Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่ม7 โรคพิษสุนัขบ้า, ธรรมชาติของการเกิดโรค - Coggle Diagram
กลุ่ม7 โรคพิษสุนัขบ้า
การกระจายของโรค
-
บุคคล
ติดต่อได้โดยตรงจากการถูกสัตว์ที่ติดเชื้อกัด ทําให้ได้รับเชื้อไวรัสท่ีอยู่ในน้ําลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ
วิธีป้องกัน
-ถ้าถูกสัตว์กัด ต้องล้างทําาความสะอาดแผลด้วยน้ําและสบู่ ถ้าถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาหลังการติดเชื้อ
-หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่สงสัยว่าติดเชื้อ
-
การติด เชื้อ ไวรัสทางอื่น อาจเกิดได้ จากการสัมผัส สมอง หรือน้ำ ไขสันหลังของสัตว์ท่ีติดเชื้อ หรือหายใจเอาเชื้อไวรัสจากเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อเข้าไป
-
-
รูปแบบของการระบาด
Endemic (โรคประจำถิ่น)
ช่วง 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เดโมคริตุส (Democritus) นักปรัชญาชาวกรีกได้บันทึกถึงการพบโรคกลัวน้ำ หรือโรคพิษสุนัขบ้า
ช่วง 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช อริสโตเติล (Aristotle) เขียนบันทึกไว้ว่า สุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะมีอาการหงุดหงิด กระสับกระส่าย และเมื่อใดที่มันไปกัดสัตว์ตัวอื่น สัตว์ตัวนั้นก็จะเป็นโรคด้วย
-
-
ธรรมชาติของการเกิดโรค
ระยะเกิดโรค
ระยะมีอาการ
อาการของโรคพิษสุนัขบ้าในระยะเริ่มแรกมีความคล้ายคลึงกับอาการไข้หวัดใหญ่ ซึ่งรวมถึงเป็นไข้ ปวดหัวและความรู้สึกไม่สบายตัวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน และอาจรู้สึกแสบร้อนและคันบริเวณที่ถูกกัด อาการเหล่านี้จะพัฒนาไปสู่ระยะที่รุนแรงยิ่งขึ้น โดยผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกถึงการทำงานของสมองที่ผิดปกติ กระวนกระวาย สับสนและหงุดหงิด
เมื่อความรุนแรงของโรคดำเนินต่อไป ผู้ป่วยจะมีอาการสับสน มีพฤติกรรมที่แปลกไป ประสาทหลอนและนอนไม่หลับ หากผู้ป่วยปรากฎอาการของโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว โอกาสรอดชีวิตมีน้อยมากและแพทย์มักใช้การดูแลรักษาแบบประคับประคอง
ระยะก่อนมีอาการ
โรคพิษสุนัขบ้ามีระยะฟักตัวแตกต่างกัน เกิดขึ้นเร็วได้ตั้งแต่ 5-6 วัน หรือนานมากกว่า 6 เดือน - 6ปี ส่วนใหญ่มักจะเกิดอาการในช่วงประมาณ 20 – 60 วันภายหลังจากการสัมผัส เชื้อ หากตำแหน่งที่ถูกสัตว์กัดใกล้กับบริเวณศีรษะจะมีระยะฟักตัวที่เร็วกว่า
ผลของการเกิดโรค
ทำให้เกิดการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย รวมทั้งความพิการของอวัยวะต่างๆ และอาจเสียชีวิตได้ เนื่องจากมีอาการมาก หรือป่วยขั้นรุนแรง จนไม่สามารถรักษาให้รอดชีวิตได้
หากถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดหรือเลียบาดแผล ต้องรีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่โดยเร็วที่สุด ก่อนจะเดินทางไปพบแพทย์ ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้ แต่แพทย์สามารถป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เกือบ 100%
ข้อสำคัญคือผู้ติดเชื้อจะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และฉีดวัคซีนตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด เพราะหากปล่อยให้ติดเชื้อจนถึงขั้นรุนแรง ผู้ป่วยอาจเสียชีวิต
-
ระยะก่อนเกิดโรค
เกิดจากสัมผัสกับเชื้อไวรัส "เรบีส์"
การสัมผัสกับน้ำลายจากการถูกกัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีบาดแผล หรือถูกเลียบริเวณเยื่อบุตาหรือปาก เป็นต้น