Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วย อวัยวะสัมผัส (จมูก) - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วย อวัยวะสัมผัส (จมูก)
เลือดกำเดา (Epistaxis)
สาเหตุ
เป็นภาวะที่มีเลือดออกมาทางจมูก จากการฉีกขาดของหลอดเลือดที่เยื่อบุจมูกซึ่งอาจมาจาก ได้รับบาดเจ็บ การมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไป
การมีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดรวมทั้งการติดเชื้อรวมไปถึงการมีเนื้องอกในช่องจมูกด้วย
อาการ
เลือดออกจากผนังกั้นจมูกส่วนหน้า (Anterior Epistaxis)
พบบริเวณที่เรียกว่า Kiesselbach ' s plexus or little area ซึ่งเป็นบริเวณที่มีหลอดเลือดที่มาเลี้ยงจมูกรวมอยู่มาก พบมากในเด็กและคนหนุ่มสาว
เลือดออกจากผนังกั้นจมูกส่วนหลัง (Posterior Epistaxis)
มักพบในผู้สูงอายุที่มีโรค HT หรือโรคในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทำให้เลือดออกง่ายหยุดยาก
การรักษา
เลือดออกจากผนังกั้นจมูกส่วนหน้า (Anterior Epistaxis)
การใช้สารเคมีหรือไฟฟ้า จี้สกัดจุดที่มีเลือดออก
การใช้ Anterior nasal packing คือ การใส่ผ้ากอซที่มียาปฏิชีวนะและสารพวก Gel foam(ใช้หล่อลื่นเวลานำออก) เพื่อไปอุดตำแหน่งเลือดออก
เลือดออกจากผนังกั้นจมูกส่วนหลัง (Posterior Epistaxis)
Posterior nasal packing คือ การอุดในช่องคอหลังโพรงจมูกโดยใช้ gauze tampon หรือใช้ balloon หรือ สาย Foley ' s อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนกับผู้ป่วยต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
Arterial ligation คือ การผูกหลอดเลือดแดงเพื่อควบคุมภาวะเลือดออก
Arterial Embolization
Laser Photocoagulation
Skin graft to nasal septum and Lateral nasal wall
การพยาบาลหลังการรักษา
แนะนำให้อ้าปากเวลาไอจาม
ห้ามสั่งน้ำมูกหรือแกะสะเก็ดแผล
ถ้ามีอาการบวมบริเวณจมูกมากให้ประคบเย็น และให้ยาแก้ปวดร่วมกับจัดท่านอนศีรษะสูง 45 - 60 องศา เพื่อลดอาการบวมและให้พักผ่อนให้เพียงพอ
ประเมินเลือดออกโดยสังเกตผ้ากอซ ว่ามีเลื่อนหลุดลงไปในลำคอหรือไม่ถ้าเลื่อนต้องตัดให้สั้น แต่ห้ามดึงผ้ากอซออกเอง
อธิบายให้ทราบว่า อาจมีอาการหูอื้อได้ แต่จะหายเมื่อนำตัวกดห้ามเลือดออก
หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนบริเวณจมูก เช่น การแคะขี้มูก การสั่งน้ำมูกแรง ๆ ซึ่งห้ามทำอย่างน้อย 1 สัปดาห์
ห้ามยกของหนักการออกกำลังกายโดยใช้แรงมาก ๆ อย่างน้อย 4 - 6 สัปดาห์หลังมีเลือดออก
Nasal polyp (ริคสีดวงจมูก)
มักไม่มีอันตรายร้ายแรง ยกเว้นถ้าก้อนโตมากจะทำให้หายใจไม่สะดวก และเสียความรู้สึกในการรับกลิ่น
สาเหตุ
มักมีสาเหตุจากการเป็นหวัดเรื้อรังเช่น หวัดจากการแพ้ หรือการติดเชื้อของเยื่อจมูก
อาการ
มีอาการคันจมูก แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก พูดเสียงขึ้นจมูก ถ้าติ่งเนื้อเมือกอุดกั้นรูเปิดของไซนัสก็อาจทำให้เกิดมีอาการปวดที่หัวคิ้วหรือโหนกแก้ม
สิ่งตรวจพบ
ใช้ไฟฉายส่องดูรูจมูก มักพบมีติ่งเนื้อเมือกสีค่อนข้างใสอุดกั้นอยู่ในรูจมูก
อาการแทรกซ้อน
ส่วนมากทำให้มีอาการแน่นจมูกน่ารำคาญ บางรายอาจมีไขนัสอักเสบ
การรักษา
1.กำจัดริดสีดวงจมูกออกโดยทำเพื่อทำให้ยุบตัวลง
Medical Polypectomy เป็นการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ พ่นจมูก
Surgical Polypectomy
Nasal polyp ทำผ่าตัด Polypectomy โดยใช้ Snaring(คือการใช้ลวดคล้องและดึงออก) หรือทำ ESS (Endoscopic Sinus Surgery
Antrochonal poly ทำผ่าตัด Caldwell - luc operation
2.การรักษาโรคที่เกิดร่วมและการป้องกันการเกิดซ้ำของริดสีดวงจมูก
สาเหตุของริดสีดวงจมูกมีจากหลายประการ แพทย์ต้องหาสาเหตุให้พบไม่เช่นนั้นจะต้องทำผ่าตัดซ้ำหรือรักษาช้ำ ๆได้
แนะนำการทำความสะอาดโพรงจมูกโดยการล้างโพรงจมูกด้วยน้ำเกลือปราศจากเชื้อเองทุกวัน
การให้ยาเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ ส่วนมากให้ยาเพรดนิโซโลนนาน 5 - 7 วัน โดยให้หลังผ่าตัดแล้ว 1 - 2 สัปดาห์ ร่วมกับให้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกด้วยซึ่งอาจพ่นไปนานถึง 3 เดือน
Sinusitisไซนัส
หมายถึงโพรงหรือช่องอากาศที่อยู่ในกระดูกของหน้ามีทางติดต่อกับช่องจมูกเรียกว่ารูเปิดของไซนัส โดยทั่ว ๆ ไปในคนมีไซนัสอยู่ 4 คู่ คือ
Maxillary sinus มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ที่แก้มทั้ง 2 ข้าง
Frontal sinus อยู่ที่หัวคิ้วทั้ง 2 ข้าง
Ethmoidal sinus อยู่ที่ซอกตาระหว่างกระบอกตา และจมูกเป็นช่องล็ก ๆ ติดต่อกันอยู่มีข้างละประมาณ 2-10 ช่อง
Sphenoidal sinus อยู่ที่หลังจมูกด้านบนสุด ติดกับฐานของสมอง
สาเหตุไชนัสอักเสบ (Sinusitis) ชนิดเฉียบพลัน
สุขภาพทั่วไปของผู้ป่วยไม่ดี เช่น ภูมิต้านทานต่ำ เป็นโรคเลือด
สภาพของจมูก เช่น การอักเสบในจมูก เนื้องอกในจมูก แผ่นกั้นช่องจมูกคด
สาเหตุโดยตรง ได้แก่ โรคที่มีอาการนำทางจมูก ฟันผุและการถอนฟัน การสั่งน้ำมูกแรง ๆ จามมาก ๆ อย่างรุนแรง
อาการ
มีอาการปวดกดเจ็บบริเวณโพรงอากาศข้างจมูก
คัดจมูก มีของเหลวเป็นหนองไหลออกจากช่องจมูก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดในจมูก
1.เสี่ยงต่อภาวะพร่องของสารน้ำและสารอาหารเนื่องจากความไม่สมดุลของสารน้ำร่างกายและการเสียเลือดออกทางช่องจมูก
เกิดภาวะการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีภาวะช่องจมูกบวมหรืออุดตัน
เกิดความเจ็บปวดในการผ่าตัดช่องจมูก
เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อจากมีของเหลวคั่งค้างใจมูก
การเปลี่ยนแปลงของการรับรู้ต่าง ๆเช่น การมองเห็นเปลี่ยนไป เนื่องจากอันตรายจากการกระทบกระเทือนต่อระบบต่ง ๆในการผ่าตัดบริเวณจมูก
การรักษา
ส่วนมากเป็นการรักษาด้วยยารับประทาน ไม่นิยมให้ยาหยอดจมูก
ผู้ป่วยที่ปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำและรับประทานยาสม่ำเสมอ มักหายได้ง่าย
ในระยะนี้ยาที่ใช้ส่วนใหญ่ คือยาปฏิชีวนะและยาที่รักษาตามอาการ
การพยาบาลหลังผ่าตัด
1.จัดท่านอนในท่าศีรษะสูง40 - 45 องศาเพื่อลดอาการบวมบริเวณจมูกและแก้มเพื่อให้หายใจได้สะดวกขึ้น
ประคบบริเวณจมูกด้วยความเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวด (ใน 48 ชั่วโมงแรก ไม่ควรประคบร้อนเพราะจะกระตุ้นให้มีเลือดออกได้)
การป้องกันการติดเชื้อ ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยดูแลทำความสะอาดช่องปากโดยบ้วนปากด้วยน้ำเกลือปราศจากเชื้อบ่อย ๆ
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย การยกของ หรือทำงานหนัก ภายใน 10 -14 วันแรกหลังผ่าตัด
ไม่ควรไอจามแรงๆ ถ้าจะจามให้ทำแบบเปิดปากด้วยเพื่อลดแรงดันที่จะเข้าสู่โพรงอากาศข้างจมูก