู่อาศัย ที่หลบภัย ที่วางไข่ และที่เลี้ยงดูลูกอ่อน โดยการกินกันเป็นอาหารจะมีการกินในรูปแบบโซ่อาหาร
ฉันรู้อะไร
สิ่งมีชีวิตใดเป็นผู้ผลิต และสิ่งมีชีวิตใดเป็นผู้บริโภค เพราะเหตุใด - ข้าวเป็นผู้ผลิต เพราะเป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ หอยเป็นผู้บริโภค เพราะเป็นสิ่งมีชีวิตที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร
จากกิจกรรมนี้ ค้นพบอะไรบ้างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต - สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กันในด้านต่างๆ เช่น ต้นข้าวเป็นอาหารและที่อยู่อาศัยของหนอน ต้นข้าวเป็นอาหารของหอย สิ่งมีชีวิตที่มีการกินต่อกันเป็นทอดๆ ในรูปแบบโซ่อาหาร
จากสิ่งที่ค้นพบ สรุปได้ว่าอย่างไร - ในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆ สิ่งมีชีวิตจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ ได้แก่ เป็นที่อยู่อาศัย ที่หลบภัย ที่วางไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน และมีการกินกันเป็นอาหารในรูปแบบโซ่อาหาร
เรื่องที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต
ขึ้นฝึกทักษะการอ่าน
ถ้าโดยทั่วไปกับถ้ำพระยานครแตกต่างกันอย่างไร - ถ้ำโดยทั่วไปมืดสนิท มีความชื้นสูง ถ้าเข้าไปลึกๆ จะรู้สึกหายใจไม่สะดวก แต่ถ้ำพระยานคร ผนังถ้ำด้านบนยุบตัว ทำให้มีแสง น้ำ อากาศเข้าไปได้ ภายในถ้ำจึงมีอากาศถ่ายเทดี
สิ่งมีชีวิตที่พบในถ้ำที่มืดสนิทกับถ้ำพระยานครเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร - แตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตที่พบในถ้ำที่มืดสนิท ได้แก่ ค้างคาว ซึ่งต้องอยู่ในที่มืดเวลากลางวัน ส่วนสิ่งมีชีวิตที่พบในถ้ำพระยานคร ได้แก่ ต้นไม้และสัตว์ต่างๆ ซึ่งไม่สามารถเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ในถ้ำที่มืดสนิทได้
เพราะเหตุใด ในถ้ำพระยานครจึงพบพืชและสัตว์หลายชนิดเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ได้ - เพราะภายในถ้ำมีแสง ดิน ธาตุอาหาร อากาศ และน้ำ ซึ่งเหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของต้นไม้และสัตว์ชนิดต่างๆ
รู้หรือยัง
สิ่งใดบ้างที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของพืช - แสง น้ำ อากาศ ดินและธาตุอาหาร
กิจกรรมที่ 3 สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตในแหล่งที่อยู่อย่างไร
คำถามหลังกิจกรรม ตอนที่ 1
จากใบความรู้สิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่นี้มีอะไรบ้าง - มนุษย์ ปลา เป็ด ไก่ วัว มด บัว ต้นไม้ หญ้า ผัก ไส้เดือนดิน
สิ่งไม่มีชีวิตในแหล่งที่อยู่นี้มีอะไรบ้าง - ดิน อากาศ น้ำ ดวงอาทิตย์
มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตเหล่านี้หรือไม่ อย่างไร - มนุษย์ใช้แสงในการมองเห็นสิ่งต่างๆ ใช้ดินในการปลูกสร้างบ้านเรือน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำของใช้ต่างๆ ใช้น้ำในการดำรงชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆ และใช้แก๊สออกซิเจนในอากาศเพื่อหายใจ
สัตว์มีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตเหล่านี้หรือไม่ อย่างไร - สัตว์ใช้ดินเป็นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร ใช้อากาศในการหายใจ ใช้น้ำเป็นที่อยู่อาศัย
พืชมีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตเหล่านี้หรือไม่ อย่างไร - พืชใช้ดินเป็นที่ยึดเกาะของราก เป็นแหล่งธาตุอาหารและน้ำ ใช้แสง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และน้ำ ในการสร้างอาหาร ใช้แก๊สออกซิเจนในการหายใจ และใช้น้ำเป็นที่อยู่อาศัย
ถ้าดินเสื่อมโทรมหรือขาดธาตุอาหารจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างไร - พืชจะไม่สามารถเจริญเติบโตและดำรงชีวิตได้
ถ้าน้ำเน่าเสียจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างไร - น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำและพืชน้ำไม่มีที่อยู่อาศัยและไม่สามารถดำรงชีวิตได้ มนุษย์ไม่มีน้ำสำหรับใช้ในการดำรงชีวิตหรือทำกิจกรรมต่างๆ
ถ้าอากาศเป็นพิษจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างไร - ถ้าอากาศเป็นพิษสิ่งมีชีวิตอาจหายใจเอาสารพิษเข้าสู่ร่างกาย มนุษย์และสัตว์อาจเจ็บป่วยและเป็นโรค พืชอาจไม่เจริญเติบโตหรือมีลักษณะผิดปกติ
ถ้าไม่มีแสงจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างไร - ถ้าไม่มีแสงพืชจะไม่สามารถสร้างอาหารได้ สัตว์และมนุษย์จะขาดอาหาร
สรุป - สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตในแหล่งที่อยู่ในด้านต่างๆ เช่น ใช้อากาศในการหายใจ ใช้น้ำและดินเป็นที่อยู่อาศัย
คำถามหลังกิจกรรม ตอนที่ 2
ในท้องถิ่นของนักเรียนมีปัญหาอะไรบ้าง - น้ำเน่าเสีย
นักเรียนเลือกวิเคราะห์ปัญหาน้ำเน่าเสีย เพราะเหตุใดจึงเลือกปัญหานี้ - เพราะคนในท้องถิ่นได้รับผลกระทบโดยตรง
ปัญหานั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร - คนในชุมชนไม่ดูแลรักษาแหล่งน้ำ ทิ้งขยะ หรือ สิ่งปฏิกูลลงแหล่งน้ำ
ปัญหานั้นส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นอย่างไร - ปลาตาย น้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนคนที่อยู่ในท้องถิ่นขาดน้ำดื่ม น้ำใช้
นักเรียนมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาและดูแะรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างไร - ชักชวนคนในท้องถิ่นให้ช่วยกันดูแลรักษาแหล่งน้ำ ร่วมมือกันเก็บขยะขึ้นจากแหล่งน้ำ ทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ป้ายประาสัมพันธ์ที่มีรูปภาพขยะลอยอยู่ในแหล่งน้ำ เพื่อสื่อถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น พร้อมกับเขียนคำขวัญหรือข้อความเชิญชวนให้ทุกคนช่วยกันรักษาแหล่งน้ำ
สรุป - สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ถ้าสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เราจึงควรช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นให้อยู่ในสภาพที่ดีและเหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
ฉันรู้อะไร ตอนที่ 1
สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตอย่างไร - มนุษย์ใช้แสงในการมองเห็นสิ่งต่างๆ พืชใช้แสงในการสร้างอาหาร สิ่งมีชีวิตทุกชนิดใช้อากาศในการหายใจ ใช้ดินเป็นแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย หรือทำสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ และใช้น้ำสำหรับการดำรงชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆ หรือเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำ
ถ้าสิ่งไม่มีชีวิตในแหล่งที่อยู่เกิดการเปลี่ยนแปลง จะส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร - ถ้าดินเสื่อมโทรมหรือขาดธาตุอาหาร พืชจะไม่สามารถเจริญเติบโตและดำรงชีวิตได้ ถ้าน้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำและพืชน้ำ ไม่มีที่อยู่อาศัยและไม่สามารถดำรงชีวิตได้ มนุษย์ไม่มีน้ำสำหรับใช้ในการดำรงชีวิตหรือทำกิจกรรมต่างๆ ถ้าอากาศมีมลพิษสิ่งมีชีวิตอาจเจ็บป่วยและเป็นโรค พืชอาจไม่เจริญเติบโต และถ้าไม่มีแสง พืชจะไม่สามารถสร้างอาหารได้ สัตว์และมนุษย์จะขาดอาหาร
จากกิจกรรมนี้ ค้นพบอะไรบ้างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตในแหล่งที่อยู่ - ในสิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิต เช่น พืชใช้แสงในการสร้างอาหาร สัตว์น้ำใช้น้ำเป็นที่อยุ่อาศัยและเป็นแหล่งอาหาร สัตว์ที่อยู่บนบกใช้ดินเป็น่ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิตใช้อากาศในการหายใจ ถ้าสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อการดำรงชีวิต เราจึงควรช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
ฉันรู้อะไร ตอนที่ 2
ในท้องถิ่นของตนเองมีปัญหาสิ่งแวดล้อมอะไรบ้าง - เช่น แหล่งน้ำเน่าเสีย ควันจากไฟป่า การเผาเศษวัสดุจากการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยควันพิษ ทำให้อากาศเป็นพิษ
แนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทำได้อย่างไร - เช่น การแก้ไขแหล่งน้ำเน่าเสีย ทำได้โดยไม่ทิ้งขยะหรือสิ่งปฏิกูลลงแหล่งน้ำ และชักชวนคนในท้องถิ่นให้ร่วมมือกันดูแลรักษาแหล่งน้ำให้อยู่ในสภาพที่ดี
จากกิจกรรมนี้ ค้นพบอะไรบ้างเกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม - เช่น ปัญหาน้ำเน่าเสีย มีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ เราควรมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา โดยไม่ทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ ชักชวนคนในท้องถิ่นให้ช่วยกันรักษาแหล่งน้ำ
จากสิ่งที่ค้นพบทั้งสองตอน สรุปได้อย่างไร - สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตในด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เราจึงควรช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีสภาพที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตตลอดไป
กิจกรรมท้ายบทที่ 2
ลักษณะต่างๆ ที่ปรากฏในสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร - ลักษณะต่างๆ ที่ปรากฏในสิ่งมีชีวิตเกิดจากการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูก
สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร - สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับดิน น้ำ แสง อากาศ โดยใช้ดินเป็นที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งธาตุอาหาร ใช้น้ำในการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นที่อยู่อาศัย ใช้แสงในการมองเห็น การสร้างอาหารของพืช และใช้อากาศในการหายใจ รวมทั้งใช้ในการสร้างอาหารของพืช